การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Uric acid
การหาค่ากรดยูริกในน้ำปัสสาวะ เพื่อหาความผิดปกติที่ทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ

กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid

การตรวจหาค่า กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid มีวัตถุประสงค์เพื่อการหาค่า กรดยูริก ( Uric acid ) ในน้ำปัสสาวะว่ามีสูงหรือต่ำมากน้อยเพียงใด และยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะผิดปกติที่อาจโยงไปถึงการป่วยด้วยโรคร้ายแรงบางอย่างได้อีกด้วย ยก ตัวอย่างเช่น

  1. โรคเกาต์
  2. โรคเกี่ยวกับไต
  3. โรคมะเร็ง
  4. โรคของกล้ามเนื้อ
  5. โรคที่เกิดจากพิษของโลหะ ( ที่ร่างกายได้รับสะสมมากเกินไปจนเป็นอันตราย )

กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid

1. กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยตับ ซึ่งตับจะทำหน้าที่ในการแยกสลายสารพิวรีนออกมาเมื่อพบว่ามีสารพิวรีนอยู่ในเลือดมากเกินไป โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมีการสร้างสารพิวรีนขึ้นมาใช้เองอยู่แล้ว เพื่อนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของสารชีวโมเลกุลในการสร้าง DNA โดยจะสร้างจากสารชีวโมเลกุล 2 ฐาน คือ 1) Purine Bases และ 2) Pyrimidine Bases ดังนั้นร่างกายของคนเราจึงจะขาดสารพิวรีนไม่ได้เด็ดขาด แต่หากได้รับมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็อาจเป็นผลเสียได้เหมือนกัน นั่นก็เพราะหากตับ ทำหน้าที่ในการสลายสารพิวรีนจนเพลิน เป็นผลให้พิวรีนถูกสลายออกไปมากเกิน ก็จะทำให้เกิดการขาดวัตถุดิบในการสร้าง DNA ที่สมบูรณ์แบบ และในที่สุดก็เกิดการผิดเพี้ยนจนกลายพันธุ์ไปจากเดิมหรือกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด

2. กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid โดยส่วนมากแล้วตับจะทำการส่งกรดยูริกเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณ 75% เพื่อขับออกทางปัสสาวะต่อไป และส่งออกทางท่อน้ำดีประมาณ 25% เพื่อขับทิ้งผ่านทางลำไส้เล็กโดยปนไปกับกากอาหาร ซึ่งทั้งนี้หากไตทำงานได้อย่างเป็นปกติ การถูกขับทิ้งของกรดยูริกก็จะเป็นดังนี้เสมอ แต่หากไตผิดปกติ ก็จะทำให้ Urine Uric acid ยังคงค้างอยู่ในกระแสเลือดสูง และมีการขับออกในปริมาณที่น้อยนั่นเอง นอกจากนี้จะต้องมีการขับทิ้งกรดยูริกออกไปกับน้ำปัสสาวะในปริมาณที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป ในรอบ 24 ชั่วโมงอีกด้วย ซึ่งจะได้ผลการตรวจ Urine Uric Acid ในค่าที่เป็นปกติ

3.หากตรวจพบว่าเลือดมีค่าของกรดยูริกที่สูงเกินกว่าระดับที่ควรจะเป็น แพทย์จะลงความเห็นว่ามีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเกาต์หรือสภาวะปวดข้ออย่างรุนแรงสูง และยังทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้น เนื่องจากต้องกรองและขับกรดยูริกออกทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะมากกว่าปกตินั่นเอง โดยภาวะที่กรดยูริกในน้ำปัสสาวะเข้มข้นสูงกว่าเกณฑ์ จะมีศัพท์ทางแพทย์เรียกว่า “ Urincosuria ” และด้วยความเข้มข้นที่สูงมากเกินไปนี้ ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วในไตได้อีกด้วย

