อาการการย่อยแลกโทสบกพร่อง (Lactose Intolerance)

0
3582
อาการการย่อยแลกโทสบกพร่อง (Lactose Intolerance)
อาการการย่อยแลกโทสบกพร่องเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลกโทสได้หมด ซึ่งแล็กโทสที่เหลือจากการย่อยจะทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดอาการผิดปกติ
อาการการย่อยแลกโทสบกพร่อง (Lactose Intolerance)
อาการกอาการการย่อยแลกโทสบกพร่องเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลกโทสได้หมด ทำให้เกิดอาการผิดปกติในการย่อยแลกโทส

การย่อยแลกโทสบกพร่อง

อาการการย่อยแลกโทสบกพร่อง (Lactose Intolerance) คือ การที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลกโทสได้หมด โดยมักพบน้ำตาลชนิดนี้ในนมสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ซึ่งแล็กโทสที่เหลือจากการย่อยจะทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย เป็นต้น พบได้ทั่วไปในผู้ใหญ่ 65-70% พบมากสุดในประเทศในทวีปเอเชีย และพบน้อยในยุโรปสแกนดิเนเวีย ไม่มีอาการร้ายแรง แต่จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว

อาการของภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง

อาการหลังจากรับประทานนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมไปแล้วประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง โดยความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำตาลแล็กโทสที่เข้าสู่ร่างกาย และปริมาณเอนไซม์แล็กเทส (Lactase) ที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเพื่อนำมาย่อยแล็กโทส เช่น

อาการของภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง

อาการหลังจากรับประทานนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมไปแล้วประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง โดยความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำตาลแล็กโทสที่เข้าสู่ร่างกาย และปริมาณเอนไซม์แล็กเทส (Lactase) ที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเพื่อนำมาย่อยแล็กโทส เช่น

  • ปวดท้อง
  • ท้องอืด มีลมในลำไส้
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้ และอาจตามมาด้วยการอาเจียน
  • มีเสียงท้องร้องจากการบีบตัวในกระเพาะอาหาร
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • ผายลม

สาเหตุของภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง

  • ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแล็กโทสได้หมด
  • ร่างกายผลิตเอนไซม์แล็กเทสน้อยลง
  • ผลกระทบจากโรคบางชนิดหรือการรักษา
  • เกิดความผิดปกติตั้งแต่เกิด โดยเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่

การวินิจฉัยภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง

แพทย์อาจวิเคราะห์ภาวะนี้ได้โดยดูจากอาการและการตอบสนองของร่างกายผู้ป่วยเมื่อลดปริมาณนมที่ดื่ม หากยังไม่ชัดเจนก็อาจตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
1. ตรวจอุจจาระ
2. ตรวจระดับไฮโดรเจนในลมหายใจ
3. ทดสอบความสามารถในการย่อยน้ำตาลแล็กโทส
4. ตรวจชิ้นเนื้อลำไส้เล็ก

การป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงอาการแพ้แลคโตส

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม หรือรับประทานในปริมาณที่น้อยลง และทานอาหารอื่นๆ ที่แคลเซียมสูงทดแทน
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีแล็กโทสในปริมาณน้อย หรือไม่มีแล็กโทสเลย เช่น โยเกิร์ต นมพร่องมันเนย หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ระบุว่ามีแล็กโทสในปริมาณน้อย เป็นต้น
  • ใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มเอนไซม์แล็กเทสก่อนรับประทานอาหารที่ทำจากนม
  • หลีกเลี่ยงการดื่มนมขณะท้องว่าง เพราะอาการจะเป็นมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าดื่มนมพร้อมอาหาร จะสามารถทนปริมาณแลคโตสได้มากขึ้น
  • หากรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกอาหาร ที่ปราศจากน้ำตาลแลคโตส (Lactose free) หรือแจ้งทางร้านก่อนสั่งอาหาร
  • ใช้นมที่ปราศจาก น้ำตาลแลคโตส (Lactose free milk) หรือใช้น้ำนมที่สกัดจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมมะพร้าว ทนแทนนมวัว
  • ใช้เอนไซม์แลคเตสสังเคราะห์ ทานพร้อมกับเมื่อดื่มนมคำแรก

โรคแทรกซ้อนของการแพ้แลคโตส

หากกังวลกับอาหารที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ควรปรึกษานักโภชนาการเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม