กระดูกต้นคอผิดรูปทรง ต้นเหตุของสารพัดโรค
กระดูกต้นคอ คือ กระดูกสันหลังส่วนบนที่อยู่ต่อลงมาจากกะโหลกศีรษะ มีลักษณะเล็กและสั้นประกอบด้วยกระดูกจำนวน 7 ชิ้น

กระดูกต้นคอ ( Cervical spine หรือ Cervical vertebrae )

กระดูกต้นคอ ( Cervical spine หรือ Cervical vertebrae ) คือ กระดูกสันหลังส่วนบนที่อยู่ต่อลงมาจากกะโหลกศีรษะ เรียกว่า “ ข้อกระดูกสันหลังส่วนคอหรือกระดูกต้นคอ ” กระดูกต้นคอเป็นกระดูกที่ไม่มีกระดูกส่วนของซี่โครงยื่นออกมาด้านข้าง กระดูกมีลักษณะค่อนข้างเล็กและสั้นประกอบเข้าด้วยกัน กระดูกต้นคอประกอบด้วย  กระดูกจำนวน 7 ชิ้น โดยเรียกว่า C1-C7 ตามลำดับของข้อที่เรียงกันลงมาจากใต้กะโหลกศีรษะ

หน้าที่ของกระดูกต้นคอคืออะไร?

1.ทำหน้าที่เป็นบริเวณยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เอ็นที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวของลำคอและศีรษะ เช่น กะบังลม กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา ทรวงอก ลำคอ
2.ทำหน้าที่ป้องกันไขสันหลังที่อยู่ในบริเวณคอ ไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน
3.ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักของกะโหลกศีรษะ และตั้งศีรษะให้อยู่ตรงกึ่งกลางของลำตัว
กระดูกสันต้นคอก็เหมือนกับกระดูกบริเวณอื่น ๆ ที่สามารถเสื่อมได้ตามอายุขัยและการใช้งานของร่างกาย การเสื่อมนี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อกระดูกเกิดการเสื่อมหรือเกิดภาวะกระดูกผิดรูปทรงจะทำให้รู้สึกปวดขึ้น อาการปวดเป็นเพียงอาการเตือนเริ่มต้นที่ร่างกายที่ส่งสัญญาณเตือนให้ทราบว่าร่างกายเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว ในช่วงแรกอาการปวดจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นก็จะหายไปเองหรือหายไปหลังจากที่รับประทานยาแก้ปวด แต่ในระยะต่อมาอาการปวดที่เกิดขึ้นจะไม่หายไปแม้จะรับประทานยามากขึ้น ซึ่งถ้าอาการปวดที่มีความรุนแรงต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

กระดูกต้นคอ คือ กระดูกสันหลังส่วนบนที่อยู่ต่อลงมาจากกะโหลกศีรษะ ไม่มีกระดูกส่วนของซี่โครงยื่นออกมาด้านข้าง มีลักษณะค่อนข้างเล็กและสั้นประกอบเข้าด้วยกันจำนวน 7 ชิ้น

ดังนั้นเราจึงต้องทราบถึงสาเหตุของอาการปวดต้นคอก่อนว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อที่เราจะได้ทำการป้องกันอาการปวดจากสาเหตุที่แท้จริงก่อนที่อาการปวดจะรุนแรงต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

>> 8 วิธีสำรวจกระดูกสันหลังผิดรูปอย่างง่าย

>> อาการที่บ่งบอกว่าเข่ามีปัญหาเกิดขึ้นคืออะไรบ้าง

อาการปวดต้นคอ ( Neck Pain ) มีสาเหตุจากอะไรบ้าง?

1.กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็ง
อาการปวดชนิดนี้เป็นอาการปวดที่พบได้ค่อนข้างบ่อย เนื่องจากการทำงานและการทำกิจวัตรประจำวันของเราอาจจะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการแข็งเกร็ง เช่น การนั่งทำงานด้วยท่าทางที่ผิด การใช้กล้ามเนื้อคอนานเกินไป การหันหรือหมุนคอด้วยความเร็ว การก้มหน้าเป็นเวลานาน ท่วงท่าดังกล่าวล้วนแต่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อคออยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เกิดอาการปวดได้

2.การเกิดอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุสามารถทำให้กล้ามเนื้อและ กระดูกต้นคอได้รับอันตราย เช่น การกระแทกด้วยของแข็ง การโดนกระชากศีรษะด้วยความแรง ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้จะทำให้เกิดการอักเสบหรือเกิดการแตกร้าวกับก้ามเนื้อและกระดูกต้นคอที่นำมาซึ่งอาการปวดต้นคอ

