การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน ( Hormone Assays )
β- HCG ( beta-HCG ) เป็นการตรวจเลือดหาฮอร์โมนตัวนึงที่ใช้เป็นสารบ่งชี้โรคมะเร็งของรกภายในมดลูก หรือโรคมะเร็งลูกอัณฑะ

การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน ( Hormone Assays )

ในร่างกายของเราทุกคนนั้นมีสารเคมีที่เรียกว่า “ ฮอร์โมน ” ซึ่งถูกสร้างโดยเซลล์ หรือต่อมต่างๆ ทั้งนี้ฮอร์โมนมีส่วนในการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะ หากฮอร์โมนเสียสมดุล มันก็อาจส่งผลต่ออารมณ์ สุขภาพ และอาจทำให้เกิดความผิดปกติหรือโรคร้ายต่างๆ ถ้าฮอร์โมนขาดความสมดุลแล้วก็สามารถส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้า ซึ่งสัญญาณเตือนที่บอกว่าฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน ( Hormone Assays ) จึงเป็นการตรวจหาความผิดปกติของฮอร์โมนต่างๆ

ฮอร์โมนที่สำคัญในร่างกาย

1. β- HCG ( beta-HCG )

วัตถุประสงค์ของการตรวจ β- HCG ( beta-HCG )
เป็นการตรวจเลือดหาฮอร์โมนตัวนึงที่ใช้เป็นสารบ่งชี้โรคมะเร็งของรกภายในมดลูก หรือโรคมะเร็งลูกอัณฑะ โดยปกติ Human Chorionic Gonadotropin ( HCG ) ซึ่งมี β- HCG ( beta-HCG ) เป็นองค์ประกอบหลักซึ่งนับเป็นฮอร์โมนที่ถูกใช้มาแต่ดั้งเดิมเพื่อตรวจการตั้งครรภ์

ค่าปกติของ β- HCG ( beta-HCG )
ผู้หญิง ( ที่ไม่ตั้งครรภ์ ) : HCG < 3.0 mIU / mL
ผู้หญิง ( ภายหลังวัยทอง ) : HCG < 6.0 mIU / mL
ผู้ชาย : HCG < 2.0 mIU / mL

ค่าผิดปกติของ β- HCG ( beta-HCG )
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. ในผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ค่าต่ำมากเท่าใดถือว่าไม่ผิดปกติ
ข. ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจสงสัยว่าจะแท้ง
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. อาจเริ่มมีการตั้งครรภ์
ข. อาจเกิดการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นเนื้องอกคล้ายไข่ปลาโดยไม่ปรากฏตัวทารก
ค. อาจมีการตั้งครรภ์นอกมดลูก
ง. อาจบ่งชี้โรคมะเร็งของรกภายในมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งลูกอัณฑะ มะเร็งตับ หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

2. Prolactin ( PRL)

วัตถุประสงค์ของการตรวจ Prolactin ( PRL)
เพื่อจะตรวจเลือดหาระดับโปรแลคติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตมาจากต่อมใต้สมอง ที่มีบทบาทควบคุมระบบฮอร์โมนสำคัญของร่างกาย

ค่าปกติของ Prolactin ( PRL)
ผู้หญิง : 3.4 – 24.1 ng / dL
ผู้ชาย : 4.1 – 18.4 ng / dL 

ค่าผิดปกติของ Prolactin ( PRL)
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. อาจเกิดมะเร็งที่ต่อมใต้สมอง
ข. ต่อมใต้สมองเสียหายจากเหตุหลอดเลือดในสมองขัดข้อง
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. อาจเกิดมะเร็งลุกลามไปถึงต่อมใต้สมอง
ข. อาจเกิดถุงน้ำมากผิดปกติในรังไข่
ค. อาจเกิดอาการเบื่ออาหาร
ง. เกิดจากการกินยาประเภทคลายเครียดหรือยาคุมลดความดันเลือด
จ. อาจเกิดโรคหรือเหตุสำคัญที่ไฮโปธาลามัส
ฉ. เกิดโรคไต
ช. อาจเกิดอาการบวมชนิดไม่ใช่มะเร็งที่บริเวณต่อมใต้สมอง

