อาหารที่ช่วยเสริมภูมิต้านทาน
วิตามินต่างๆจากผลไม้ที่หลากหลายจะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเกิดความสมดุล และมีระบบภูมิต้านทานทำงานได้ดี

อาหารเพิ่มภูมิต้านทานโรค

อาหารเพิ่มภูมิต้านทานโรค ในอดีตการรับประทานอาหารของคนทั่วไปมักจะเป็นการบริโภคตามค่านิยมทางสังคม บริโภคตามโฆษณาชวนเชื่อบนสื่อโทรทัศน์และวิทยุ ไม่ได้ใส่ใจถึงคุณค่าและประโยชน์ของอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งอาหารเหล่านั้นล้วนประกอบ ด้วยแป้งเป็นหลัก ซึ่งให้พลังงานเกินกว่าความต้องการของร่างกายและสะสมในร่างกาย จนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในเวลาต่อมา แตกต่างจากในปัจจุบันที่คนเราให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น มีการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มภูมิต้านทานโรคเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย เราจะแข็งแรงหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับอาหารที่เรากินเข้าไปด้วย เพราะว่าเราต้องบริโภคอาหารทุกวัน มีทั้งประโยชน์และโทษ ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเข้าไปแล้วร่างกายย่อมแข็งแรง แต่ถ้ารับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์เข้าไปก็จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ นอกจากอาหารจะเป็นแหล่งพลังงานให้กับร่างกายแล้ว อาหารยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านให้กับร่างกายของเราได้อีกด้วย หรือที่เราเรียกว่าอาหารเพิ่มภูมิต้านทานโรค ทำไมอาหารถึงช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกายได้ แล้วอาหารอะไรบ้างที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

การที่ อาหารเพิ่มภูมิต้านทานโรค ให้กับร่างกายได้นั้น เพราะว่าในอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้นประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งวิตามินและแร่ธาตุนี่เองที่เข้าไปช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายของเรา วิตามินและแร่ธาตุจะมีอยู่มากในผักและผลไม้สด แต่ทว่าในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนามาอยู่ในรูปของอาหารเสริมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย และได้รับวิตามิน แร่ธาตุตามที่ต้องการโดยไม่ต้องบริโภคผักหรือผลไม้โดยตรง แต่อย่างไรก็ตามปริมาณของวิตามินและแร่ธาตุที่เข้าสู่ร่างกายนั้น ต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสมไม่เช่นนั้นแล้ว จากที่จะเกิดประโยชน์อาจจะเป็นโทษต่อร่างกายได้เช่นกันวิตามิน เป็นสารอาหารที่มีส่วนในการเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกายเป็นอย่างดี วิตามินมีอยู่มากในผักและผลไม้สด โดยวิตามินจะมีหน้าที่เข้าไปประสานการทำงานของระบบต่างให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ถ้าร่างกายขาดวิตามินจะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายขาดความสมดุล ระบบภูมิต้านทานทำงานได้ไม่ดี ทำให้ร่างกายเกิดความเจ็บป่วยได้ง่าย

ดังนั้นเราควรรับประทานผักและผลไม้สดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง วิตามินที่มีส่วนช่วยเกี่ยวกับเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกายได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซีและวิตามินอี โดยที่วิตามินแต่ละตัวจะมีหน้าที่ดังนี้

