แสงแดดรักษาแผลแม้แต่แผลเบาหวานขั้นรุนแรง
แสงแดดมีวิตามินดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยสมานแผล และช่วยฆ่าเชื้อโรคได้

แสงแดด

แสงแดด เป็น แสงแห่งพลังชีวิต ทำให้พืชเจริญเติมโตให้ดอกออกผล ทำให้มนุษย์ สัตว์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆมีร่างกายแข็งแรง เติบโต มีสุขภาพดีด้วยพลังวิตามินดีจากแสงแดด นอกจากนี้ แสงแดดช่วยรักษาแผล เพราะในแสงแดดมีรังสีแสงอุลตราไวโอเลตมีแสงยูวีซีที่เป็นประโยชน์ มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคได้

ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับการเกิดแผลตามร่างกาย

สำหรับคนปกติที่ไม่มีภาวะของโรคเบาหวาน การเกิดบาดแผลถือเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก แค่ระวังไม่ให้แผลติดเชื้อ เมื่อระยะเวลาผ่านไปไม่นาน แผลตามส่วนต่างๆก็สามารถหายได้เองเป็นปกติ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นการเกิดบาดแผลขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ไม่น้อยเลย เนื่องจากหากเกิดขึ้นแล้ว แผลจะหายได้ยากกว่าคนปกติมาก ผู้ป่วยบางคนที่มีแผลเกิดขึ้นและไม่ได้ทำการรักษาอย่างดีเพียงพอ ก็อาจจะส่งผลให้แผลติดเชื้อ หากอาการยังคงไม่ดีขึ้น ในที่สุดก็อาจจำเป็นจะต้องตัดอวัยวะชิ้นนั้นทิ้งเลย เพื่อรักษาชีวิตเอาไว้

คนส่วนมากมักไม่ค่อยกลัวหรือตกใจมากนัก  เมื่อรู้ว่าตนเองก็เป็นคนหนึ่งที่มีภาวะของโรคเบาหวานเกิดขึ้นในร่างกายแล้ว เนื่องจากโรคนี้ไม่ได้อันตรายร้ายแรงจนถึงชีวิต ผู้ที่ป่วยยังคงสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพียงแค่ทานยาและ ควบคุมอาหารตามที่แพทย์สั่ง แต่หลายคนก็อาจจะไม่ทราบว่า สิ่งที่น่ากลัวสำหรับโรคเบาหวานก็คือ ภาวะของอาการแทรกซ้อนต่างๆมากมาย ที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้เสมอในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเพียงพอ นอกจากอาการแทรกซ้อนยอดฮิตอย่าง โรคความดันสูง โรคไตวายแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานกลัว และต้องระวังไม่ให้เกิดขึ้นกับตนเอง สิ่งนั้นคือการเกิดบาดแผลขึ้นตามส่วนต่างๆในร่างกาย

โรคปลายประสามเสื่อม ต้นเหตุของการเกิดบาดแผล

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จะเป็นเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมาระยะหนึ่งแล้ว และมีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดีเพียงพอ ก็มักจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆขึ้น โดยโรคที่เจอบ่อยๆประเภทหนึ่งก็คือ โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาท หรืออาจเรียกว่า โรคปลายประสามเสื่อม ซึ่งหากเกิดขึ้นกับร่างกายแล้ว จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหลักๆ ดังต่อไปนี้

