การตรวจ Globulin ในเลือดจำเป็นอย่างไร
โกลบูลิน เป็นส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในพลาสมา ส่วนใหญ่เป็นโปรตีนที่มีรูปร่างกลม ไม่ละลายในน้ำ ซึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้

Globulin คืออะไร

โกลบูลิน ( Globulin ) คือ กลุ่มของโปรตีนทรงกลมที่มีบทบาทสำคัญในกระแสเลือด โดยไม่ละลายในน้ำบริสุทธิ์แต่จะละลายได้ในสารละลายน้ำเกลือเจือจาง บางชนิดถูกสร้างในตับ ขณะที่อีกบางชนิดถูกสร้างโดยระบบภูมิคุ้มกัน และ โกลบูลินยังคงแตกย่อยลงไปได้อีกหลายชนิด แต่เราสามารถจัดกลุ่มเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ α – Globulin ( Alpha globulin ), β – Globulin ( Beta globulin ) และ γ – Globulin ( Gamma globulin ) โดยแต่ละประเภทก็จะมีบทบาทที่สำคัญต่อร่างกายแตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

α – Globulin ( Alpha globulin ) : ภายในกลุ่มนี้ก็ยังแตกแขนงออกไปได้อีกหลายอย่าง แต่ก็มีตัวสำคัญๆ ที่ควรทำความเข้าใจอยู่ไม่มากมายนัก ส่วนใหญ่มีประโยชน์ในการตรวจสอบความผิดปกติของร่างกาย

  • Fetoprotein เป็นสารที่สังเคราะห์ได้จากลำไส้ เซลล์ตับ และ York sac ยังไม่รู้แน่ชัดว่าบทบาทและหน้าที่หลักของมันคืออะไรกันแน่ แต่กลับเป็นสารที่เราใช้เพื่อวิเคราะห์และตรวจกรองมะเร็งได้ ถ้ามีค่าสูงกว่าปกติ มักจะเป็นสัญญาณของมะเร็งตับบางชนิด และยังใช้เพื่อตรวจวัดความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ด้วย
  • Haptoglobin สังเคราะห์ได้จากตับ ทำหน้าที่เป็นตัวจับกับฮีโมโกบินอิสระในภาวะที่เม็ดเลือดแดงเกิดแตกตัว ความผิดปกติของค่าที่เราตรวจพบจะมีอยู่ 2 กรณี คือ มีค่าต่ำกว่าปกติ หมายความถึงเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกตัวในหลอดเลือด กับอีกแบบคือมีค่าสูงกว่าปกติ หมายถึงการเกิดภาวะอักเสบเฉียบพลันในระดับเซลล์
  • Antitrypsin สารนี้มีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้เอนไซม์บางกลุ่มดำเนินการย่อยสลายโปรตีนที่เป็นโครงสร้างเนื้อเยื่อ และเป็นสารที่สำคัญซึ่งเราใช้เพื่อวิเคราะห์การทำงานของตับอันผิดปกติหรือภาวะตับแข็ง ตลอดจนภาวะถุงลมโป่งพองได้

β – Globulin ( Beta globulin ) : มาถึงกลุ่มที่ 2 ซึ่งแตกย่อยออกไปน้อยกว่าแบบแรก แต่นี่ก็ยังไม่นับรวมตัวที่เราไม่รู้แน่ชัดว่าหน้าที่และประโยชน์ของมันคืออะไร

  • Transferrin ตัวแรกนี้เป็นสารที่สังเคราะห์มาได้จากตับ หน้าที่หลักก็คือการขนส่งธาตุเหล็กในกระแสเลือดนั่นเอง จึงช่วยป้องกันการเกิดพิษจาก free iron และยังป้องกันการสูญเสียธาตุเหล็กผ่านทางปัสสาวะได้ด้วย ถ้าตรวจแล้วพบว่ามีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน หมายความว่าร่างกายมีภาวะขาดแคลนโปรตีน ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุของการสังเคราะห์โปรตีนไม่พอหรือสูญเสียออกจากร่างกายไป รวมไปถึงเป็นสัญญาณของการอักเสบภายในได้ด้วย อย่างไรก็ตามกรณีนี้ก็ถือว่าพบได้น้อยมาก อีกแบบหนึ่งคือตรวจแล้วพบว่าค่าสูง ก็เป็นสัญญาณของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • Hemopexin เป็นอีกตัวที่สังเคราะห์ได้ที่ตับเช่นเดียวกัน หน้าที่หลักคือจับกับบรรดาหมู่ฮีมอิสระในเลือด ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการแตกสลายของฮีโมโกลบินนั่นเอง โดยโปรตีนตัวนี้จะจับแล้วนำไปทำลายที่ตับต่อไป
  • Fibrinogen นี่เป็นโปรตีนที่มีส่วนสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือด หากมีภาวะอักเสบเกิดขึ้นในร่างกาย ก็จะมีผลทำให้โปรตีนตัวนี้มีค่าสูงขึ้นด้วย

