ฟักทอง (Pumpkin) สรรพคุณและประโยชน์ของฟักทอง

ฟักทอง

ฟักทอง ( Pumpkin ) แบ่งออกเป็น 2 ตระกูล คือ ตระกูลฟักทองอเมริกัน ผลใหญ่เนื้อนุ่ม และตระกูลสควอช ( Squash ) เนื้อแน่นหนัก ได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่น โดยฟักทองไทยผิวมีลักษณะขรุขระเล็กน้อย เปลือกจะแข็ง เนื้อด้านในเป็นสีเหลืองสดธรรมชาติให้สีสันน่ารับประทาน ชนิดของฟักทองที่นิยมนำมารับประทานได้แก่ ฟักทองของไทย พันธุ์คางคก พันธุ์ญี่ปุ่น พันธุ์คิงคอง พันธุ์ผลมะพร้าว พันธุ์เนื้อสีส้ม เป็นต้น นอกจากนี้ฟักทอง ถือเป็นอาหารที่อุดมด้วยสารอาหาร เเต่อย่างไรก็ตามพบว่า ฟักทองให้พลังงานแคลอรี่ต่ำมากอย่างเหลือเชื่อ ถึงเเม้ว่าจะเต็มไปด้วยสารอาหารก็ตาม ฟักทองปริมาณ 245 กรัม (ถ้วย) ให้พลังงานที่ต่ำกว่า 50 แคลอรี่ต่อถ้วย และประกอบด้วยประมาณของน้ำมากถึง 94 เปอร์เซนต์ นอกจากนี้ยังพบว่า ฟักทองยังเป็นแหล่งของใยอาหาร หรือไฟเบอร์ที่ดีอีกด้วย ซึ่งสามารถช่วยลดความอยากอาหารได้

ฟักทองชื่อวิทยาศาสตร์ คือ :  Cucurbita maxima ‘Kabocha Group’ หรือ Cucurbita moschata Duchesne จัดอยู่ในวงศ์แตง ( CUCURBITACEAE ) 

ฟักทอง ประโยชน์

ประโยชน์ของฟักทองในส่วนประกอบของฟักทองที่ให้คุณค่าสารอาหารมีอะไรบ้าง?

  • เปลือกฟักทอง ประโยชน์ของเปลือกฟักทองมีฤทธิ์ทางยามากมาย หากทานฟักทองทั้งเปลือก จะสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินในร่างกาย ซึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายไป ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประโยชน์ของฟักทองใบอ่อน มีวิตามินเอสูงเท่ากับเนื้อฟักทอง แต่มีแคลเซียม ( Calcium ) และฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) สูงกว่าในเนื้อ นิยมเด็ดยอดอ่อนมาลวดจิ้มน้ำพริกในตำรับอาหารไทย
  • ประโยชน์ของฟักทองตรงเนื้อฟักทอง มีวิตามินเอสูง รวมทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี แป้ง และที่จะลืมไปไม่ได้เลยก็คือ ” เบต้าแคโรทีน ” ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทอง สามารถช่วยลดการเกิดมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจได้ แถมเบต้าแคโรทีน ยังช่วยต้านความชรา ป้องกันโรคผิวหนัง บรรเทาอาการปวดเมื่อยของข้อเข่า และบั้นเอวได้เป็นอย่างดี
  • ประโยชน์ของฟักทองที่เยื่อกลางผลฟักทอง สามารถนำมาพอกแผล แก้อาการฟกช้ำ อาการปวด อักเสบได้
  • ฟักทองเหมาะเป็นอาหารของคนที่กำลังลดน้ำหนัก เพราะไขมันน้อย น้ำตาลน้อย กากใยอาหารสูง พลังงานต่ำ ใยอาหารสูง
  • ประโยชน์ของฟักทองที่ดอกฟักทอง ( Pumpkin Flower ) มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีวิตามินซีเล็กน้อย
  • เมล็ดฟักทอง ประกอบด้วยแป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน รวมทั้งสารที่ชื่อว่า ” คิวเคอร์บิติน ” ( Cucurbitine ) ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิตัวตืดได้ดี และยังช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ น้ำมันจากเมล็ดฟักทองยังช่วยบำรุงประสาทได้ดี และยังมีกรดอะมิโนบางชนิดที่ช่วยป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากของผู้ชายขยายใหญ่ขึ้น และช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้จากลูกอัณฑะให้อยู่ในระดับปกติ
  • รากฟักทอง น้ำมาต้มน้ำใช้ดื่มแก้อาการไอได้ และยังช่วยบำรุงร่างกาย ถอนพิษของฝิ่นได้

คนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่าฟักทองเป็นผัก แต่แท้จริงแล้วฟักทองจัดอยู่ในกลุ่มของผลไม้