  • ประสาทรับความรู้สึกเสื่อม ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะสูญเสียการรับรู้ควาเจ็บปวด หรือความรู้สึกร้อนเย็นดังนั้นเมื่อมีแผลเกิดขึ้นแล้ว ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัว เนื่องจากขาดความรู้สึกเจ็บปวด แผลเล็กๆที่เกิดขึ้นตอนแรก จึงเกิดการอักเสบลุกลามเป็นแผลขนาดใหญ่มากขึ้น
  • ปลายประสาทควบคุมกล้ามเนื้อเสื่อม ทำให้กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้อที่เท้าไม่อยู่ในสภาพสมดุล
  • ปลายประสาทอัตโนมัติเสื่อม ทำให้ระบบประสาทควบคุมการหลั่งของเหงื่อ การหดและขยายตัวของหลอดเลือดเสื่อมและเสียไป ผิวหนังจะมีอาการแห้งและแตกง่าย เส้นเลือดตีบจนถึงอุดตันในหลอดเลือดใหญ่และหลอดเลือดฝอย ทำให้เกิดแผลที่เท้า เนื่องจากมีเนื้อเยื่อฉีกขาด แผลมักเกิดขึ้นได้ตามนิ้วเท้า ส้นเท้า ในผู้ป่วยบางรายแผลอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การโดนของมีคมบาด แผลจากการเกา ซึ่งแผลเล็กๆเหล่านี้ก็อาจจะกลายเป็นแผลลุกลามใหญ่โตขึ้นได้เช่นกัน

สาเหตุที่แผลหายช้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีแผลเกิดขึ้น จะทำการรักษาหายได้ยากกว่าแผลของคนปกติมาก เนื่องจาก เลือดไปเลี้ยงบริเวณแผลได้ไม่เพียงพอ เกิดภาวะเลือดหวาน จากการที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งภาวะที่เลือดมีน้ำตาลมากเช่นนี้กลายเป็นอาหารอย่างดีสำหรับเชื้อโรค ทำให้เชื้อโรคมีความแข็งแรงมากกว่า ที่เม็ดเลือดขาวจะป้องกันได้  แผลที่เกิดขึ้นจึงติดเชื้อได้ง่าย เกิดการลุกลามอย่างรวดเร็วและรุนแรง เหตุนี้จึงทำให้แผลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน หายยากกว่าคนปกติมาก 

ความร้ายแรงของแผลในผู้ป่วยเบาหวาน

แผลที่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีเพียงพอ ก็มักจะเกิดความรุนแรงของแผลขึ้น  จนทำให้เนื้อเยื่อที่แผลเน่าส่งกลิ่นเหม็น เรียกว่าเป็นแผลเนื้อเน่า ( Gangrene ) มีด้วย 2 ชนิด คือ

  • แผลเนื้อเน่าแห้ง ( Dry Gangrene ) เนื้อแผลจะแห้งและมีสีดำ มีกลิ่นเหม็น ผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกเจ็บปวด  ซึ่งอาจทำให้เนื้อเยื่อหรือแม้แต่ข้อหลุดออกมาได้
  • แผลเนื้อเน่าเปียก ( Wet Gangrene ) เป็นแผลเน่าและมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ มีของเหลวไหลออกจากแผลตลอดเวลา เป็นแผลชนิดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก

หากแผลที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกิดการลุกลามมากขึ้น โดยที่แพทย์ไม่สามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ เมื่อเกิดการกระจายเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตของผู้ป่วยได้เลย ดังนั้นแพทย์ จึงจำเป็นจะต้องตัดอวัยวะที่เกิดบาดแผลทิ้งไป เพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยเอาไว้

การรักษาแผลผู้ป่วยในโรคเบาหวาน

การรักษาแผลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้น หากผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดผู้ป่วยพบเห็นบาดแผลเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นแผลเล็กหรือใหญ่ ให้รีบพาไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน ไม่ควรปล่อยทิ้งเอาไว้ เพื่อให้แผลหายเอง ที่สำคัญเรื่องความสะอาดต้องเน้นเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ  โดยเมื่อถึงมือแพทย์แล้ว แพทย์จะตรวจและวิเคราะห์  ถึงอาการของบาดแผลที่เกิดขึ้น เพื่อวางแผนในการรักษาต่อไป แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์พบว่า แสงแดดรักษาแผลได้ รวมทั้งแผลที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่หายได้ยากได้

แสงแดดรักษาแผลได้อย่างไร?

