legal roids
น้ำมันคาโนลามีลักษณะสีใส เนื้อบางเบา ไม่มีกลิ่นหืน ผลิตจากเมล็ดของต้นคาโนลาซึ่งพบมากในจีน อินเดีย ประเทศแทบยุโรปและประเทศแคนาดา

น้ำมันคาโนล่า ดีต่อสุขภาพหรือไม่?

น้ำมันคาโนล่า คือ น้ำมันพืชมีไขมันไม่อิ่มตัว รสชาติที่เป็นกลางดีต่อสุขภาพสูงมาก ซึ่งกลุ่มคนรักสุขภาพมักใช้น้ำมันคาโนล่าปรุงอาหารมีประโยชน์ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงได้ ช่วยลดน้ำหนัก และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ วันนี้เรามีน้ำมันคุณภาพสูงมาแนะนำเพื่อใช้ปรุงอาหารรับประทาน น้ำมันที่ว่าก็ คือ น้ำมันคาโนลา ( Canola Oil ) มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อัลฟา-ไลโนเลนิก (ALA) สูงกว่าน้ำมันอื่นๆ หากนำน้ำมันพืชมาปรุงอาหารแล้วนำไปเปรียบเทียบกับน้ำมันมะกอกพบว่าน้ำมันคาโนลามีปริมาณแคลอรี่ 124 กรัมและไขมัน 14 กรัมเท่าน้ำมันมะกอก แต่มีไขมันอิ่มตัวแค่ครึ่งเดียวของน้ำมันมะกอกเท่านั้น

น้ำมันคาโนลามีลักษณะสีใส เนื้อบางเบา ไม่มีกลิ่นหืน ผลิตจากเมล็ดของต้นคาโนลาซึ่งพบมากในจีน อินเดีย ประเทศแทบยุโรปและประเทศแคนาดา

ประโยชน์ของน้ำมันคาโนล่า

– สร้างเยื่อหุ้มเซลล์
– ช่วยเพิ่มพลังงานให้สมอง
– มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
– ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
– ช่วยลดการอักเสบและความฝืดของข้อ
– ช่วยลดน้ำหนัก และลดไขมันหน้าท้อง
– ช่วยลดปัญหาผิวและสัญญาณแห่งวัย เช่น สิว ริ้วรอย รอยตีนกา และจุดด่างดำ
– ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นมให้แก้ผิว บำรุงผิว บำรุงเส้นผม และช่วยป้องกันรังแค

จะเห็นว่าน้ำมันโคโนลาเป็นน้ำมันที่ทรงคุณค่าทางโภชนการไม่แพ้น้ำมันมะกอกเลยทีเดียว และสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผัดหรือทอดที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงมากแค่ไหนก็สามารถใช้ได้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ทว่าในประเทศไทยนั้นยังไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใด เนื่องจากน้ำมันคาโนลานั้นมีราคาสูงและหา ซื้อได้ยาก แต่ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่รักสุขภาพแล้ว น้ำมันโคโนลาจัดเป็นน้ำมันพืชทางเลือกที่ดีมากอีกชนิดหนึ่งสำหรับคนที่รักสุขภาพอย่างคุณ แต่อย่าลืมนะว่าการบริโภคน้ำมันไม่ว่าจะดีมากแค่ไหนถ้าบริโภคมากเกินไปก็เป็นอันตรายต่อร่างกายได้นะ ดังนั้นจึงควรบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

Javitt NB (December 1994). “Bile acid synthesis from cholesterol: regulatory and auxiliary pathways”. FASEB J. 8 (15): 1308–11.