สาเหตุและอาการของโรคความดันโลหิต (Blood Pressure)
ความดันโลหิต คือ ความดันหรือแรงดันที่เกิดจากการบีบตัวภายในหลอดเลือดแดง ทำให้มีอาการปวดศรีษะรุนแรง

อาการของโรคความดันโลหิต ( Blood Pressure )

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ป่วยอยู่ในระยะเริ่มแรกนั้นจะไม่มีอาการบ่งชี้ใดๆ แต่ถ้าอาการของโรคความดันโลหิต ( Blood pressure ) อยู่ในขั้นปานกลางหรือรุนแรงแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศรีษะบริเวณท้ายทอย คลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว ตามั่วบ้างในบางครั้ง เลือดกำเดาไหล ( Epistaxis ) เกิดเนื่องจากความดันโลหิตทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณจมูกแตก เหนื่อยหอบจนนอนราบกับพื้นไม่ได้หรือเหนื่อยเมื่อต้องออกแรงหรือทำงานหนัก ซึ่งผู้ป่วยจะเป็นๆ หายๆ ซึ่งถ้าอาการของโรคอยู่ในขั้นวิกฤติอาจจะทำให้เส้นเลือดในสมองแตกเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุของโรคความดันโลหิต

ถึงแม้ว่าสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นกันมากจะยังไม่แน่ชัดถึงสาเหตุ แต่จากการศึกษาและสถิติพบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่น่าจะมีปัจจัยจาก

1. พันธุกรรม จากสถิติพบว่าผู้ที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ว่าจะเป็นบิดา มารดาหรือทั้งบิดาและมารดา บุตรที่เกิดมานั้นจะมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนทั่วไปถึงเกือบเท่าตัว

2. ความเครียด ปัจจุบันนี้พบว่าความเครียดเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงมาก จากสภาวะแวดล้อมที่ต้องอยู่ภายใต้ความกดดันจากการดิ้นรนเพื่อดำรงชีวิตในสังคม ทั้งเรื่องการงาน การเงิน ความรัก สุขภาพล้วนสร้างความเครียดทั้งสิ้น เพราะเมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งสารแห่งความทุกข์ คือ โดฟามีน ( Dopamine ) คอร์ติซอล ( Cortisol ) ซึ่งฮอร์โมนสั้งสองตัวจะทำเข้าไปเพิ่มความดันทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผนังหลอดเลือดหดเกร็งมากขึ้นเป็นผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เมื่อเครียดมากและเครียดบ่อยจากที่ความดันโลหิตสูงเป็นครั้งคราวก็จะกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง

3. อายุ โรคความดันโลหิตสูงส่วนมากจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าหลอดเลือดหัวใจที่ผ่านการใช้งานมานาน 40 ปีนั้นจะเริ่มเสื่อมสภาพ คือ หลอดเลือดเริ่มแข็งตัว มีคอเลสเตอรอลจับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดมีขนาดเล็กลง จึงเป็นเหตุให้หัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้นจึงจะส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะได้

4. พฤติกรรมการกิน จากงานวิจัยพบว่าการกินอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือการบริโภคเกลือในปริมาณมากเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากเกลือจะเข้าไปเพื่อความดันโลหิตในเลือดจากกระบวนการออกซิเดชัน-รีดักชั่นจากการแตกตัวของเกลือ และการกินเค็มจากสารปรุงรสอื่นๆ เช่น น้ำปลา ซอส เป็นต้น จะทำให้ไตต้องทำงานหนักในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

5. รูปร่าง คนที่มีรูปร่างอ้วนหรือเป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงกว่าคนที่มีรูปปกติ เนื่องจากคนอ้วนต้องใช้แรงบีบของหัวใจที่มากกว่าคนผอมในการส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย และมีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานหรือโรคหลอดเลือดตีบจากการที่ไขมันอุดตันจึงส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงตามไปด้วย

6. เพศ จากสถิติพบว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโหลิตสูงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน เพราะผู้หญิงจะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงโดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเมื่อมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะทำให้ร่างกายเกิดการกักเก็บเกลือไว้มากขึ้น คล้ายกับการที่รับประทานเค็มจัดหรือการรับประทานเกลือมากๆ นั่นเอง จึงเป็นเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ชาย

7. ขาดการออกกำลังกาย เวลาที่ออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งสารที่ช่วยลดความเครียดหรือฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา ทำให้ร่างกายลดการสร้างสารแห่งความทุกข์ คือโดฟามีน ( Dopamine ) คอร์ติซอล ( Cortisol ) ได้ แต่ถ้าร่างกายขาดการออกกำลังกายแล้วร่างกายก็จะมีการสร้างสารแห่งความทุกข์ได้มากขึ้น จึงทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงตามมา

