อาการใจสั่น (Palpitation)
อาการใจสั่น คือ อาการที่หัวใจมีการเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ ซึ่งเมื่ออาการใจสั่นเกิดขึ้นผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีการสั่นสะเทือนอยู่ภายในทรวงอก

อาการใจสั่น

อาการใจสั่น ( Palpitation ) คือ อาการที่หัวใจมีการเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ ซึ่งอาการใจสั่นสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีการสั่นสะเทือนอยู่ภายในทรวงอก บางครั้งอาจมีอาการเจ็บหน้าอก อึดอัดหรือแน่นหน้าอกเกิดขึ้นด้วย อาการใจสั่นสามารถพบได้ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามักเกิดจากอาการข้างเคียงจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Cardiac arrhythmias ) หรือเกิดจากอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบต่อมไร้ท่อธัยรอยด์ชนิดเรื้อรัง ( systemic diseases ) โรคเครียด ( Psychosomatic Disorders ) หรือบางครั้งอาจเกิดขึ้นในขณะที่ทำการออกกำลังกายหรือร่างกายเกิดอารมณ์เครียด ( Emotional stress ) ก็จะทำให้ร่างเกิดอาการใจเต้นเร็วหรือใจสั่นแบบ physiological palpitation ที่เกิดขึ้นแบบชั่วคราวได้ ซึ่งเราสามารถทำการแบ่ง

ชนิดของอาการใจสั่นที่พบได้ตามสาเหตุของโรค ( etiological classification )

1.อาการใจสั่นเนื่องจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Palpitation due to arrhythmias )
อาการใจสั่นแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmia ) ทุกชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ( Atrial extrasystole ) หรือภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว
( Ventricular extrasystole ) หรือหัวใจเต้นเร็ว ( Tachycardia ) ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะการเต้นออกเป็น 2 แบบ คือ แบบ regular ventricular activity ( e.g.sinus tachycardia, AVNRT, AVRT, atrial flutter, atrial tachycardia ) และแบบ irregular ventricular activtiy เช่น ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ( atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib ), หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ( Atrial Flutter/atrial tachycardia ) ทั้งนี้อัตราการเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าปกติ ( bradycardia ) หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที บางชนิด เช่น sinus pause, severe sinus bradycardia ใน sick sinus syndrome, sudden onsef of high grade AV block ก็สามารถทำให้เกิด อาการใจสั่น ( Palpitation ) ได้เช่นเดียวกัน

2.อาการใจสั่นเนื่องจากรูปร่างหัวใจผิดปกติ ( Palpitation due to Structural Heart Disease )
พบในผู้ที่มีหัวใจพิการมาแต่กำเนิด เช่น ผู้ที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ เป็นต้น หรือผู้ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นในภายหลัง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น ซึ่ง อาการใจสั่น ( Palpitation ) ที่เกิดขึ้นจะพบว่าไม่มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือไม่ก็ได้

3.อาการใจสั่นเนื่องจากโรคจิตสรีระแปรปรวน ( Palpitation due to psychosomatic disorders )
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีภาวะใจสั่นที่เกิดจากจิตสรีระแปรปรวนหรือโรคเครียดจะมีอาการอื่น ๆ แสดงออกมาร่วมด้วย เช่น อาการวิตกกังวล ( Anxiety ) อาการซึมเศร้า ( depression ) โรคแพนิค ( Panic Disoder ) หรือภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งรอบตัว ที่เรียกว่า โรคโซมาโตฟอร์ม ( somatization ) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางด้านจิตชนิดหนึ่ง ที่จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายเสมือนร่างกายเกิดการเจ็บป่วยเป็นโรคหรือมีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นกับร่างกาย แต่แพทย์ไม่สามารถระบุหรือหาสาเหตุที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิด อาการใจสั่นได้ เมื่อมีอาการของโรคเกิดขึ้น

4.อาการใจสั่นเนื่องจากโรคอื่น ๆ ( Palpitation due to systemic diseases )
อาการใจสั่น ชนิดนี้ส่วนมาที่พบจะเป็นอาการใจสั่นที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ( Sinus Tachycardia ) ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจที่มีอยู่ตามธรรมชาติภายในร่างกายมีการส่งคลื่นไฟฟ้าที่มีความเร็วสูงกว่าปกติ จึงทำให้หัวใจมีจังหวะการเต้นที่เร็วกว่าปกติ และส่งผลให้รอบการทำงานของหัวใจ ( Cardiac contraction ) เพิ่มขึ้นอีกด้วย

