การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง (Cancer Care)
ผู้ป่วยมะเร็งต้องได้รับการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง นอกจากการรักษาที่ดีแล้ว อีกสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือ การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งนั้น ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ และผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นยังมีขั้นตอนการดูแลที่แตกต่างจากผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่นๆ อีกด้วย ดังต่อไปนี้

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อประคับประคอง ( Palliative Care for Cancer )

เป็นวิธีการที่ใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยมะเร็ง การดูแลป่วยวิธีนี้ ไม่ได้เน้นที่จะให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็ง แต่จะเน้นในเรื่องการดูแลทางสภาพจิตใจ ให้คลายความทุกข์หรือลดความเจ็บปวดทรมานทางร่างกายต่างๆจากโรคมะเร็ง รวมถึงการพัฒนาให้ผู้ป่วยมีคุณภาพของชีวิตให้ดียิ่งขึ้น เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย หรือ มีอาการที่หนักมากจนไม่มีทางรักษาให้หายแล้ว  แต่ก็สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยเป็นมะเร็งได้ในทุกระดับอาการเหมือนกัน  ตัวอย่างการดูแลวิธีนี้ เช่น การให้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้หลังจากการให้เคมีบำบัด การช่วยให้บรรเทาอาการเจ็บปวดทางร่างกาย การพูดคุยหรือให้กำลังใจกับผู้ป่วยรวมถึงญาติๆ เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อรักษาให้หายขาด ( Curative Care for Cancer )

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง วิธีนี้คือจะเน้นหรือมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยรักษาให้อาการของมะเร็งหายขาด ด้วยวิธีการรักษาต่างๆ เช่น การให้เคมีบำบัด การผ่าตัด  การใช้ฮอร์โมนบำบัด เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้จะใช้วิธีควบคุมไม่ให้โรคมะเร็งกระจายไปส่วนอื่นอีก ซึ่งต่างจากการดูแลแบบประคับประคอง ที่จะทำแค่การควบคุมอาการของโรคเท่านั้น

ซึ่งรูปแบบในการดูแลและรักษาผู้ป่วยนั้น จะเริ่มต้นจากการดูแลและรักษาให้หายขาดก่อนเสมอแต่หากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นเลย และยังคงมีอาการทรุดลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  แพทย์ผู้รักษาจะต้องทำการแจ้งคนไข้ หรือญาติพี่น้องของคนไข้ เพื่อให้รับทราบและจะได้วางแผนการดูแลผู้ป่วยต่อไป โดยจะปรับเปลี่ยนจากการดูแลให้หายขาดมาเป็น การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง แบบประคับประคองแทน  ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับ ในช่วงแรกจะให้เคมีบำบัด เพื่อรักษาอาการของมะเร็งให้หายขาด แต่เมื่ออาการทรุดลงจนเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ก็จะเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการให้เคมีบำบัด จากรักษาให้หายเหลือแค่ ยับยั้งการโตของมะเร็ง เพื่อให้คนไข้อยู่ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

เนื่องจากการให้คีโม จะไปทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติมโตของเซลล์มะเร็งในร่างกาย ซึ่งเป็นการรักษามะเร็งวิธีหนึ่ง แต่ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับคีโม ก็จะมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติของร่างกายตามไปด้วย

โดยอาการข้างเคียงที่จะพบหลังจากให้คีโม คือ  ผมร่วง ภูมิคุ้มกันต่ำลง คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องให้คีโมนั้น การดูแลผู้ป่วยมะเร็งในเรื่องอาหารการกินให้กับผู้ป่วย ต้องเลือกอาหารที่ดีและมีประโยชน์ เน้นอาหารที่มีความสะอาด ปรุงให้สุก และหลีกเลี่ยงอาหารหมักดองหรือใช้ดินประสิวในการถนอมอาหาร เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ร่วมไปถึง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ นอกจากนี้ยังควรเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงๆ  ควรหาเวลาว่างไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และที่สำคัญต้องมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียดด้วย

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง หลังได้รับคีโมแล้ว ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการแพ้ยา โดยอาการแพ้ยาโดยเฉพาะสภาวะคลื่นไส้อาเจียน สามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบคือ การแพ้ยาแบบเฉียบพลัน ( Acute Chemotherapy-Induced Nausea ) ที่เกิดขึ้นภายใน 1-8 ชั่วโมงแรกหลังจากให้ยา และจะหายไปเองภายใน 24 ชั่วโมง และแบบไม่เฉียบพลัน ( Delayed Chemotherapy-Induced Nausea ) ที่มีอาการคลื่นไส้หลังจากวันที่ให้ยาและเป็นไปอย่างต่อเนื่องไปอีก 5-7 วัน  โดยหลังจากยุติการให้คีโมแล้ว ร่างกายของผู้ป่วยจะค่อยๆกลับมาแข็งแรงดังเดิม ผมที่เคยร่วงจะค่อยๆงอกกลับมา อาการอ่อนเพลีย อาเจียน ต่างๆก็จะค่อยๆหายไปเอง ในช่วงหลัง 1-3 เดือนจากการรักษาเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของในการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วย จึงควรดูแลด้านโภชนาการ อาหารการกิน การนอนหลับ และการออกกำลังกาย ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เพิ่งถูกผ่าตัดเต้านม ( Mastectomy ) ที่เป็นเนื้อร้ายออกไปนั้น สำหรับการดูแลผู้ป่วย ควรให้ผู้ป่วยได้ไปทำกายภาพบำบัด เช่น การแกว่งแขน  ขยับแขนขึ้นลงไปมา เพื่อป้องกันอาการแขนบวม  และรวมถึงการบีบนวดที่บริเวณแขนและรักแร้ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำเหลือง และถ้าห่างร่างกายของคนไข้แข็งแรงแล้ว ควรดูแลเรื่องสภาพจิตใจต่อไปกับการที่ต้องสูญเสียอวัยวะบางอย่างไป จากที่เคยมี อาจจะให้คนไข้ใส่เต้านมเทียม เพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย

นอกจากหมอเก่งๆ หรือยาชั้นดีแล้ว ไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งจะอยู่ในอาการไหน หรือต้องใช้วิธีการใดใน การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เรื่องกำลังใจสำคัญที่สุด ญาติหรือคนใกล้ตัว ต้องมีความเข้าใจในโรคมะเร็งชนิดนั้นๆ ควรดูแลและให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลาเท่าที่สามารถจะทำได้ หากผู้ป่วยมีกำลังใจที่ดีและเข้มแข็งแล้ว  เขาก็พร้อมที่จะต่อสู้กับโรคร้ายนี้ต่อไปอย่างเต็มที่ทีสุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อน เข้าใจกว่า การตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

“Symptoms in 400 patients referred to palliative care services: prevalence and patterns”. Palliat Med. 17(4):310-314.