8 วิธีสำรวจกระดูกสันหลังผิดรูปอย่างง่าย
กระดูกสันหลังผิดรูป เกิดจากการคดงอบิดเบี้ยวของกระดูกสันหลังทำให้เสียสมดุลเกิดขึ้นได้ทุกวัยโดยเฉพาะเด็ก

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังผิดรูป หรือกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) หมายถึง ภาวะที่ กระดูกสันหลัง มีลักษณะที่ผิดรูปไม่ตั้งตรงอย่างที่ควรจะเป็นหรือมีการกระดูกสันหลังมีการคดงอ บิดเบี้ยวไปด้านข้าง โดยมีการเอียงไปทางซ้ายหรือขวาด้านใดด้านหนึ่งมากกว่ากันหรือมีการเอียงทั้งขวาและซ้ายสลับกันคล้ายกับรูปตัว S ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลของกระดูกสันหลัง สาเหตุของการเกิดกระดูกสันหลังผิดรูปนั้นยังไม่ชัดเจนว่ามีสาเหตุมากจากอะไร   อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัยแต่จะพบมาในเด็กที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี อาการนี้พบได้มากในเพศหญิงเป็นช่วงวัยกำลังเจริญเติบโตแต่ก็สามารถพบในเพศชายได้เช่นกัน อาการที่เกิดขึ้นจะเป็นอาการที่มีความรุนแรงน้อย คือ กระดูกสันหลังมีการคดที่ประมาณ 10-30 องศา ในระดับนี้อาการกระดูกคดจะไม่สร้างความเจ็บปวดหรือสร้างผลกระทบในการดำเนินชีวิต ทำให้คนส่วนมากไม่ให้ความสนใจกับอาการดังกล่าว จนเมื่อกระดูกมีความคดหรือผิดรูปที่มีการเอียงของกระดูกมากว่า 30 องศา จนถึงที่ระดับความรุนแรงคือมีการเอียงของกระดูกสันหลังมากว่า 60 องศา จะมีอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอชนิดเรื้อรัง เพราะว่ากล้ามเนื้อที่บริเวณดังกล่าวต้องทำการรับน้ำหนักที่ด้านขวาและซ้ายที่ไม่เท่ากัน จึงเกิดอาการปวดขึ้น และยังสามารถเกิดอาการเหนื่อยง่ายเกิดขึ้น เนื่องจากการที่ กระดูกสันหลังคด แล้วโครงสร้างของกระดูกหน้าอกก็จะมีลักษณะที่ผิดรูป ดังนั้นเวลาที่ปอดเกิดการขยายตัวก็จะมีความผิดปกติไม่สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

กระดูกสันหลังคด เป็นปัญหาที่ทำให้สรีระ ท่าทางในการเดิน ยืน นั่งมีความผิดปกติ หลายคนต้องมีท่าเดินที่ไม่สวย เช่น เดินหลังค่อม เดินตัวเอียง ซึ่งปัญหาดังกล่าวถึงแม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลกับสุขภาพของร่างกาย แต่ก็ส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจได้ ถ้าเกิดในช่วงวัยเด็ก เด็กอาจจะถูกเพื่อนล้อเลียนจนไม่อยากที่จะเข้าสังคม เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่อาการกระดูกคดแม้เพียงเล็กน้อยอาจจะทำให้พลาดโอกาสในการประกอบอาชีพบางอย่างได้ เช่น นักบิน แอร์ฮอสเตส เป็นต้น

ลักษณะของกระดูกสันหลังคดมีอะไรบ้าง ?

1. โครงสร้างกระดูกสันหลังผิดรูป เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติของกระดูกสันหลัง

2. โครงสร้างกล้ามเนื้อทำงานไม่สมดุล เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ส่วนของกระดูกสันหลังหรือการที่กระดูกเชิงกรานมีการเอียงที่มาจากการที่ขาทั้งสองขางมีความสูงที่ไม่เท่ากันจึงส่งผลต่อมายังกระดูกสันหลังทำให้กระดูกสันหลังคด

อาการกระดูกคดสันหลังที่เกิดขึ้นเราสามารถทำการสังเกตได้ด้วยตนเองหรือคนรอบข้างที่อยู่ใกล้ตัวของเรา ไม่จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชายหรือแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น เพราะว่าอาการกระดูกคดเป็นอาการที่ไม่สร้างความเจ็บปวดหรือมีไข้เมื่อกระดูกมีการคดเพียงเล็กน้อย แต่ว่าอาการกระดูกคดจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยการสังเกต

วิธีสังเกตกระดูกสันหลังคด

1.ลักษณะของแนวกระดูกสันหลัง

โดยปกติแนวกระดูกสันหลังของมนุษย์เมื่อมองตรงไปจากด้านหลัง จะมีลักษณะตั้งเป็นแนวตรงอยู่ตรงกลางของแผ่นหลัง แต่ถ้ามีอาการกระดูกคดเกิดขึ้น ลักษณะของกระดูกสันหลังจะเปลี่ยนไป ลักษณะของกระดูกสันหลังที่คดจะมี 2 แบบ คือ

1.กระดูกสันหลังคดคล้ายกับตัว C คือ การที่กระดูกสันหลังเกิดการคด้เพียงแค่ตำแหน่งเดียว

2.กระดูกสันหลังคดคล้ายกับตัว S คือ การที่กระดูกสันหลังเกิดการคดเพียงตำ 2 ตำแหน่ง

อาการกระดูกคดตัว C จะเกิดขึ้นก่อนในตอนแรก คือ การที่กระดูกเกิดการคดเพียงตำแหน่งเดียวก่อน

แล้วร่างกายต้องการทำการปรับสมดุลเพื่อให้ศีรษะตั้งตรง จึงมีการทำให้เกิดการคดอีกตำแหน่งหนึ่งขึ้นมาในทิศทางตรงกันข้ามกับองศาการเอียงที่เกิดขึ้นก่อน

กระดูกสันหลังคด ที่มีลักษณะคล้ายกับตัว C เมื่อเกิดขึ้นจะมีความรุนแรงน้อยกว่ากระดูกสันหลังคดที่มีลักษณะคล้ายกับตัว S

ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ด้วยการยืนตัวตรง ทุกส่วนของร่างกายชิดกับผนัง ทำการสังเกตที่บริเวณของเอวและลำคอจะพบว่าบริเวณดังกล่าวจะมีช่องว่างขนาดเล็กพอที่จะสามารถสอดมือเข้าไปได้ นั่นแสดงว่ากระดูกสันหลังปกติ แต่ถ้าเมื่อทำการยืนด้วท่าดังกล่าวแล้วช่องว่างระหว่างเอวกับผนังไม่มี นั่นคือบริเวณเอวและแผ่นหลังแนบสนิทกับผนังแสดงว่ากระดูกสันหลังเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว

2.ความสมดุลของไหล่

ทั่วไปไหล่ทั้งสองข้างจะเท่ากัน แต่ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังจะทำให้ไหล่ทั้งสองข้างไม่เท่ากัน เพราะตัวเราจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่งผลไหล่ข้างหนึ่งจะยกตัวขึ้นสูงกว่าไหล่อีกข้างหนึ่ง ซึ่งความสูงของไหล่ต่างกันมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับความคดของกระดูกว่ามีองศาการเอียงมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นการสังเกตุความสมดุลของไหล่ก็สามารถบ่งบอกถึงอาการ กระดูกสันหลังผิดรูปว่ามีเกิดขึ้นหรือไม่ สามารถทำได้ดังนี้

2.1 ให้ยืนหน้ากระจก โดยลักษณะการผู้ยืนต้องยืนตัวตรง ขาตรงขาทั้งสองข้างแนบชิดกัน ทำการสังเกตุหัวไหล่และสะโพกทั้งสองข้างว่ามีความสูงเท่ากันหรือไม่ สามารถมองเห็นเนื้อด้านหลังนูนขึ้นมาหรือไม่

2.2 ยืนตัวตรง เท้าทั้งสองข้างแนบชิด นำมือทั้งสองข้างไปแตะที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง ให้ผู้สังเกตการณ์ทำการสังเกตดูว่าความนูนของหลังในขณะที่ทำการก้มทั้งสองข้างเท่ากันหรือไม่

2.3 ยืนตัวตรง ขาแนบทั้งสองข้างแนบชิดกัน หันหลังให้ผู้สังเกตการณ์ ต่อจากนั้นนำนิ้วชื้และนิ้วกลามไปกดลงบริเวณลาดไหล่ จะทำให้กระดูกไหปลาร้านั้นนูนขึ้นมาอย่างชัดเจน ผู้สังเกตการณ์ทำการย่อตัวจนระดับสายตาอยู่ในระดับเดียวกับนิ้วมือที่กดลงบริเวณลาดไหล่ ทำการสังเกตว่ากระดูกทั้งสองข้างเท่ากันหรือไม่