3.การเกิดเส้นประสาทถูกกดทับ
เกิดจากการที่เส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังถูกกดทับ เนื่องจากกระดูกสันหลังที่อยู่บริเวณข้อต่อมีการแยกหรือมีชิ้นส่วนที่มีลักษณะคล้ายลิ้นยื่นออกไปใกล้กับส่วนของเส้นประสาทหรือการที่หมอนรองกระดูกต้นคอมีการเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาทที่อยู่ภายในกระดูกต้นคอ

4.การติดเชื้อ
คอเป็นอวัยวะที่สามารถติดเชื้อได้ง่าย เพราะมีทั้งอาหารและอากาศผ่านเข้าตลอดเวลา ซึ่งการติดเชื้อบางชนิดจะส่งผลต่อมน้ำเหลืองมีอาการบวม เช่น การติดเชื้อวัณโรค เชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น ซึ่งการติดเชื้อจะทำให้กระดูกสันหลังส่วนคอมีอาการอักเสบทำให้เกิดอาการปวดคอได้

5.ภาวะกระดูกต้นคอเสื่อม
อาการปวดที่เกิดจากสาเหตุนี้จะพบได้ในผู้ที่มีอายุสูง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีการใช้งานกระดูกมาเป็นเวลานานหรือมีการใช้งานกระดูกต้นคอในท่วงท่าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กระดูกต้นคอกระดูกต้นคอเสื่อมจึงเกิดอาการปวดขึ้น

6.ภาวะกระดูกต้นคอผิดรูป
กระดูกต้นคอผิดรูปทรงตามธรรมชาติในช่วงแรกจะมีอาการปวดเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าไม่ทำการรักษาให้หายขาดแล้ว อาการปวดจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ที่มีอาการปวดจากกระดูกต้นคอผิดรูปทรงต้องทนทรมานจากความเจ็บปวดตลอดเวลา นอกจากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นแล้ว

กระดูกต้นคอผิดรูปทรงนั้นยังส่งผลให้เกิดโรคที่เป็นอันตราย

6.1 กระดูกสันหลังยุบตัว
กระดูกต้นคอจะมีช่องว่างอยู่ตรงกลางที่เป็นช่องให้เส้นประสาทและหลอดเลือดแดงเดินทางผ่านไปยังอวัยวะต่าง ๆ แต่ถ้ากระดูกต้นคอมีรูปร่างที่ผิดปกติไปจะทำให้ช่องว่างดังกล่าวมีขนาดที่เล็กลงหรือช่องว่างไม่เป็นเส้นตรง หลอดเลือดและเส้นประสาทที่อยู่ในช่องว่างนี้ก็จะถูกกดทับ ส่งผลให้ปริมาณของเลือดแดงที่นำออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เป็นผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหน่วง ๆ ที่บริเวณท้ายทอย ดวงตาพร่า มองภาพไม่ชัดเจน
6.2 อัมพาต
ถ้ากระดูกต้นคอมีการงอจนกระดูกเคลื่อนที่ออกมาคล้ายกับมีกระดูกงอกออกมาจนเข้าไปกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลังที่อยู่ภายในกระดูกต้นคอจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ แขนขาชา ร่างกายเหมือนไม่ค่อยมีแรง เดินแล้วรู้สึกว่าไม่สามารถยืนตรงได้ ในบางรายถึงขนาดที่ไม่สามารถเดินได้ไปชั่วขณะ และถ้ามีกระดูกไปกดทับเส้นประสาทที่ควบคุมการเดินทั้งหมดก็จะส่งผลให้เป็นอัมพาตในที่สุด
6.3 โรคปวดศีรษะเรื้อรัง
อาการปวดเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้ากระดูกต้นคอหรือหมอนรองกระดูกมีรูปทรงที่ผิดปกติมากจนมากดทับเส้นประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic nervous ) เส้นประสาทซิมพาเทติกเป็นระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะ ดังนั้นเมื่อเส้นประสาทโดนกดทับจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย สายตาพร่ามัว เห็นแสงสว่างวูบวาบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีภาวะความดันสูงเกิดขึ้นตามมา ซึ่งอาการปวดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่สามารถทำการรักษาให้หายได้ด้วยการกินยาหรือฉีดยา แต่ต้องทำการจัดกระดูกต้นคอให้อยู่รูปทรงตามธรรมชาติเสียก่อน อาการปวดดังกล่าวจึงจะหายขาดได้
6.4 โรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis)
โรคเอ็นอักเสบเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบว่ามีสาเหตุมาจากการที่กระดูกต้นคอผิดรูปทรง เนื่องจากการที่กระดูกต้นคอมมีรูปทรงที่ผิดปกติจะทำให้สมดุลทั้งสองข้างของลำคอเกิดความผิดปกติตามไปด้วย โดยคอจะมีเกิดการเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้าน ทำให้กล้ามเนื้อต้องยืดไปด้านที่คอเอียงไปมากกว่า จึงทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงและเมื่อยล้า เมื่อกล้ามเนื้อเกิดความเมื่อยล้าเป็นเวลานานกล้ามเนื้อจะมีอาการอักเสบเกิดขึ้นตามในภายหลัง ซึ่งอาการปวดจากการอักเสบจะทำให้ผู้ป่วยต้องรับประทานยาแก้ปวดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการรับประทานยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะส่งผลให้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ไตทำงานหนักและถ้ายาแก้ปวดแก้อักเสบมีส่วนผสมสเตียรอยด์  ( Steroid ) แล้วก็จะทำให้กระดูกพรุน แตกหักง่าย เยื่อบุในกระเพาะอาหารบางลง ติดเชื้อง่าย อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อบริเวณแขน และขาไม่มีแรง จึงปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจอาจจะหยุดเต้นเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้

