พาร์กินสันจากโรคสมองเสื่อม
โรคพาร์กินสันเกิดจากอายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานาน จนเกิดการสะสม และการใช้สารเสพติด

พาร์กินสันจากโรคสมองเสื่อม

โรคพาร์กินสัน พบมากในผู้สูงอายุ เชื่อไหมว่า 1 ใน 100 คนของคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ฟังดูเหมือนน้อย แต่ถ้าลองคิดให้เห็นภาพง่ายๆว่า ในโรงเรียน 1 แห่ง ถ้ามีนักเรียน 1,000 คน เมื่อนักเรียนเหล่านี้อายุ 60 ปี จะมีคนที่เป็นโรคพาร์กินสันถึง 10 คน ถือว่าเยอะมากซึ่งความผิดปกติของผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหว เช่น ทำอะไรช้า ทรงตัวผิดปกติ สั่น เกร็ง แข็ง

โรคพาร์กินสัน ( Parkinson’s Disease )

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันร้อยละ 25-30 มีโอกาสเกิดภาวะทุพพลภาพ และมีอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น 2 เท่า ทำให้มีปัญหาในการดำรงชีวิต ต้องมีคนคอยดูแลประจำ ทำให้เป็นภาระของครอบครัว ยิ่งถ้าครอบครัวไหนฐานะยากจน ยิ่งทำให้ลำบากมากขึ้น ในอดีตจะเรียกโรคพาร์กินสันว่า โรคอัมพาตแบบสั่น ( Shaking Palsy ) เพราะว่ามีอาการสั่น เกร็ง จากการเคลื่อนไหว แต่ในปัจจุบันพบว่า นอกเหนือจากอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันยังมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น ภาวะซึมเศร้า หลงผิด เห็นภาพหลอน ภาวะสมองเสื่อม อาการจากระบบประสาทอัตโนมัติ ( Autonomic Nervous System ) ทำงานผิดปกติ เช่น น้ำลายไหลมาก ท้องผูกเรื้อรัง

โรคพาร์กินสันเกิดจากอะไร

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน คือ อายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานาน จนเกิดการสะสม และการใช้สารเสพติด เช่น แอมเฟตามีน หรือที่เรารู้จักในชื่อ ยาบ้า และผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากศรีษะอย่างรุนแรง และยังพบว่า 20% ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเกิดจากกรรมพันธุ์ หากใครที่พ่อแม่ หรือญาติพี่น้องเป็นโรคพาร์กินสัน ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคพาร์กินสันได้

ความเสี่ยงของโรคพาร์กินสัน คือ อายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานานจนเกิดการสะสมและการใช้สารเสพติด

การลดความเสี่ยงจากโรคพาร์กินสัน

ถึงแม้ว่าโรคพาร์กินสัน จะเป็นโรคที่มีความรุนแรง แต่ก็สามารถป้องกันได้ ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยพบว่า การออกกำลังกายตั้งแต่อายุ 35 ปี ขึ้นไป อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสัน ได้ เนื่องจาก การออกกำลังกาย จะทำมีสาร Brain-Deried Neurotrophic Factor ( BDNF ) ตรงสมองส่วนฮิปโปแคมปัสปริมาณสูง ซึ่งสารนี้มีผลทำให้รักษาเซลล์สมองและช่วยให้เส้นประสาทใหม่เติบโต คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จึงทำให้สามารถเรียนรู้ได้ดี และมีความจำที่ดี