8. ความผิดปกติของเอนไซต์เรนิน ( Renin ) เอนไซต์เรนินทำหน้าที่เปลี่ยนทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย โดยเอนไซต์เรนินจะเข้าไปช่วยควบคุมการหดตัวของหลอดเลือดให้ทำงานอย่างปกติ แต่ถ้าเอนไซต์เรนินผิดปกติจะทำให้การบีบตัวของหลอดเลือดผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุที่ของโรคความดันโลหิตสูง

การที่จะรู้ว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ เราต้องทำการวัดความดันเป็นประจำเพื่อที่เราจะได้รู้ว่าความดันของเราอยู่ในสภาวะปกติหรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

ซึ่งการวัดความดันต้องวัดด้วยวิธีการที่ถูกต้องด้วย จึงจะบ่งบอกได้อย่างแม่นยำว่าเรามีอาการของโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

สัญญาณชีพ คือ สัญญาณที่แสดงออกถึงการมีชีวิตอยู่หรือบ่งบอกถึงความผิดปกติภายในร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วย

1. ชีพจร ( Pulse ) ซึ่งชีพจรปกติจะอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที

2. อัตราการหายใจ ( Respiratory ) อัตราการหายใจปกติจะอยู่ที่ 12-18 ครั้งต่อนาที

3. อุณหภูมิของร่างกาย ( Body Temperature ) อุณหภูมิร่างกายปกติจะอยู่ที่ 36.8 ±0.7 °C หรือ 98.2° ±1.3 °F

4.ความดันโลหิต ( Blood Pressure ) ความดันโลหิต คือ ความดันหรือแรงดันที่เกิดขึ้นภายในหลอดเลือดแดงที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ผลค่าความดันโลหิตจะรายงานเป็นตัวเลข 2 ตัว คือ

1. ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค ( Systolic Blood Pressure ) คือ ค่าความดันที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดขณะที่หัวใจทำการบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจส่งไปสู่อวัยวะ การรายงานผลตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขตัวบนหรือตัวเลขที่อยู่ด้านหน้า

2. ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค ( Diastolic Blood Pressure ) คือ ค่าความดันที่หลงเหลืออยู่ในหลอดเลือดหลังจากที่หัวใจบีบตัวหรือค่าความดันที่วัดในขณะที่หัวใจไม่ได้บีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดนั่นเอง ค่านี้จะมีค่าน้อยกว่าความดันโลหิตซีสโตลิคเสมอ การรายงานผลค่าความดันโลหิตนี้จะอยู่ด้านล่างหรือด้านหลัง

ค่าความดันปกติ คือ ค่าความดันโลหิตซีสโตลิคจะมีค่าประมาณ 120-139 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคมีค่าประมาณ 80-89 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความดันอยู่ระหว่าง 120/80 – 139/89 ถือว่าความดันอยู่ในสภาวะปกติไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ความดันโลหิต คือ ความดันหรือแรงดันที่เกิดขึ้นภายในหลอดเลือดแดงที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย

แต่ถ้าค่าความดันมีค่าน้อยหรือมากกว่าค่ามาตรฐานนั้นจะทำให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนี้

1. โรคความดันโลหิตต่ำ ( Low Blood Pressure/Hypotension ) การที่ร่างกายมีความดันต่ำกว่าค่ามาตรฐาน คือ ค่าความดันโลหิตซีสโตลิคต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอทและค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท นั่นคือมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอทนั่นเอง

2. โรคความดันโลหิตสูง ( High Blood Pressure/Hypertension ) การที่ร่างกายมีความดันสูงว่าค่ามาตราฐาน คือ ค่าความดันโลหิตซีสโตลิคสูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอทและค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคสูงว่า 90 มิลลิเมตรปรอท นั่นคือมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทนั่นเอง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบได้มากกว่าโรคความดันโลหิตต่ำ และโรคความดันโลหิตสูงนั้นก็มีอัตรายถึงชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

โรคความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. โรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิหรือแบบไม่รู้สาเหตุ ( Primary Hypertension หรือ Essential Hypertension ) คือ โรคความดันที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน สาเหตุของโรคอาจเกิดจากการรับประทานอาหารเค็มจัด จากกรรมพันธุ์ โรคอ้วน อายุที่ทำให้เกิดภาวะของโรคขึ้น โรคความดันโลหิตชนิดนี้พบมากถึง 95% ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด

2. โรคความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิหรือแบบทราบสาเหตุ ( Secondary Hypertension ) คือ โรคความดันโลหิตสูงที่รู้สาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง การเกิดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต โรคไตเรื้อรัง การที่เส้นเลือดแดงใหญ่เกิดตีบตัน โรคความดันโลหิตแบบทราบสาเหตุนี้จะพบน้อยมากหรือพบเพียง 5% ของจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมาก ผู้ที่เสียชีวิตส่วนมากจะเป็นคนที่มีอายุน้อยที่อยู่ในวัยทำงาน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าอาการของโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะแรกๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจึงไม่ดูแลและทำการรักษาควบคุมระดับความดันให้เหมาะสม ซึ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลและควบคุมแล้วผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคหัวใจ เป็นต้น หรืออาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างกระทันหันได้

ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตาม คือ

  1. ความดันโลหิตสูงระยะแรกเริ่ม คือ ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตซีสโตลิคอยู่ที่ 140-159 มิลลิเมตรปรอทและ ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคอยู่ที่ 90 – 99 มิลลิเมตรปรอท โดยในระยะนี้โรคจะยังไม่แสดงอาการของโรคความดันโลหิต

2. ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง คือ ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตซีสโตลิคอยู่ที่ 160-179 มิลลิเมตรปรอทและ ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคอยู่ที่ 100-109 มิลลิเมตรปรอท

3. ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง คือ ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตซีสโตลิคสูงกว่า 180 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปและ ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคสูงกว่า 110 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

ขั้นตอนการตรวจวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง

1. พักก่อนวัดความดัน ก่อนที่จะทำการวัดความดัน เราต้องนั่งหรือนอนพักอย่างน้อย 5-10 นาทีเพื่อให้ความดันของเรากลับสู่สภาปกติ เพราะถ้าทำการวัดตอนที่เหนื่อยความดันจะมีค่าสูงกว่าปกติ

2. ท่าสำหรับการวัด การวัดความดันสามารถวัดได้ทั้งท่านั่งและนอน โดยการวัดในท่านั่ง ให้นั่งบนเก้าอี้ วางแขนข้างที่ต้องการวัดจะเป็นแขนขวาหรือซ้ายก็ได้บนโต๊ะ พร้อมทั้งหงายมือขึ้น ปล่อยแขนตามสบายไม่เกร็ง ท่านอนให้นอนหงาย วางมือหงายขึ้นตามสบาย

3. การวางเครื่องวัดความดัน ควรวางเครื่องวัดความดันให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจของผู้ที่ต้องการวัดความดัน

4. พันผ้ารอบแขนข้างที่ต้องการวัด การพันผ้าควรพันให้อยู่เหนือข้อศอกประมาณ 2 นิ้วและต้องพันผ้าให้หมดไม่เหลือชายปล่อยทิ้งไว้

5. หาจุดชีพจรที่ข้อมือ เมื่อหาจุดชีพจรเจอแล้วให้ใช้หูฟังวางตรงจุดนั้นเพื่อฟังเสียงชีพจร

6. บีบลูกยางเพื่อเพิ่มความดันในผ้าพันแขน บีบไปเรื่อยๆ จนกระทั้งไม่ได้ยินเสียงของชีพจรหรือตัวเลขความดันบอกที่ 160 แล้วให้ค่อยๆ คลายเกลียวลูกยางจนความดันในผ้าเท่ากับความดันในเส้นเลือด เส้นเลือดจะเกิดการขยายตัวออกให้เลือดไหลผ่าน ในขณะที่มีการคลายตัวเสียงของชีพจรจะดังตุ๊บๆ จนที่จุดๆ หนึ่งเสียงชีพจรจะเปลี่ยนและหายไป รอจนตัวเลขบนหน้าจอเครื่องวัดความดันนิ่ง

7. เสียงดังที่ได้ยินในครั้งแรก คือ ค่าความดันซีสโตลิค และที่จุดที่เสียงหายไปคือ ค่าความดันไดแอสโตลิค การวัดความดันเพื่อความแม่นยำของค่าความดันที่ได้ ควรวัดซ้ำกัน 2 ครั้ง

โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบที่คืบคลานเข้ามาในชีวิตของเราอย่างช้าๆ ด้วยการที่โรคจะแสดงอาการของโรคความดันโลหิตก็ต่อเมื่ออยู่ในสภาวะที่ร้ายแรงแล้ว ดังนั้นทางที่ดีเราจึงควรดูแลเอาใจใส่ตัวเองด้วยการตรวจสุขภาพ ตรวจวัดความดันเป็นประจำเพื่อป้องกันการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Ogedegbe, Gbenga; Pickering, Thomas (2010-11-01). “Principles and techniques of blood pressure measurement”. Cardiology Clinics. 28 (4): 571–586.

O’brien, Eoin (2001-01-01). “Blood pressure measurement is changing!”. Heart. 85 (1): 3–5. heart.85.1.3. ISSN 1468-201X. PMC 1729570 Freely accessible. PMID 11119446.