3. Follicle Stimulating Hormone ( FSH )

วัตถุประสงค์ของการตรวจ Follicle Stimulating Hormone ( FSH )
เพื่อใช้ผลการตรวจเลือดวิเคราะห์บทบาทของฮอร์โมน Follicle Stimulating Hormone ( FSH ) ที่ช่วยจำแนกความเป็นมนุษย์เพศหญิงและเพศชายให้เด่นชัด ซึ่งอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าสภาวะมีความพร้อมทางเพศที่จะสืบพันธุ์ให้กำเนิดบุตร

ค่าปกติของ Follicle Stimulating Hormone ( FSH )
ผู้หญิง ( ที่ไม่ตั้งครรภ์ )
– Follicular phase = 3.5 – 12.5 mIU / mL
– Ovulatory phase = 4.7 – 21.5 mIU / mL
– Luteal phase = 1.7 – 7.7 mIU / mL
ผู้หญิง ( ภายหลังวัยทอง หรือหมดระดู ) = 25.8 – 134.8 mIU / mL
ผู้ชาย = 1.5 – 12.4 mIU / mL

ค่าผิดปกติของ Follicle Stimulating Hormone ( FSH ) ในผู้หญิง
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. ต่อมใต้สมองหรือสมองส่วนไฮโปธาลามัสอาจเกิดโรคใดโรคหนึ่ง
ข. เกิดภาวะเครียดผิดปกติ
ค. เบื่ออาหาร
ง. รับประทานอาหารไม่สมดุล หรือรับประทานอาหารไม่เพียงพอ
จ. อาจเกิดการเริ่มต้นของการปฏิสนธิ
ฉ. รังไข่อาจทำงานอยู่โดยไม่ยุติอย่างสมบูรณ์แบบ
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. เกิดโรคมะเร็งรังไข่
ข. มีโรคทางพันธุกรรมทำให้รังไข่มีปัญหา
ค. รังไข่อาจเสียหายจากการรักษาโรคด้วยวิธีเคมีบำบัด
ง. รังไข่อาจเสียหายจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
จ. เกิดภาวะมีถุงมากผิดปกติในรังไข่ทำให้ไม่ตกไข่
ฉ. อาจเกิดการเริ่มต้นวัยหนุ่มสาวเร็วเกินไป
ช. เกิดจากการเริ่มเข้าสู่ภาวะหมดระดูทำให้ Follicle Stimulating Hormone ( FSH ) สูงกว่าปกติ
ซ. เกิดภาวะผิดปกติที่รังไข่หรือเกิดโรคที่รังไข่
ฌ. การตกไข่ไม่สำเร็จ
ญ. กระบวนการปฏิสนธิอาจมีภาวะผิดปกติ

ค่าผิดปกติของ Follicle Stimulating Hormone ( FSH ) ในผู้ชาย
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. อาจเกิดปัญหาโรคต่อมใต้สมองหรือต่อมไฮโปธาลามัส
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. เกิดภาวะเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วกว่าปกติ
ข. ลูกอัณฑะถูกเชื้อไวรัสร้ายแรงบางชนิดโจมตี
ค. ลูกอัณฑะอาจได้รับความกระทบกระเทือนมากเกินไปจนเกิดอาการบอบช้ำระคายเคือง
ง. ลูกอัณฑะเสื่อม จากการได้รับสารเคมีบำบัดโรคอื่น
จ. ลูกอัณฑะอาจถูกฉายรังสีบ่อยเกินไปจากการรักษาโรคหรืออุบัติเหตุ
ฉ. อาจเกิดโรคมะเร็งของลูกอัณฑะ
ช. อาจเกิดโรคภูมิต้านทานทำลายตนเอง

