อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเลือดจาง
ผู้เป็นโลหิตจางเกิดจากร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ

ผู้ป่วยเลือดจาง

สำหรับ ผู้ป่วยเลือดจาง หรือภาวะที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงงน้อยกว่าปกติ สามารถรักษาอาการให้ดีขึ้นได้ไม่ยาก โดยการเสริมด้วยอาหารเพิ่มเกล็ดเลือด เช่น ธาตุเหล็ก กรดโฟลิกและวิตามินบี 12 ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงเลือดได้ดีนั่นเอง โดยภาวะเลือดจางนี้ในทางการแพทย์จะเรียกว่า ระดับค่าฮีโมโกลบินต่ำ ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ชายจะต้องมีฮีโมโกลบินไม่ต่ำกว่า 13  กรัมต่อเดซิลิตรและผู้หญิงจะต้องมีฮีโมโกลบินไม่ต่ำกว่า 12 กรัมต่อเดซิลิตรนั่นเอง ดังนั้นหากพบความผิดปกติจึงต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน

โดยฮีโมโกลบิน เป็นสารสำคัญในเม็ดเลือดแดง ที่ประกอบไปด้วยโปรตีนที่เรียกว่าโลกบิน ( Globin ) 94% และฮีม ( Heme)  6% ซึ่งหากลองวัดค่าความเข้มข้นดูจะพบว่า ผู้ชายที่เป็น โรคโลหิตจาง จะต้องมีค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่า 39% และผู้หญิงจะต้องมีค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่า 36%

ฮีโมโกลบิน เกิดจากอะไร?

ฮีโมโกลบิน เกิดจากการสร้างขึ้นโดยไขกระดูก ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบ 97% และน้ำ 3% โดยหน้าที่ของฮีโมโกลบินก็จะทำการจับออกซิเจนและนำออกซิเจนเหล่านี้ผ่านไปยังอวัยวะและเซลล์ กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงใช้เพื่อทำปฏิกิริยาเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานอีกด้วย ดังนั้นเมื่อร่างกายอยู่ใน ภาวะเลือดจาง หรือมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ จึงมักจะส่งผลให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายแย่ลงไปด้วย โดยสังเกตได้จาก ผิวที่ซีดเหลืองกว่าปกติ ร่างกายมีความอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายและรู้สึกไม่ค่อยมีแรง มักจะหน้ามืดวิงเวียนศีรษะบ่อยๆ และในบางคนที่เข้าขั้นรุนแรงก็อาจเป็นลมหมดสติได้

การเกิดโรคโลหิตจางนั้น มักจะเกิดจากการที่ร่างกายต้องสูญเสียเลือดมากเกินไป เช่น ที่ระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่าย โดยภาวะเลือดออกที่เกิดขึ้น อาจเป็นเพราะโรคริดสีดวงทวาร โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการทานยาบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร เช่นกัน

นอกจากนี้ก็อาจรวมถึงการมีพยาธิภายในร่างกายที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในอวัยวะต่างๆ ภายในได้อีกด้วย
และนอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว โรคเลือดจาง ก็อาจจะเกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิดได้อีกด้วย โดยเฉพาะกรดโฟลิก วิตามินบี 12 และธาตุเหล็ก ซึ่งสาเหตุดังกล่าวมักจะพบได้จากผู้ที่ทานอาหารไม่เหมาะสม ไม่ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ และที่พบได้มากที่สุดก็คือในผู้สูงอายุนั่นเอง เนื่องจากวัยนี้มักจะมีอาการเบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อยลง และชอบเลือกทานอาหารบางชนิดเท่านั้น จึงทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่สำคัญไปจนทำให้เกิดภาวะเลือดจางได้นั่นเอง

ผู้เป็นโลหิตจางเกิดจากร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ

การรักษาอาการของ โรคเลือดจาง

สำหรับการรักษาและบรรเทาอาการของผู้ป่วยเลือดจางให้ดีขึ้น จะต้องใช้วิธีการโภชนาการบำบัด คือทานอาหารที่เพิ่มเกล็ดเลือดหรือสร้างเม็ดเลือดเป็นหลักนั่นเอง ส่วนผู้ที่เป็น โรคเลือดจาง จากการป่วยด้วยโรคเรื้อรังบางชนิด เช่นโรคไต โรคตับ ข้ออักเสบและบุคคลที่ต้องฟอกไตเป็นประจำ มักจะมีอาการของโรคเลือดจางที่รุนแรงมากกว่าคนทั่วไป แถมยังมีระดับของเม็ดเลือดแดงที่ลดต่ำอย่างต่อเนื่อง นั่นก็เพราะร่างกายได้ขาดฮอร์โมนที่ชื่อว่าอีริโทรโพอิติน ( Erythropoietin หรือ EPO ) โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ไขสันหลังสร้างเม็ดเลือดแดงออกมามากขึ้น ซึ่งเมื่อฮอร์โมนต่ำลงหรือขาดไป ก็จะทำให้เม็ดเลือดแดงถูกสร้างออกมาน้อยกว่าปกตินั่นเอง

ส่วนผู้ที่ป่วยด้วย โรคโลหิตจาง หรือเรียกง่ายๆ ว่า โรคเลือดจาง นั่นเอง จากเม็ดเลือดแดงแตก เป็นเพราะเม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ และไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงเข้ามาแทนที่ได้ทัน จึงทำให้เม็ดเลือดไม่พอและมีภาวะโลหิตจางได้ โดยสำหรับสาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายนั้นก็อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ และผลจากโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคไขกระดูกเสื่อมและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

สำหรับอาหารที่จะช่วยในการเพิ่มเม็ดเลือดแดงให้สูงขึ้นได้ ก็คืออาหารที่มีธาตุเหล็กสูงนั่นเอง เช่น ตับ เนื้อสัตว์ เลือด โดยเฉพาะธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปของสารประกอบฮีม เพราะร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ง่าย เช่น ธัญพืช ผักใบเขียวเข้ม ผักบุ้ง หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ แป้ง เป็นต้น และสำหรับธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีม แนะนำให้ทานร่วมกับวิตามินซี เพราะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมได้ดีกว่านั่นเอง เช่น ฝรั่ง ส้ม เป็นต้น นอกจากนี้ก็จะมีพวกข้าวเสริมธาตุเหล็ก เช่น ข้าวสายพันธุ์ 313 และข้าวหอมนิลอีกด้วย โดยเป็นข้าวที่ประกอบไปด้วยธาตุเหล็กและโฟลิกสูง จึงสามารถเสริมสร้างเม็ดเลือดแดงได้ดีทีเดียว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Burka, Edward (1969). “Characteristics of RNA degradation in the erythroid cell”. The Journal of Clinical Investigation. 150.

“Hemoglobin Tutorial.” University of Massachusetts Amherst. Web. 23 Oct. 2009.

Steinberg, MH (2001). Disorders of Hemoglobin: Genetics, Pathophysiology, and Clinical Management. Cambridge University Press. 

Van Kessel et al. (2003) “2.4 Proteins – Natural Polyamides.” Chemistry 12. Toronto: Nelson.