CA 19-9 สารวัดค่ามะเร็งช่องทางเดินการย่อยอาหาร
CA 19-9 เป็นสารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งในช่องทางเดินการย่อยอาหาร เพื่อตรวจหามะเร็ง

Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 ) คือ

Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 ) คือ สารที่ใช้ในการวัดค่า มะเร็งทางเดินอาหาร เพื่อตรวจหามะเร็งในตำแหน่งดังกล่าว

ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับ Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 )

Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 ) คือ สารที่ใช้ในการวัดค่า มะเร็งทางเดินอาหาร ซึ่งจะใช้วิธีการตรวจเลือดเพื่อคัดกรอง โดยโรคมะเร็งที่นิยมตรวจด้วยวิธีนี้คือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น

Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 ) คือ สารที่สามารถตรวจหามะเร็งในอวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย จึงสามารถนำค่าการตรวจมาใช้เพื่อร่วมยืนยันกับสัญญาณมะเร็งตัวอื่นๆ ได้ เพื่อความแม่นยำว่าผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งหรือไม่นิยมใช้เพื่อติดตามผลการรักษา ซึ่งก็จะให้ผลลัพธ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงมาก โดยจะบอกได้ว่าการรักษาได้ผลดีหรือไม่นั่นเอง

การตรวจคัดกรองมะเร็งด้วย Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 ) อาจไม่สามารถให้ผลที่แม่นยำถึง 100% ได้ ซึ่งพบว่าในผู้ป่วยบางรายที่ป่วยด้วย มะเร็งทางเดินอาหาร แต่การตรวจค่า CA 19-9 ก็ไม่แสดงผลว่ามีค่าสูงกว่าปกตินั่นเอง ดังนั้นจึงอาจจำเป็นต้องทำการตรวจสารบ่งชี้ตัวอื่นร่วมด้วย บางครั้งการตรวจพบว่ามีค่า CA 19-9 สูงมากผิดปกติ ก็อาจไม่ได้หมายความว่าเป็นมะเร็งเสมอไป เพราะนั่นอาจเกิดจากการที่มีอาการอักเสบค่อนข้างรุนแรง จนทำให้ค่า CA 19-9 สูงขึ้นจนน่าตกใจ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งตื่นตระหนก ควรรอผลตรวจที่มีความแน่ชัดจากแพทย์ก่อน

ค่าความปกติของ Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 )

โดยทั่วไปแล้ว ค่า CA 19-9 จะมีค่าปกติ CA 19-9 : <37 ng/mL หรือให้ยึดตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือด ( ถ้ามี )

ค่าผิดปกติของ Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 )

สำหรับค่าผิดปกติของ Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 ) ให้ดูจากความมากน้อยของค่าที่วัดได้ กล่าวคือหากค่าไปในทางน้อย ถือว่าปกติ  และหากค่าไปในทางมาก ถือว่าผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นเพราะป่วยด้วย มะเร็งทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal Cancer ) มะเร็งท่อน้ำดี ( Bile duct Cancer ) และมะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer) เป็นต้น เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาการป่วยมะเร็ง เช่น โรคนิ่วในถุงน้ำดี ( Gallstones ) โรคตับอ่อนอักเสบ ( Pancreatitis ) เป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.