อาการม้ามโตบ่งบอกอะไร ( Splenomegaly)
ม้าม เป็นอวัยวะทรงเรียวรีคล้ายเมล็ดถั่วอยู่ด้านหลังซ้ายของช่องท้องใต้กะบังลม ทำหน้าที่ดึงธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงและนำของเสียออกจากเลือด

อาการม้ามโต

อาการม้ามโต ( Splenomegaly ) คืออาการผิดปกติของม้าม ปกติเราจะไม่สามารถคลำเจอม้ามได้ ยกเว้นในผู้ที่มีร่างกายผอมมากหรือม้ามมีขนาดที่โตผิดปกติจึงจะสามารถคลำม้ามเจอได้ ซึ่งม้ามที่มีการทำงานที่ผิดปกติจะมีน้ำหนักประมาณ 4-5 เท่าของม้ามปกติหรือมีนำหนักมากกว่า 500 กรัม

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ม้าม ( spleen ) เป็นอวัยวะมีรูปทรงเรียวรี คล้ายเมล็ดถั่วขนาดประมาณ 11 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 150 กรัม อยู่ที่บริเวณทางด้านหลังซ้ายของช่องท้อง อยู่ใต้ต่อจากกะบังลม ซึ่งจะอยู่แถวกระดูกซี่โครงซี่ที่ 9 – 12 ม้ามเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลือง หน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและการสร้างเม็ดเลือดการควบคุมปริมาณของเลือดในร่างกายให้คงที่ โดยม้ามจะทำหน้าที่ดึงธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงเพื่อนำมาใช้ในร่างกาย และทำหน้าที่นำของเสียที่มีอยู่ในกระแสเลือดออกไปจากเลือดโดยขับออกมาในรูปของน้ำปัสสาวะ เช่นเดียวกับการทำงานของตับ นอกจากนั้นม้ามสร้างมีหน้าที่ในการสร้างแอนตีบอดี ( Antibody ) ที่ช่วยต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย รวมถึงช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงให้กับร่างกายอีกด้วย สำหรับทารกในครรภ์ ม้ามจะทำหน้าที่หลักในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และหลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว ม้ามจะหยุดสร้างเม็ดเลือดแดงเปลี่ยนและไขกระดูกจะทำการสร้างเม็ดเลือดแดงแทน แต่หากไขกระดูกไม่สามารถทำการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ ม้ามจึงจะกลับมาทำการสร้างเม็ดเลือดแดงอีกครั้ง

ลักษณะการทำงานที่ทำให้ม้ามทำงานผิดปกติ

1.ร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค ทำให้ม้ามต้องทำการกำจัดเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ( Clearance of microorganisme ) และปฏิกิริยา particulate antigens จากเลือด

2.เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ( Synthesis of immunoglobulin G ( lgG ) )

3.การกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีความผิดปกติ ( Removal of abnormal red blood cells )

4.ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง เช่น การสร้างเม็ดเลือดแดงจากม้ามในตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ ( Embryonic hematopoiesis ) หรือการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ม้าม ( extramedullary hematopoiesis ) ในผู้ป่วยโรคบางชนิด เป็นต้น

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ม้ามโตเกิดจากอะไร ?

1. โรคตับ เช่น โรคตับแข็ง เนื่องจากตับมีระบบไหลเวียนเลือดระบบเดียวกับม้าม เมื่อตับมีความผิดปกติจึงส่งผลเกิดความผิดปกติที่ม้ามด้วย
2. โรคเลือด เช่น โลหิตจาง ธาลัสซีเมีย ภาวะที่มีเม็ดเลือดแตก เนื่องจากตับและม้ามเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบิน เมื่อเม็ดเลือดถูกทำลายมาก จึงส่งผลให้ตับม้ามมีขนาดโตขึ้นด้วย
3. เกิดการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งม้ามก็มีบทบาทในการกำจัดเชื้อโรค
4. เป็นโรคออโตอิมมูน หรือโรคภูมิต้านทานตัวเอง ทำให้เซลล์ในร่างกายถูกกำจัดจำนวนมาก
5. เส้นเลือดดำในตับอุดตัน ทำให้การไหลเวียนเลือดของตับและม้ามผิดปกติ
6. เป็นโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สาเหตุที่ทำให้ม้ามมีการทำงานที่ผิดปกติจนมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น