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน

นอกจากปัจจัยเสี่ยงเรื่องอายุและกรรมพันธุ์แล้ว โรคพาร์กินสัน ยังมีสาเหตุมาจากความเสื่อมและตายของสมองส่วนหน้า ( Forebrain ) และถ้าหากมีการเสื่อมและตายของก้านสมองซับสแตนเชียไนกรา ( Substantia Nigra ) ยิ่งทำให้การสร้างสารสื่อประสาทโดพามีนลดน้อยลง ซึ่งสารตัวนี้มีหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมไปยังสมองส่วนคอร์ปัสสไตรเอตัม ( Corpus Striatum ) ในสมองส่วนหน้า ทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังและประสานกันได้ดี แต่ถ้าเซลล์สมองส่วนซับสแตนเชียในกราตาย ภายใน 4-10 ปี ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันจะเริ่มมีอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีก้อนเลวี ( Lewy Body ) ในสมองที่ฝ่อลง ซึ่งในก้อนเลวีจะมีสารแอลฟาไซนิวคลิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผิดปกติ ที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคพาร์กินสัน คนที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลานานเข้าจะเป็นเรื้อรัง มีความรุนแรงของโรคมากขึ้น ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวลำบาก เดินลำบาก พูดลำบาก ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง เพราะส่วนต่างๆทำงานเสื่อมลง

  1. สมองส่วนหน้า ( Forebrain ) ทำหน้าที่ในการควบคุมการเดิน

2. ก้านสมอง ( Brain Stem )

3. คอเดต ( Caudate )

4. พิวตาเมน ( Putamen )

5. อมิกดาลา ( Amygdala )

6. ซับสแตนเชียในกรา ( Substantia Nigra )

อาการโรคพาร์กินสัน ( เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว )

อาการของโรคพาร์กินสัน ซึ่งเราจะเห็นจากภายนอก คือ มีอาการเกร็ง สั่น ในช่วงเริ่มแรก มือจะมีอาการสั่นที่ละข้าง แล้วค่อยเริ่มสั่นทั้งสองข้าง แม้ว่าอยู่เฉยๆก็สั่น แต่เวลาจับสิ่งของมือจะไม่สั่น อาการของโรคพาร์กินสัน นอกจะมีอาการสั่นแล้ว ยังมีอาการกล้ามเนื้อเกร็ง น้ำลายสอมุมปาก เคลื่อนไหวช้า ยืนตัวงอ ถ้าอาการหนักขึ้น จะทำให้เสียการทรงตัว เวลาเดินหกล้มได้ง่าย และเดินผิดปกติ เช่น เดินลากขา หรือไม่แกว่งแขน

อาการของโรคพาร์กินสัน ( ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว )

อาการของโรคพาร์กินสันที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว คือ อาการทางจิตประสาท ซึมเศร้า วิตกกังวล สมองเสื่อม มีความผิดปกติในการควบคุมแรงกระตุ้นภายใน ( Impulse Control Disorder : ICD ) จะมีอาการ เช่น ใช้เงินเยอะ กินเยอะ หมกมุ่นเรื่องเพศ โมโหร้าย เป็นต้น

ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีอาการที่สังเกตเห็นเลยก็คือ เหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนเพลียไม่มีแรง การได้กลิ่นลดลง และมีอาการประสาทหลอน เพราะระบบประสาทอัตโนมัติที่ถูกควบคุมภายใน มีการทำงานผิดปกติ จึงทำให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มักมีอาการท้องผูก เวียนศีรษะ ปากแห้ง ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า ง่วงนอนในตอนกลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน

ซึ่งมีความผิดปกติของอาร์บีดี ( REM Behavior Disorder ) ในช่วงการนอนจะมีอาการขากระตุกในเวลากลางคืน บางคนกระตุกจนตกเตียง หรือฝันแล้วคิดว่าความฝันเป็นจริง เกิดอาการเอะอะโวยวาย เพราะแยกแยะความฝันออกจากความจริงไม่ได้

โรคพาร์กินสันกับข้อมูลที่ชี้ชัดเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

ซึ่งข้อมูลจากสหรัฐอเมริกา ได้นำสมองของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มาตรวจ เพื่อค้นหาสาเหตุ พบว่า มี 3 ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหง่อมบอบบาง คือ

