สิวเรื่องที่ผู้หญิงทุกคนกังวลใจ
การอักเสบเรื้อรังของรูขนและต่อมไขมัน มีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ หัวขาว หรือหัวดำ เป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง หรือตุ่มเนื้อลึกใต้ผิวหนัง พบมากบริเวณหน้า

สิว

สิว ( Acne ) มักปรากฏบนใบหน้า หน้าอก หลัง หลังหู และบนศีรษะ สิวมีผลต่อวัยรุ่นประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ และในวัยทำงานประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มีอายุ 20 – 40 ปี ช่วงอายุระหว่าง 11 ถึง 30 ปี เด็กผู้หญิงมักได้รับผลกระทบจากสิวตั้งแต่อายุยังน้อย แต่เด็กผู้ชายจะได้รับผลกระทบรุนแรงมากกว่า ซึ่งมีการไปพบแพทย์มากกว่าปัญหาผิวหนังอื่น ๆ แม้สิวที่เกิดขึ้นอาจไม่เป็นอันตรายแต่ทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจหรือเกิดรอยแผลเป็นแบบถาวรได้ สิวเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งประกอบด้วยรูขุมขน ต่อมน้ำมัน ต่อมไขมัน ที่อุดดันนำไปสู่การเกิดสิวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โฮนเพศชายเรียกว่า ( แอนโดรเจน ) ทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้นทั้งเด็กชายและเด็กหญิงเพื่อให้ความชุ่มชื้นให้แก่ผิว โดยปกติต่อมไขมันที่ผลิตนั้นจะเดินทางผ่านรูขุมขนไปยังผิวหนัง แต่อาจมีเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วตกค้างอยู่ในรูขุมขนจึงเกิดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียภายในรูขุมขนและเกิดการอักเสบของสิวได้ ประเภทของสิวที่พบมากที่สุด คือ สิวอุดตัน สิวหัวดำ สิวหัวขาว สิวอักเสบ สิวเสี้ยน สิวตุ่มนูนแดง สิวหัวหนอง สิวหัวช้าง สิวผด

สาเหตุของสิว

1. ระดับฮอร์โมนเพศที่เพิ่มสูงขึ้น เรียกว่า ” แอนโตรเจน ” เป็นฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้นทั้งในเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงในช่วงวัยรุ่นอายุระหว่าง 11 ถึง 20 ปี อาจทำให้ต่อมไขมันขยายตัวและสร้างไขมันมากขึ้น
2. กรรมพันธุ์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงในการเกิดสิวสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่
3. การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในเด็กผู้หญิงทำให้เกิดสิวได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนเริ่มมีประจำเดือนประมาณ 2 ถึง 7 วัน
4. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ หรือการเริ่มหยุดยาคุมกำเนิด อาจทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน
5. ยาบางชนิด เช่น ยาแอนโดรเจน ยาลิเทียม และยาบาร์บิทูเรต เช่น
5.1. ยาแอนโตรเจน ( Androgen ) ออกฤทธิ์ยับยั้งฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชาย ช่วยลดขนขาที่ดกดำ ช่วยลดอาการผมร่วงเนื่องจากฮอร์โมนเพศชาย
5.2. ยาลิเทียม ( Lithium ) ออกฤทธิ์ต่อสารเคมีและการทำงานในสมอง ใช้รักษาหรือป้องกันความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งของโรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) ในช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการสึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา อารมณ์ดีผิดปกติ มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ สูงมาก
5.3. ยาบาร์บิทูเรต ( Barbiturate ) ออกฤทธิ์ต่อสมองถูกใช้เป็นยาคลายเครียด ความวิตกกัลวล ยานอนหลับ ใช้เป็นยาสลบก่อนนำคนไข้เข้ารับการผ่าตัด ปัจจุบันยาบาร์บิทูเรตได้รับความนิยมน้อยลงไปด้วยมีผลข้างเคียงมากกว่ายากลุ่มอื่นที่มีฤทธิ์ของการรักษาเหมือนกันมักใช้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
6. การหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติทําให้เกิดความหนาตัวของผิวหนังบริเวณรูขุมขนเกิดการสะสมของแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในรูขุมขนอีกด้วย