ประเภทของนิ่วในระบบปัสสาวะ

  • นิ่วไต ( Nephrolithiasis ) เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริกกลายเป็นหินปูคริสตัลที่ติดอยู่ในไต และไปปิดกั้นการไหลผ่านเข้า-ออก ของของเหลวภายในไตจนส่งผลให้ไตไม่สามารถผลิตน้ำปัสสาวะออกมาในปริมาณที่ปกติได้ และเกิดการอักเสบตามมาในที่สุด
  • นิ่วท่อไต ( Ureterolithiasis ) เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริกที่เกิดขึ้นบริเวณท่อไตก่อนจะถึงกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งปิดกั้นการไหลของปัสสาวะจากไต ทำให้น้ำปัสสาวะไม่สามารถผ่านไปสู่กระเพาะปัสสาวะได้ในอัตราปกติ

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการมี Uric Acid ในเลือดสูงมากกว่าปกติอาจนำไปสู่การเป็นโรคร้ายต่างๆ ได้ โดยเฉพาะโรคเกาต์และโรคนิ่วในไต เพราะฉะนั้นหากพบค่าดังกล่าวผิดปกติ ไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด

ค่าปกติของ กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid

  1. สำหรับค่าปกติของ Urine Uric Acid ให้ยึดถือเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ ( ถ้ามี )

2. โดยค่าปกติทั่วไปจะอยู่ที่

ผู้ชาย Urine Uric Acid : 250 – 800 mg/24 hr
ผู้หญิง Urine Uric Acid : 250 – 750 mg/24 hr

 

ค่าผิดปกติของ กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid

1. ในทางน้อย อาจแสดงได้ว่า

  • เป็นโรคไต หรือโรคบางชนิดที่ส่งผลให้กรวยไตกรองปัสสาวะได้ในอัตราการไหลผ่านที่ต่ำลงหรือทำให้ไตผลิตน้ำปัสสาวะได้น้อยกว่าปกติ จึงเป็นผลให้ค่า Urine Uric Acid ที่ตรวจได้จากปริมาณน้ำปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมงมีปริมาณที่ต่ำเกินจากเกณฑ์   
  • เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่องจนทำให้เกิดสภาวะความเป็นกรดเรื้อรัง และส่งผลให้กรวยไตมีความสามารถในการกรองสารและของเสียทิ้งทางน้ำปัสสาวะได้ในอัตราที่ต่ำลงกว่าปกติ และทำให้กรวยไตค่อยๆ เสื่อมลงอีกด้วย โดยทั้งนี้ค่าของ Urine Uric Acid ที่ตรวจพบก็จะต่ำกว่าเกณฑ์ที่พบในคนปกติ แต่ในขณะเดียวกันค่าของกรดยูริคที่พบในเลือดอาจมีค่าที่สูงกว่าเกณฑ์ได้
  • เกิดสภาวะความเป็นกรดในเลือด เนื่องจากร่างกายมีการดึงเอาไขมันที่สะสมไว้ในร่างกายมาเผาผลาญเป็นเชื้อเพลิงแทนกลูโคสในปริมาณมาก ทำให้เกิดสารคีโตนมากเกินไป ซึ่งสารชนิดนี้หากถูกขับออกทางไตไม่หมดและเหลือสะสมไว้ในเลือดมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดสภาวะเป็นกรดในเลือดได้ในที่สุด และเนื่องจากภาวะกรดในเลือดนี่เอง ก็ส่งผลให้กรดยูริกถูกขับออกไปได้น้อยลงและเหลือตกค้างอยู่ในเลือดสูงเช่นกัน ดังนั้นในการตรวจจึงพบว่ามีกรดยูริกในเลือดสูง แต่มีกรดยูริกในปัสสาวะต่ำมากนั่นเอง