γ – Globulin ( Gamma globulin ) : กลุ่มสุดท้ายนี้โดดเด่นมากในด้านภูมิคุ้มกันร่างกาย สังเคราะห์ได้จากพลาสมาเซลล์ และการสังเคราะห์นั้นต้องได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแปลกปลอมบางอย่างที่เข้าสู่ร่างกายด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าไม่ได้มีแค่ส่วนของ γ – Globulin เท่านั้นที่สามารถทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันได้ มีบางส่วนของ β – Globulin ที่ทำหน้าที่นี้เช่นเดียวกัน เพื่อความเข้าใจง่ายจึงเรียกโปรตีนทุกตัวที่ทำหน้าที่ภูมิคุ้มกันว่า “Immunoglobulin” มาถึงตรงนี้ถ้ายังเกิดความสับสนว่า Globulin คืออะไรกันแน่ ก็ให้เหมารวมแบบง่ายๆ ก็ได้ว่าเป็นกลุ่มของภูมิคุ้มกัน

การตรวจ Globulin ในเลือด

เมื่อมี การตรวจ Globulin ในเลือด ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่าค่า Globulin ที่แสดงในผลตรวจเลือดมันคืออะไร หรือถ้าใครไม่เคยสังเกตเห็น ก็น่าจะเคยได้ยินชื่อนี้กันมาบ้าง จากข้อมูลการเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการในด้านโปรตีนต่างๆ เพราะนี่เป็นอีกหนึ่งสารประกอบที่ได้รับความสนใจค่อนข้างมากในปัจจุบัน และผู้คนทั่วไปเริ่มให้ความสำคัญกับการตรวจวัดค่า Globulin ในเลือดกันมากขึ้น ดังนั้นเราจะมาทำความรู้จักสารชนิดนี้กัน ว่ามีรายละเอียดในเชิงลึกอย่างไร และมีประโยชน์ในด้านไหนบ้าง[/vc_column_text]

ทำไมจึงต้องตรวจวัดค่า Globulin

พื้นฐานของการตรวจวัดค่าต่างๆ ก็คือการประเมินสภาพในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร การตรวจวัดค่า Globulin ในเลือดก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าเราจะพอรู้กันมาบ้างแล้วจากข้อมูลข้างต้น ว่า Globulin นั้นเป็นกลุ่มของภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย แต่อะไรที่มากหรือน้อยเกินไปก็ไม่ดีทั้งนั้น ถ้าภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายก็เจ็บป่วยได้ง่าย อ่อนไหวต่อความเสี่ยงที่มากกว่าคนปกติทั่วไป ในขณะที่ ถ้าภูมิคุ้มกันสูงผิดปกติ ไม่ได้หมายความว่าเรากำลังแข็งแรงมาก แต่เป็นภาวะที่ต้องระวังด้วยเช่นกัน ไม่มีเหตุผลที่ร่างกายจะเร่งผลิตภูมิคุ้มกัน หากไม่มีสิ่งผิดปกติอื่นใดเกิดขึ้นในร่างกาย ดังนั้นการตรวจวัดค่า Globulin จึงมีความสำคัญมาก และต้องลงรายละเอียดในส่วนของ alpha beta และ gamma ด้วย

ขั้นตอนการตรวจวัด Globulin ในเลือด

การตรวจวัด Globulin ก็จะเหมือนกับการตรวจวัดระดับโปรตีนชนิดอื่นๆ ในเลือด โดยที่ผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษล่วงหน้า ไม่ต้องอดอาหารและอดน้ำ เหมือนกับผู้ที่มีโรคประจำตัวแล้วจำเป็นต้องตรวจระดับน้ำตาลหรือระดับไขมันในเลือด แต่จำเป็นต้องแจ้งแพทย์ผู้ดูแลว่าตัวเองมีโรคประจำตัวหรือมีเงื่อนไขเกี่ยวกับสุขภาพด้านไหนบ้าง เพื่อที่แพทย์จะได้ใช้ประกอบการอ่านค่าผลเลือดที่ได้ ขั้นตอนจะเริ่มจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเจาะเพื่อดูดเลือดจากเส้นเลือดดำออกไป ปริมาณที่ต้องใช้อยู่ประมาณ 5 มิลลิลิตร บรรจุใส่หลอดแก้วแล้วส่งเข้าห้องตรวจ หากสถานพยาบาลแห่งนั้นไม่มีที่ตรวจวัดที่ได้มาตรฐาน ก็อาจจะนำเลือดนั้นไปปั่นแยกชั้นแล้วนำเฉพาะส่วนที่ต้องใช้ ส่งให้กับห้องแลปที่มีความพร้อมมากกว่าต่อไป แน่นอนว่าก็ต้องใช้เวลา เมื่อส่งเข้าห้องตรวจจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงก่อนจะได้รับรายงานผล และสามารถแจ้งความประสงค์ขอตรวจซ้ำได้อีกเมื่อผ่าน 48 ชั่วโมงไปแล้ว

