ภาวะแทรกซ้อนของไตวายเฉียบพลัน-เรื้อรัง
ภาวะไตวาย ผู้ป่วยมักมีอาการน้ำท่วมปอดเนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้เป็นปกติ

ภาวะแทรกซ้อน

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเฉียบพลัน หรือ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคไตขั้นรุนแรง ย่อมได้รับผลกระทบต่อร่างกายในทุก ๆ ส่วน โดยเฉพาะการเกิด ภาวะแทรกซ้อน ตามมา ดังนี้  

พยาธิสภาพโรคไตวายเรื้อรัง

อาการภาวะแทรกซ้อน อันเนื่องมาจากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเฉียบพลัน และ โรคไตวายเรื้อรัง ถือได้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกคนที่เป็นโรคชนิดนี้ การระมัดระวังรวมไปถึงการสังเกตอาการของผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลาที่ มีอาการผิดปกติ มีโอกาสช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น เพราะญาติและผู้ป่วยเอง จะสามารถบอกถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับแพทย์ได้ ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจและวินิจฉัยตามอาการ และถ้าค้นพบภาวะแทรกซ้อนและรักษาได้ทันท่วงที ย่อมสามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยได้อย่างแน่นอน

1. อาการผู้ป่วยมีภาวะน้ำท่วมปอด

ผู้ป่วยมักจะมีอาการน้ำท่วมปอดเนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้เป็นปกติ หรือ ขับน้ำไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ปวดหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีน้ำภายในร่างกายมากขึ้น บางครั้งก็อาจจะมีผลมาจาก สาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างเช่น ผู้ป่วยอาจจะได้รับน้ำเข้าทางหลอดเลือดเพิ่มเติมหรือมากจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่ผู้ป่วยปัสสาวะออกมาได้น้อยรวมไปถึงผู้ป่วยไม่ได้รักษาความสมดุลของเกลือและน้ำ

2. หัวใจขาดเลือดส่งผลอย่างไรกับไตวาย

ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคไตวายมักจะมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่ทั่วท้องอาจจะมีอาการปวดศีระษะ หรือ เวียนศีรษะร่วมด้วย หรือ อาจจะเกิดหัวใจวายขึ้นได้ ในกรณีนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบโดยด่วน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหัวใจวาย อาการของผู้ป่วยโดยรวม คือ มีอาการหอบเหนื่อย สะอึก ใจสั่น รู้สึกเจ็บหน้าอก ปวดกราม ปวดหู ปวดคอหรือช่วงไหล่ ปวดหรือชาที่บริเวณหน้าอก บ่า และแขน ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเป็น ๆ หาย ๆ ได้เช่นกัน

3. ผู้ป่วยมีภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง

ในกรณีนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากไตได้ขับของเสียออกน้อยลง ส่งผลทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ หรือ เต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาทีเนื่องจากมีโปแตสเซียมในเลือดสูงหรืออาจมีภาวะหัวใจหยุดเต้นได้

ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยไตวาย มักมีอาการน้ำท่วมปอดเนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้เป็นปกติหรือขับน้ำไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีน้ำภายในร่างกายมากขึ้น

4. ผู้ป่วยที่มีอาการความดันเลือดสูงขึ้นจนผิดปกติ

4.1 ความดันเลือดสูงขึ้นไม่มากเท่าไหร่นัก ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการอะไรมากนัก

4.2 ความดันเลือดสูงมากขึ้น แถมโพแทสเซียมก็ยังคงสูงตามไปด้วย ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดท้อง เป็นตะคริวง่าย และอาจจะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ ชีพจรเต้นเร็ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเวียนหัวร่วมด้วย บวกกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง

4.3 ผู้ป่วยมีโซเดียมต่ำร่วมด้วย ซึ่งในกรณีนี้ร่างกายของผู้ป่วยจะมีน้ำคั่ง มีอาการสับสน หมดสติ ท้องเดิน แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีโซเดียมสูง ผู้ป่วยจะมีอาการชา กระตุก มือจีบ เป็นต้น

