สมุนไพร

ความสำคัญของสมุนไพร

ในประเทศไทยมีสมุนไพรมากมายหลากหลายชนิด ซึ่งการใช้สมุนไพรนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรมีในตำราแพทย์ตั้งแต่สมัยกรีก อินเดีย ซึ่งในการแพทย์ไทยแผนโบราณนั้นจะนำพืชต่าง ๆ สัตว์ แร่ธาตุต่าง ๆ จากธรรมชาติ มาปรุง มาบด มาตากแห้ง หรืออัดเม็ด มาใช้เป็นสมุนไพร เพื่อนำมาใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ และเป็นยาบำรุงร่างกาย  ซึ่งสรรพคุณของสมุนไพรต่าง ๆ จะแตกต่างกันไป ทั้งรสชาติ กลิ่น สี

Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase (SGOT) คืออะไร? ค่าที่บ่งบอกภาวะตับ

0
Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase (SGOT) คืออะไร? ค่าที่บ่งบอกภาวะตับ SGOT คืออะไร? ความหมาย ค่าปกติ และหน้าที่ในร่างกาย นิยาม SGOT ในทางการแพทย์ SGOT (Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase) หรือที่รู้จักในชื่อ AST (Aspartate Aminotransferase) คือเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่พบได้ในหลายเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยเฉพาะในตับ หัวใจ กล้ามเนื้อ และไต ทำหน้าที่ช่วยในกระบวนการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงานในเซลล์ SGOT ต่างจาก SGPT อย่างไร? แม้ SGOT และ SGPT (หรือ ALT) จะเป็นเอนไซม์ที่ใช้ประเมินสุขภาพตับเหมือนกัน แต่ SGOT พบในอวัยวะหลายส่วน ในขณะที่ SGPT พบเฉพาะในตับเป็นหลัก ทำให้ SGPT มักเฉพาะเจาะจงกับปัญหาตับมากกว่า ส่วน SGOT บ่งชี้ได้กว้างกว่า และอาจสะท้อนปัญหาหัวใจหรือกล้ามเนื้อได้ด้วย ค่าปกติของ SGOT เท่าไหร่? ค่าปกติของ SGOT สำหรับผู้ใหญ่:▸ ผู้ชาย: 10–40 U/L▸ ผู้หญิง: 9–32 U/L ค่านี้อาจแตกต่างกันเล็กน้อยตามห้องปฏิบัติการที่ตรวจ ทำไม SGOT จึงใช้ประเมินสุขภาพตับ? SGOT กับหน้าที่ตับและกระบวนการเผาผลาญ เมื่อเซลล์ตับถูกทำลาย ไม่ว่าจะจากไวรัส แอลกอฮอล์ หรือสารพิษ เอนไซม์ SGOT จะรั่วไหลเข้าสู่กระแสเลือด การตรวจค่าดังกล่าวจึงสามารถสะท้อนการทำงานและความเสียหายของตับในเบื้องต้น ความสัมพันธ์ระหว่างค่า SGOT และ SGPT การประเมินภาวะตับมักพิจารณาค่า SGOT ร่วมกับ SGPT อัตราส่วน SGOT/SGPT มีความสำคัญ เช่น: SGOT/SGPT > 2: มักสัมพันธ์กับโรคตับจากแอลกอฮอล์ SGOT/SGPT < 1: มักพบในภาวะตับอักเสบจากไวรัสการวิเคราะห์อัตราส่วนนี้ช่วยแพทย์จำแนกสาเหตุที่แท้จริงของการทำลายตับ สาเหตุที่ทำให้ค่า SGOT สูงหรือต่ำผิดปกติ ค่า SGOT สูงเกิดจากอะไรได้บ้าง? โรคตับ: ตับอักเสบ (Hepatitis A, B, C), ตับแข็ง, มะเร็งตับ โรคหัวใจ: กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กล้ามเนื้อฉีกขาดหรืออักเสบ: อุบัติเหตุ การออกกำลังหักโหม ยาบางชนิด: ยาพาราเซตามอลในขนาดเกิน, ยาลดไขมัน, ยากันชัก ค่า SGOT ต่ำผิดปกติบ่งบอกอะไร? แม้จะพบได้น้อย แต่ค่า SGOT ต่ำผิดปกติอาจสะท้อน: การขาดวิตามิน B6 (pyridoxine) ภาวะตับเสื่อมระยะท้ายจนไม่สามารถสร้างเอนไซม์ได้ SGOT กับโรคตับชนิดต่าง ๆ SGOT กับโรคตับอักเสบ ในผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ค่า SGOT อาจพุ่งสูงเกิน 10 เท่าของค่าปกติ โดยเฉพาะในระยะเฉียบพลัน ค่าจะสูงและลดลงเมื่อร่างกายเริ่มฟื้นฟู SGOT กับตับแข็ง ในตับแข็ง ค่า SGOT มักจะสูงเรื้อรัง และสัมพันธ์กับอาการอื่น เช่น เหลือง, น้ำในช่องท้อง, แขนขาบวม SGOT กับมะเร็งตับ ค่าจะสูงแต่ไม่จำเพาะ ต้องดูร่วมกับ Tumor Marker เช่น AFP (Alpha-Fetoprotein) และผลภาพถ่าย CT หรือ MRI วิธีการตรวจค่า...