นี่คือวิธีการสังเกตความสมดุลของไหล่ว่าทั้งสองข้างมีความสมดุลหรือว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น โดยถ้าไหล่ข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้างแสดงว่า กระดูกสันหลังเริ่มมีอาการคดแล้ว

3.ความสมดุลของสะบัก

เป็นกระดูกที่มีลักษณะคล้ายปีก อยู่ในบริเวณกระดูกชายโครง (Rib Cage) ช่วงบนทั้งด้าขวาและซ้ายกระดูกสะบักจะอยู่ห่างจากกระดูกสันหลังประมาณ 2 นิ้ว มีลักษณะแบบแบน (Flat Bone) ประกอบติดกับกระดูกไหปลาร้า (Clavicle) และกระดูกส่วนของต้นแขน (Humerus) ด้วย ซึ่งเราสามารถทำสังเกตุความสมดุลของกระดูกสะบักได้ ดังนี้

เริ่มด้วยการยืนตัวตรง หลังตรง ขาทั้งสองข้างชิดกัน ให้ผู้สังเกตการณ์ยืนอยู่ด้านหลัง ย่อตัวลงให้ระดับสายตาตรงกับระดับแนวของกระดูกสะบัก ให้ผู้สังเกตุการณ์ทำการวัดกระดูกสะบัดตั้งแต่ด้านบนลงมาจนถึงด้านล่าง ด้วยนิ้วโป้งหรือสายวัดทั้งสองข้าง ถ้าขนาดกระดูกสะบักทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากันก็ถือว่าสะบักมีความสมดุล แต่ถ้ากระดูกสะบักทั้งสองข้างมีขนาดที่แตกต่างกันมากแสดงว่ามีความเสี่ยงมีกระดูกสันหลังคด

4.ความสมดุลของกระดูกเชิงกราน

กระดูกเชิงกราน ( Pelvis ) คือ โครงสร้างกระดูกที่อยู่ส่วนปลายด้านล่างสุดของโครงกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกรานประกอบด้วย กระดูกส่วนปีกสะโพก 2 ชิ้น ที่อยู่ในบริเวณด้านซ้ายและขวา ส่วนกระดูกที่อยู่ด้านหน้าสุดของกระดูกเชิงกรานเรียกว่า กระดูกหัวหน่าว สุดท้ายคือกระดูกที่อยู่ด้านหลังสุดของกระดูกเชิงกราน เรียกว่า กระดูก ใต้กระเบนเหน็บ กระดูกเชิงกรานทำหน้าที่ในการปกป้องอวัยวะที่อยู่ภายในอุ้งเชิงกราน ช่วยในการรักษารูปร่างบริเวณลำตัวส่วนกลาง และยังช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวให้กับขาทั้ง 2 ข้างอีกด้วย การสังเกตุความสมดุลของกระดูกเชิงกรานสามารถทำได้ดังนี้

เริ่มจากยืนตัวตรง กางแขนทั้งสองข้างให้อยู่ในแนวขนานกับกระดูกซี่โครง ผู้สังเกตการณ์เข้ามานั่งด้านหลังให้ระดับสายตาอยู่ตรงกับระดับของกระดูกสะโพก ทำการวัดขนาดของกระดูกสะโพกด้วยการใช้นิ้วโป้งค่อย ๆ กดและวัดขนาดกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้าง หรือทำการสังเกตว่าศีรษะอยู่ในแนวกึ่งกลางของกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้างหรือไม่
ถ้าขนาดกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากันแสดงว่ากระดูกเชิงกรานอยู่ในสภาวะสมดุล แต่ถ้าขนาดของกระดูกเชิงกรานมีความแตกต่างกันแสดงว่ามีโอกาสเกิดสภาวะกระดูกสันหลังคด หรืออาการกระดูกคดเกิดขึ้นแต่เป็นการคดที่องศาน้อยๆ จึงทำให้กระดูกเชิงกรานมีความต่างกันเล็กน้อย

5.ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเมื่อทำการแอ่นตัวไปด้านหลัง

ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อก็สามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้เช่นกันว่า ร่างกายมีสภาวะกระดูกคด เกิดขึ้นหรือไม่ โดยสังเกตสามารถทำได้ด้วยกัน 2 แบบ คือ