4.4 หากผู้ป่วยมีแมกนีเซียมสูง ฟอสเฟตสูง ผู้ป่วยจะมีอาการง่วงซึม หัวใจเต้นช้าลง

5. ผู้ป่วยที่มีภาวะซีดหรือมีภาวะเลือดจาง 

สามารถพบกรณีนี้ได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ส่งผลทำให้อาการภาวะไตวายรุนแรงขึ้น ซึ่งสภาวะเลือดจาง หรือ เลือดซีด จะส่งผลทำให้เซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย ได้รับออกซิเจนน้อยลงกว่าเดิม หรือ ไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และ ขี้หนาว ซึ่งผู้ป่วยไตวาย ยังสามารถมีภาวะซีดมาจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ ดังนี้

ภาวะขาดสารอาหาร
ผู้ป่วยที่เสียเลือดไปกับการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม
ผู้ป่วยที่เสียเลือดไปกับการเจาะเลือดบ่อย ๆ
ผู้ป่วยที่เสียเลือดในทางเดินอาหาร
ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกง่าย
ผู้ป่วยเสียเลือดระหว่างการฟอกเลือด
ผู้ป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย

6. ผู้ป่วยที่มีภาวะยูเรียหรือระดับยูเรียสูงมาก

ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะไม่สมดุลของค่าอีเล็คไตรไลท์ โดยมีโซเดียม ไนโตรเจน โพแทสเซียม ฟอสเฟต และน้ำคั่ง แถมเลือดยังเป็นกรดอีกด้วย

7. ผู้ป่วยที่ระบบประสาทส่วนปลายอักเสบ จนถูกทำลาย

ผู้ป่วยมักจะมีอาการร้อนที่บริเวณเท้า เมื่อแตะเท้าจะรู้สึกเจ็บปวด ส่งผลทำให้ผู้ป่วยต้องขยับเท้าอยู่ตลอดเวลา ส่งผลทำให้เกิดการทรงตัวที่ไม่ดี

8. ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน

โดยมีสาเหตุมาจาก

  • ไตเสียหน้าที่ที่จะสังเคราะห์วิตามินดี ( Vitamin D ) ลดลง ทำให้แคลเซียมในเลือดต่ำ
  • ร่างกายมีการดูดซึมของฟอสเฟตและวิตามินดีลดลง   

9. ผู้ป่วยที่ต่อมไร้ท่อทำงานอย่างผิดปกติ

เมื่อต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติส่งผลทำให้ร่างกายผิดปกติไปจากเดิม

10. ผู้ป่วยที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ซึ่งมีความรู้สึกทางเพศลดลงไปกว่าเดิม จนกระทั่งอาจจะเป็นหมันได้ ส่วนเพศหญิง ประจำเดือนอาจจะมาไม่ปกติ หรือ ไม่มีประจำเดือนเลย

11. ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสมองโดยตรง

ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการซึมลง ขาดสมาธิ มีอาการสับสน ปวดศีรษะ มีอาการนอนไม่หลับ ไม่รู้วันและเวลา หรือ ประสาทหลอน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจจะมีอาการชักจนกระทั่งเสียชีวิต

12. ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคได้ง่าย และ มีอาการรุนแรง

ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีภูมิต้านทานต่ำ ร่างกายจึงติดเชื้อโรคได้ง่าย ส่งผลทำให้มีอาการติดเชื้อบ่อย หากไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลต่อชีวิตได้ ส่วนโรคที่ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อได้บ่อย และค่อนข้างที่จะอันตรายอย่างเช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น

ภาวะโรคแทรกซ้อนจากอาหารไตวายหรือไตวายเรื้อรัง ที่อาจจะเกิดจากปอดอักเสบติดเชื้อ

โรคแทรกซ้อนที่จะทำให้เกิดการอักเสบของปอด

1.ปอดมีลักษณะแฟบ มีฝีในปอด
2.เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
3.ข้ออักเสบแบบเฉียบพลัน
4.ภาวะขาดออกซิเจนและน้ำ
5.เลือดเป็นพิษ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Dr.Andy Stein (2007-07-01). Understanding Treatment Options For Renal Therapy. Deerfield, Illinois: Baxter International Inc. p. 6. ISBN 1-85959-070-5.

The PD Companion. Deerfield, Illinois: Baxter International Inc. 2008-05-01. pp. 14–15. 08/1046R.

Dr.Per Grinsted (2005-03-02). “Kidney failure (renal failure with uremia, or azotaemia)”. 2009-05-26.