ลักษณะของสิว

  • สิวอุดตัน ( Comedones ) มีลักษณะเป็นตุ่มนูนอยู่ใต้ผิวหนังสัมผัสได้ด้วยมือไม่เกิดการอักเสบกดออกได้ยาก
  • สิวหัวดำ ( Blackhead appearance ) มีลักษณะเป็นก้อนไขมันเกิดขึ้นในรูขุมขนสีเข้ม หรือสีดำมักปรากฏบริเวณหน้าผาก แก้ม จมูก
  • สิวหัวขาว ( whiteheads ) มีลักษณะเป็นเม็ดขาวๆ เล็ก ๆ สิวหัวปิดมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.1 มิลลิเมตร
  • สิวอักเสบ ( Inflammatory acne ) มีลักษณะเป็นตุ่มสิวที่มีการอักเสบมีรอยผื่นบวมแดด หรือมีตุ่มหนอง
  • สิวเสี้ยน ( Trichostasis Spinulosa ) มีลักษณะคล้ายสิวอุดตันขึ้นเป็นต่อสีขาวหรือไขมันที่มีการแข็งตัวเมื่อสัมผัสกับอากาศ แต่ต่างกันตรงที่สิวเสี้ยนมักเกิดเป็นกระจุกบริเวณขนอ่อน ๆ อยู่พบมากบริเวณจมูก รอบปาก และใต้คาง เมื่อใช้มือสัมผัสรู้สึกเป็นหนามเล็กเป็นจำนวนมาก
  • สิวตุ่มนูนแดง ( Papule ) คือ สิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดงขนาดเล็กกดเจ็บ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 – 3 มิลลิเมตร อาจมีเลือดคั่งไม่มีหนอง   
  • สิวหัวหนอง ( Purulent acne ) มีลักษณะเป็นตุ่มหนองของสิวมีของเหลวสีขาวอยู่ข้างในตรงหัวสิว มักเกิดบริเวณรูขุมขนที่มีการอุดตันเกิดการสะสมของเซลล์ผิวที่ตาย
  • สิวหัวช้าง ( Acne Conglobata ) มีลักษณะเป็นตุ่มสิวที่มีอาการอักเสบชนิดรุนแรง มักพบเป็นก้อนแข็ง ๆ มีหนองและเลือดปนอยู่ภายใน พบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป
  • สิวผด หรือ สิวเทียม ( Acne aestivalis ) มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ แข็ง ๆ มีขนาดเท่า ๆ กัน เหมือนผดทั่วไปส่วนใหญ่มักขึ้นบริเวณไรผม หน้าผาก คาง มักเห็นได้ชัดเจนเมื่อโดนแดดหรือเหงื่อออกมาก

สิ่งที่ทำให้ผิวระคายเคืองและอาจทำให้เกิดสิว

  • ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ น้ำหอม สารฟอกขาว ที่ทำให้เกิดสิวสำหรับคนเป็นสิว ผิวแพ้ง่ายที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว ได้แก่ โฟมล้างหน้า น้ำหอม น้ำยาปรับผ้านุ่ม คลีนซิ่ง สีย้อมผม ยาสระผม ยาแต้มสิว ผงซักฟอก ยาย้อมผม น้ำยาซักผ้า ครีมอาบน้ำ สบู่ ครีมนวดผม น้ำยาซักผ้า โลชั่นน้ำหอม แป้งฝุ่น เจลใส่ผม เป็นต้น
  • อาหารบางชนิด เช่น อาหารทอด ผลไม้น้ำตาลสูง ผลิตภัณฑ์นม เบอร์เกอร์ ช็อกโกแลตที่มีส่วนผสมของน้ำตาลสูง ธัญพืชขัดสี เนื้อสัตว์ติดมัน เป็นต้น
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • น้ำอัดลมมีส่วนผสมของน้ำตาลสูง
  • น้ำผลไม้สำเร็จรูปมักมีส่วนผสมของน้ำตาลสูง
  • สารเคมีบางตัวที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว
  • มลภาวะทางอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ เช่น ฝุ่นละออง หมอกควัน ควันจากท่อไอเสีย เขม่าควันจากการเผาขยะ
  • ผิวหน้าถูหรือเสียดสีจากเสื้อผ้า
  • มือสัมผัสกับสิ่งสกปรก หรือสัตว์เลี้ยงเลียมือ เลียหน้า
  • การกินยาเตียรอยด์อาจทำให้เกิดอาการคล้ายสิวได้ 