1.ม้ามมีการทำงานที่มากเกินไป ( Hyperfunction )

ภูมิคุ้มของร่างกายมีการตอบสนองต่อการเจริญเติบโตมากเกินไป หรือม้ามมีการตอบสนองต่อการอักเสบหรือมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเยื่อบุโพรงหัวใจอักเสบจากแบคทีเรียแบบกึ่งเฉียบพลัน ( subacute bacterial endocarditis ) , โรคฝีที่ม้าม ( splenic abscesses ) หรือการติดเชื้อไวรัส เช่น การติดเชื้อไวรัส (EPV) ที่ชักนำให้เกิดโรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส ( Epstein-Barr virus-induced mononucleosis ) , โรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคSLE ( Systemic lupus erythematosus ) หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์ ( Rheumatoid arthritis ) ที่มี อาการม้ามโตร่วมด้วย ( Felty’s syndrome ) เป็นต้น หรือการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายอย่างรุนแรง (destruction work hypertrophy) เช่น ภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม ( Hereditary Spherocytosis: HS ) หรือโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ( Thalassemia disease ) เป็นต้น

2.การคั่งของเลือดที่ม้าม ( Congestion )

ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ( Venous thrombosis ) หรือภาวะหลอดเลือดดำในม้ามอุดตัน ( splenic vein thrombosis ) หรือภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดระบบพอร์ทัล ( portal hypertension ) สูงเกิน 12 มมปรอทหรือภาวะหัวใจวาย ( Congestive Heart failure : CHF ) โดยเมื่อผู้ป่วยได้รับยาออกซาลิพลาติน ( Oxaliplatin ) จะมี อาการม้ามโตเป็นอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ โดยจะทำให้โพรงเลือดดำในม้ามอุดตัน ( Sinusoidal Obstruction Syndrome ) หรือหลอดเลือดดำในม้ามอุดตัน ( Hepatic veno-occlusive disease ) แต่หากผู้ป่วยได้รับยาบีวาซิซูแมบ ( Bevacizumab ) ร่วมด้วย อาการม้ามโตจะเกิดขึ้นได้น้อยลง  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

3.การแทรกซึม ( Infiltration )

โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคต่างๆที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของเซลล์ชนิดต่างๆ ที่มีการผลิตมาจากส่วนของไขกระดูก หรือโรคมัยอีโลโพรลิฟเฟอเรทีฟ ( Myeloproliferative neoplasm ) เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวซีเอ็มแอล ( Chronic Myelogenous Leukemia ) , ภาวะเม็ดเลือดแดงข้น (Polycythemia vera ) , โรคเกล็ดเลือดสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ ( Essential Thrombocythemia ) หรือโรคพังผืดในไขกระดูกแบบเกิดเอง ( primary myelofibrosis , PMF ) เป็นต้น รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งทางโลหิตวิทยาบางชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ ( chronic lymphocytic leukemia ) หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) เป็นต้น นอกจากผู้ป่วยที่ไขกระดูกทำงานผิดปกติกับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งทางโลหิตแล้ว ยังมีผู้ป่วยโรคอื่น เช่น

  • ซาร์คอยโดซิส ( Sarcoidosis ) คือ โรคที่เกิดการอักเสบชนิดไม่ใช่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ
  • โรคเกาเชอร์ ( Gaucher’s disease ) คือ โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของการสะสมไขมัน
  • โรคอะมีลอยโดซิส ( Amyloidosis ) คือ ภาวะที่เกิดจากมีสารโปรตีนผิดปกติชนิดหนึ่ง
  • เนื้องอกในระยะลุกลาม ( Metastatic malignancy )

ซึ่งโรคเหล่านี้จะทำการแทรกซึมเข้าไปทำให้ม้ามมีการทำงานที่ผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้ม้ามมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นนั่นเอง