  1. มีสารแอมีลอย ( Amyloid ) คือ มีโรคอัลไซเมอร์
  2. มีสารแอลฟาไซนิวคลิน คือ มีโรคพาร์กินสัน
  3. มีพยาธิสภาพของโรคหลอดเลือดสมอง

ดังนั้น ถ้ารู้จักป้องกันไม่ให้เกิดโรคทั้ง 3 โรคนี้ ก็ช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมได้ ซึ่งนอกจากนี้ ยังพบว่า คนที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีระดับสารเหล็กในสมองสวนปมประสารทเบซัล ( Basal Ganglia ) สูงกว่าคนปกติ
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการตรวจการทำงานของสมอง โดยใช้ F-Dopa PET Scan ที่สามารถตรวจวัดความผิดปกติของสารโดพามีนในสมอง ของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันได้ แต่การตรวจวัดประเภทนี้ ราคาค่อนข้างสูงมาก และการตรวจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจริงๆ คือต้องรู้จักโรคพาร์กินสันเป็นอย่างดี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญนี้สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้องถึง 80-90% อยู่แล้ว จึงไม่ต้องเสียค่าตรวจวัดประเภทนี้ แต่แพทย์จะพิจารณาในการส่งตรวจ F-Dopa PET เฉพาะผู้ที่ป่วยที่มีอาการไม่ชัดเจน แพทย์ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุอะไรเท่านั้น
ดังนั้น ในการรักษาโรคพาร์กินสัน ต้องแยกแยะให้ชัดเจน และตรวจดูอาการของโรคอื่นร่วมด้วย เพราะบางโรคก็มีอาการคล้ายกับโรคพาร์กินสัน

คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ที่มักจะทวนคำถามบ่อยๆ เพราะจำไม่ได้ แต่คนที่เป็นโรคพาร์กินสันจะไม่ถามบ่อย แต่จะอธิบายต่อไม่ได้

โรคพาร์กินสันทำให้สมองเสื่อม

จากที่มีการวินิจฉัยว่าผู้ป่วย ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันชัดเจนแล้ว ภายใน 5-6 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการสมองเสื่อมร้อยละ 25-35 และมีอาการสมองถดถอย ร้อยละ 35 ผู้ป่วยกลุ่มเอ็มซีไอ ร้อยละ 45-50 ภายใน 5 ปี จะกลายเป็นคนสมองเสื่อม และยังพบอีกว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน จากพันธุกรรม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อมสูงมาก ซึ่งการมีพันธุกรรม MAPT ชนิด MAPT H1/H1 มีความเสี่ยงในการเกิดควมจำบกพร่องได้ แต่ถ้ามีสารพันธุกรรม COMT ชนิด COMT Met/Met ก็จะช่วยให้สมองด้านสมาธิทำงานดีขึ้น และมีผลจากการศึกษาผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน ที่มีความผิดปกติของพฤติกรรมอาร์บีดี ( RBD ) ที่มักเกิดในช่วงการนอน ซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะสมองถดถอย ( MCI ) คือไม่สามารถตอบคำถามได้ ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งต่างจากคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ที่มักจะทวนคำถามบ่อยๆ เพราะจำไม่ได้ แต่คนที่เป็นโรคพาร์กินสันจะไม่ถามบ่อย แต่จะอธิบายต่อไม่ได้ และคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะตัดสินใจค่อนข้างช้า เพราะมีความผิดปกติในการทำงานด้านการคิดหาเหตุผลของสมอง ซึ่งเราจะมักสังเกตเห็นว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันจะมีพฤติกรรมที่เฉยเมย

ปัญหาที่พบในการวินิจฉัยสมองเสื่อมของคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน

ปัญหาที่พบเกิดจากที่ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันซึ่งมีความผิดปกติในเรื่องของการเคลื่อนไหว ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในส่วนของสมองด้านความคิด และความจำ ทำงานเสื่อมลง จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การรักษาจำเป็นต้องใช้แพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านสมองร่วมด้วย เพื่อจะได้บอกปัญหา อาการ และรักษาได้อย่างแม่นยำ
ในส่วนของพยาธิวิทยาของสมองเสื่อมจากการเป็น โรคพาร์กินสัน จะพบว่ามีก้อนเลวีตรงปมประสารทเบซัลที่สมองส่วนลิมบิค ซึ่งเกี่ยวกับอารมณ์ และตรงเนื้อสมองชั่นนอกมีเนื้อสมองฝ่อลง และเนื้อสมองส่วนหน้าบางลง

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม ของคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน เมื่อปี พ.ศ. 2550 จากสมาคมโรคพาร์กินสัน และการเคลื่อนไหวผิดปกติสากล ( The Internationnal Parkinson and Movement Disorder Socirty ) ประเทศสหรัฐอเมริกา
1.ผู้ป่วยมีความผิดปกติของความรู้คิดของสมอง ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน
2.การเกิดโรคพาร์กินสัน จะเกิดก่อนโรคสมองเสื่อม โดยที่ภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นช้าๆ ซึ่งมีภาวะบกพร่อง ของการทำงานในสมองมากกว่าเดิม 1 ด้าน
3.อาการทางคลินิกที่ควรมี ได้แก่ ด้านการรู้คิด เช่น การใส่ใจบกพร่อง สมาธิ การระลึกจำเหตุการณ์ใหม่ๆ หรือการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆบกพร่อง แต่การพูดยังดีอยู่ ส่วนด้านพฤติกรรมประสาทจิตเวช จะมีอาการเฉยเมย ซึมเศร้า หลงผิด ง่วงตอนกลางวัน ประสาทหลอน

แนวทางการรักษาอาการสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน

เมื่อผู้ป่วยมีอาการคล้ายหรือสงสัยว่าจะเป็นโรคพาร์กินสัน แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา โดยตรง เพราะสามารถวินิจฉันได้แม่นยำถึง 80-90% ส่วนการรักษามี 3 วิธี ดังนี้

วีธีการรักษาโรคพาร์กินสัน

1.รักษาทางยา

รักษาทางยา คือ ใช้ยาในการบรรเทาอาการ ได้แก่

ยาเลโวโดพา ( Levodopa ) ยาชนิดนี้จะเปลี่ยนเป็นสารโดพามีน เข้าสู่สมองโดยตรงเพื่อทดแทนสารโดพามีนที่พร่องไป ซึ่งมักจะพบในยากลุมอื่นเพื่อลดผลข้างเคียง

ยาเลโวโดพา มีชือ่ทางการค่า ไซเนเมต มาโดพาร์ ซึ่งมีผลข้างเคียง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะลำบาก ท้องผูก หัวใจเต้นผิดปกติ จนส่งผลทำให้นอนไม่หลับ หลับยาก เห็นภาพหลอน เกิดต้อหิน ผู้ป่วยที่ใช้ยานี้นานๆ และปริมาณสูง จะทำให้แขนขามีการเคลื่อนไหวผิดปกติ

ยาเบนซ์โทรพีน ( Benztropine ) ยาชนิดนี้ มักจะใช้กับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ที่มีอาการไม่มาก ส่วนมากจะใช้เพื่อการควบคุมการสั่น ซึ่งยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงเหมือนกัน คือ จะมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก และความจำบกพร่อง ผู้ป่วยทีมีอายุเกิน 70 ไม่ควรใช้ยานี้ และไม่ควรใช้ผู้ป่วยในรายที่มีภาวะสมองเสื่อม