อาหารที่ก่อให้เกิดสิว

  • อาหารจานเดียว
  • อาหารจานด่วน
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาหารประเภทไขมัน
  • อาหารที่มีน้ำตาลสูง
  • ผลิตภัณฑ์นม
  • อาหารทอด
  • เวย์โปรตีนผง
  • ช็อคโกแลต
  • ธัญพืชที่ผ่านการขัดสีขาวหรือแป้งสีขาวบริสุทธิ์
  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและโปรตีนจากสัตว์

การรักษาสิว

  • ทายาแต้มสิว เจลแต้มสิว
  • ใช้กรดซาลิไซลิกและกรดอะซีลิก เป็นกรดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • รับประทานยาปฏิชีวนะ สำหรับอาการสิวระดับปานกลาง และสิวที่มีความรุนแรง ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าแบคทีเรียบริเวณผิวหนังส่วนเกิน และลดรอยแดง – ทาครีมแต้มสิวกลุ่มเรตินอยด์
  • กดหัวสิวอุดตันออก ทายาฆ่าเชื้อ
  • การบำบัดด้วยแสงเลเซอร์
  • ยาคุมกำเนิดเพื่อปรับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสติน

เคล็ดลับทั่วไปสำหรับการจัดการสิว

  • ควรล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย ก่อนการสัมผัสหน้า
  • ล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ใช้โฟมล้างหน้า สำหรับรักษาสิว   
  • สระผมทุกวันด้วยแชมพูสระผม ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม
  • อาบน้ำและทำความสะอาดผิวกายด้วยสบู่ที่ยับยั้งและป้องกันแบคทีเรีย
  • หลีกเลี่ยงการแกะ เกาหรือสัมผัสสิวโดยตรง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน อาหารหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว

การรักษาหลุมแผลเป็นจากสิว

  • กระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนเหมาะกับหลุมสิวตื้น ๆ หลุมสิวใหม่ หลุมแอ่งกระทะ
  • ทาครีมลบรอยแผลเป็น หรือครีมลดริ้วรอยที่มีส่วนผสม เช่น วิตามินอี, AHA, BHA
  • ทายากลุ่มอนุพันธ์ของวิตามินเอ เช่น Retin-A
  • ทานยากลุ่มที่สกัดจากอนุพันธ์วิตามินเอ เช่น Roac-cutane, Acnotin, lsotretinoin
  • ฉายแสง LED เช่น Gentle Waves, Omnilux
  • ยิงเลเซอร์ lPL
  • ยิงเลเซอร์ Smooth Beam
  • ยิงเลเซอร์ Nd: YAG
  • รักษาด้วยคลื่นวิทยุ
  • รักษาด้วยการผลักวิตามินลงบนผิวหน้า เช่น Electroporation
  • กระตุ้นให้เซลล์ผิวด้านบนลอกออก ร่างกายจะซ่อมแซมด้วยการดันหลุมสิวให้ตื้นขึ้นเอง เหมาะกับหลุมสิวตื้น ๆ หรือลึกปานกลาง หลุมสิวแบบแอ่งกระทะ และหลุมกล่อง
  • ลอกผิวด้วยกรดผลไม้ AHA, BHA, PHA
  • แต้มกรด TCA
  • กรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี Microdermabrasion
  • กรอผิวด้านบนด้วยเลเซอร์ที่มีความเข้มข้นและความร้อนสูง เช่น CO2 ,Erbium YAG
  • ทำให้ผิวอักเสบเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองโดยสร้างเซลล์ใหม่ เหมาะกับหลุมสิวตื้นหรือลึกปานกลาง หลุมสิวทั้งแอ่งกระทะ หลุมกล่องและหลุมนกจิก
  • กรอผิวด้านบนด้วยเลเซอร์ที่มีความเข้มข้นและความร้อนสูง เช่น CO2 , Erbium YAG
  • เลเซอร์ชนิดไม่มีแผล เช่น Fraxel Restore, Fine Scan, Mosaic
  • เทคโนโลยีคลื่นวิทยุ Fractional RF
  • เติมหลุมสิวด้วยสารเติมเต็ม เหมาะกับหลุมสิวตื้นหรือปานกลาง หลุมสิวแอ่งกระทะ
  • ฉีดฟิลเลอร์ ( Hyaluronic Acid )
  • ตัดพังผืดใต้ฐานหลุมสิว เหมาะกับหลุมสิวลึกปานกลางหรือลึกมาก หลุมสิวแบบกล่อง หลุมนกจิก และหลุมแอ่งกระทะ 
  • เทคนิค Subcision โดยใช้เข็มที่มีปลายเป็นใบมีดเจาะและตัดพังผืดใต้ฐานหลุมสิวออกไป
  • ศัลยกรรมผ่าตัดหลุมสิว เหมาะกับหลุมสิวที่ลึกหรือกว้างมาก หลุมสิวแบบกล่องและหลุมนกจิก
  • ตัดรอยหลุม แล้วเย็บปิดให้ผิวหนังชิดกัน
  • นำผิวหนังส่วนอื่นมาปิดรอยหลุมสิว
  • กรีดผิวหนังเป็นวงรี แล้วเย็บปิด
  • ตัดหลุมสิวแล้วยกขึ้นมาให้ได้ระดับเดียวกับผิวหนัง

ซึ่งในแต่ละวิธีก็มีทั้งข้อดี ข้อเสียและข้อควรระวังที่แตกต่างกัน สำคัญที่สุดคือต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพราะหากพลาดไป รอยแผลเป็นจะตามมาหลอกหลอนเราไปอีกนานแสนนาน

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการล้างหน้า

ในวันสวยแบบธรรมชาติ ซึ่งทาแค่ครีมกันแดด ใช้ Cleansing Water สูตรน้ำตามด้วยคลีนเซอร์แบบเจล สำหรับคนผิวบอบบาง อุดตันและเป็น สิว ( Acne ) วันแต่งหน้าจัดเต็ม ควรใช้ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ทำความสะอาด ดังนี้

  • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องสำอาง เช่น Cleansing Oil, Cleansing Water
  • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องสำอางเฉพาะดวงตาและปาก (Eyes & Lips Remover)
  • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าทั่วไป เช่น คลีนเซอร์ โฟม เจลล้างหน้า หรือสบู่สมุนไพรธรรมชาติ ก่อนล้างด้วย Cleansing Brush หรือแปรงทำความสะอาดผิวอีกครั้ง
  • คอตต้อนบัด สำลีและกระดาษทิชชูสำหรับใบหน้า
  • น้ำยาล้างตา
  • น้ำเกลือ Klean & Kare หรือโทนเนอร์

อย่างไรก็หากสิวมีอาการที่รุนแรงควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและหาวิธีรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนตามขั้นตอนของแพทย์ เพื่อลดความรุนแรงของการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังและลดการเกิดรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวได้อีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Stampfer, M., Hu, F., Manson, J., Rimm, E., Willett, W. (2000) Primary prevention of coronary heart disease in women through diet and lifestyle. The New England Journal of Medicine, 343 (1) , 16-23. Retrieved October 5, 2006, from ProQuest database.

Japsen, Bruce (15 June 2009). “AMA report questions science behind using hormones as anti-aging treatment”. The Chicago Tribune. Retrieved 17 July 2009