5.1 การยืนตัวตรง ขาและส้นเท้าทั้งสองข้างแนบชิดกัน บริเวณปลายเท้าให้แยกออกจากกันเล็กน้อย ค่อยโน้มตัวไปข้างหน้าและยืดแขนทั้งสองของไปข้างหน้าให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำการยืดแขนได้ ลดแขนลงให้ขนานกับช่วงคล้ายกับการจะเอามือมาแตะที่ปลายเท้า สังเกตว่าที่บริเวณปลายนิ้วมือทั้งสองข้างว่าอยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่ ซึ่งการสังเกตอาจจะต้องใช้ผู้สังเกตการณ์เป็นคนช่วยดูระดับของปลายนิ้วมือว่าอยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่

5.2 การโน้มต้วไปข้างหลัง เริ่มจากท่ายืนตรงหลังตรง ขาและส้นเท้าทั้งสองข้างแนบชิดกัน บริเวณปลายเท้าให้แยกออกจากกันเล็กน้อย แขนทั้งสองข้างแนบกับลำตัว ให้ผู้สังเกตการณ์ยืนอยู่ด้านหลังเพื่อรองรับและสังเกตการแอ่นตัวไปด้านหลัง แล้วให้ค่อยทำการแอ่นตัวไปด้านหลังที่ละน้อย ทำการแอ่นหลังให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ในผู้ที่มีกระดูกสันหลังปกติระดับการแอ่นตัวไปข้างหลังของไหล่ทั้งสองข้างจะเท่ากัน แต่ถ้ามีอาการกระดูกสันหลังคด หรือกล้ามเนื้อที่สันหลังมีความผิดปกติแล้ว เมื่อแอ่นตัวไปด้านหลังแล้วไหล่ทั้งสองข้างจะไม่เท่ากัน

6.ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเมื่อทำการแอ่นตัวไปด้านขวาและซ้าย

กล้ามเนื้อของคนเราสามารถเคลื่อนที่ไปได้ทุกด้าน เพราะว่ากล้ามเนื้อมีอยู่หลายมัดประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งกล้ามเนื้อที่ช่วยในการเคลื่อนที่จะมีจุดเชื่อมต่อมาจากกล้ามเนื้อที่กระดูกสันหลังเกือบทั้งสิ้น ดังนั้นถ้ากระดูกสันหลังอยู่ใน ลักษณะที่ปกติ เมื่อเราทำการเคลื่อนที่ไปทางขวาและซ้าย ระยะที่เราเคลื่อนที่ได้จะต้องเท่ากัน ซึ่งเราสามารถทำการตรวจสอบได้ดังนี้

เริ่มจากการยืนตรง เริ่มจากท่ายืนตรงหลังตรง ใบหน้าตั้งตรงมองไปข้างหน้า ขาและส้นเท้าทั้งสองข้างแนบชิดกัน บริเวณปลายเท้าให้แยกออกจากกันประมาณ 1 คืบ แขนทั้งสองข้างแนบกับลำตัว แล้วค่อยเอนตัวไปทางขวาให้มากที่สุดเท่าที่จะเอนตัวได้ ทำการวัดระดับที่ปลายนิ้วชี้ขวาว่าอยู่ที่ระดับใดของร่างกาย โดยให้ผู้สังเกตการณ์เป็นผู้วัดก็ได้ หรือถ้าต้องการวัดเองก็ควรทำท่านี้อยู่หน้ากระจกบานใหญ่ที่สามารถเห็นทั้งลำตัว เมื่อวัดระดับข้างขวาเสร็จแล้วให้กลับมายืนในท่าเริ่มต้น และเอนตัวไปด้านซ้ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเอนตัวได้ ทำการวัดระดับที่ปลายนิ้วชี้ซ้ายว่าอยู่ที่ระดับใดของร่างกาย

นำระดับปลายนิ้วชี้ทั้งของนิ้วชี้ขวาและนิ้วชี้ซ้ายมาเปรียบเทียบว่ามีระดับที่เท่ากันหรือไม่ ในช่วงที่มีการเอนตัวไปด้านข้าง ซึ่งระดับการเอนตัวจะบ่งบอกถึงความสามารถในการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อนั่นเอง

7.ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเมื่อทำการบิดลำตัวไปด้านข้างทั้งขวาและซ้าย

กล้ามเนื้อสามารถช่วยให้เราบิดตัวจากขวาไปซ้ายและจากซ้ายไปขวาได้ ซึ่งเราสามารถทำการตรวจเช็คการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อส่วนนี้ได้ดังนี้