ระดับค่าปกติของ Globulin ในร่างกาย

หากไม่มีระบุไว้เป็นอย่างอื่นในใบวัดผลตรวจเลือด และแพทย์ไม่ได้แจ้งอะไรเพิ่มเติมอีก ค่าปกติของ Globulin ที่ใช้กันโดยทั่วไปก็คือ 2.3 – 3.4 gm/dL นั่นหมายความว่ามีโอกาสที่จะเจอช่วงค่าปกติที่เป็นค่าอื่นๆ ได้เหมือนกัน อย่างเช่น 2.2 – 4.2 gm/dL หรือ 2.3 – 2.8 gm/dL จึงต้องยึดค่ากำหนดของโรงพยาบาลหรือคลินิกแต่ละที่เป็นสำคัญ สิ่งที่ต้องคอยสังเกตและระมัดระวังมีเพียงแค่ ค่าปกติเหล่านั้นต้องไม่หนีจากค่ามาตรฐานมากเกินไป และเนื่องจากว่า Globulin แยกออกเป็นหลายประเภท จึงมีค่ามาตรฐานที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละประเภทอีกด้วย
อีกประเด็นหนึ่งก็คือระดับอัตราส่วนที่เป็นมาตรฐาน ระหว่าง Globulin กับ Albumin จะมีค่าเหมาะสมอยู่ที่ 1:2 แต่ก็สามารถแกว่งได้เล็กน้อย ดังนั้นการตรวจวัดค่าโปรตีนในเลือด จึงต้องตรวจวัดโปรตีนทุกชนิดไปพร้อมกัน เพื่อที่จะได้มีข้อมูลสำคัญมาเปรียบเทียบกันได้

โกลบูลิน เป็นส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในพลาสมา ส่วนใหญ่เป็นโปรตีนที่มีรูปร่างกลม ไม่ละลายในน้ำ ซึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้

ปัจจัยที่ทำให้ค่า Globulin อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ

– มีภาวะไตรั่ว หรือ Nephrotic syndrome เป็นลักษณะอาการที่มีสารโปรตีนปนไปกับปัสสาวะ เราอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโรคโปรตีนรั่วก็ได้ มักมีต้นตอมาจาก 2 สาเหตุ คือ มีความเสียหายหรือเกิดพยาธิสภาพที่ไต กับ เนื้อเยื่อไตเสียหายเนื่องจากโรคประจำตัวอื่นๆ ของร่างกาย
– ตับทำหน้าที่ได้ไม่เต็มศักยภาพ กรณีนี้แยกได้หลายแบบ อาจเป็นเพราะตับไม่สามารถผลิต Globulin ได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ไปจนถึงผลิตไม่ได้เลย หรือเกิดความเสียหายบางอย่างที่เป็นอุปสรรคบั่นทอนการผลิต Globulin ของตับ
– มีภาวะอักเสบในลำไส้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมลดน้อยลง
– มีโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้ร่างกายผลิต Globulin ได้ในปริมาณน้อยมาก อาจเรียกว่าเป็นภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องก็ได้เหมือนกัน
– เม็ดเลือดไม่แข็งแรง และเกิดการแตกตัวก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม

ปัจจัยที่ทำให้ค่า Globulin อยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ

– เป็นมะเร็งไขกระดูก ทำให้ไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดขาวได้ดีเท่ากับภาวะปกติ เมื่อในร่างกายมีเม็ดเลือดขาวน้อยเกินไป Globulin ก็ไม่สามารถจับกับเม็ดเลือดขาวได้เพียงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกัน กลายเป็นว่ามี Globulin หลงเหลืออยู่ในระบบมากเกินไป ค่าที่วัดได้จึงสูงกว่าปกติ
– เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ภาวะนี้เกิดจากมีการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาวอย่างรวดเร็วเกินไป จึงไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดขาวที่มีความสมบูรณ์พร้อมได้ เมื่อเม็ดเลือดขาวผิดปกติแล้วก็ไม่อาจจับกับ Globulin ได้ และหลงเหลือ Globulin อยู่ในระบบเช่นเดียวกับมะเร็งไขกระดูก