จะพบว่าการที่ กระดูกต้นคอมีรูปทรงที่ผิดธรรมชาติไม่ได้ส่งผลกระทบด้านสรีระเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบในด้านสุขภาพของร่างกาย ก่อให้เกิดโรคที่ร้ายแรงถึงชีวิตได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการดูแลให้กระดูกต้นคอมีรูปทรงตามธรรมชาติจึงเป็นสิ่งพึงปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ทำให้กระดูกต้นคอมีรูปทรงตามธรรมชาติได้อย่างไร?

1. ปฏิบัติกิจวัตรด้วยท่วงท่าที่ถูกต้อง
กระดูกต้นคอเป็นกระดูกที่มีการใช้งานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นถ้าเราใช้งานด้วยท่าทางที่ถูกต้อง โอกาสที่กระดูกต้นคอจะผิดรูปทรงย่อมลดน้อยลง
ท่ายืนและท่าเดิน ต้องยืนหลังตรง ตัวตรง ตามองไปด้านหน้า ไม่ก้มหน้าตลอดเวลาที่ทำการเดินหรือยืน
ท่านั่ง ต้องนั่งหลังตรง คอตรงมองไปข้างหน้า ไม่ก้มหน้าตลอดเวลา ไม่นั่งเอียงขวาหรือซ้ายนานเกิน 1 ชั่วโมง
ท่านอนควรนอนบนที่นอนที่เหมาะสม หนุนหมอนที่มีความสูงพอกับช่องว่างระหว่างคอกับที่นอน
และในการทำกิจวัตรไม่ว่าจะนั่ง ยืน หรือนอน ต้องทำการเปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมงเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่บริเวณต้นคอให้ไม่เกิดความเครียดมากจนทำให้เกิดการอักเสบ และกระดูกต้นคอก็จะไม่ต้องถูกจดทับเป็นเวลานานจนเกิดเสื่อม ซึ่งเป็นที่มาของอาการกระดูกผิดรูปทรงและกระดูกเสื่อมในอนาคตได้

2.ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายหรือกายบริหารที่ช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกต้นคอมีความแข็งแรง ซึ่งท่ากายบริหารแบบไคโรแพรกติจะสามารช่วยป้องกันการกระดูกต้นคอผิดรูปทรงได้ และในผู้ที่กระดูกต้นคอมีรูปร่างที่ผิดปกติแล้ว การออกกายบริหารด้วยศาสตร์การรักษาแบบไคโรแพรกติกก็สามารถช่วยได้เช่นกัน หรือถ้าไม่มีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไคแพรกติกให้คำแนะนำก็สามารถทำการบริหารจากนักกายภาพบำบัดได้เช่นกัน
การทำกายบริหารไม่จำเป็นต้องเกิดภาวะกระดูกต้นคอผิดรูปทรงเกิดขึ้นแล้ว เราสามารถทำได้ทุกวันเพื่อป้องกันการเกิด กระดูกต้นคอผิดรูปทรงได้
กระดูกทุกส่วนของร่างกายคนเรามีความสำคัญที่แตกต่างกันไป เราต้องให้ความสำคัญกับการใช้งานอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกขา เพราะไม่ว่ากระดูกส่วนใดมีอาการผิดปกติ ทั้งการอักเสบ การแตกหักหรือการผิดรูปทรงตามธรรมชาติ ไม่ได้นำมาซึ่งความเจ็บปวดเพียงอย่างเดียว แต่ว่ายังนำมาซึ่งโรคร้ายแรงถึงชีวิตในอนาคตได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

โทะชิมะสะ โอตะ. ปรับรูปร่างด้วยมือเปล่า สร้างหุ้นฟิต พิชิตโรค. กรุงเทพฯ : อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560.

Gomez-Pinilla F, Hillman C (January 2013). “The influence of exercise on cognitive abilities”. Compr. Physiol. 3 (1): 403–428. PMC 3951958 Freely accessible. PMID 23720292.