5.อาการใจสั่นเนื่องจากฤทธิ์ของยา ( Palpitation due to medications )
การรับประทานยาบางชนิดจะส่งผลให้การเต้นของหัวใจผิดปกติ ผลจากยาจะทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ( Sinus Tachycardia ) ซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาการใจสั่น ส่วนมากจะมีการเต้นของหัวใจที่เป็นปกติ ( normal sinus rhythm ) แต่มีอัตราการเต้นไม่สม่ำเสมอ โดยอัตราการเต้นของหัวใจจะเร็วและช้า มีความสัมพันธ์กับอัตราการหายใจ หรือมีจังหวะการเต้นของหัวใจ ผิดปกติเพียงเล็กน้อย ( minor rhythm anomalies ) นั่นคือ short burst of supraventricular หรือ isolated ventricular extrasystoles ซึ่งนอกจากภาวะทั้งสองแบบแล้วยังสามารถพบภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ( Atrial fibrillation/ flutter หรือ AF หรือ A-Fib ) กับ paroxysmal supraventricular tachycardia ( PSVT ) ที่ทำให้อัตราเร็วของการเต้นของหัวใจมีค่าสูงเกินอัตราของอันตราการเต้นของหัวใจที่เร็ว ( sinus tachycardia ) ในขณะที่ทำการพักหรือมีอัตราการเต้นของหัวใจเกิน120 ครั้งต่อนาที อาการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาการใจสั่นที่สามารถพบได้บ่อย

แต่สำหรับ อาการใจสั่นที่เกิดขึ้นร่วมกับโรคเครียดหรือโรคจิตสรีระแปรปรวน ( Psychosomatic disorders ) จัดเป็นที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกาย มักเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ เช่น ความวิตกกังวล, ความกลุ้มใจ, ความผิดหวัง, ความโกรธ, ความเครียด, ความผิดหวัง, ความเสียใจ ที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งอาการทางจิตจะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ร่วมถึงอาการใจสั้นด้วย โดยเฉพาะโรคจิตสรีระแปรปรวนชนิดโรควิตกกังวล ( anxiety ) และโรคแพนิค ( panic attack ) จัดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการใจสั่นมากถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด แต่ก็มีผู้ป่วยอีก 1 ใน 5 ที่ไม่สามารถระบุถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการใจสั่นที่เกิดขึ้นได้

อาการใจสั่น คือ อาการที่หัวใจมีการเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ ซึ่งอาการใจสั่นสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีการสั่นสะเทือนอยู่ภายในทรวงอก บางครั้งอาจมีอาการเจ็บหน้าอก อึดอัดหรือแน่นหน้าอกเกิดขึ้นด้วย

อาการและลักษณะของอาการใจสั่น

อาการและลักษณะที่แสดงออกของอาการใจสั่น ( Clinical presentation ) ที่ทำการแบ่งได้ตามความแรงในการเต้นของหัวใจ ลักษณะอัตราความเร็วในการเต้นของหัวใจ  ( rate ) และจังหวะการเต้นของหัวใจ ( rhythm ) สามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบด้วยกัน คือ

1.Extrasystolic palpitations คือ  อาการใจสั่น ที่ผู้ป่วยจะมีลักษณะใจวูบวาบ หรือใจหวิว ( missing or skipping beat ) เกิดเนื่องจากการเต้นก่อนจังหวะปกติ ( Ectopic beats ) ที่มาจากหัวใจห้องบน ( Atrial ) หรือหัวใจห้องล่าง ( Ventricular ) มีการเต้นเพิ่มขึ้น ( extra beats ) เนื่องจากการบีบตัวของหัวใจ อาการใจสั่นชนิดนี้พบได้มากในผู้ที่มีอายุน้อย แต่ไม่พบว่ามีความผิดปกติของรูปร่างของหัวใจร่วมด้วย ซึ่งลักษณะเริ่มต้นของผู้ป่วยในผู้ป่วยที่มีสาเหตุเกิดจากภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว ( Ventricular Fibrillation ) มักจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นแรงหรือ หัวใจหยุดเต้นสลับแล้วกลับมาเต้นใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจาก post-extrasystolic beats หรือ postextrasystolic pause