– ร่างกายเกิดการติดเชื้อหรือมีภาวะที่เป็นพิษ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า เมื่อภูมิคุ้มกันเพิ่มระดับสูงขึ้นมาก นั่นหมายความว่าต้องมีบางอย่างที่ไม่ปลอดภัย และร่างกายต้องการกำจัดออก เมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ระบบร่างกายจึงส่งสัญญาณให้เร่งผลิตภูมิคุ้มกันขึ้นมา จึงทำให้มีค่าการตรวจ Globulin ในเลือดที่สูงกว่าปกตินั่นเอง
– เป็นโรคตับบางชนิด ซึ่งที่พบได้บ่อยจะเป็นประเภทที่ท่อน้ำดีเกิดการอุดตัน อาจเป็นผลมาจากโรคตับแข็ง ก้อนนิ่ว เนื้องอก หรือดีซ่านก็ได้ทั้งนั้น เมื่อท่ออุดตันเสียแล้ว ไม่ว่าตับจะสร้างองค์ประกอบสำคัญใดๆ ออกมา ก็ย่อมไม่อาจส่งออกไปผ่านทางท่อน้ำดีได้ จึงต้องแก้ไขด้วยการส่งไปทางกระแสเลือด เมื่อเราตรวจเลือดก็จึงพบ Globulin ในปริมาณมาก

รูปแบบการรักษาเมื่อพบว่าค่า Globulin ผิดปกติ

เนื่องจากว่า Globulin คือกลุ่มของโปรตีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเมื่อมีค่าที่ผิดปกติไป ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ก็มักจะเป็นอาการความเจ็บป่วยที่ค่อนข้างรุนแรงทั้งนั้น ไม่เหมือนกับโปรตีนชนิดอื่น อย่างเช่น Albumin ที่บางครั้ง แค่ดื่มน้ำให้มากขึ้น หรือเลือกทานอาหารให้ตรงกลุ่มมากขึ้น ร่างกายก็เข้าสู่สภาวะปกติได้แล้ว
เมื่อการตรวจวัดค่า Globulin แล้วพบว่ามีค่าสูงหรือต่ำเกินไป จึงต้องเร่งดำเนินการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด เพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดจากอะไรกันแน่ จากนั้นจึงค่อยบำบัดและรักษาตามลำดับอาการต่อไป และในขั้นตอนนี้ผู้เข้ารับการรักษาก็ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญของตัวเองทั้งหมดให้กับแพทย์ผู้ดูแลด้วย อย่าได้ละเลย นอกจากจะช่วยให้แพทย์ทำงานได้สะดวกขึ้นแล้ว ก็ยังลดความเสี่ยงของผลกระทบจากโรคประจำตัวที่เราอาจนึกไม่ถึงอีกด้วย
สุดท้ายนี้ การตรวจวัดค่า Globulin ในเลือดนั้น ไม่ได้เป็นกระบวนการที่ยุ่งยากแต่อย่างใดเลย แถมไม่ต้องมีการเตรียมตัวอะไรให้ต้องลำบากอีกด้วย แต่กลับเป็นขั้นตอนทางการแพทย์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ที่เข้ารับการตรวจโดยตรง ใครที่มีรูปแบบของโภชนาการไม่ดี มีโรคเกี่ยวกับไตและตับแอบแฝงอยู่ ตลอดจนมีภาวะบกพร่องบางอย่างในภูมิคุ้มกัน การตรวจ Globulin ในเลือด ถือเป็นกิจกรรมเล็กๆ ใช้เวลาไม่นาน แต่คุ้มค่าอย่างแท้จริง

เอกสารอ้างอิง

Harris, T; Eagle (1935). “THE IMMUNOLOGICAL SPECIFICITY OF THE EUGLOBULIN AND PSEUDOGLOBULIN FRACTIONS OF HORSE AND HUMAN SERUM”.

SanchMonge, R.; Lopez-Torrejón, G.; Pascual, C. Y.; Varela, J.; Martin-Esteban, M.; Salcedo, G. (12 November 2004). “Vicilin and convicilin are potential major allergens from pea”. Clinical & Experimental Allergy. 34 (11): 1747–1753.

[/vc_column][/vc_row]