- ตรวจมะเร็งตับ – สารวัดค่ามะเร็งตับ Alpha Fetoprotein ( AFP )
- ภาวะเม็ดเลือดขาวสูง ( Leukocytosis )
- ฮีโมโกลบินคืออะไร
- ไขกระดูกมีความผิดปกติ Myeloproliferative disease ( MPD )
- ฮีมาโทคริตคือเซลล์เม็ดเลือดแดงส่วนที่แยกออกจากพลาสมา
- ภาวะเลือดหนืด ( Polycythemia )
- โลหิตจาง ( Anemia )
- การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน ( Hormone Assays )
- การตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด ( Platelet Count )
- ตรวจหาค่าความผิดปกติของ ตับ Gamma GT ( GGTP )
- การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง Red Blood Cell ( RBC )
- การตรวจ Total Protein บ่งบอกอะไร
- การตรวจ Globulin ในเลือดบ่งบอกอะไร
- การตรวจ อัลบูมิน ( Albumin ) ในเลือดจำเป็นอย่างไร
- การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว White Blood Cell ( WBC )
- ค่า Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) บ่งบอกอะไร
- การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count ( CBC )
- ผลตรวจเลือด ค่าเลือดปกติ แปลผลแลป และวิธีการอ่าน
- ตรวจสุขภาพ ( Health checkup ) มีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร?
- ตรวจหาความผิดปกติของ ตับอ่อน P-Amylase / Lipase
- การตรวจหาค่าปัสสาวะ Urine Spot MAU / Creatinine Ratio
- การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Protein ( Random urine )
- การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Magnesium
- การตรวจปัสสาวะหาค่า Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N
- การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Glucose
- การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Osmolality
- การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine P-Amylase
- การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Phosphorus
- การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Calcium
- การตรวจปัสสาวะหาค่า กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid
- การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Creatinine และค่า Creatinine
- การตรวจปัสสาวะ ( Urinalysis )
- การตรวจแร่ธาตุและสารละลายในร่างกาย ( Electrolyte )
- การตรวจเลือดหา สัญญาณโรคกระดูก ( Bone Markers )
- ตรวจเบาหวาน ( Diabetes test )
- ความสำคัญของฮอร์โมน ( Hormone ) ในร่างกาย
- การตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ
- การจัดการและการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ( Diabetes )
- ตรวจยีนก่อนสาย ป้องกันการกลายพันธุ์
- การตรวจของเหลวในร่างกาย ( Body Fluid )
- การตรวจของเหลวในไขสันหลัง Cerebrospinal Fluid ( CSF )
- การตรวจการทำงานของตับ ( Liver Function Test )
- การตรวจสาร Serum Glutamic Pyruvate Transaminase ( SGPT ) ในตับ
- การตรวจหาสาร Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) ในตับ
- การตรวจสารแอลคาไลน์ฟอสฟาเทส ( ALP ) ในตับ
- การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย Body Mass Index ( BMI )
- สารตรวจค่ามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder Tumor Antigen ( Urine BTA )
- Free PSA สารวัดค่า มะเร็งต่อมลูกหมาก ชนิดใหม่
- Total PSA สารตรวจวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก
- สารวัดค่ามะเร็งเต้านม Cancer Antigen 15-3 ( CA 15-3 )
- สารวัดค่ามะเร็งรังไข่ Cancer Antigen 125 ( CA 125 )
- สารวัดค่ามะเร็งทางเดินอาหาร Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 )
- ตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ – สารวัดค่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ Carcinoembryonic Antigen ( CEA )
Alpha Fetoprotein ( AFP ) คือ
Alpha Fetoprotein ( AFP ) คือ โปรตีนที่จะถูกสร้างจากตับในตัวอ่อนขณะอยู่ในครรภ์มารดา และลดลงเมื่อคลอดออกมา แต่หากตับได้รับการบาดเจ็บ หรือเกิดมะเร็งขึ้นมาจะทำให้ระดับค่า AFP เพิ่มขึ้น สารวัดค่ามะเร็งตับนี้เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยและตรวจประเมินผลการรักษามะเร็งตับ
ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับ Alpha Fetoprotein ( AFP )
Alpha Fetoprotein ( AFP ) คือ สารวัดค่ามะเร็งตับที่นิยมนำมาใช้ในการ ตรวจมะเร็งตับ มะเร็งลูกอัณฑะหรือมะเร็งรังไข่ ขั้นต้นโดยเริ่มแรกนั้น AFP ถูกนำมาใช้เพื่อตรวจความผิดปกติของรกที่ห่อหุ้มตัวทารกหรือเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการกำเนิดทารก แต่เนื่องจากพบว่า AFP สามารถตรวจหาสัญญาณบ่งชี้มะเร็งได้ จึงนำมาใช้ในการตรวจวัดค่า มะเร็งตับ และได้รับความนิยมมาเท่าทุกวันนี้โดยสำหรับการตรวจหญิงตั้งครรภ์
ค่า AFP จะสูงที่สุดเมื่อมีอายุครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 16-18 และสำหรับทารกหลังคลอดที่กำลังเจริญเติบโต ค่า AFP จะมีค่าเป็นศูนย์หรือใกล้ศูนย์มากที่สุดเมื่ออายุครบ 1 ขวบ จากนั้นจึงจะตรวจพบค่า AFP ในเลือดอีกครั้งเมื่อตับมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการถูกรบกวนด้วยสารพิษ การป่วยด้วยไวรัสตับอักเสบหรืออื่นๆ นอกจากนี้ยังบ่งชี้ถึง มะเร็งตับ ได้มากถึง 90%
ผลการตรวจค่า Alpha Fetoprotein ( AFP ) อื่นๆ
AFP นอกจากจะตรวจมะเร็งตับได้แล้ว ก็อาจตรวจพบอื่นๆ ได้อีก เช่น- AFP ตรวจหาค่ามะเร็งรังไข่ มะเร็งลูกอัณฑะและมะเร็งในอวัยวะส่วนอื่นบางชนิด- AFP ตรวจหาค่ามะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านมและมะเร็งปอด เป็นต้น โดยอาจต้องหาจากหลายๆ ค่าเพื่อสรุปความแน่นอน
– AFP อาจพบในโรคที่ไม่ใช่โรคมะเร็งได้ แต่เป็นความผิดปกติที่ตับ เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ เป็นต้นค่าปกติของ AFP
ค่าปกติของ Alpha Fetoprotein ( AFP )
โดยทั่วไปจะมีค่า AFP : <15 ng/mL หรืออาจยึดตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือด เฉพาะบุคคลที่มีค่าความผิดปกติของ AFP
ค่าผิดปกติของ Alpha Fetoprotein ( AFP )
ให้ดูว่าไปทางมากหรือน้อย โดยหากไปทางน้อยจะถือว่าปกติ แต่หากไปทางมากจะถือว่าผิดปกติ ซึ่งนั่นอาจมีสาเหตุจาก
- โรคมะเร็งตับ
- มะเร็งรังไข่ ( พบในสตรี )
- มะเร็งลูกอัณฑะ ( พบในบุรุษ )
- มะเร็งชนิดอื่นๆ ทีมีความสัมพันธ์กับการตรวจ เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น
- โรคเกี่ยวกับตับที่ไม่ใช่มะเร็ง
ร่วมตอบคำถามกับเรา
[poll id=”20555″]
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.
Prasad AR, Bernstein H (March 2013). Epigenetic field defects in progression to cancer. World Journal of Gastrointestinal Oncology.