อาหารการกินช่วยถนอมเต้า
อาหารการกินสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงได้เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระเช่นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ โยเกิร์ต

กินอาหารช่วยถนอมเต้านม

หากพูดถึงอวัยวะที่เป็นสิ่งสำคัญชนิดหนึ่งของเพศหญิงก็คือ เต้านม นอกจากจะเป็นอวัยวะที่ช่วยให้ผู้หญิงดูมีรูปร่างรูปทรงที่ดีแล้ว ยังเป็นสิ่งที่สุดสำคัญในผู้ที่เพิ่งเป็นแม่คน ที่จะใช้เป็นช่องทางในการให้นมกับลูกน้อยอาหารการกินช่วยถนอมเต้านมของตนเอง ที่เพิ่งเกิดลืมตาดูโลกขึ้นมาอีกด้วย แต่ทั้งนี้ สิ่งที่สร้างความหนักใจให้กับคุณผู้หญิงทั้งหลายเกี่ยวกับเต้านมก็คือ โรคอันตรายร้ายแรงอย่าง “ มะเร็งเต้านม ” นั้นเอง โรคมะเร็งเต้านม ถือว่าเป็นฝันร้ายของใครหลายๆคน ที่ต้องพบต้องเจอกับโรคชนิดนี้ เพราะนั่นหมายถึง เมื่อป่วยเป็นโรคชนิดนี้แล้ว ก็มีโอกาสที่จะต้องสูญเสียเต้านม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของความเป็นหญิงไปเลยทีเดียว หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลาจากแพทย์

จากข้อมูลจะพบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นชนิดของโรคมะเร็งที่ผู้หญิงป่วยเป็นอันดับต้นๆ โดยคิดเป็นสัดส่วนได้ว่า ในผู้หญิง 8 คนจะมี 1 คนที่ป่วยเป็นมะเร็งชนิดนี้

โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่ อายุ เชื้อชาติ ลักษณะทางพันธุกรรม หรือ การมีประวัติที่คนในครอบครัวเคยเป็นป่วยโรคมะเร็งมาก่อน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจะพบว่า สิ่งที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงก็คือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิดๆ เช่น การทานอาหารที่มีไขมันสูง ผิดหลักโภชนาการ รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย สิ่งต่างๆเหล่านี้สามารถที่จะควบคุมได้เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น รวมทั้งอาหารการกินช่วยถนอมเต้านมของคุณผู้หญิง ดังวิธีการต่อไปนี้

1. ควบคุมน้ำหนักตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

ความอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดการกระตุ้นโรคมะเร็งเต้านมขึ้นได้ หลายคนมักทานอาหารที่ตามใจปาก ยึดถือความอร่อยของอาหารเป็นหลัก จนลืมคิดถึงการมีโภชนาการที่ดีไป รวมกับการที่ไม่มีการออกกำลังกายเลย เมื่อเกิดการสะสมนานเข้าก็จะกลายเป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานจนกลายเป็นโรคอ้วนนั้นเอง เมื่อร่างกายอ้วนขึ้นมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวัยหมด  ประจำเดือนแล้ว การวิจัยพบว่าน้ำหนักตัวทุก 5 กิโลกรัม ที่เพิ่มขึ้นในวัยผู้ใหญ่ สามารถเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

โรคอ้วน หากเป็นแล้ว จะกลายเป็นตัวนำโรคชนิดอื่นเข้ามาสู่ร่างกายได้มากมายอีกหลายโรคเลยทีเดียว โดยมะเร็งเต้านมก็เป็นหนึ่งในนั้น เนื่องจากการคนที่อ้วนจะมีไขมันสะสมในร่างกายมากกว่าปกติ โดยไขมันเหล่านี้ จะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เนื่องจากปกติแล้วเซลล์ไขมันจะเป็นผู้ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย เมื่อไขมันในร่างกายมากขึ้นก็จะทำให้มีการฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้นตามไปด้วย เปรียบเสมือนเป็นตัวเร่งให้เกิดมะเร็งนั่นเอง
ทั้งนี้บริเวณที่ไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย ก็สามารที่จะเป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้เหมือนกัน เช่น หากเป็นผู้ที่อ้วนลงพุง มีปริมาณไขมันสะสมที่บริเวณหน้าท้องมาก จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม มากว่าผู้ที่มีไขมันไปสะสมในส่วนอื่นๆของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้ว และมีการสะสมของไขมันที่หน้าท้องมาก จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้ที่อ้วนแต่มีไขมันสะสมที่ส่วนอื่นของร่างกายแทน มากถึง 43 เปอร์เซ็นต์ และยังรวมถึงผู้ที่ขาดการออกกำลังกายด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า หากผู้ที่เคยอ้วน และป่วยเป็นมะเร็ง เมื่อมีการรักษาให้หายแล้ว ทำการลดหนักหนักลงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งซ้ำไดถึง 30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