การที่บาดแผลที่เกิดขึ้นจะหายได้เป็นปกตินั้น จะต้องเกิดการสมานกันของแผลเสียก่อน ซึ่งต้องอาศัยเซลล์และสารชีวเคมีของร่างกายหลายชนิดทำงานร่วมกัน เริ่มจาก การห้ามเลือดให้หยุดไหลโดยเกล็ดเลือด  หลังจากนั้นเม็ดเลือดขาวจะถูกส่งมาบริเวณบาดแผล เพื่อกำจัดสารและเนื้อเยื่อที่ไม่ต้องการออกไป และทำการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน ทำให้บาดแผลตื้นขึ้นและค่อยๆหายดีเป็นปกติ
นอกจากนี้ในการสมานแผล ยังมีสารที่สำคัญอีกหนึ่งชนิดที่อยู่ในกระบวนการนี้คือ คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) ซึ่งเป็นตัวรับแสงแดด และเปลี่ยนแสงแดดให้เป็นวิตามินดี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับทุกส่วนในร่างกาย โดยเฉพาะการใช้แคลเซียมไปปรับความสมดุลของภาวะเลือดในร่างกาย เพื่อช่วยให้แผลค่อยๆดีขึ้นจนหายเป็นปกติ   

บทบาทของแสงแดดรักษาแผล

1. แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และอื่นๆ  ดังนั้น แสงแดดจึงฆ่าเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เป็นแผล รวมถึงฆ่าเชื้อบาดทะยักได้ด้วย  ทำให้แผลแห้งและหายเร็ว
2. แสงแดดช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยวิตามินดีที่ได้รับจากแสงแดด จะไปช่วยกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวถูกผลิตมากขึ้น ให้เพียงพอต่อการนำไปใช้รักษาแผล
3. แสงแดดช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเซลล์ต่างๆของร่างกาย แสงแดดช่วยทำให้เฮโมโกบินในเม็ดเลือดแดงรับออกซิเจนจากปอดได้ดีขึ้น จึงทำให้เซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะเซลล์รอบๆบริเวณบาดแผล เซลล์เม็ดเลือดขาว ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ทำให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น และช่วยฟื้นฟูบาดแผลให้หายดี
4. แสงแดดช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ แสงแดดเป็นพลังแม่เหล็กที่เต็มไปด้วยพลังประจุไฟฟ้าลบ ( Electron )  จึงมีอนุภาพจัดการกับอนุมูลอิสระที่อยู่ในร่างกายและบริเวณบาดแผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากแผลที่มีความอันตรายสูง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้ว แสงแดดรักษาแผลในกรณีอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด เช่น แผลติดเชื้อ แผลกดทับ แผลฟกช้ำ และแผลเรื้อรัง เป็นต้น

ถึงแม้ว่าบาดแผลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะดูอันตรายและรุนแรง แต่สิ่งที่ช่วยรักษาให้หายได้ ไม่ใช่ยาราคาแพง หรือเครื่องมืออุปกรณ์แพทย์ราคาสูง แต่กลับเป็นพลังงานอย่างแสงแดด ที่ไม่ต้องเสียเงินสักบาท เป็นพลังงานฟรีที่ใช้ได้ไม่มีวันหมด ดังนั้นจึงควรทำให้ตนเองได้รับปริมาณของแสงแดดที่เพียงพอและเหมาะสมในแต่ละวัน ซึ่งหากจะให้ดีที่สุด ผู้ที่รู้ว่าตนเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน ต้องรู้จักรอบคอบและระมัดระวังตัวเองไม่ให้เกิดบาดแผลขึ้นตามร่างกาย หรือ ถ้าเกิดบาดแผลขึ้นตามร่างกายแล้ว ผู้ป่วยต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อป้องกันบาดแผลไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ไม่ให้เชื้อนั้นลุกลามจนเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5

MacAdam, David L. (1985). Color Measurement: Theme and Variations (Second Revised ed.). Springer. pp. 33–35. ISBN 0-387-15573-2.

“Graph of variation of seasonal and latitudinal distribution of solar radiation”. Museum.state.il.us. 2007-08-30. Retrieved 2012-02-12.

MacEvoy, Bruce (2008). color vision. Retrieved 27 August 2015. Noon sunlight (D55) has a nearly flat distribution.

Wyszecki, Günter; Stiles, W. S. (1967). Color Science: Concepts and Methods, Quantitative Data and Formulas. John Wiley & Sons. p. 8.