4.สาเหตุอื่น ๆ ของ อาการม้ามโต ( Splenomegaly )

นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้ว บางครั้งอาการม้ามโตอาจเกิดเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก ได้แก่ การเกิดอุบัติเหตุจนมีเลือดออก ( Trama ) , การเกิดซีสต์ ( Cyst ) , เนื้องอกชนิดฮีแมงจิโอมาหรือ ปานแดงที่ตับ ( Hemangioma ) , การได้รับยาบางชนิด เช่น Rho ( D ) immune globulin เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถส่งผลให้ม้ามโตขึ้นได้เช่นเดียวกัน

จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยม้ามโตทั้งหมด 449 ราย พบว่าสาเหตุที่ทำให้ม้ามโตสามารแบ่งได้ดังนี้  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

1.โรคตับจำนวน 148 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของผู้ป่วยทั้งหมด

2.โรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา จำนวน 121 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของผู้ป่วยทั้งหมด

3.การติดเชื้อ จำนวน 103 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของผู้ป่วยทั้งหมด

4.Congestion หรือ inflammation จำนวน 35 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของผู้ป่วยทั้งหมด

5.โรคของม้ามเองหรืออื่นอีก ร้อยละ 9 ของผู้ป่วยทั้งหมด

นอกจากนั้นขนาดของม้ามผิดปกตินั้น ยังสามารถระบุถึงสาเหตุของความผิดปกติได้อีกด้วย โดยม้ามที่มีขนาดโตเล็กน้อยจนถึงปานกลางอาจมีหลายสาเหตุ แต่ว่าม้ามที่มีขนาดโตมาก ๆ ( massive หรือ huge splenomegaly ) มักมีสาเหตุมาจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ ( Chronic Myelogenous Leukemia; CML ) โรคไขกระดูกเป็นพังผืดปฐมภูมิ ( Primary myelofibrosis ;PMF ) ธาลัสซีเมียเมเจอร์ ( Thalassemia Major ) โรคลิชมานิเอซิส ( Leishmaniasis ) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากปรสิต โปรโตซัว หรือโรคเกาเชอร์ ( Gaucher’s disease ) ที่เกิดจากความผิดปกติของการสะสมไขมัน ( lysosomal storage disease ) เป็นต้น ซึ่งถ้าม้ามมีขนาดที่ใหญ่มาให้พึงระลึกถึงสาหตุเหล่านี้เป็นหลัก

ม้าม ( spleen ) เป็นอวัยวะทรงเรียวรีคล้ายเมล็ดถั่ว ทำหน้าที่ดึงธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงและนำของเสียออกจากเลือด  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

แนวทางในการซักประวัติและการตรวจร่างกาย

ซึ่งแนวทางในการซักประวัติและทำการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา อาการม้ามโตต้องทำการวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการม้ามโต จะพิจาณาอายุของผู้ป่วยเป็นหลัก ร่วมกับขนาดและอาการที่เกิดขึ้นร่วมด้วย

1.หากผู้ป่วยเป็นโรคตับชนิดเรื้อรังจากการดื่มสุราหรือภาวะตับอักเสบ ย่อมมีความเสี่ยงที่ตับแข็งและม้ามโตจากภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดระบบพอร์ทัล ( Portal hypertension ) สูงเกิน 12 มม.ได้

2.หากผู้ป่วยมีอาการไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอร่วมกับอาการม้ามโต อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เช่น infectious mononucleosis หรือไวรัสอื่นๆ

3.ผู้ป่วยภาวะเม็ดเลือดแดงข้น Polycythemia vera ที่ไขกระดูกของผู้ป่วยทำการสร้างเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก ผิดปกติ อาจพบม้ามมีขนาดโตเกิดขึ้นได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการคันหลังจากอาบน้ำอุ่นร่วมด้วย