ฟักทอง สรรพคุณ

  • ช่วยในเรื่องรักษาและบำรุงสุขภาพหัวใจ  เนื่องจากในฟักทองประกอบด้วยแคโรทีนชนิดต่างๆเช่น เบต้าแคโรทีนอัฟฟาแคโรทีน ซึ่งช่วยให้บำรุงสุขภาพของหัวใจให้แข็งแรงนอกจากนี้ในฟักทองยังมีไฟเบอร์และโพแทสเซียมซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบหัวใจด้วยเช่นกันโดยการทานฟักทองแค่เพียง 1 ถ้วยเล็กสามารถเพิ่มแคโรทีนต่างๆให้กับร่างกายได้มากถึง 1,000 มิลลิกรัมเลยทีเดียว 
  • ประโยชน์ของฟักทองช่วยลดความดันโลหิต เนื่องจาก ในฟักทองนั้นมากไปด้วย โพแทสเซียมและไฟเบอร์ต่างๆซึ่งสองสิ่งนี้เป็นตัวช่วยอย่างดีในการไปลดและควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีโดยฟักทองปริมาณหนึ่งเสิร์ฟมีโพแทสเซียมเกือบ 300 มิลลิกรัม หรือ 10% ของความต้องการ พร้อมด้วยใยอาหาร 4 กรัม หรือ 20% ของความต้องการต่อวัน  นอกจากนี้สารแคโรทีนในฟักทองอย่างเบต้าและอัลฟ่า ยังช่วยไปต่อต้านอนุมูลอิสละช่วยคุ้มครองมิให้ LDL ซึ่งเป็นพาหะนำคอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) ไหลเวียนไปทั่วร่างกายถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระ
  • ฟักทองช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลเนื่องจาก มีผลการทดลองกับสัตว์โดยเพิ่มเมนูฟักทองลงมื้ออาหารประจำวันสามารช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในสัตว์ตัวนั้นๆได้ซึ่งก็น่าจะมีผลที่ดีเหมือนกันในร่างกายของมนุษย์เราได้เช่นกันด้วยคุณประโยชน์ที่มากมายของฟักทองทุกบ้านควรนำฟักทองมาประกอบเป็นอาหารมื้อหลักให้บ่อยๆ
  • สารเคอร์บิซินในเมล็ดฟักทอง ช่วยให้ปัสสาวะคล่อง ช่วยชะลอความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดอาการต่อมลูกหมากโต

ข้อควรระวังในการทาน ฟักทอง

ฟักทอง มีฤทธิ์อุ่นดังนั้นคนที่กระเพาะร้อน จะมีอาการเบื้องต้น เช่น กระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก เป็นแผลในช่องปาก เหงือกบวม ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป เพราะอาจกระตุ้นให้ร่างกายร้อนขึ้นได้นั่นเอง หรือแม้แต่ในคนปกติ การทานฟักทองมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง และตัวเหลือง

ฟักทอง เมนูของหวาน

  • ฟักทองเชื่อม
  • ฟักทองนึ่ง
  • ฟักทองแกงบวด
  • พายฟักทอง
  • ขนมปังหรือคุกกี้ฟักทอง
  • ชีสเค้กฟักทอง
  • สังขยาฟักทอง
  • คัสตาร์ดเค้กฟักทอง
  • เค้กฟักทอง
  • แกงบวดฟักทองนมสด
  • น้ำฟักทอง
  • ฟักทองฉาบ
  • ก๋าบองทอด (ฟักทองแท่งทอด)

ฟักทอง เมนูอาหารคาว

  • แกงป่าฟักทองใส่ไก่ หรือหมู
  • แกงเผ็ดฟักทองใส่หมู หรือไก่
  • ซุปฟักทอง
  • ผัดฟักทองใส่ไข่
  • แกงเลียงฟักทอง
  • แกงอ่อมฟักทองหมูสามชั้น
  • แกงส้มฟักทอง
  • โจ๊กฟักทองหมูสับ 

แม้ว่าประโยชน์ของฟักทองมีมากมายแต่การที่นำฟักทองไปประกอบเป็นอาหารต่างๆก็ควรระมัดระวังเรื่องของส่วนผสมในอาหารชนิดนั้นๆ ไม่ให้ในอาหารนั้นมีปริมาณของไขมันและน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะเมนูอาหารหวานปกติฟักทองเองก็สามารถทานเป็นผลสดๆเลยก็ได้ สามารถหาทานได้ง่ายทุกฤดูการหรือจะเลือกทานแบบอัดกระป๋องก็ยังได้โดยฟักทองแบบอัดกระป๋องนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารที่สูงกว่าแบบการทานสดๆเนื่องจากมีปริมาณน้ำน้อยกว่า และมากไปด้วยแคโรทีน

ตารางคุณค่าทางโภชนาการของฟักทอง

เนื้อฟักทองปริมาณ 100 กรัม มีสารอาหารอะไรบ้าง

พลังงาน 26 กิโลแคลอรี
วิตามินเอ 476 ไมโครกรัม 53%
เบตาแคโรทีน 3,100 ไมโครกรัม 29%
ลูทีนและซีแซนทีน 1,500 ไมโครกรัม
วิตามินบี 1 0.05 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม  9%
วิตามินบี 3 0.6 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี 5 0.298 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี 6 0.061 มิลลิกรัม 5%
ฟักทองวิตามินบี 9 16 ไมโครกรัม 4%
วิตามินซี  9 มิลลิกรัม  11%
วิตามินอี 0.44 มิลลิกรัม 3%
วิตามินเค 1.1 ไมโครกรัม 1%
ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม 2%
ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม 6%
ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมงกานีส 0.125 มิลลิกรัม 6%
ธาตุฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม 6%
ธาตุโพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม 7%
ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.32 มิลลิกรัม 3%
คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม
น้ำตาล 2.75 กรัม
เส้นใยกากใย 0.5 กรัม
โปรตีน 1 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ( ข้อมูลจาก : USDA Nutrient Database )

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง 

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. 

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, USDA National Nutrient Database

“Pumpkin seed (Cucurbitae peponis semen)”. Heilpflanzen-Welt Bibliothek. Retrieved March 25, 2015.

Pumpkin. (1992). In The Encyclopedia Americana International Edition. Danbury, Connecticut: Grolier Incorporated.