สนสามใบ ประโยชน์จากเนื้อไม้ใช้ทำเครื่องดนตรี

0
1324
สนสามใบ
สนสามใบ ประโยชน์จากเนื้อไม้ใช้ทำเครื่องดนตรี ใบออกเป็นกระจุก ดอกจะออกเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก ผลเป็นก้อนแข็ง ปลายสอบโคนป้อม
สนสามใบ
ใบออกเป็นกระจุก3 ใบ ใบเล็กยาวเรียวเป็นรูปเข็ม ดอกจะออกเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก ผลเป็นก้อนแข็ง ปลายสอบโคนป้อม

สนสามใบ

ต้นสนสามใบ เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงใหญ่ ต้นสูงประมาณ 10-30 เมตร วัดรอบลำต้นได้ประมาณ 30-40 เมตร มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดียถึงอินโดนีเซีย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มักจะพบขึ้นเป็นกลุ่ม ตามบนเขา ตามเนินเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ประมาณ 1,000-1,600 เมตร สำหรับประเทศไทยสามารถเจอพบได้เป็นกลุ่มที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ที่ตามป่าสนเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-1,600 เมตร[3],[4] ชื่อสามัญ Khasiya Pine[7] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Pinus kesiya Royle ex Gordon อยู่วงศ์สนเขา (PINACEAE)[1] มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น สนเขา (ภาคกลาง), เกี๊ยะเปลือกแดง (ภาคเหนือ), แปกลม (จังหวัดชัยภูมิ), เชียงบั้ง (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), เกี๊ยเปลือกบาง (จังหวัดเชียงใหม่), จ๋วง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), แปก (ฉานแม่ฮ่องสอน, จังหวัดเพชรบูรณ์) [1],[2],[4]

ลักษณะสนสามใบ

  • ลำต้น มีลักษณะเปลาตรง เรือนยอดจะแตกเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นแตกล่อนเป็นสะเก็ดตื้น เป็นรูปตาข่าย เป็นสีน้ำตาลแกมชมพู ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในดินร่วน ดินร่วนปนทราย[1],[2],[3]
  • ลักษณะของใบ จะออกเป็นกระจุก มีกระจุกละ 3 ใบ ใบเล็กยาวเรียว เป็นรูปเข็ม ใบจะออกเรียงสลับ ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ที่ขอบใบจะหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด[1],[2]
  • ลักษณะของดอก ดอกจะออกเป็นช่อ ดอกเพศผู้มีลักษณะเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก จะออกดอกใกล้ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ดอกเพศเมียมีลักษณะเป็นเดี่ยวหรือจะออกไม่เกิน 3 ดอก ออกดอกที่ตามกิ่ง[1],[3] ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม[3]
  • ลักษณะของผล ผลเป็นโคน เป็นก้อนแข็ง ที่ปลายจะสอบ ส่วนที่โคนจะป้อม กว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ผลแก่จะแยกเป็นกลีบแข็ง ที่โคนกลีบจะติดกับแกนกลางผล มีเมล็ดรูปรีอยู่ในผล และมีครีบบางอยู่ในผลด้วย ครีบมีความยาวกว่าเมล็ดถึงสี่เท่า ก้านผลมีความยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร[1],[2],[3] ติดผลช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม[3]