  • วิตามินเอ เป็นวิตามินที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นระบบการทำงานของต่อมไทมัสที่ช่วยในการสร้างเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า T-Cell  ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเม็ดเลือดขาวในการจัดการกับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้ามาสู่ร่างกายของเราให้ออกไป เราจึงไม่ต้องเจ็บป่วยจากเชื่อโรคที่เข้ามาในร่างกายนั่นเอง
  • วิตามินบี เป็นวิตามินที่เสริมสร้างความแข็งแรงของเส้นประสาททุกส่วนของร่างกาย ถ้าร่างกายขาดวิตามินบีแล้ว จะทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถทำงานได้ หรือกล่าวอีกอย่างก็คือประสาทไม่รับรู้ความรู้สึก ถ้าขาดในปริมาณเล็กน้อยก็จะทำให้ปลายประสาทชา และถ้าขาดวิตามินบีสูงมากก็จะเกิดผิวหนังอักเสบ โลหิตจางร่วมด้วยได้ 
  • วิตามินซี วิตามินซีเป็นวิตามินที่หลายคนคงรู้จักกันดีว่าช่วยป้องกันโรคหวัดได้เป็นอย่างดี วิตามินซีพบมากในผักและผลไม้มีรสเปรี้ยวและฝาด อย่าง ส้ม มะนาว ฝรั่ง วิตามินซีช่วยกระตุ้นการทำงานของอินเตอร์เฟียรอนที่มีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเจ้าเชื้อไวรัสนี่เองที่เป็นตัวที่ทำให้เกิดโรคหวัด และวิตามินซียังช่วยในการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นด้วย ทำให้เมื่อเรารับประทานอาหารเพื่อ เพิ่มภูมิต้านทานโรค ที่จะเข้าไปร่างกายก็จะได้รับสารอาหารเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากขึ้น ถ้าร่างกายขาดวิตามินซีร่างกายก็จะดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี เกิดการขาดสารอาหารทำให้เกิดโรคได้ เช่น โรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น
  • วิตามินอี เป็นวิตามินที่บำรุงระบบประสาทการมองเห็นหรือที่เราเรียกง่ายๆว่า บำรุงสายตา แต่ว่าวิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ร่างกายไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะหรือเหงื่อได้ ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะทำให้มีการผลิตเม็ดเลือดขาวลดลง ซึ่งเมื่อร่างกายขาดเม็ดเลือดขาวแล้วก็จะมีภูมิต้านทานต่ำลง เราจึงไม่ควรบริโภควิตามินอีเสริมเข้าสู่ร่างกาย
  • แร่ธาตุ มีหน้าที่คล้ายกับวิตามิน คือมีหน้าที่ในการช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรค แร่ธาตุที่ช่วยในการสร้างภูมิต้านทานคือ ธาตุเหล็กและสังกะสี ธาตุเหล็กจะช่วยในการสังเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงที่เกิดขึ้นมีความแข็งแรง อาหารที่พบธาตุเหล็กสูงได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เครื่องในของสัตว์ ตับ เมื่อร่างกายขาดธาตุเหล็กจะเกิดสภาวะเลือดจางได้ ร่างกายจะดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีต้องรับประทานควบคู่กับวิตามินซี ส่วนสังกะสีเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย อาหารที่เป็นแหล่งของสังกะสีคือ ไข่ เนื้อวัว หอยนางรม และถั่วต่างๆ

นอกจากผักและผลไม้ที่มีวิตามินและแร่ธาตุแล้ว ยังมีอาหารอีกประเภทหนึ่งที่เป็นอาหารเพิ่มภูมิต้านโรคให้แก่ร่างกายของเราได้ อาหารที่ว่านั้นก็คือโสมและเครื่องยาจีน โสมและยาจีนเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงโด่งดังของชาวจีน เหมาะที่จะรับประทานในฤดูหนาว โสมและเครื่องยาจีนเป็นอาหารที่ช่วยบำรุงกายช่วยฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงสำหรับคนที่ป่วย และยังช่วย เพิ่มการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกาย

สมุนไพรไทยก็ถือว่าเป็นอาหารที่ช่วย เพิ่มภูมิต้านทานโรค ด้วย สมุนไพรที่เรารู้จักกันดีและเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารไทย เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ที่ช่วยขับเหงื่อ ลดพิษไข้ บรรเทาอาการคัดจมูกเมื่อมีเป็นหวัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ สำหรับสมุนไพรนั้นนอกจากจะนำไปปรุงอาหารแล้ว บางครั้งเพียงแค่สูดดมก็สามารถสร้างภูมิต้านทานโรคได้ เช่น การสูดดมสารระเหยจากหัวหอมแดงช่วยแก้อาการคัดจมูก โดยทำการทุบเบาให้สารระเหยออกมาจากหัวหอมวางไว้บริเวณหัวนอนหรือต้มในน้ำเดือดแล้วสูดดม ก็สามารถบรรเทาอาการคัดจมูกเมื่อเป็นหวัดได้เป็นอย่างดี