2. Tachycardiac palpitations ใจสั่นเนื่องจากหัวใจเต้นเร็ว ( Tachycardia ) ผู้ป่วยจะมีการเต้นของหัวใจเร็วและถี่เพิ่มขึ้น อาจะมีสาเหตุมาจากคลื่นไฟฟ้าที่บริเวณหัวใจเกิดความผิดปกติ ทั้งแบบที่เป็นหัวใจเต้นเร็วที่เกิดในหัวใจห้องบน ( Supraventricular Tachycardia ) หรือหัวใจเต้นเร็วที่เกิดในหัวใจห้องล่าง ( Ventricular Tachycardia ) ที่จะทำให้หัวใจมีการเต้นที่เร็วขึ้นและหยุดเต้นอย่างกะทันหัน ( rapid onset-sudden termination) แต่ถ้าเกิดจากภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ( Sinus Tachycardia ) ที่เกิดขึ้นจาก systemic diseases ที่ทำให้ร่างกายมีการเพิ่มขึ้นของระบบประสาทซิมพาธีติก ( Sympathetic activity ) ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการหายใจ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นและสามารถหยุดลงได้เองอย่างช้า ๆ ( gradual onset-gradual termination )

3. Anxiety-related palpitations ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วที่เริ่มต้นและหยุดลงแบค่อยเป็นค่อยไป ( Gradual onset-gradual termination ) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน ( paroxysmal ) หรือแบบเรื้อรัง ( Persistent ) โดยที่จะมีอาการวิตกกังวล ( anxiety ) เกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ เช่น อาการใบหน้าชา จุกที่บริเวณลำคอ อาการกระสับกระส่าย อาการสับสน อาการผิดปกติที่บริเวณหน้าอก ( atypical chest discomfort ) หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มปอด มักมีการถอนหายใจเกิดขึ้นด้วยเสมอ

4. Pulsation palpitations ผู้ป่วยจะมีการเต้นของหัวใจที่แรงขึ้นแรงขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา แต่ว่าการเต้นจะไม่เร็วขึ้น ซึ่งเกิดเนื่องจากโครงสร้างของหัวใจที่ผิดปกติ ( Structural heart disease ) หรือเกิดจากระบบของโรคอื่นที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ( Systemic diseases ) ที่ทำให้ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีมีค่าสูง ( high stroke volume ) เช่น ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว ( Aortic Regurgitation ), ไข้ ( Fever ) หรือตัวร้อน โลหิตจาง ( Anemia ) หรือภาวะซีด เป็นต้น

การประเมินผลอาการแรกเริ่มทางคลินิกวิทยาของอาการใจสั่น

การตรวจสอบเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีอาการใจสั่นหรือไม่ ควรทำการถามด้วยคำถาม 5 ข้อดังนี้
1.ผู้ป่วยมีอาการ ( Symptom ) หรือเหตุการณ์หรือทำกิจกรรมอะไร ( circumstances ) ก่อนที่จะเกิด อาการใจสั่น เช่น ออกกำลังกาย ( exercise ) อยู่เฉยๆ ( rest ) ปัจจัยเสี่ยง ( predisposing factors ) อื่น
2.มีอาการอะไรเกิดขึ้นร่วมด้วยบ้างและรู้สึกเป็นอย่างไร abrupt or slowly rising ร่วมถึงสอบถามว่ามีอาการเกิดขึ้นก่อนหน้าหรือไม่ เช่น เจ็บหน้าอก ( Chest Pain ),อาการหายใจลำบาก ( Dyspnea ), อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ( vertigo ) เป็นต้น

3.ลักษณะของอาการใจสั่นที่เกิดขึ้นเป็นชนิดไหน สั่นด้วยความเร็วปกติแต่เต้นไม่สม่ำเสมอ ( regular ),ใจสั่นด้วยความเร็วสูง ( rapid ), ใจสั่นแบบถาวร ( permanent ) มีอาการอื่นร่วมด้วย ( associated symptoms ) หรือไม่ เช่น เจ็บหน้าอก ( Chest Pain ) อาการเป็นลมหมดสติหรือวูบ ( syncope ), หรือใกล้หมดสติ ( Near syncope ), ปอดบวมน้ำ ( Pulmonary edema ) หรือมีอาการวิตกกังวล ( anxiety ) เกิดขึ้นร่วมกับอาการใจสั้นหรือไม่
4.เมื่ออาการใจสั่นดีขึ้นแล้วมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น อาการค่อยดีขึ้นอย่างรวดเร็วหรืออย่างช้า ๆ ( abrupt or slowly decreasing duration ) , การถ่ายปัสสาวะ ( urination ), อาการดีขึ้นเอง ( spontaneously ) หรือใช้การวากัล แมนนูเวอร์ ( vagal maneuver ) เช่น การกลั้นหายใจ การกดนิ้วลงบนเปลือกตาหรือการไอ หรือหายด้วยการใช้ยา ( medication )
5.ประวัติและภูมิหลังของผู้ป่วย เช่น อายุที่เริ่มมี อาการใจสั่นครั้งแรก ความถี่ของอาการใจสั่นที่เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหัวใจหรือไม่ เช่น โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ ( structural heart disease ) โรคจิตสรีระแปรปรวน ( Psychosomatic disorders ) การติดเชื้อที่มีต่อระบบทั่วไปของร่างกาย ( Systemic diseases ) ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ( Thyroid disorders ) มาก่อนที่จะเกิดอาการใจสั่นหรือไม่ บุคคลในครอบครัวมีประวัติเสียชีวิตด้วยดรคหัวใจหรือไม่ เคยเสพสารเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก่อนหรือไม่