เริ่มจากการยืนตรง เริ่มจากท่ายืนตรงหลังตรง ใบหน้าตั้งตรงมองไปข้างหน้า ขาและส้นเท้าทั้งสองข้างแนบชิดกัน บริเวณปลายเท้าให้แยกออกจากกันประมาณ 1 คืบ ยกแขนขวาข้างขึ้น งอข้อศอกและดึงมือมาวางไว้ด้านหน้าระดับหน้าอก ค่อยทำการยืดแขนขวาไปด้านซ้ายช้า ๆ ทำการยืดแขนขวาไปด้านซ้ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จดจำองศาที่สามารถบิดตัวไปด้านซ้ายว่ามีองศาเท่าใด สลับยกแขนซ้ายข้างขึ้น งอข้อศอกและดึงมือมาวางไว้ด้านหน้าระดับหน้าอก ค่อยทำการยืดแขนซ้ายไปด้านขวาช้า ๆ ทำการยืดแขนซ้ายไปด้านขวาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จดจำองศาที่สามารถบิดตัวไปด้านขวาว่ามีองศาเท่าใด

ทำการนำองศาที่สามารถเอนตัวไปทั้งสองข้างมาเปรียบเทียบกันว่าเท่าหรือต่างกัน ถ้ามีค่าต่างกันแสดงว่ากล้ามเนื้อที่ช่วยในการเอนตัวไปด้านข้างมีความยืดหยุ่นไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากกระดูกสันหลังเริ่มมีการคดเกิดขึ้นแล้วก็ได้

8.ขนาดความยาวของขาทั้งสองข้าง

ความยาวของขาทั้งสองข้างในสภาวะปกติจะมีขนาดความยาวที่เท่ากัน แต่ถ้ากระดูกสันหลัง มีอาการคดเกิดขึ้นจะทำให้เวลาที่เดินจะมีการลงน้ำหนักบนขาข้างใดข้างหนึ่งมากกว่า ส่งผลให้ขาด้านที่ต้องรับน้ำหนักมากกว่าจะมีขนาดที่สั้นขวาด้านที่ได้รับน้ำหนักน้อยกว่า ซึ่งบางครั้งความแตกต่างของขาอาจจน้อยมากจนสังเกตได้ไม่ชัด เนื่องจากอาการกระดูกคดเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงต้องทำการวัดอย่างละเอียดถึงจะทราบได้ วิธีการวัดความยาวของขา ผู้ที่ต้องการวัดต้องนอคว่ำกับพื้นราบ ขาทั้งสองข้างแนบชิดติดกันและให้บริเวณหน้าขาแนบสนิทกับพื้น คางวางบนพื้นไม่ยกใบหน้าสูง สายตามองตรงไปข้างหน้า ให้ผู้สังเกตการณ์ทำการสังเกตบริเวณข้อเท้าว่าวางอยู่ในตำแหน่งตรงกันหรือไม่ ถ้าตำแหน่งของข้อเท้าไม่ตรงกันแสดงว่าความยาวของเท้าไม่เท่ากัน

นอกจากการตรวจเช็คความสมดุลของร่างกายแล้ว การสังเกตลักษณะของสภาพผิวที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายซีกขวาและซีกซ้ายว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ เช่น การมีรอยบุ๋ม, ลักษณะของขนขึ้น, ลักษณะของสีผิวแต่ละด้านว่ามีการเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ สิ่งต่างเหล่านี้สามารบ่งชี้ถึงอาการกระดูกคดได้ เพราะถ้าลักษณะทางด้านชวาและซ้ายไม่เหมือนกัน ย่อมหมายความว่ากระดูกสันหลังอาจจะมีการผิดรูปเกิดขึ้นแล้ว

ดังนั้นเมื่อทำการตรวจเช็คที่บ้านแล้ว รู้สึกว่ากระดูกสันหลังมีอาการกระดูกคดเกิดขึ้น ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการรักษาต่อไป อย่านิ่งนอนใจไม่ยอมไปทำการรักษาอย่างเด็ดขาด เพราะอาการที่เกิดขึ้นอาจจะรุนแรงเพิ่มขึ้นในอนาคตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยผู้เชี่ยวชาญ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

โทะชิมะสะ โอตะ. ปรับรูปร่างด้วยมือเปล่า สร้างหุ้นฟิต พิชิตโรค. กรุงเทพฯ : อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560.

Gomez-Pinilla F, Hillman C (January 2013). “The influence of exercise on cognitive abilities”. Compr. Physiol. 3 (1): 403–428. PMC 3951958 Freely accessible. PMID 23720292.