4.ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วหรือมีเหงื่ออกกลางคืนมาก จะพบว่าอาการม้ามเนื่องจากหลายโรครวมกัน เช่น เอดส์ ( AIDS ) systemic lupus erythematosus , rheumatoid arthritis , sarcoidosis มาลาเรีย วัณโรค การติดเชื้อไวรัส ( infectious mononucleosis , cytomegalovirus , hepatitis) โรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา ( chronic myeloid leukemia , chronic lymphocytic leukemia , hairy cell leukemia ) ซึ่งถ้าผู้ป่วยหายจากโรคที่กล่าวมานั้น ม้ามก็จะกลับมามีขนาดปกติและมีประสิทธิภาพการทำงานเหมือนเดิม

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

5.ผู้ป่วยที่มีอาการม้ามโต แต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้นั้น ควรทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น เช่น anti-HIV เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจเลือด ได้แก่ CBC และ blood smear แต่บางครั้งการความผิดปกติที่ได้จากการตรวจ CBC ก็ไม่สามารถช่วยระบุสาเหตุของอาการม้ามโตได้ เพราะค่าที่ได้จากการตรวจมักเป็นผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่ม้ามโตแล้ว หรือค่าของเม็ดเลือดที่ต่ำมากหรือน้อยไม่ขึ้นก็ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดม้ามที่โต แต่หากพบว่ามีภาวะเม็ดเลือดขาวที่สูง Neutrophilia เช่น absolute neutrophil count >7,700/uL ทั้งที่มีการพบหรือไม่พบการเพิ่มปริมาณของ band form และ metamyelocyte (left shift) ให้ทำการสันนิฐานว่าผู้ป่วยม้ามโตเนื่องจากการติดเชื้อหรือพบ toxic granule หรือ vacuoles ในเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลล์หรือบางครั้งอาจพบเชื้อในเรื่อง เช่น มาเลเรียบาโทแนลโลสิส ( bartonellosis ) หรือบาบีสิโอสิส ( babesiosis ) แต่มีการพบลักษณะเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ เช่น พบ Schistocytes ( fragmented red cells ) ที่เป็นเศษของเม็ดเลือดแดงที่มีฮีโมโกลบินบางส่วนหรือทั้งหมดหลุดและสลายไป ทำให้เม็ดเลือดแดงมีหลายรูปร่างไปหรือเม็ดเลือดแดงมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กเกิดการผิดปกติ ซึ่งการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือการที่เม็ดเลือดแดงจับตัวกันเป็นกลุ่มเนื่องจาก cold agglutinins และอาจพบอะทิปปิเคิลลิ้มโฟไซต์ ( Atypical lymphocytes ) ใน infectious mononucleosis และอาจพบ atypical lymphocytes ร่วมด้วยเรียกว่า Felty’s syndrome

การตรวจเพิ่มเติมที่สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น

นอกจากการตรวจดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นหรือเพื่อเป็นการยืนยันข้อสงสัยว่าเป็นจริงหรือไม่อีกด้วย

1.การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง ในรายที่สงสัยมะเร็งในทรวงอกหรือในท้อง เช่น Lymphoma, hepatoma หรือกรณี advanced liver disease, portal hypertension

2.การตรวจชิ้นเนื้อในบางส่วนของร่างกาย เช่น การตรวจหาเซลมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ( Lymph node biopsy) การดูดและเจาะเอาเนื้อเยื่อไขกระดูกส่งตรวจ ( Bone marrow aspiration biopsy ) การเจาะชิ้นเนื้อตับ ( Liver biopsy ) ที่อาจช่วยยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาหรือไม่ แล้วจึงทำการส่งเพาะเชื้อและส่งย้อมสีชนิดพิเศษในผู้ป่วยที่ยังไม่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็ง เพื่อเป็นการยืนยันว่า อาการม้ามโตเกิดจากภาวะของโรคมะเร็งจริงหรือไม่