2. เลือกบริโภคชนิดไขมันอย่างเหมาะสม

จากข้อมูลทางการวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่นิยมทานอาหารประเภทที่มีไขมันจากเนื้อสัตว์สูง เช่น เนื้อแดง และนม จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม มากว่าผู้ที่ทานไขมันจากสัตว์น้อย คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 33 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังพบข้อมูลว่า อาหารที่ดูเหมือนเป็นอันตรายอย่าง น้ำมันพืช น้ำมันปลา หรือ อาหารที่มีส่วนประกอบอย่าง กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ไขมันทรานส์ และอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ไม่ได้มีผลต่อการกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมเลย

จึงมีการสรุปได้ว่า ชนิดของไขมันมีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากว่าปริมาณไขมันที่ได้รับเข้าไป โดยไขมันที่เกิดขึ้นจะไปกระตุ้นให้เกิดการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้น ส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญบางรายยังได้ให้ข้อมูลไว้ว่า เนื้อแดงและผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูงโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวมีองค์ประกอบอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม เช่น อาหารประเภทเนื้อแดงที่ปรุงสุกโดยใช้ความร้อนสูงๆ โดยเฉพาะการปิ้งย่าง จะส่งผลให้มีสารก่อมะเร็งเกิดขึ้นได้ และผลิตภัณฑ์นมไขมันสูงที่มีฮอร์โมนที่ละลายในไขมัน หรือสารเร่งการเจริญเติบโตที่อาจก่อมะเร็งขึ้นได้ เช่นกัน
ทั้งนี้ได้มีข้อแนะนำในการบริโภคอาหารในกลุ่มของเนื้อแดงจากสัตว์ นมจากสัตว์ หรืออาหารที่มีไขมันจากสัตว์ในปริมาณที่เหมาะสมคือ ไม่ควรบริโภคเกิน ครึ่งกิโลกรัม ภายในหนึ่งสัปดาห์

3. เพิ่มการทานผักและผลไม้

ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็ง ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญไว้ว่า อาหารจำพวกผักและผลไม้ชนิดต่างๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงได้ เนื่องจาก ผักและ ผลไม้ จะประกอบไปด้วยพฤกษเคมี สารต้านอนุมูลอิสระ เบต้าแคโรทีน และมีวิตามินซีปริมาณที่สูง ทำให้ดีเอ็นเอไม่ถูกทำลาย นอกจากนี้ยังเป็นอาหารที่ไม่มีไขมันและให้พลังงานที่ต่ำ ดังนั้นผู้ที่ทานผักและผลไม้อย่างเป็นประจำ สม่ำเสมอ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้มากถึง 25 เปอร์เซ็นต์

โดยผักและผลไม้ที่นิยมให้ทาน เพื่อช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมได้แก่ ผักที่มีสีส้ม เช่น แครอท ที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง และผักที่มี สีเขียวจัด อย่าง ผักในตระกูลครูซิเฟอรัส เช่น กะหล่ำปลี บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ คะน้า กวางตุ้ง เป็นต้น ผักในตระกูลครูซิเฟอรัส ยังมากไปด้วยสารที่ชื่อว่า “สารอินโดล” ซึ่งเป็นสารที่ช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งเต้านมได้เป็นอย่างดี   
ข้อแนะนำในการบริโภคผักและผลไม้อย่างเหมาะสมในการป้องกันมะเร็งเต้านม ที่สถาบันวิจัยโรคมะเร็ง ได้แนะนำไว้คือ ควรบริโภคผักและผลไม้รวมกันให้ได้ปริมาณวันละ 5 – 9 ส่วน ซึ่งให้ทานผักและผลไม้หลากหลายชนิดร่วมกัน ไม่ทานเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แบ่งออกเป็นสัดส่วนคือ ผลไม้ 2 -4 ส่วน และผัก 4-7 ส่วน โดยอัตรา 1 ส่วน มีปริมาณเท่ากับ ผักสุกประมาณครึ่งถ้วยตวง หรือผักสด 1 ถ้วยตวง

4. กินถั่วเหลืองช่วยลดความเสี่ยง

อาหารประเภทถั่วเหลือง นอกจากจะหาทานได้ง่ายและราคาถูกแล้ว ถั่วเหลืองยังมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมได้อีก โดยในถั่วเหลืองจะมีสารประกอบที่ชื่อว่า สารไอโซฟลาโวนหรือฮอร์โมนพืช ซึ่งเป็นสารที่มีความคล้ายกับสารต่อต้านอนุมูลอิสละ ที่เป็นตัวยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม
ข้อมูลจากการวิจัยพบว่า สารไอโซฟลาโวน จะเข้าไปช่วยยับยั้ง ฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่ให้เข้าไปในเซลล์เต้านม เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้อาจจะไปกระตุ้นการเจริญของเซลล์มะเร็งได้ แม้ว่าข้อมูลบางวิจัยบางส่วนจะแย้งว่าการบริโภคถั่วเหลืองมากๆจะยิ่งทำให้เกิดการกระตุ้นเชื้อมะเร็ง แต่ก็เป็นข้อมูลในทางส่วนน้อยเท่านั้น โดยยังเชื่อว่าผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นการทานถั่วเหลืองในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งเต้านมในอนาคตได้

สำหรับปริมาณการบริโภคถั่วเหลืองที่เหมาะสมนั้น ได้มีการแนะนำไว้ว่าควรทานถั่วเหลือง ไม่ให้เกินวันละ 2 ส่วน สำหรับผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม หรือเป็นผู้มีความเสี่ยงน้อย แต่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงควรทานถั่วเหลืองไม่เกินสัปดาห์ละ 2-3 ส่วน และงดการเสริมสารไอโซฟลาโวนซึ่งมีปริมาณมากกว่าในถั่วเหลืองหลายเท่า จะดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายห่างจากมะเร็งมากที่สุด ทั้งนี้ประมาณของถั่วเหลือง 1 ส่วนจะเท่ากับ

  • แป้งถั่วเหลือง ½ ถ้วยตวง
  • นมถั่วเหลือง 240 มิลลิลิตร
  • เต้าหู้ ½ ถ้วยตวง
  • โปรตีนเกษตรหรือถั่วเหลืองสุก ½ ถ้วยตวง

5. งดและหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวแล้ว ผู้หญิงที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้มากขึ้นด้วย มีข้อมูลทางการวิจัยพบว่า หากมีการดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้ ปริมาณ 1 ดริ๊ง ต่อ วันก็อาจจะทำให้เกิดปัจจัยในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ แต่อาจไม่มากนัก แต่ถ้าเมื่อไหร่มีการเพิ่มปริมาณของจำนวน ดริ๊ง ต่อวันมากขึ้น เช่น หากดื่มวัน  ละ 2 ดริ๊ง ก็สามารถช่วยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อเพิ่มจำนวนเป็นดริ๊งที่ 3 เข้าไป ความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้นไปถึง 70 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว ทั้งนี้ปริมาณของแอลกอฮอล์ 1 ดริ๊ง จะเท่ากับ

  • เบียร์ 1 กระป๋อง หรือ 1 แก้ว ขนาด 360 ซีซี
  • วิสกี้ 45 ซีซี
  • ไวน์ 1 แก้ว 150 ซีซี

นอกจากผลกระทบต่อโรคมะเร็งเต้านมแล้ว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังส่งผลทำให้เกิดภาวะกระดูกบาง ในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงหมดประจำเดือนแล้ว อีกด้วย ดังนั้นควรเลือกดื่มในบางโอกาสที่จำเป็นเท่านั้น เช่น งานเลี้ยงสังสรรค์ หรือ หากเป็นไปได้ไม่ควรดื่มเลยจะมีผลดีต่อร่างกายมากที่สุด แต่ถ้าหากเลี่ยงไม่ได้ ผู้ที่ชอบดื่มควรจะกินอาหารที่มีโฟเลตสูงๆ เพื่อให้ไปช่วยลดความเสี่ยงจากผลของแอลกอฮอล์ได้ สำหรับอาหารที่มีโฟเลตสูงได้แก่ ถั่วต่างๆ ผักใบเขียว น้ำส้มคั้น เป็นต้น และควรทานให้ได้วันละ ปริมาณวันละ 600 ไมโครกรัม

6. ออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ

การออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยป้องกันให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งเต้านมได้ด้วย โดยจากข้อมูลพบว่าผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประและสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งเต้านมได้มากถึง 40 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ส่วนผู้หญิงวับหมดประจำเดือนแล้ว ควรออกกำลังกายเป็นประจำ ให้ในหนึ่งสัปดาห์คิดเวลารวมแล้วได้ประมาณ 4 ชั่วโมง จะช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ การออกกำลังกายที่ดี ควรทำอย่างเป็นประจำและมีความสม่ำเสมอ ควรทำให้ได้ 3 – 5 ครั้ง ต่อ หนึ่งสัปดาห์ และ ครั้งละประมาณ 30 – 45 นาที ตามความเหมาสมของร่างกาย และไม่หักโหมจนเกินไป

ตัวอย่างอาหารที่มีสารต้านมะเร็งที่ควรเลือกบริโภคเป็นประจำ

นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปในทางทีดี ทั้ง 6 ข้อด้านบนที่กล่าวมาแล้วนั้น ควรเลือกทานอาหารที่มีสารต่อต้านมะเร็งเป็นประจำ โดยอาหารที่ควรทานมีดังต่อไปนี้   

