เบาหวานชนิดที่ 2 คือเบาหวานที่เราสร้างเอง
กราฟวงกลมแสดงสถิติที่มีพันธุ์กรรมเบาหวานในชาวเอเชีย

สาเหตุเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่ 2 คือภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมี 2 สาเหตุ คือ การลดระดับของการผลิตอินซูลินในร่างกาย และภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งสาเหตุเบาหวานชนิดที่ 2 นี้เป็นเบาหวานที่เราสร้างขึ้นมาเอง โดยเกิดจากวิถีชีวิตประจำวันการกินมากถึง 99.99% ส่วนอีก 0.01% ก็จะมาจากพันธุกรรมนั่นเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าสาเหตุของการป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ก็มาจากพฤติกรรมของตัวเราเองล้วนๆ 

ใครบ้าง เสี่ยงกลับมาเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ?

1. คนที่มีอายุมากกว่า 30 ปี

2. มีระดับไขมันในเลือดสูงผิดปกติ รวมถึงระดับไตรกลีเซอไรด์ด้วย

3. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด

4. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมาก

5. ผู้ชายที่มีรอบเอว มากกว่า 36 นิ้วและผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว

6. มีถุงน้ำในรังไข่

7. มีดัชนีมวลกายสูงมากกว่า 23 กก./ม2 หรืออยู่ในเกณฑ์อ้วนนั่นเอง

8. มีประวัติคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องเป็นเบาหวานมาก่อน

ผอมแค่ไหน ก็มีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 2ได้

หลายคนมีความเข้าใจแบบผิดๆ ว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะต้องอ้วนเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ผู้ที่มีรูปร่างผอมก็สามารถเป็นเบาหวานได้เหมือนกัน ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้   

1. มีพ่อแม่ ญาติพี่น้องหรือคนในครอบครัวเป็นเบาหวานมาก่อน โดยอาจเกิดการติดต่อกันทางพันธุกรรมได้

2. เกิดปัญหากับตับอ่อน เป็นผลให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ

3. เป็นเพราะผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น

4. เกิดการติดเชื้อไวรัสบางชนิด จึงทำให้เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้สูง เช่น คางทูม หัด และหัดเยอรมันเป็นต้น

5. มีการขาดสารอาหารตั้งแต่แรกเกิด ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายขาดประสิทธิภาพในการทำงานและเป็นเบาหวานได้ในที่สุด

พันธุกรรมกับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2

แม้ว่าพันธุกรรมจะเป็นสาเหตุของเบาหวานที่เกิดขึ้นได้น้อยที่สุด แต่ก็ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว เพราะจากสถิติพบว่า ผู้ที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติการเป็นเบาหวานมาก่อน มักจะลงเอยด้วยการเป็นเบาหวานทั้งสิ้น นั่นก็เพราะร่างกายของพวกเขาล้วนดื้อต่ออินซูลินนั่นเอง ซึ่งเมื่อหายแล้วก็มีโอกาสกลับมาะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อีก

ภาวะการดื้อต่ออินซูลิน

ภาวะนี้เกิดจากการที่ร่างกายทำการบังคับให้อินซูลินมีประสิทธิภาพที่แย่ลงกว่าเดิม เพื่อไม่ให้กลูโคสถูกนำออกไปจากเลือดในปริมาณมาก เพราะร่างกายต้องการเก็บน้ำตาลไว้ให้มากที่สุด เพื่อรับมือกับการอดอาหารหลายวัน ( เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นอาหารหายาก ในวันที่หาอาหารไม่ได้ก็จะต้องพยายามอดนั่นเอง ) และด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดยีนที่ดื้อต่ออินซูลินขึ้นมาในร่างกาย และมีการถ่ายทอดจากรุ่นไปสู่รุ่นในที่สุด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นเบาหวานจากพันธุกรรมได้

ในปัจจุบันร่างกายของคนเราไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดการดื้ออินซูลินอีกต่อไป เพราะในยุคนี้ไม่ต้องอดอาหารเหมือนในยุคก่อนๆ แต่กลับต้องการอินซูลินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการขนส่งกลูโคสออกจากเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ ได้อย่างไม่มีขาดตกบกพร่อง ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงทำให้เป็นเบาหวานได้ง่าย แต่ก็สามารถป้องกันได้บ้างด้วยการหมั่นออกกำลังกายบ่อยๆ นั่นเอง

ถ้าเป็นเบาหวาน ลูกจะเป็นด้วยไหม?

เบาหวาน เกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม ที่สืบทอดต่อกันไปยังบรรพบุรุษ ดังนั้นเมื่อใครก็ตามที่เป็นเบาหวาน ก็ย่อมส่งต่อเบาหวานไปสู่ลูกที่เกิดมาได้โดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นควรดูแลตัวเองให้ดีที่สุดอย่าให้เป็นเบาหวานจะดีกว่า เพื่อที่ลูกจะได้ไม่เสี่ยงเป็นเบาหวานไปด้วย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯซ บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัดม 2557.

สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

แก้ว กังสดาลอำไพ. ความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับอาหาร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. หมอชาวบ้าน 2531.
งานวิจัยเกาหลี [เว็บไซต์]. เข้าถึงจาก www.diabassocthai.org.