กลุ่มยากระตุ้นโดพามีน ( Dopamine Agonist ) เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันที่อาการยังน้อยอยู่ ซึ่งยากลุ่มนี้จะมีหน้าที่ทำให้โดพามีนทีมีอยู่ในระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น โดยจะใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยาเลโวโดพา ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ ง่วงนอน ในผู้ป่วยบางราย มีอาการแขนขาบวม ซึ่งเกิดจากผู้ป่วยมีปัญหาระบบการไหลเวียดเลือดไม่ดี แต่บางราย เห็นเป็นภาพหลอน และมีอาการอาเจียน คลื่นไส้ สับสน ร่วมด้วย

กลุ่มยาต้านโคมท์ ( Catechol-O-Methyltransferase : COMT ) ยากลุ่มนี้มีหน้าที่ช่วยในการยับยั้งเอนไซม์โคมท์ เพื่อไม่ให้มีการเผาผลาญเลโวโดพา จึงทำให้เมื่อมีเลโวโดพาอยู่ในร่างกายสูงขึ้น ก็จะเปลี่ยนเป็นโดพามีนมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อยาได้นานขค้น จึงจำเป็นต้องกินยาทั้งสองอย่างพร้อมกัน

2.กายภาพบำบัด

การกายภาพบำบัด จะช่วยให้ร่างกาย มีการทรงตัวได้ดี และเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องและยังช่วยเรื่องหลังโก่ง ไหล่ตก อาการปวดคอ ปวดหลัง ได้ด้วย

การทำงานของนักิจกรรมบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน นักกิจกรรมบำบัดจะเน้นเรื่องความปลอดภัยในการเคลื่อนไหว ฝึกให้ผู้ป่วยใช้ประสาทตากับมือประสานกัน ประเมินอาการต่างๆ ทั้งเรื่องการกิน ความลำบากในการกลืนอาหาร ช่วยให้ฝึกใช้อุปกรณ์เสริม และต้องปรับสภาพแวดล้อม ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น แต่จำเป็นต้องมีญาติคอยดูแลเรื่องการใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆด้วย เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเอง

3.การรักษาด้วยการผ่าตัด

ปัจจุบันการรักษาโรคพาร์กินสินได้มีการพัฒนาไปมาก แต่ก่อนใช้ไฟฟ้าจี้ให้เกิดความร้อนเพื่อไปทำลายเซลล์สมอง สำหรับในยุคปัจจุบัน ได้มีการใช้การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ( Dep Brain Stimulation ) มากกว่า ซึ่งคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน ต้องการผ่าตัด ไม่สามารถผ่าตัดได้ทุกราย เพราะต้องดูข้อบ่งชี้ที่สำคัญ ดังนี้  [adinserter name=”สมองเสื่อม”]

1) ต้องได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า เป็นโรคพาร์กินสันจริงๆ ไม่ใช่แค่มีอาการคล้ายคนที่เป็นโรคพาร์กินสันเท่านั้น

2) ผู้ป่วยที่มีอาการดื้อยา และไม่ตอบสนองต่อยา หรือเมื่อทานยาไปแล้ว ยามีการออกฤทธิ์ที่ไม่แน่นอน

3) มีการตอบสนองต่อยากลุ่มโดพามีน จากการผ่าตัด ซึ่งให้ผลเหมือนกินยาแต่ลดอาการดื้อยา

4) ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการหยุกหยิก ขยับไปมาตลอดเวลา เพราะมีการกินยามากเกินไป ซึ่งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไม่สามารถเพิ่มยาได้อีก

5) ต้องเป็นผู้ที่ไม่เป็นโรคประสาท สมองเสื่อม สมองฝ่อ เพราะมีโอกาสเลือดออกมากจากการฝ่าตัด