การรับประทานอาหารเพื่อช่วยเสริมภูมิต้านทานโดยเฉพาะเพื่อสร้างภูมิต้านทานแล้ว การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ก็เป็นการทานก็จัดเป็น อาหารเพิ่มภูมิต้านทานโรค ได้เช่นกัน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเมื่อเรารับประทานอาหารครบ 5 หมู่แล้ว ร่างกายของเราจะแข็งแรงสมบูรณ์โดยเฉพาะระบบเกี่ยวกับภูมิต้านทานโรคจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หลายคนคิดว่าการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่นั้นง่ายมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วทำได้ยากมาก ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันนี้ต้องการความรวดเร็วและสะดวกสบาย เมื่อหิวแทนที่จะประกอบอาหารกินเอง ก็เดินเข้าซุป เปอร์มาเก็ตหรือร้านสะดวกซื้อ เพื่อซื้ออาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแช่แข็งที่ปรุงสำเร็จมาแล้ว เมื่อต้องการรับประทานก็เข้าเตาไมโครเวฟไม่กี่นาทีก็รับประทานได้แล้ว ซึ่งอาหารแช่แข็งสำเร็จรูปเหล่านี้ คุณค่าทางอาหารที่คงเหลืออยู่นั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการของร่างกาย และการที่จะรับประทานผักและผลไม้สดก็ยาก ทั้งราคาของสินค้าที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับรายรับที่ได้มา ทำให้โอกาสที่จะได้รับวิตามินและแร่ธาตุน้อยลงตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ร่างกายจึงขาดวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อการสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย เช่น โรคภูมิแพ้ โรคโลหิตจาง และที่โรคที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหวัด 

โรคหวัด เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด โรคหวัดเกิดจากเชื้อไวรัสกว่า 200 ชนิดด้วยกัน ซึ่งโรคหวัดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ โรคหวัดแบบธรรมดาหรือ Common Cold และโรคไข้หวัดใหญ่ การเป็นหวัดธรรมดานั้นจะมีอาการไข้ต่ำ มีน้ำมูกเกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนถูกเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายจึงเกิดการอักเสบและระคายเคือง คนที่จะเป็นไข้หวัดได้ง่ายก็คือคนที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ พักผ่อนไม่เพียงพอโดยเฉพาะในเด็กที่ ภูมิต้านทานโรค ยังไม่แข็งแรงและในคนชราที่ระบบภูมิต้านทานทำงานได้น้อยลง สำหรับคนที่อยู่ในวัยกลางคนนั้นก็สามารถป่วยเป็นไข้หวัดได้ ถ้าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างเฉียบพลัน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนตก ซึ่งทำให้อากาศภายนอกเปลี่ยนแปลงกระทันหันทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ทัน ยิ่งในฤดูฝนและหนาวที่มีสภาพอากาศเย็นจะทำให้เชื้อไวรัสหวัดเจริญเติบโตและมีอายุยืนในบรรยากาศ ทำให้เรามีโอกาสได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายมากกว่าฤดูร้อน จะพบว่าในฤดูหนาวและฤดูฝนมีผู้ป่วยที่ป่วยเป็นไข้หวัดเป็นจำนวนมาก  เมื่อเราป่วยเป็นไข้หวัดหนึ่งครั้งร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานเชื้อไวรัสชนิดที่ทำให้เราป่วยนี้ขึ้นมา ทำให้เราไม่เป็นไข้หวัดจากเชื้อตัวนี้อีก แต่อย่างที่เราบอกข้างต้นว่าเชื้อไข้หวัดเกิดเชื้อถึง 200 ชนิดดังนั้นถ้าเราจะไม่ป่วยเป็นไข้หวัดอีกเลยตลอดชีวิต เราก็ต้องป่วยเป็นไข้หวัดมาแล้ว 200 ครั้งเพื่อที่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดครบทั้ง 200 ตัวนั่นเอง แต่ว่าใครก็คงไม่อยากป่วยเป็นไข้หวัดถึง 200 ครั้ง ถ้าเราไม่ต้องการที่จะป่วยเป็นไข้หวัดเราก็ควรดูแลร่างกายให้อบอุ่นในฤดูหนาวและฤดูฝน รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกกินผักผลไม้สดเป็นประจำทุกวันและพักผ่อนให้เพียงพอ โดยการนอนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพียงเท่านี้คุณก็ไม่ต้องกังวลกับการป่วยเป็นไข้หวัดกันแล้ว ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณจะได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่  ( Influenza หรือ Flu ) ที่เป็นการป่วยอย่างเฉียบพลันจากการได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่จากผู้อื่น ซึ่งอาการของไข้หวัดใหญ่จะรุ่นแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการไข้สูง ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดเหมื่อยกล้ามเนื้อ อาจจะมีอาการท้องร่วงร่วมด้วยในบางราย เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ เพราะว่าถ้าปล่อยไว้นานอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้โรคไข้หวัดเป็นโรคที่มีการแพร่กระจายได้จากการไอ จาม หรือสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ทั้งโดยทางตรงคือสัมผัสน้ำลาย น้ำมูกของผู้ป่วย โดนไอ จามใส่จากผู้ป่วยแล้วสูดดมเข้าสู่ร่างกาย และทางอ้อมจากการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ผ้าเช็ดหน้าที่ใช้แล้ว เป็นต้น คนที่ป่วยนั้นต้องดูแลรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ต่อมทอมซินอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไซนัส สมองอักเสบและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแยบพลัน ซึ่งโรคสมองอักเสบและกล้ามเนื้ออักเสบการที่จะเกิดแทรกซ้อนนั้นมีโอกาสน้อยมาแต่ว่าถ้าเกิดขึ้นมาจะร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น