4. Luteinizing hormone ( LH )

วัตถุประสงค์ของการตรวจ Luteinizing Hormone ( LH )
การตรวจหาค่า Luteinizing Hormone ( LH ) โดยทั่วไปมักมีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบความผิดปกติของกระบวนการให้กำเนิดบุตรและวงรอบประจำเดือนของสตรี

ค่าปกติของ Luteinizing Hormone ( LH )
ผู้หญิง ( ที่ไม่ตั้งครรภ์ )
– Follicular phase = 2.4 – 12.6 mIU / mL
– Ovulatory phase = 14.0 – 95.6 mIU / mL
– Luteal phase = 1.0 – 11.4 mIU / mL
ผู้หญิง ( ภายหลังวัยทอง หรือหมดระดู ) = 7.7 – 58.5 mIU / mL
ผู้ชาย = 1.7 – 8.6 mIU / mL

ค่าผิดปกติของ Luteinizing Hormone ( LH ) ในผู้หญิง
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. ต่อมใต้สมองอาจบกพร่องหรือผิดปกติ
ข. สมองส่วนไฮโปธาลามัสเกิดความผิดปกติ
ค. เกิดการขาดสารอาหาร
ง. เบื่ออาหาร
จ. เกิดความเครียด
ฉ. เกิดภาวะขาดระดู
ช. เกิดภาวะไร้ไข่หรือไม่มีไข่
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. อวัยวะเกี่ยวกับเพศบางแห่งบกพร่อง
ข. สภาวะวัยหนุ่มสาวเร็วเกินไป
ค. ต่อมใต้สมองบวม
ง. รังไข่ผิดปกติ หรือไม่มีรังไข่มาแต่กำเนิด
จ. ไข่ไม่ยอมตก
ฉ. อาจมีโรคหรือความผิดปกติที่ต่อมใต้สมอง
ช. เกิดจากฤทธิ์ของยาที่กินประจำ
ซ. อ้วนเกินไป
ฌ. เกิดสภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานหนัก

ค่าผิดปกติของ Luteinizing Hormone ( LH ) ในผู้ชาย
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. ต่อมใต้สมอง หรือสมองส่วนไฮโปธาลามัสผิดปกติ หรือมีโรค
ข. เกิดความเครียด
ค. ร่างกายอาจมีภาวะผิดปกติ เช่น เบื่ออาหาร ผอมเกินไป
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. ลูกอัณฑะทำงานไม่ได้เหมือนเดิมเนื่องจากถูกรังสีรักษาหรือเคมีบำบัด
ข. ไม่มีลูกอัณฑะมาแต่กำเนิดหรือตัดทิ้งไป
ค. ลูกอัณฑะอาจได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุจนบาดเจ็บ
ง. ลูกอัณฑะบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน ( Hormone Assays ) เป็นการตรวจหาความสมดุลหรือความผิดปกติของฮอร์โมนต่างๆ ที่มีอยู่ในร่างกาย รวมทั้งสัญญาณเตือนโรคร้ายต่างๆ

5. Progesterone

วัตถุประสงค์ของการตรวจ Progesterone
การตรวจเลือดหาฮอร์โมน Progesterone เพื่อประเมินค่าสตรีผู้ซึ่งเคยมีปัญหาการตั้งครรภ์ยาก

ค่าปกติของ Progesterone
ผู้หญิง ( ที่ไม่ตั้งครรภ์ )
– Follicular phase = 0.2 – 1.5 ng / mL
– Ovulatory phase = 0.8 – 3.0 ng / mL
– Luteal phase = 1.7 – 27 ng / mL
ผู้หญิง ( ภายหลังวัยทอง หรือหมดระดู ) = 0.1 – 0.8 ng / mL
ผู้ชาย = 0.2 – 1.4 ng / mL