Alkaline Phosphatase (ALP) คืออะไร? ความสำคัญของค่าตรวจตับ

0
Alkaline Phosphatase (ALP) คืออะไร? ความหมาย ค่าปกติ และการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อประเมินสุขภาพตับ–กระดูก Alkaline Phosphatase (ALP) คือเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ โดยพบมากในอวัยวะสำคัญอย่าง ตับ, กระดูก, ท่อน้ำดี, รก, และ ลำไส้ เอนไซม์ ALP ทำหน้าที่ในการเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยหมู่ฟอสเฟตจากโมเลกุลต่าง ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างกระดูก การดูดซึมสารอาหาร และการทำงานของระบบตับและทางเดินน้ำดี ค่า ALP มักถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดทางการแพทย์ที่สำคัญใน Liver Function Test (LFT) หรือชุดการตรวจเพื่อประเมินสมรรถภาพการทำงานของตับ โดยค่า ALP ที่ “สูงหรือต่ำผิดปกติ” สามารถชี้ไปที่ภาวะผิดปกติในร่างกาย เช่น ตับอักเสบ, โรคกระดูก, ภาวะทางพันธุกรรม, หรือ ภาวะขาดสารอาหาร บทความนี้จะพาคุณทำความเข้าใจตั้งแต่พื้นฐานของ ALP ไปจนถึงการตีความผลเลือด, การวิเคราะห์เชิงลึก, ความเชื่อมโยงกับโรคสำคัญ และแนวทางการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คุณสามารถประเมินภาวะสุขภาพตับ–กระดูกของตนเองได้อย่างรู้เท่าทันและแม่นยำ ALP คืออะไร? เอนไซม์พื้นฐานที่มีบทบาทหลายอวัยวะ Alkaline Phosphatase (ALP) เป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญในระบบชีวเคมีของร่างกาย โดยจัดอยู่ในกลุ่ม “เอนไซม์ฟอสฟาเตส” ที่ทำหน้าที่เร่งการแยกหมู่ฟอสเฟตออกจากสารชีวโมเลกุล เช่น ไกลโคโปรตีน, ไกลโคลิพิด หรือกรดนิวคลีอิก การทำงานของ ALP เกิดขึ้นในภาวะที่มีค่า pH เป็นด่าง (alkaline) จึงได้ชื่อว่า "Alkaline Phosphatase" ความสำคัญของ ALP ไม่ได้จำกัดแค่ในระบบตับหรือกระดูกเท่านั้น แต่ยังแทรกอยู่ในทุกระบบที่ต้องการกระบวนการ “ขนส่ง–แปรสภาพ–ย่อยสลาย” ของสารอาหารและโครงสร้างระดับเซลล์ โดยบทบาทเหล่านี้เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดของ ALP ที่หลากหลายภายในร่างกาย แหล่งที่มาของ ALP ในร่างกาย (ตับ, ท่อน้ำดี, กระดูก, รก, ลำไส้) ALP มีอยู่ในหลายอวัยวะและเนื้อเยื่อ โดยที่มีความเข้มข้นสูงใน: ตับ: โดยเฉพาะในผนังท่อน้ำดี (bile duct epithelium) ซึ่งเป็นบริเวณที่ ALP ทำหน้าที่ในการขจัดของเสียผ่านทางน้ำดี กระดูก: Osteoblasts หรือเซลล์สร้างกระดูกผลิต ALP เพื่อช่วยในการแร่ธาตุกระดูก (bone mineralization) รก: โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ที่ ALP จะสูงขึ้นตามการเจริญเติบโตของรก ลำไส้เล็ก: พบ ALP ในผิวเยื่อบุลำไส้ ซึ่งมีบทบาทในการช่วยดูดซึมไขมัน ไต (พบได้น้อยในผู้ใหญ่แต่มีในเด็ก) แม้ ALP จะเป็นเอนไซม์เดียวกัน แต่มี “isoenzymes” ต่างกันตามแหล่งผลิต ทำให้ค่า ALP ที่สูงขึ้นในเลือดต้องตีความร่วมกับบริบททางคลินิกเสมอ หน้าที่ของ ALP ต่อกระบวนการชีวภาพ (แปรสภาพฟอสเฟต, สร้างกระดูก, ช่วยดูดซึมสารอาหาร) หน้าที่ของ ALP สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ด้านหลัก ดังนี้: แปรสภาพฟอสเฟต (Dephosphorylation) ALP ช่วยเร่งการตัดหมู่ฟอสเฟตออกจากสารต่าง ๆ ซึ่งสำคัญในการเปิดใช้งาน/ย่อยสลายโมเลกุลชีวภาพ เช่น ATP → ADP → AMP สร้างกระดูก (Bone Mineralization) ในกระบวนการสร้างกระดูก ALP ที่ผลิตจาก osteoblast...

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal Cancer )

0
มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal Cancer ) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งส่วนใดในลำไส้ใหญ่ส่วนใหญ่พบที่เนื้อเยื่อของลำไส้ใหญ่และทวารหนักชนิดที่พบบ่อยเกิดจากการเจริญเติมโตและแพร่กระจายไปยังที่ลำไส้ใหญ่จนเกิดความผิดปกติของเยื่อบุผิวของลำไส้จนกลายเป็นก้อนเล็ก ๆ เรียกว่า โปลิป โดยเกิดขึ้นตั้งแต่ลำไส้เล็กไปจนถึงส่วนปลายที่ติดกับทวารหนัก และเกิดได้กับเซลล์ทุกชนิด ได้แก่ เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือด กล้ามเนื้อ และเซลล์เยื่อเมือกบุภายในลำไส้ใหญ่ ซึ่งพบได้มากถึงร้อยละ 90 เปอร์เซ็นต์ ลำไส้ประกอบด้วย    1. ลำไส้ใหญ่ ( Colorectal ) ของคนเราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือส่วนที่อยู่ในช่องท้อง เรียกว่า โคลอน และส่วนที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานเรียกว่า ลำไส้ตรง ซึ่งลำไส้ทั้งสองส่วนจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป 2. ลำไส้ที่อยู่ในช่องท้อง ( CA Colon ) จะทำหน้าที่ในการดูดซึม วิตามิน เกลือแร่ น้ำและสารบางชนิดกลับเข้าสู่ร่างกาย เพื่อนำไปใช้ในการบำรุงและฟื้นฟูส่วนต่างๆ ของร่างกายต่อไป และเป็นทางผ่านของกากอาหารอีกด้วย 3. ลำไส้ตรง ( Rectal ) จะมีหน้าที่ในการดูดซึมน้ำ เกลือแร่ ยาและวิตามินเข้าสู่ร่างกาย พร้อมทั้งทำหน้าที่เก็บกักกากอาหารเอาไว้ก่อนจะขับถ่ายออกมาในรูปของอุจจาระ ซึ่งลำไส้ตรงถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก เพราะหากไม่มีลำไส้ส่วนนี้ก็จะทำให้กลั้นอุจจาระไม่อยู่นั่นเอง อาจเกิดมะเร็งลำไส้ตรงได้ >> วิธีสังเกตอาการมะเร็ง >> ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งคืออะไรบ้าง ? อาการและสัญญาณที่บ่งชี้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ คลื่นไส้อาเจียน อาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย การเปลี่ยนแปลงของลำไส้ใหญ่ เช่น ท้องร่วง ท้องผูก เลือดออกทางทวารหนัก หรืออุจจาระเป็นเลือด ความรู้สึกไม่สบายท้องอย่างต่อเนื่อง เช่น เป็นตะคริว ความเหนื่อยล้า น้ำหนักลดผิดปกติ โดยไม่สามารถอธิบายได้ โรคโลหิตจาง หมายถึงการลดจำนวนเม็ดเลือดแดง อาจเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ใครควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทุกคนที่มีอายุ 45 ถึง 75 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็ง รวมทั้งผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และทุกคนที่มีประวัติส่วนตัวประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรคลำไส้อักเสบมะเร็งรังไข่เต้านม หรือเยื่อบุโพรงมดลูก การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำหรือการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและมีไฟเบอร์น้อยทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพิ่มขึ้น