ลิปิดโปรไฟล์คืออะไร ? (Lipid Profile)
ลิปิดโปรไฟล์เป็นกระบวนการตรวจหาค่าไขมันในเลือดเพื่อป้องกันโรคร้าย

ลิพิดโปรไฟล์ Lipid Profile คือ

ลิพิดโปรไฟล์ ( Lipid Profile ) คือ กระบวนการตรวจวัดระดับไขมันในเลือด เพื่อใช้บ่งชี้ความเสี่ยงต่อโรคเพื่อเป็นตัวช่วยในการป้องกันโรคร้าย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Artery Disease ) โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตัน โรคสมองขาดเลือดจากการอุดตัน หรือตีบตันของเส้นเลือด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ตีบตันก็คือ การมีไขมันในร่างกายปริมาณสูงง และยังใช้ติดตามการรักษาในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดระดับไขมันในเลือด

การตรวจ lipid profile

การตรวจ lipid profile นั้นแพทย์จะใช้วิธีการเจาะเลือดแล้วนำเลือดมาตรวจหาค่าของไขมันชนิดต่างๆ โดยผู้ป่วยจะต้องอดอาหารก่อนการเจาะเลือด 12 ชั่วโมง สำหรับการตรวจวัดระดับไขมันทุกชนิด (ดื่มน้ำเปล่าได้)

ลิพิดโปรไฟล์สามารตรวจอะไรได้บ้าง

1. cholesterol เป็นไขมันที่ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนต่างๆ เอนไซม์ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ การตรวจวัดระดับคลอเลสเตอรอลจะบ่งชี้ระดับไขมันโดยรวม ทั้ง HDL-cholesterol, LDL-cholesterol และ triglyceride ภายในเลือด ค่าปกติ <200 mg/dL

2. triglycerides เป็นไขมันที่ถูกเก็บสะสมในร่างกายในเซลล์ไขมัน (adipose Tissue) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย ซึ่งจะตรวจควบคู่กับไขมันตัวอื่นๆ ค่าปกติ <150 mg/dL หากค่าสูงจะทำให้ไขมันในเลือดสูง

3. low density lipoprotein (LDL) ไขมันชนิดนี้ทำหน้าที่นำพา cholesterol เป็นไขมันเลว
ค่าปกติ <100 mg/dL  หากค่าสูง(ไขมันในเลือดสูง) อาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง(atherosclerosis) ส่งผลให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง

4. high density lipoprotein (HDL) ไขมันชนิดนี้ทำหน้าที่เก็บ cholesterol จากอวัยวะต่างๆ กลับเข้าสู่ตับซึ่งเป็นศูนย์กลางของกระบวนการสลายของไขมัน ซึ่งเป็นไขมันดี
ค่าปกติ (ผู้หญิง) >40 mg/dL และ (ผู้ชาย) >50 mg/dL หากค่าต่ำอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ส่งผลให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง

5. very low-density lipoprotein cholesterol (VLDL) เป็นโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นจากตับ ทำหน้าที่ขนส่งไตรกลีเซอไรด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นจากตับไปยังผนังหลอดเลือด เนื้อเยื่อไขมันและกล้ามเนื้อ

ค่าปกติ lipid profile

1. cholesterol ค่าปกติ <200 mg/dL
2. triglycerides ค่าปกติ <150 mg/dL
3. low density lipoprotein (LDL) ค่าปกติ <100 mg/dL  หากค่าสูง(ไขมันในเลือดสูง)
4. high density lipoprotein (HDL) ค่าปกติ (ผู้หญิง) >40 mg/dL และ (ผู้ชาย) >50 mg/dL หากค่าต่ำอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง
5. very low-density lipoprotein cholesterol (VLDL) ค่าปกติ 7 – 32 mg/dL

แปลผล lipid profile

หาก LDL มีค่าสูง มีโอกาสเสี่ยงเป็นต่อโรคหลอดเลือดแข็ง ทำให้เกิดการตีบตันในเส้นเลือดของอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ
หาก HDL มีค่าต่ำ อาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็งตัว ทำให้เกิดการตีบตันในเส้นเลือดของอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ

ไขมันและแหล่งอาหาร ที่มีผลกับระดับ HDL หรือ LDL

อาหารหรือไขมันที่มีผลต่อระดับ Cholesterol ในเลือดสามารถแบ่งตามชนิดของไขมันได้ 4 ชนิดดังต่อไปนี้

1. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ( Monounsaturated Fat )

2. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fat )

3. ไขมันอิ่มตัว ( Saturated Fat )

4. ไขมันทรานส์ ( Trans Fat )

ชนิดไขมัน แหล่งไขมัน ผลต่อระดับ Cholesterol ในเลือด
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว น้ำมันมะกอก , น้ำมันถั่วลิสง ,เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ,ถั่วอัลมอนด์ ,ถั่วลิสง และอื่นๆ HDL เพิ่มขึ้น , LDL ลดลง
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน น้ำมันข้าวโพด , น้ำมันถั่วเหลือง,น้ำมันดอกคำฝอย,น้ำมันดอกทานตะวัน,น้ำมันเมล็ดฝ้ายเนื้อปลาทุกชนิด HDL เพิ่มขึ้น , LDL ลดลง
ไขมันอิ่มตัว  น้ำมันสัตว์ทุกชนิด ,เนยที่ผลิตจากน้ำนมสัตว์ ,ไอศกรีม,เนื้อสัตว์ทุกชนิด ,ไข่ , ช็อกโกแลต ,มะพร้าว, กะทิ, น้ำมันมะพร้าว , น้ำมันปาล์ม HDL เพิ่มขึ้น , LDL ลดลง
ไขมันทรานส์ เนยเทียม (Margarine) , ผงฟูทำขนมฝรั่งทุกชนิด ,มันฝรั่งทอด , อาหารทอดความร้อนสูงในร้าน Fast-Food , ครีมเทียมใส่กาแฟ  HDL เพิ่มขึ้น , LDL ลดลง,  TG สูงขึ้น

 

ในแต่ละวันร่างกายมนุษย์เรา มี Lipid Profile ไขมันเกิดขึ้นในร่างกายมากมายหลายประเภท ทั้งการผลิตจากตับและการทานอาหารประเภทต่างๆเข้าไปซึ่งหากไม่มีการควบคุมที่ดีพอ ปล่อยให้มีปริมาณไขมันชนิดไม่ดีมากเกินไป ก็อาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายได้ เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราจะป่วยเป็นโรคร้ายจากไขมันเมื่อไหร่ดังนั้นการตรวจปริมาณไขมันในร่างกาย หรือ Lipid Profile  จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและควรทำ เพราะสามารถทำให้รู้ได้ว่ามีปริมาณของไขมันในร่างกายเป็นอย่างไรมีตัวไขมันดีและไม่ดีมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะได้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารการกิน หรือรับการรักษาจากแพทย์ที่เหมาะสม ทันเวลา ก่อนที่จะเกิดโรคร้ายกับตัวของเรานั้นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Davidson, Michael H. (28 January 2008). “Pharmacological Therapy for Cardiovascular Disease”. In Davidson, Michael H.; Toth, Peter P.; Maki, Kevin C. Therapeutic Lipidology. Contemporary Cardiology. Cannon, Christopher P.; Armani, Annemarie M. Totowa, New Jersey: Humana Press, Inc. pp. 141–142. 

Balch, Phyllis A. (2006). “Carnitine”. Prescription for nutritional healing (4th ed.). New York: Avery. p. 54.

GILL, Jason; Sara HERD; Natassa TSETSONIS; Adrianne HARDMAN (Feb 2002). “Are the reductions in triacylglycerol and insulin levels after exercise related?”. Clinical Science. 102 (2): 223–231. Retrieved 2 March 2013.

Friedewald WT, Levy RI, Fredrickson DS. Estimation of the concentration of low-density lipoprotein cholesterol in plasma, without use of the preparative ultracentrifuge. Clin Chem. 1972.

Sidhu, D.; Naugler, C. (2012). “Fasting Time and Lipid Levels in a Community-Based Population: A Cross-sectional Study / Fasting Time and Lipid Levels”. Archives of Internal Medicine.