การป้องกันตนเองให้ห่างไกลหวัด ร่างกายของคนเรามีช่วงเวลาที่แข็งแรงและอ่อนแออยู่เสมอ ช่วงที่ร่างกายของเราแข็งแรง เราก็ไม่ต้องกังวลว่าจะป่วยเป็นไข้หวัด แต่ทว่าถ้ามีการระบาดของไข้หวัดเกิดขึ้นแล้วแม้ว่าร่างกายของเราจะแข็งแรง เราก็ควรป้องกันและดูแลตัวเองด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ป่วยเป็นไข้หวัด

วิธีการป้องกันให้ห่างไกลจากโรคหวัด

1.ช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน ช่วงฤดูหนาวและฝนจะมีการระบาดของไข้หวัดมาก เนื่องจากสภาวะอากาสเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อหวัด การป้องกันเราต้องทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่ปิดมิดชิด สวมถุงมือและถุงเท้าในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นและทานอาหารที่ช่วย เพิ่มภูมิต้านทาน ให้กับร่างกาย
2.ล้างมือและกลั้วคออยู่เสมอ การแพร่ของเชื้อหวัดสามารถแพร่ผ่านการสัมผัสสิ่งของร่วมกันได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของเรา เราควรล้างมือก่อนที่จะใช้มือหยิบจับอาหารเข้าปากเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าทางปาก การล้างมือจึงเป็นการป้องกันได้ดีที่สุด การกลั้วคอก็ช่วยลดปริมาณเชื้อไข้หวัดให้น้อยลง เพราะเราทำการกลั้วคอล้างเอาเชื้อโรคออกมาไม่ได้กลืนกินเข้าสู่ร่างกาย
3.ใช้ผ้าปิดจมูก เมื่อเราต้องเดินทางหรือเข้าไปยังสถานที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เราไม่ทราบว่ามีใครบ้างที่ป่วยเป็นไข้หวัด เราจึงควรปิดปากปิดจมูกด้วยผ้าปิดจมูกเวลาที่อยู่ในสถานที่ดังกล่าว สำหรับคนที่ยังไม่ป่วยการปิดจมูกก็เพื่อป้องกันการรับเชื้อหวัดเข้าสู่ร่างกายเพื่อป้องกันเชื้อโรคจากบุคคลอื่นที่เราไปสัมผัส สำหรับคนที่ป่วยเป็นหวัดอยู่แล้วการปิดปากปิดจมูกก็เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อของตนเองเวลาที่ไอหรือจามไปสู่ผู้อื่น