ดังนั้น การทดสอบในคนทั่วไปมักไม่แสดงอาการที่บ่งบอกว่าเป็นมะเร็งที่เห็นได้ชัด จึงต้องอาศัยการตรวจอย่างละเอียด โดยวิธีดังต่อไปนี้ คือ 1) การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ (Stool Occult Blood) คือ การตรวจเพื่อค้นหาเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ซ่อนอยู่หรือเพื่อหาเลือดจำนวนเล็กน้อยที่ปนเปื้อนในอุจจาระ 2) การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Colonography) คือ การตรวจเพื่อหาติ่งเนื้อด้วยระบบคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงสร้างภาพ 3 มิติ สาเหตุการเกิดมะเร็งลำไส้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด โดยทางการแพทย์เชื่อว่าโรคนี้น่าจะเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่    มีติ่งเนื้อเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ ซึ่งเมื่อปล่อยไว้เป็นเวลานานก็อาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีหน้าที่ในการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ โดยอาจเป็นชนิดถ่ายทอดได้หรือชนิดไม่ถ่ายทอดก็ได้ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะไขมันเหล่านี้อาจไปเกาะอยู่ในผนังลำไส้และก่อให้เกิดเป็นมะเร็งในที่สุด การทานอาหารที่ไม่มีเส้นใยอาหารหรือมีต่ำมากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เกิดปัญหาในการขับถ่ายและอาจเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ผู้ที่เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โดยจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติทั่วไป คนที่เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อนและรักษาจนหายแล้ว จะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีก โดยอาจเกิดกับลำไส้ส่วนที่ยังไม่เคยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่ติด 10 อันดับมะเร็งที่พบได้บ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชายไทย และมักจะพบได้มากที่สุดในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีอีกด้วย ส่วนในเด็กโตก็มีโอกาสเป็นได้บ้างแต่พบได้ไม่บ่อยมากนัก และชนิดของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มักจะพบได้บ่อยที่สุด ก็คือชนิดอะดีโนซิคาร์โนมานั่นเอง การดื่มสุราหรือเบียร์ การสูบบุหรี่ ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ โดยมีข้อบ่งชี้ของมะเร็งในระยะต่างๆ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งยังไม่ลุกลาม หรือลุกลามอยู่แค่ในผนังลำไส้ใหญ่เท่านั้น ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปสู่อวัยวะและเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียง ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับก้อนมะเร็ง ระยะที่ 4...