ค่าผิดปกติของ Progesterone ในผู้หญิง
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. ขาดระดู
ข. รังไข่ผิดปกติ อาจไม่ผลิตไข่ หรือไม่ตกไข่
ค. เกิดมะเร็งรังไข่
ง. รังไข่ทำงานน้อยหรือประสิทธิภาพต่ำ
จ. ไข่ไม่ตก
ฉ. เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก
ช. ต่อมหมวกไตอาจเกิดโรค
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก.มีถุงของเหลว หรือถุงน้ำในรังไข่แทนที่ไข่
ข. เกิดมะเร็งมดลูก หรือมะเร็งรังไข่
ค. เกิดเนื้องอกชนิดไม่เป็นมะเร็งที่ต่อมหมวกไต
ง. เกิดการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
จ. เกิดการตั้งครรภ์
ฉ. ต่อมหมวกไตทำงานหนัก

ค่าผิดปกติของ Progesterone ในผู้ชาย
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. เกิดความเครียด
ข. ลูกอัณฑะหรือต่อมหมวกไตมีปัญหา
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. ต่อมหมวกไตทำงานหนัก

6. Estradiol ( E2 )

วัตถุประสงค์ของการตรวจ Estradiol ( E2 )
เพื่อตรวจสอบระดับฮอร์โมนหลักในเลือดของสตรี ว่ามีค่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่

ค่าปกติของ Estradiol ( E2 )
ผู้หญิง ( ที่ไม่ตั้งครรภ์ )
– Follicular phase = 12.5 – 166 pg / mL
– Ovulatory phase = 85.8 – 498 pg / mL
– Luteal phase = 43.8 – 211 pg / mL
ผู้หญิง ( ภายหลังวัยทอง หรือหมดระดู ) = < 5.0 – 54.7 pg / mL
ผู้หญิง ( ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ) = 215 – 4,300 pg / mL
ผู้ชาย = 7.6 – 42.6 pg / mL
เด็กชาย (1-10 ปี ) = < 5.0 – 20 pg / mL
เด็กหญิง (1-10 ปี ) = 6.0 – 27.0 pg / mL

ค่าผิดปกติของ Estradiol ( E2 ) ในผู้หญิง
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. หลังคาอยากมีปัญหาหรือมีโรค
ข. อาจเข้าสู่ระยะเริ่มต้นของวัยหมดระดู
ค. อาจเกิดโรคที่ต่อมใต้สมองหรือสมองส่วนไฮโปธาลามัส
ง. เบื่ออาหาร
จ. เซลล์รังไข่มีความผิดปกติ
ฉ. ขาดสารอาหาร
ช. กรณีตั้งครรภ์ อาจเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์
ซ. การตั้งครรภ์อาจล้มเหลว
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. อาจเกิดโรคมะเร็งรังไข่ หรือโรคมะเร็งต่อมหมวกไต หรือเกิดโรคที่ตับ
ข. เกิดการปฏิสนธิหรือมีการตั้งครรภ์
ค . รังไข่ หรือต่อมหมวกไตอาจอยู่ในสภาวะไม่ปกติ ทำให้หมดระดู
ง. หมดระดูจากการรักษาโรคต่างๆด้วยยาประเภทสเตียรอยด์
จ. หมดระดูจากระยะเริ่มต้นของการเกิดมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งของผนังด้านในโพรงมดลูก
ฉ. กรณีตั้งครรภ์ อาจได้บุตรแฝดสองคนหรือมากกว่า

ค่าผิดปกติของ Estradiol ( E2 ) ในผู้ชาย
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. เป็นหมัน
ข. อาจเกิดโรคที่ลูกอัณฑะหรือต่อมหมวกไต
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. เกิดมะเร็งที่ลูกอัณฑะหรือมะเร็งที่ต่อมหมวกไต
ข. ทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนเพศระหว่างหญิง-ชาย
ค. โรคอ้วน
ง. การติดยาเสพติดประเภทกัญชา
จ. การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยกลุ่มยาฮอร์โมน antiandrogen