คำแนะนำเมื่อเป็นหวัด

เมื่อเรามีอาการเหมือนจะเป็นหวัดนั่นคือ มีอาการคัดจมูก ไป ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เราควรปฏิบัติตนดังนี้
1.คัดจมูก เมื่อมีอาการคัดจมูกให้สั่งน้ำมูกออกจากโพรงจมูกอย่างเบาๆ ก็พอแล้ว หลายคนคิดว่าสั่งน้ำมูกแรงจะช่วยให้น้ำมูกออกจากจมูกหมดจะได้หายหวัดเร็วขึ้น สิ่งนี้เป็นความคิดที่ผิด เพราะการสั่งน้ำมูกแรงๆ นอกจากจะไม่ช่วยให้หวัดหายเร็วแล้ว ยังเป็นสามารถให้เชื้อโรคแพร่เข้าสู่ระบบหายใจหายใจส่วนอื่นด้วย และยังเกิดโรคแทรกซ้อนอย่าง หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ และไซนัสได้
2.ปวดศีรษะ เมื่อมีอาการปวดศีรษะเกิดขึ้น ถ้าปวดไม่มากก็ให้ประคบร้อนบริเวณศีรษะ และนอนพักผ่อน แต่ถ้าปวดมากให้ไปพบแพทย์เพื่อหายาแก้ปวดมารับประทานเพื่อตรวจสอบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดธรรมดา
3.ไอและเจ็บคอ เวลาที่เราเป็นหวัดเรามักจะมีอาการเจ็บคอและไอร่วมด้วย เมื่อมีอาการให้บ้วนปากและกลั้วคอด้วยน้ำอุ่นผสมกับเกลือเล็กน้อย เพื่อฆ่าเชื้อที่อยู่ในปากและลำคอ ควรดื่มน้ำอุ่นหรือเครื่องดื่มร้อนแทนเครื่องดื่มแช่เย็น และควรดื่มน้ำสะอาดมากด้วย
4.ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สำหรับคนที่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและไม่มีไข้นั้น แนะนำให้อาบน้ำอุ่นและนวดตัวเบาๆขณะที่อาบน้ำเพื่อช่วยกระตุ้นเลือดลมให้หมุนเวียนดีขึ้น แต่สำหรับคนที่มีไข้ให้ทำการเช็ดตัวแทนการอาบน้ำจะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้เช่นเดียวกัน
5.ดื่มน้ำสะอาด เมื่อเราเป็นหวัดมีไข้ควรดื่มน้ำสะอาดอุ่นเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายให้ลดลง โดยปริมาณน้ำที่ควรดื่มในช่วงที่เป็นหวัดคือ ประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน
6.ห้ามเครียด คนมีป่วยก็ต้องหยุดพักผ่อน สำหรับบางคนแล้วการหยุดคือการไม่มีรายได้ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับคนป่วยเพราะจะทำให้อาการป่วยทรุดหนักได้ เราจึงควรทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่คิดมากจะได้พักผ่อนได้อย่างเต็มที เมื่อพักผ่อนเต็มที่ร่างกายก็จะหายป่วยได้เร็ว
7.ใช้ช้อนกลาง เวลาที่เรารับประทานอาหารกับผู้อื่นนั้น เราไม่ทราบว่าใครมีเชื้อหวัดอยู่บ้าง หรือเมื่อเรารับประทานอาหารร่วมกับคนเป็นหวัด เราควรที่จะใช้ช้อนกลางในการตักอาหารที่รับประทานด้วยกัน
8.ป่วยหนักให้ไปพบแพทย์ ปัจจุบันนี้โรคหวัดได้มีการพัฒนาสายพันธุ์เกิดขึ้นมาก บางสายพันธุ์มีความรุนแรงถึงชีวิต เมื่อเรารู้สึกว่าป่วยเป็นหวัดดูแลรักษาตัวขั้นพื้นฐานตามที่ได้บอกมาข้างต้นแล้วอย่างน้อย 5-7 วันแล้ว อาการยังไม่ทุเลาหรือมีอาการหนักขึ้นกว่าช่วงแรก ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วเพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยว่าเราเป็นไข้หวัดแบบใด จะได้รักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.