2. ในทางมาก อาจแสดงได้ว่า

  • เป็นโรคเกาต์ เพราะโรคเกาต์จะทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งก็ส่งผลให้ไตต้องพยายามขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะในปริมาณมากเช่นกัน ดังนั้นในการตรวจน้ำปัสสาวะ จึงพบว่ามี Urine Uric acid กรดยูริกสูงกว่าเกณฑ์ปกตินั่นเอง
  • มีการบริโภคอาหารบางชนิดที่มีสารพิวรีนมากเกินไป โดยเฉพาะการดื่มเบียร์ เพราะเมื่อสารพิวรีนถูกสลายจะได้กรดยูริกออกมา ซึ่งร่างกายต้องขับออกมาทางปัสสาวะนั่นเอง
  • ป่วยด้วยโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจาย โรคมะเร็งไขกระดูกและโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • เป็นผลมาจากการรักษาโรคบางชนิด เช่น การรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งอาจมีผลทำให้เซลล์ในร่างกายต้องแตกสลายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกรดนิวคลิอิก ที่ตับจะต้องทำการเก็บเอากรดนิวคลิอิกและเปลี่ยนเป็นกรดยูริกก่อนจะขับออกจากร่างกายทันที ดังนั้นผลที่ตามมาจึงทำให้ตรวจพบค่าของกรดยูริกในเลือดและในน้ำปัสสาวะสูงมากจนผิดปกติ
  • มีความผิดปกติทางรหัสพันธุกรรม ทำให้กลไกการสร้างกรดยูริกมีการสร้างกรดยูริกออกมามากเกินไป ซึ่งแพทย์เรียกภาวะเช่นนี้ว่า โรคเลสค์-ไนแฮน ( Lesch Nyhan Syndrome ) โดยจะต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมไม่ให้กรดยูริกในร่างกายมีมากเกินไป เนื่องจากอาจเกิดอันตรายตามมาได้นั่นเอง
  • เป็นโรคกล้ามเนื้อสลาย เพราะจากการสลายของกล้ามเนื้อจะทำให้ได้ Urine Uric acid และมักจะตรวจพบ กรดยูริก ( Uric Acid ) ในปริมาณสูงมากได้ทั้งในเลือดและในน้ำปัสสาวะเลยทีเดียว ส่วนสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคกล้ามเนื้อสลาย ก็อาจเกิดได้หลายสาเหตุด้วยกัน แต่ที่พบได้บ่อยๆ ก็คือผลข้างเคียงจากการกินยาในกลุ่มสตาตินที่ใช้ในการลดคอเลสเตอรอล   
  • ตับมีโลหะหนักสะสมอยู่ในปริมาณมากจนทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม เป็นต้น โดยโลหะหนักเหล่านี้ล้วนเป็นพิษต่อตับทั้งสิ้น ซึ่งหากสะสมอยู่มากเกินไปก็จะทำให้ตับผลิตกรดยูริกออกมาในปริมาณที่มากเกินในที่สุด โดยในทางการแพทย์ก็ได้เรียกภาวะดังกล่าวนี้ว่า โรคแฟนโคนี ซึ่งก็มักจะตรวจพบค่า กรดยูริก ( Uric Acid ) ที่สูงมากทั้งในเลือดและในน้ำปัสสาวะเช่นกัน
  • เกิดจากการกินยาหรือวิตามินบางตัวที่มีผลให้เกิดกรดยูริกสูงขึ้น โดยเฉพาะกรดยูริกที่ได้จากยา ซึ่งจะทำให้ระดับของ Urine Uric acid กรดยูริกที่พบในน้ำปัสสาวะ มีประมาณที่สูงกว่าปกติได้

กลุ่มยาที่มีผลต่อระดับ กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid

1. กลุ่มยาขับปัสสาวะ โดยจะใช้ความดันเลือดในการขับ จึงอาจเป็นผลให้ Urine Uric acid ระดับกรดยูริกสูงขึ้นได้

2. กลุ่มยารักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เพราะตัวยาอาจมีฤทธิ์ทำลายเซลล์บางส่วนในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่อาจแตกตัวและกลายเป็นกรดยูริกได้

3. กลุ่มยารักษาโรคทั่วไป เช่น ยาฮอร์โมน ยารักษาโรคปลอดและ ยาแอสไพลิน เป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Verónica Jiménez; Joel B. Alderete (Nov 30, 2005). “Theoretical calculations on the tautomerism of uric acid in gas phase and aqueous solution”. Journal of Molecular Structure: THEOCHEM. 755: 209–214.

Scheele, C. W. (1776). “Examen Chemicum Calculi Urinari” [A chemical examiniation of kidney stones]. Opuscula. 2: 73.

Horbaczewski, Johann (1882). “Synthese der Harnsäure” [Synthesis of uric acid]. Monatshefte für Chemie und verwandte Teile anderer Wissenschaften. 3: 796–797.