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถระบุถึงสาเหตุของอาการม้ามโต จากการตรวจข้างต้น จะต้องทำการตัดม้ามเพื่อนำมาวินิจฉัย ( Diagnostic splenectomy ) ซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่ทำการตรวจชิ้นเนื้อจากม้ามจะมีสาเหตุม้ามโตจาก Lymphoma/leukemia ร้อยละ 57 Metastatic carcinoma / sarcoma ร้อยละ 11 และ cyst/pseudocyst ร้อยละ 96 แต่ว่าการตัดม้ามไม่นิยมหากไม่จำเป็นจริง ๆ เนื่องจากการตัดม้ามมีอาการข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ลักษณะเม็ดเลือดแดงผิดปกติ เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดสูงขึ้น รวมถึงต้องติดตามอาการและทำการให้ยาแอสไพรินเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันที่ปอด นอกจากนั้นแล้วอาการข้างเคียงที่สำคัญและสามารถพบบ่อยคือ การติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง โดยเฉพาะแบคทีเรียที่อยู่ในกลุ่มเชื้อที่มีแคปซูล เช่น Steptococcus pneumoniae, Haemophilus influenZae และเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้ทำการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น Pnenmococcal vaccine และ H. influenzae vaccine แต่ไม่แนะนำให้รับประทานยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เพราะมีความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะดื้อยาได้ง่าย

การวิจัยภาวะ hypersplenism เกิดขึ้นมีเกณฑ์

เมื่อทราบถึงสาเหตุของภาวะม้ามโตแล้ว การรักษาก็จะสามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยแพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุที่ให้ม้ามโต ซึ่งเมื่อรักษาแล้วม้ามก็จะมีขนาดที่เล็กลง ซึ่งบางครั้งการรักษาอาจต้องทำการตัดม้ามออกไปในกรณีที่ม้ามโตเนื่องจากโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ โรคเม็ดเลือดแดงแตกง่ายทางพันธุกรรม อาจไม่ต้องรักษาเพื่อลดขนาดน้ำหากไม่มี hypersplenism หรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากม้ามที่โตมาก ซึ่งภาวะ Hypersplenism หรือภาวะที่ม้ามโตและเข้าไปทำลายเม็ดเลือดมากกว่าปกติ ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดลดลง ซึ่งภาวะนี้ไม่ใช่โรค แต่เกิดจากโรคที่มีอาการม้ามโต เป็นระยะเวลานานและส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาก โดยจะพบมากได้ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคธาลัสซีเมีย

1.ม้ามมีขนาดโตมาก

2.ตรวจพบว่าปริมาณเลือดต่ำ ซึ่งรวมถึงภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ( pancytopenia ) หรือมีภาวะเลือดต่ำผิดปกติมาก 2 ชนิด ( bicytopenia ) คือเกล็ดเลือด 75,000 ( ปกติ 140,000- 400,000 ) เม็ดเลือดขาว 25,000 และเม็ดเลือดแดง 21%

3.เมื่อทำการตรวจไขกระดูกแล้วพบว่ามีการสร้างเม็ดเลือดในส่วนของกระดูกยังอยู่ในภาวะปกติหรือมีการสร้างเพิ่มขึ้น

[adinserter name=”oralimpact”]

การรักษาภาวะ hypersplenism ทำด้วยการตัดม้ามออกไป แต่ถ้าร่างกายมีเม็ดเลือดต่ำมากจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ต้องรับเลือดบ่อย ๆ หรือมีอาการเลือดออกจากเม็ดเลือดขาว หรือปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ

ม้ามเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภาวะม้ามโตที่พบมีสาเหตุทั้งจากการติดเชื้อ การอักเสบ โรคตับชนิดเรื้อรังหรือโรงมะเร็ง ซึ่งการวินิจฉัยถึงสาเหตุที่ทำให้ม้ามโตนั้นต้องอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกายและยืนยันด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อที่จะได้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการม้ามโตเมื่อทราบสาเหตุแล้วการรักษาจะได้ผล ทำให้ม้ามที่มีขนาดผิดปกติกลับมาสู่สภาวะปกติได้ไม่ยาก ดังนั้นเมื่อทำการตรวจพบว่ามีอาการม้ามโตเกิดขึ้นจึงควรรีบเข้ารับการรักษาก่อนที่ภาวะม้ามโตจะทำการรักษาได้ด้วยการตัดเท่านั้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.