สรรพคุณสนสามใบ

1. น้ำมันสนจะมีรสเผ็ดร้อน สามารถนำมาใช้เป็นยาทาแก้อักเสบบวม และเคล็ดขัดยอกได้ (น้ำมันสน)[5],[6]
2. ยาง ผสมกับยาสามารถใช้ทานวดแก้ปวดเมื่อยได้ (ยาง)[4]
3. ในตำรายาพื้นบ้านล้านนานำแก่นมาใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (แก่น)[2]
4. นำน้ำมันสนสามารถใบมาหยดในน้ำร้อนใช้ประคบท้องช่วยแก้มดลูกอักเสบ แก้ท้องบวม แก้ลำไส้พิการได้ (น้ำมันสน)[6]
5. ในตำรายาไทยนำแก่นของต้นต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องเดิน แก้บิด แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วงได้ (แก่น)[2],[5]
6. แก่นสามารถช่วยแก้เสมหะได้ (แก่น)[5]
7. แก่น ต้มหรือฝนใช้ทานเป็นยาแก้ไข้ได้ (แก่น)[5]
8. ชัน สามารถใช้เป็นยาปิดธาตุได้ (ชันสน)[5],[6]
9. ชาวเขาเผ่าแม้วนำแก่น ผสมใบสับปะรด ก้านและใบขี้เหล็กอเมริกัน ใบคว่ำตายหงายเป็น มาต้มอบไอน้ำ สามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลังสำหรับคนที่ติดฝิ่นได้ (แก่น)[2]
10. แก่น มีสรรพคุณที่เป็นยาบำรุงไขกระดูก บำรุงไขข้อได้ (แก่น)[5]
11. ยาง มีสรรพคุณที่เป็นยาสมานแผล (ยาง)[5]
12. สามารถนำเปลือกต้นกับใบ มาต้มกับน้ำใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคันตามผิวหนังที่ตามร่างกายได้ (ใบ, เปลือก)[1]
13. สามารถใช้เป็นยาแก้บิดได้ (ชันสน)[5],[6]
14. แก่นต้น ช่วยกระจายลมได้ (แก่น)[5]
15. แก่นต้น ช่วยแก้คลื่นเหียนอาเจียนได้ (แก่น)[5]
16. กระพี้จะมีรสขมเผ็ดและมัน สามารถนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ไข้สันนิบาตได้ (กระพี้)[4]
17. ในตำรายาพื้นบ้านล้านนานำแก่นมาใช้เป็นยาแก้เหงือกบวม (แก่น)[2]
18. แก่น ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้ (แก่น)[5]
19. แก่น มีสรรพคุณที่เป็นยาระงับประสาท แก้ฟุ้งซ่าน (แก่น)[5],[6]

ประโยชน์สนสามใบ

1. สามารถใช้ชันสนผสมกับยารักษาโรค หรือใช้ทำน้ำมันวานิช กาว ยางสังเคราะห์กระดาษ หรือจะใช้ถูคันชักเครื่องดนตรีบางชนิด อย่างเช่น ไวโอลิน ซออู้ ซอด้วง และสามารถใช้ทำน้ำมันชักเงา สีย้อมผ้าได้ ชันที่กลั่นจากน้ำมันสนดิบสามารถใช้ย้อมสีผ้า ผ้าดอกได้ [4]
2. เนื้อไม้ ใช้ในงานก่อสร้างที่อาศัยใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในร่มได้ อย่างเช่น เสากระโดงเรือ ลังไว้ใส่ของ เครื่องเรือน กระดานดำ รอด ทำฝา โต๊ะ ทำเชื้อเพลิง จุดไฟ เครื่องดนตรี เฟอร์นิเจอร์ ไม้บุผนัง ตู้ ตง พื้น เตียง และเนื้อไม้มีคุณสมบัติที่เหมาะใช้เยื่อหรือทำกระดาษ [3],[4]
3. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี [4]
4. มีประโยชน์เชิงอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร
5. ยางสามารถนำมากลั่นทำเป็นน้ำมัน ชันสน น้ำมันผสมกับยาสามารถใช้ทำการบูรเทียม น้ำมันชักเงา ทำบู่ ใช้ผสมสีได้ [3],[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารที่สกัดได้จากกิ่ง จะมีสารที่ออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ โดยจะมีศักยภาพที่ทำให้เซลล์มะเร็งสลายตัวจากการทำลายตัวเองจากด้านใน กระบวนการนี้เป็นผลดีมากกับการรักษาโรคมะเร็ง เพราะมีเพียงเซลล์มะเร็งอย่างเดียวที่ตาย จะไม่มีผลกับการทำลายเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียง ทำให้ร่างกายไม่เกิดอาการอักเสบขึ้น ไม่มีผลข้างเคียงจากยา (ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร หัวหน้าทีมวิจัย) (กิ่ง)[9]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “สน สาม ใบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [05 มิ.ย. 2014].
2. หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี. (สมพร ณ นคร). “สน สาม ใบ”.
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “สน สาม ใบ”. หน้า 139.
4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “สนสามใบ”. อ้างอิงใน: . หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2, หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [05 มิ.ย. 2014].
5. ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร). “แสงซินโครตรอนยืนยัน ติ้วขน-สนสามใบ ทำเซลล์มะเร็งทำลายตัวเองได้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [05 มิ.ย. 2014].
6. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “สนสามใบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com. [05 มิ.ย. 2014].
7. “เครื่องยาไทย-น้ำกระสายยา”. (ผศ.ดร.ชยันต์ พิเชียรสุนทร , ศ.คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต, ศ.ดร.วิเชียร จีรวงส์).
8. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สนสามใบ”. หน้า 166.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://writer.dek-d.com/
2.https://www.phakhaolao.la/
3.http://rspg.mfu.ac.th/