Home สมุนไพร ต้นสาบแร้งสาบกา ช่วยในการขับเสมหะ

ต้นสาบแร้งสาบกา ช่วยในการขับเสมหะ

0
ต้นสาบแร้งสาบกา ช่วยในการขับเสมหะ
ต้นสาบแร้งสาบกา ช่วยในการขับเสมหะ เป็นวัชพืชล้มลุก ใบเดี่ยวรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ดอกมีสีม่วงน้ำเงินหรือขาว ผลทรงกระบอกปลายแหลมเป็นเส้น
สาบแร้งสาบกา
เป็นวัชพืชล้มลุก ใบเดี่ยวรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ดอกมีสีม่วงน้ำเงินหรือขาว ผลทรงกระบอกปลายแหลมเป็นเส้น

สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อนกลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ในปัจจุบันพบขึ้นทั่วไปตามริมถนน ชายป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า ชื่อสามัญ Goat Weed[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Ageratum conyzoides (L.) L. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1] พบมีขึ้นตามธรรมชาติในที่รกร้างข้างทางทั่วไป มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ ในประเทศไทยคือ หญ้าสาบแฮ้ง (เชียงใหม่), หญ้าสาบแร้ง (ราชบุรี), ตับเสือเล็ก (สิงห์บุรี) เทียมแม่ฮาง (เลย), เซ้งอั่งโซว (จีนแต้จิ๋ว), เซิ่งหงจี้ (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของสาบแร้งสาบกา

  • ต้น เป็นวัชพืชเป็นไม้ล้มลุกปีเดียว สูง 1-2 ฟุต กิ่งก้านเป็นสีเขียวอมม่วงเล็กน้อย ทั้งต้นมีขนสีขาวปกคลุม มีกลิ่นเฉพาะตัว สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด[1],[2]
  • ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ แต่ส่วนยอดจะเรียงสลับกัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 7-26 มิลลิเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวและมีขนอ่อนๆขึ้นปกคลุมอยู่ ก้านใบมีขนปกคลุมตลอดทั้งก้าน[1],[2]
  • ดอก ดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ช่อหนึ่งจะมีดอกขนาดเล็กประมาณ 6 มิลลิเมตร มีสีม่วงน้ำเงินหรือขาวและอัดตัวกันแน่นเป็นจำนวนมาก กลีบดอกมีขนาดเล็กเป็นหลอดเส้น ๆ ปลายแหลม เรียงซ้อนกัน 2-3 ชั้น มีขนบริเวณหลังกลีบดอกเล็กน้อย ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ที่ใจกลางของดอก ส่วนปลายมีรอยแยกเป็น 5 กลีบ[1],[2]
  • ผล เป็นรูปเส้นตรงสีดำมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปคล้ายทรงกระบอกปลายแหลมเป็นเส้น มีร่อง 5 ร่อง[1],[2]