วีธีกินยาสำหรับคนที่เป็นโรคพากินสัน

วิธีการรักษาด้วยยา คือ ต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ หากกินยาไม่สม่ำเสมอ กินบ้างไม่กินบ้าง จะเกิดผลข้างเคียงระยะยาว ไม่สามารถคาดเดาการตอบสนองต่อยาที่ทดแทน หรือคาดเดาได้ลำบาก เพราะว่า สมองจะรู้สึกวา การทานยาบ้างไม่ทานบ้าง สมองจะตอบสนองไม่ถูกว่าจะได้รับสารทดแทนหรือไม่ แต่ถ้าผู้ป่วยทานยาสม่ำเสมอ ร่างกายก็จะตอบสนองได้ดี ทำให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และผลเสียอีกอย่างที่ผู้ป่วยกินยาบ้าง ไม่กินยาบ้าง จะทำให้สมองดื้อยาได้

สมองกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ จะแยกแยะไม่ออกว่า อันไหนฝัน อันไหนเรื่องจริง ถ้ามีอาการถึงขั้นนี้ นั้นแสดงว่า อาการทางสมองของผู้ป่วยได้มีการถดถอยลง โดยผู้ป่วยจะนอนหลับในช่วงกลางวัน การรักษาด้วยยาเวโวโดพาต้องไม่ให้ทานมาก ส่วนยาที่อาร์บีดีที่รักษาความผิดปกติของพฤติกรรม ที่เกิดในช่วงนอนหลับ ต้องระวังสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม และผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเดิน นอนกรน เมลาโทนิน ( Melatonon )จะช่วยป้อกันโรคพาร์กินได้ ถ้าใช้ขนาดต่ำ และยังช่วยลดพฤติกรรมอาร์บีดี ส่วนยากลุ่มโดเนเพซิล ไรวาสติกมีน กาแลนทามีน และมีแมนทีน จะลดอาการอาร์บีดีได้

การรักษาสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน

โดยการใช้ยากลุ่มต้านแอซิติลโคลีน เอสเตอเรส  ( Acetylcholinesterase Inhibitor : AChEl ) ไรวาสติกมีน สามารถช่วยผู้ป่วยในเรื่องอาการหลงๆลืมที่ยังเป็นไม่มาก ตั้งแต่ระยะน้อยถึงปานกลาง ทำให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น มีความรู้คิดมากขึ้น และทำการรักษาอาการซึมเศร้าด้วยยาต้านเศร้า และรักษาอาการประสาทหลอนด้วยยาต้านโรคจิต แต่ต้องระวังผลข้างเคียงให้มาก เพราะจะทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อได้

ซึ่งในปัจจุบัน การรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และ สมองเสื่อม เป็นไปค่อนข้างดีมาก เพราะว่า มียาที่ช่วยในการรักษาได้ดี ยิ่งแพทย์ทำการวินิจฉัยอย่างชัดเจนว่า เป็นโรคพาร์กินสัน ยิ่งเร็วเท่าไหร่ บวกกับผู้ป่วยกินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้อาการดีขึ้น และสามารถอยู่กับเราได้นานที่สุด

การรักษาโรคพาร์กินสัน ด้วยการออกกำลังกาย เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ก็ช่วยให้ผู้ป่วยมีการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ดีขึ้น เพราะว่า สาเหตุของโรคพาร์กินสัน และ โรคอัลไซเมอร์ มาจากโคหลอดเลือดในสมอง จึงทำให้สมองแย่ลงนั่นเอง
แต่ถ้าเรารู้จักดูแลตัวเองให้ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ร่างกายก็จะหลังสารที่ดีในสมอง ออกมาช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ ทำให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคพาร์กินสันได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1. 

“Dementia”. MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine. 14 May 2015. Archived from the original on 12 May 2015. Retrieved 27 May 2015. Dementia Also called: Senility

“Dementia Fact sheet N°362”. who.int. April 2012. Archived from the original on 18 March 2015. Retrieved 28 November 2014.

Burns, A; Iliffe, S (5 February 2009). “Dementia”. BMJ (Clinical research ed.). 338: b75. doi:10.1136/bmj.b75. PMID 19196746.

“Dementia diagnosis and assessment” (PDF). pathways.nice.org.uk. Archived (PDF) from the original on 5 December 2014. Retrieved 30 November 2014.