การประเมินผู้ป่วยอาการใจสั่น

อาการที่เกี่ยวข้องทางคลินิกที่บ่งชี้ อาการใจสั่นที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmic )
1.เป็นโรคเกี่ยวกับโครงสร้างของหัวใจผิดปกติหรือการมีความผิดปกติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในระยะเริ่มต้น
2.มีประวัติบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน
3.มีอายุสูง
3.มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ( Tachycardia ) และใจสั่น ( Palpitation ) ร่วมกัน
4.อาการใจสั่นร่วมกับประสิทธิภาพที่ลดลงของระบบไหลเวียนโลหิต ( hemodynamic )
5.ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ( ECG )

การตรวจร่างกายสำหรับผู้ป่วย ควรเน้นไปที่การตรวจระบบหัวใจและส่วนของหลอดเลือด อย่าง สัญญาณชีพ ( vital signs ) ตรวจหาความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจ ( structural hearl disease ) เช่น เสียงฟู่ของหัวใจ ( Murmur )) ชีพจร ( Peripheral pulse ) สัญญาณของภาวะหัวใจวาย ( signs of heart failure ) และควรที่จะหาสัญญาณของ systemic diseases ที่มีส่วนทำให้เกิด อาการใจสั่นร่วมด้วย

การสืบค้นควรทำต่อไปในผู้ป่วยทุกคน และตามด้วยการทำ12 leads ECG เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าที่หัวใจ และถ้าจะให้ผลดีที่สุดควรทำในผู้ป่วยที่กำลังแสดงอาการใจสั่นอยู่ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการแล้ว ก็ควรทำอย่างน้อยหนึ่งครั้งในขณะที่ผู้ป่วยไม่มีอาการก็ได้เช่นเดียวกัน เพื่อช่วยในการประเมินหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ ว่าเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดปกติหรือว่าเป็นความผิดปกติจากโครงสร้างของหัวใจ หรือว่ามาจากสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งเมื่อทำการวัดและพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ( ECG ) ว่ามีสาเหตุมาจากโครงสร้างของหัวใจที่ผิดปกติแล้ว จะต้องทำการตรวจด้วยวิธีพิเศษอื่นต่อไป เช่น echocardiography, MRI, ambulatory ECG, stress test หรือ EPS ( electrophysiological study ) เป็นต้น

อาการใจสั่น ( Palpitation )  เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยมาก แม้ว่าอาการในช่วงแรกอาจจะไม่สร้างผลกระทบต่อร่างกายและการดำรงชีวิต แต่เมื่อเป็นมากขึ้นหรือบ่อยครั้งขึ้น อาการใจสั่นที่เกิดขึ้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุของอาการใจสั่นที่เกิดขึ้นมักมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นส่วนมาก แต่บางครั้งอาการใจสั่นอาจเกิดเป็นผลข้างเคียงของโรคที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับระบบอื่น ๆ ภายในร่างกาย เช่น ระบบประสาท ระบบของต่อมไร้ท่อ หรือแม้แต่สภาวะที่สภาพจิตใจเกิดความผิดปกติขึ้น ดังนั้นการซักประวัติอย่างละเอียดของแพทย์และการตอบคำถามที่ตรงไปตรงมา รวมถึงการตรวจร่างกายอย่างครบถ้วน จะนำไปสู่การวินิจฉัยถึงสาเหตุของโรคที่แม่นยำถูกต้อง นำมาซึ่งการรักษาที่ถูกต้องที่สามารถให้หายจากอาการใจสั่นได้ง่าย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Indik, Julia H. (2010). “When Palpitations Worsen”. The American Journal of Medicine. 123 (6): 517–9. doi:10.1016/j.amjmed.2010.01.012. PMID 20569756.

Jamshed, N; Dubin, J; Eldadah, Z (February 2013). “Emergency management of palpitations in the elderly: epidemiology, diagnostic approaches, and therapeutic options”. Clinics in Geriatric Medicine. 29 (1): 205–30. doi:10.1016/j.cger.2012.10.003. PMID 23177608.