สรรพคุณของสาบแร้งสาบกา

1. ใบ สามารถเป็นยาแก้อาการปวดบวมได้ โดยใช้ทาภายนอก (ใบ)[1]
2. นำใบสดนำมาผสมกับน้ำตาลทรายแดง จากนั้นนำมาตำรวมกัน ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลเรื้อรังหรือมีหนองจะสามารถช่วยรักษาได้(ใบ)[1]
3. สามารถทำเป็นยาแก้อาการอักเสบจากพิษงู ตะขาบ แมงป่อง หรือแมลงได้ โดยการใช้รากและใบตำพอกและคั้นเอาน้ำมาใช้(รากและใบ)[3]
4. ใช้ยอดและใบนำมาตำแล้วพอกบริเวณแผลฟกช้ำ แผลสด แผลถลอก มีเลือดออก สามารถช่วยรักษาได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นยาห้ามเลือดได้อีกด้วย(ใบ)[1],[3]
5. ใช้เป็นยาขับระดูของสตรีได้ (ทั้งต้น)[1],[3]
6. ใช้เป็นยาขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ (ทั้งต้น)[2]
7. ใช้เป็นยาแก้บิดได้ (ทั้งต้น)[1],[3]
8. ใช้ยาแห้งนำมาคั่วให้เหลือง แล้วบดให้เป็นผง ใช้ครั้งละ 1.5-2 กรัม นำมาชงกับน้ำดื่มสามารถช่วยรักษาอาการปวดกระเพาะ ปวดท้อง กระเพาะลำไส้อักเสบ จุกเสียดแน่นท้องได้(ทั้งต้น)[2]
9. ทั้งต้นสามารถใช้เป็นยาแก้ลมได้ (ทั้งต้น)[1],[3]
10. ใช้ใบสด 120 กรัม และกากเมล็ดชา 15 กรัม นำมาผสมกันแล้วตำพอกปากที่เป็นแผล[1]
11. สามารถทำเป็นยาหยอดตาแก้อาการตาเจ็บได้ โดยการใช้น้ำที่คั้นจากใบมาทำ(ใบ)[1],[3]
12. การดื่มน้ำที่คั้นจากใบสามารถช่วยทำให้อาเจียนได้ (ใบ)[1],[3]
13. ใช้ใบสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน จะสามารถใช้รักษาไข้หวัดได้ส่วนรากและทั้งต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้เช่นกัน (ใบ, ราก, ทั้งต้น)[1] และอีกวิธีคือให้ใช้ต้นสดประมาณ 70 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม จะสามารถใช้เป็นยาแก้หวัดตัวร้อนได้(ต้น)[2]
14. ใช้ใบสดนำมาตำพอกบริเวณข้อหรือกระดูกที่ปวด จะสามารถช่วยรักษาอาการเหล่านี้ได้(ใบ)[1]
15. การใช้ใบสดประมาณ 120 กรัม และกากเมล็ดชา 15 กรัม นำมาผสมกันแล้วตำพอกบริเวณตาปลาที่อักเสบ จะสามารถช่วยรักษาอาการอักเสบได้(ใบ)[1]
16. หากเกิดผดผื่นคันสามารถใช้ใบ มาตำพอกบริเวณที่คัน จะสามารถช่วยรักษาอาการคันได้(ใบ, ทั้งต้น)[1],[2]
17. ใบสดและยอดใช้รักษาแผลเรื้อรังที่เนื้อเยื่อเมือกบวมอักเสบได้ ด้วยการนำมาล้างน้ำ ผสมกับเกลือและข้าวหมัก ตำให้เข้ากัน ใช้พอกบริเวณที่เป็น (ใบ)[1]
18. ใช้เป็นยาแก้สตรีตกเลือดได้ (ทั้งต้น)[2]
19. ช่วยแก้อาการช่องท้องทวารหนักหย่อนยานได้(ทั้งต้น)[1]
20. สามารถใช้ส่วนรากมาทำเป็นยา ยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนนิ่วได้ (ราก)[1]
21. ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว และมูเซอ ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้อง อาหารเป็นพิษ อาหารไม่ย่อย รวมถึงโรคกระเพาะอาหาร โดยการใช้รากและใบนำมาเคี้ยวกิน หรือต้มกับน้ำดื่ม(รากและใบ)[3]
22. ช่วยแก้อาการท้องขึ้นอืดเฟ้อได้ โดยใช้ใบมาทาภายนอก(ใบ)[1]
23. รักษาอาการคออักเสบได้ โดยการใช้ใบสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาล้างให้สะอาด แล้วคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำตาลกรวด ใช้รับประทานวันละ 3 ครั้ง (ใบ)[1] สามารถใช้เป็นยาแก้คอเจ็บ คออักเสบปวดบวม ต่อมทอนซิลอักเสบ ทางเดินหายใจติดเชื้อได้ (ทั้งต้น)[2]
24. ใช้ยอดสด นำมาคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมาใช้หยอดหูสามารถใช้รักษาหูชั้นกลางอักเสบได้(ใบ)[1] สามารถแก้หูน้ำหนวกได้ (ทั้งต้น)[2]
25. ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว และมูเซอจะทำยาแก้อาการปวดศีรษะ ยาแก้ไข้ ด้วยการใช้รากและใบนำมาต้มกับน้ำดื่ม(รากและใบ)[3]
26. ช่วยในการขับเสมหะได้ (ทั้งต้น)[3]
27. ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ออกฤทธิ์ต่อปอดและหัวใจ เพราะทั้งต้นมีรสเผ็ดขม เป็นยาสุขุม (ทั้งต้น)[2]

วิธีใช้ : ยาสดนำมาตำคั้นเอาน้ำรับประทาน หรือ ใช้ตำพอกรักษาแผลภายนอก
ส่วนยาแห้งนำมาบดเป็นผงใช้โรยตามแผล[2] ยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม ส่วนยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. พบ สารจำพวกน้ำมันระเหย มีกรดอินทรีย์, กรดอะมิโน, โพแทสเซียมคลอไรด์, อัลคาลอยด์, ฟลาโวนอยด์, Ageratochromene, coumarin, β-Sitosterol, friedelin, stigmasterol ได้ทั้งต้น[1],[2]
2. สารสกัดแอลกอฮอล์และน้ำต้มจากทั้งต้นหรือรากมีฤทธิ์ระงับอาการปวด โดยมีความรุนแรงเท่ากับมอร์ฟีน ทราบผลได้จากการทดลองในสัตว์ทดลอง แต่ก็ควรมีการศึกษาวิจัยต่อไป[3]
3. ทั้งต้นมีสารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Staphylococcus aureus[1],[2]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สาบแร้งสาบกา”. หน้า 777-779.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “สาบแร้งสาบกา”. หน้า 522.
3. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สาบแร้งสาบกา”. หน้า 33.
4. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://commons.wikimedia.org/
2. https://www.jatiluhuronline.com/