1. ผลไม้ตระกูลส้ม เช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวาน เป็นต้น เนื่องจากผลไม้ตระกูลส้มจะ มีสารลิโมนอยด์ ที่มีฤทธิ์คอยช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง หากเป็นไปได้ควรทานผลไม้ชนิดนี้ให้เป็นประจำ

2. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เนื่องจากในผลไม้ประเภทนี้จะมีสารที่ชื่อว่า สารแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นพิกเมนต์สีน้ำเงิน มีใยอาหารสูงเกือบ 4 กรัมต่อ 1 ถ้วยตวง มีปริมาณของวิตามินซีสูง มีกรดเอลลาจิก ( Ellagic Acid ) และสารแทนนิน ซึ่งช่วยป้องกันมะเร็ง และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

3. ผักตระกูลครูซิเฟอรัส เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลี บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ เป็นต้น ผักในตระกูลนี้ จะมากไปด้วยสารที่ชื่อว่า สารอินโดล และ สารซัลโฟราเฟน ที่มีฤทธ์สูงช่วยในการยับยั้งการเกิดเชื้อมะเร็งในร่างกาย โดยการไปทำให้ เอสโตรเจนในร่างกายมีความอันตรายน้อยลง

4. ถั่วเหลือง เนื่องจากในถั่วเหลืองจะมีสารที่ชื่อว่า สารไอโซฟลาโวน จะเข้าไปช่วยยับยั้ง ฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่ให้เข้าไปในเซลล์เต้านม เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้อาจจะไปกระตุ้นการเจริญของเซลล์มะเร็งได้

5. ถั่วบราซิล ถั่วบราซิลเป็นแหล่งของซิลีเนียมซึ่งเป็นแร่ธาตุต้านอนุมูลอิสระ เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ ช่วยในการป้องกันและยับยั้งการเกิดเชื้อมะเร็ง และยังมีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วย

6. มะเขือเทศ นอกจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่หากินได้ง่ายแล้ว ยังมากไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ในมะเขือเทศจะมากไปด้วยสารที่ชื่อว่า ไลโคปีน ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์ที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ จะได้ผลเป็นอย่างยิ่งเมื่อนำมาปรุงทำให้เกิดความร้อน เพราะความร้อนจะช่วยให้สารไลโคปีนออกมามากการทานแบบผลสดๆ

7. ปลาทะเล ในปลาทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาซาดีน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาบะ เป็นต้นจะมีสารที่ชื่อว่า กรดโอเมก้า-3 ในปริมาณสูง ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยชะลอการเจริญของเซลล์มะเร็ง

8. ชา สำหรับการดื่มชา จะมีสารที่ชื่อว่า สารฟลาโวนอยด์ ช่วยลดสารอนุมูลอิสระ เช่น ชาเขียว ชาจีน เป็นส่วน ส่วนชาในรูปแบบขวด ชาสำเร็จรูป จะมีปริมาณของสารฟลาโวนอยด์ ที่น้อยกว่าการดื่มชาชง

9. สมุนไพรเครื่องเทศต่างๆ เป็นสิ่งที่ทานหาได้ง่าย เช่น กระเทียม พริก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด โดยสมุนไพรเหล่านี้ จะมีสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งได้เป็นอย่างดี 

10. โยเกิร์ต เป็นอาหารที่มากไปด้วยโปรตีนละแคลเซียม นอกจากช่วยในเรื่องของการขับถ่ายแล้ว โยเกิร์ต ยังมีประโยชน์ในการป้องกันโรคมะเร็งคือ จะไปจับตัวกับน้ำดีเพื่อช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีแบคทีเรียชนิดดีต่อร่างกายอีกด้วย ที่จะช่วยในเรื่องการย่อยอาหารและช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคแก่ร่างกาย

แน่นอนว่าสำหรับโรคมะเร็งเต้านมแล้ว คงไม่มีผู้หญิงคนไหนที่ไม่เกรงกลัวโรคนี้ แต่หากเรามองให้ลึกลงไปให้ดีก็จะพบว่า สาเหตุหลักๆ ในการเกิดมะเร็งเต้านมนั้น ส่วนหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นส่วนมาก มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องเอง หลายคนมักละเลยการทานอาหารการกินช่วยถนอมเต้านมนมที่ดี ผิดหลักโภชนาการ แต่กลับไปเลือกทานอาหารที่รสชาติอร่อยถูกปาก แต่มากไปด้วยไขมันและน้ำตาล รวมถึงยังขาดการออกกำลังกายด้วย ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยตัวเราเองให้ห่างไกลจากมะเร็งเต้านมได้มากที่สุดก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นเอง แม้ว่าโรคชนิดนี้อาจจะไม่ได้อันตรายจนถึงชีวิต แต่ถ้าเลือกได้ก็คงไม่มีใครที่อยากต้องพบต้องเจอกับโรคร้ายชนิดนี้แน่นอน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.