ค่าผิดปกติของ Estradiol ( E2 ) ในเด็กหญิง
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. เบื่ออาหาร
ข. เข้าสู่วัยรุ่นช้ากว่าปกติ
ค. มีการเจริญเติบโตช้า หรือเจริญเติบโตไม่เต็มที่
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. เข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติ
ข. ต่อมไทรอยด์ทำงานหนัก
ค. อาจเกิดโรคที่ตับ
ง. อาจเกิดโรคที่รังไข่ หรือต่อมหมวกไต

ค่าผิดปกติของ Estradiol ( E2 ) ในเด็กชาย
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า ไม่มีความผิดปกติ
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. เกิดความผิดปกติที่ต่อมใต้สมอง
ข. เกิดความพิการที่ลูกอัณฑะ
ค. เกิดโรคไคลน์เฟลเตอร์ ( พฤติกรรมทางเพศที่ผิดเพี้ยนเบี่ยงเบน )

7. Testosterone

วัตถุประสงค์ของการตรวจ Testosterone
เพื่อตรวจระดับ Testosterone ที่เป็นฮอร์โมนหลักของเพศชายว่ามีความปกติหรือไม่

ค่าปกติของ Testosterone
ผู้ชาย = 2.8 – 8.0 ng / mL
ผู้หญิง = 0.06 – 0.8 ng / mL

ค่าผิดปกติของ Testosterone ในผู้ชาย
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. อาจเกิดโรคที่สมองส่วนไฮโปธาลามัส หรือต่อมใต้สมอง
ข. อาจเกิดโรคที่ลูกอัณฑะ
ค. อาจเกิดโรคตับแข็ง
ง. เกิดโรคไคลน์เฟลเตอร์ ( พฤติกรรมทางเพศที่ผิดเพี้ยนเบี่ยงเบน )
จ. ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลาม
ฉ. ผู้ที่ตัดลูกอัณฑะทิ้ง
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. อาจเกิดสภาวะสมองอักเสบ
ข. อาจเกิดเนื้องอกที่ต่อมไพนิลในสมอง
ค. เกิดโรคมะเร็งที่ลูกอัณฑะหรือต่อมหมวก
ง. เกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมน
ค่าผิดปกติของ Testosterone ในผู้หญิง
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. มีความเฉื่อยชา หรือมีอารมณ์ทางเพศลดน้อยถอยลง
ข. เกิดจากการกินยาคุมกำเนิด
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. เกิดโรคมะเร็งที่รังไข่ หรือมะเร็งที่ต่อมหมวกไต
ข. การกินยารักษาโรคบางอย่าง
ค. ผู้หญิงที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน

8. Cortisol

วัตถุประสงค์ของการตรวจ Cortisol
เพื่อตรวจสอบฮอร์โมน Cortisol ในค่าเลือดว่ามีระดับสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งช่วยบ่งชี้ถึงความผิดปกติของร่างกายในส่วนของต่อมใต้สมองต่อมหมวกไต และการตอบสนองของร่างกาย ณ เวลาต่างกัน

ค่าปกติของ Cortisol
07.00 – 10.00 Hr = 6.2 – 19.4 μg / dL
16.00 – 20.00 Hr = 2.3 – 12.3 μg / dL

ค่าผิดปกติของ Cortisol
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. ต่อมหมวกไตทำงานต่ำกว่าปกติ
ข. เกิดภาวะโรคแอดดิสัน ( ภาวะต่อมหมวกไตทำงานบกพร่อง )
ค. ร่างกายเกิดภาวะต่อมหมวกไตทำงานน้อยกว่าปกติ หรืออาจเกิดเนื้องอก
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. ต่อมหมวกไตทำงานมากเกินไป
ข. เกิดการอักเสบหรือบวมชนิดไม่ใช่มะเร็งของต่อมใต้สมอง
ค. สภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานหนักเกินไป
ง. เกิดจากโรคอ้วน
จ. เกิดจากความเครียด
ฉ. เกิดภาวะของโรคคุชชิ่ง ซินโดรม

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.