มะเร็งอัณฑะ ( Testicular Cancer )

0
มะเร็งอัณฑะ มะเร็งอัณฑะ ( Testicular Cancer ) เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของลูกอัณฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในถุงอัณฑะ บริเวณด้านหลังอวัยวะเพศชายหรือองคชาต เกิดขึ้นได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น เพราะอัณฑะมีเฉพาะในผู้ชาย มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ในถุงอัณฑะ และมีสองข้างซ้ายขวา โดยจะทำหน้าที่ในการสร้างอสุจิและ ฮอร์โมนเพศชายออกมา ซึ่งปกติแล้วการเกิดโรคมะเร็งอัณฑะสามารถเกิดได้กับเซลล์ทุกชนิดในอัณฑะ ได้แก่ เจิร์มเซลล์ เส้นเลือด เซลล์ต่อมน้ำเหลืองและเซลล์ของเนื้อเยื่ออัณฑะ แต่ที่มักจะพบได้มากและบ่อยที่สุด ก็คือ มะเร็งอัณฑะ ที่เกิดจากเจิร์มเซลล์สาเหตุของโรคมะเร็งอัณฑะอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โดยแพทย์วินิจฉัยว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ >> วิธีสังเกตอาการมะเร็ง >> ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งคืออะไรบ้าง ? สาเหตุของมะเร็งอัณฑะ ผู้ชายที่ลูกอัณฑะยังคงอยู่ในช่องท้องน้อยไม่เคลื่อนมาอยู่ในถุงอัณฑะอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งปกติแล้วเด็กแรกเกิดลูกอัณฑะจะอยู่ในช่องท้องน้อยก่อนแล้วจึงเคลื่อนมาอยู่ในถุงอัณฑะเมื่อโตขึ้น ดังนั้นหากไม่เป็นไปตามนี้ ก็แสดงได้ว่าอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งได้สูงถึง 10-40 เท่าเลยทีเดียว มีความผิดปกติทางพันธุกรรมโดยเกิดจากพันธุกรรมชนิดที่สามารถถ่ายทอดได้บางชนิด มีความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้บางชนิด โดยจะเป็นพันธุกรรมที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกติ เชื้อชาติ โดยพบว่าคนชาติตะวันตก จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งอัณฑะได้มากกว่าคนชาติอื่นๆ เคยมีการอักเสบหรือบาดเจ็บที่อัณฑะ ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม มีภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานโรคบกพร่อง โดยเฉพาะการติดเชื้อ HIV ผู้ชายที่เป็นหมันตั้งแต่กำเนิด โดยจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งอัณฑะมากกว่าคนทั่วไป อาจมีความสัมพันธ์กับการที่มารดาทานฮอร์โมนเพศในระหว่างตั้งครรภ์ ขาดสารอาหารบางชนิดที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกาย อายุ โดยปกติแล้วโรคมะเร็งอัณฑะจะพบได้สูงในวัยรุ่นชายจนถึงวัยหนุ่มที่มีช่วงอายุระหว่าง 15-34 ปี โดยอาจเกิดขึ้นกับอัณฑะข้างใดข้างหนึ่งหรือเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองข้างก็ได้ โรคมะเร็งอัณฑะมีหลายชนิด แต่ที่พบได้มากที่สุด ได้แก่ มะเร็งอัณฑะ ที่เกิดจากเจิร์มเซลล์ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองชนิดหลักๆ คือ ชนิดไม่ใช่เซมิโนมา ( Non-Seminoma ) และชนิดเซมิโนมา ( Seminoma ) ซึ่งหากเทียบระดับความรุนแรงแล้ว โรคมะเร็งอัณฑะชนิดไม่ใช่เซมิโนมาจะมีความรุนแรงสูงกว่าชนิดเซมิโนมามาก อาการมะเร็งอัณฑะ อาการมะเร็งอัณฑะยังไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะของโรค แต่จะมีอาการผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะคล้ายกับการอักเสบทั่วไป โดยอาการที่มักจะพบได้บ่อยๆ และสามารถสังเกตอาการมะเร็งอัณฑะได้ว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งอัณฑะ มีดังนี้ อัณฑะบวมกว่าปกติและอาจมีอาการเจ็บร่วมด้วย หรือในบางคนอาจเจ็บอัณฑะอย่างเดียว คลำเจอก้อนเนื้อผิดปกติที่อัณฑะ ซึ่งก้อนเนื้อที่คลำพบอาจมีอาการเจ็บหรือไม่ก็ได้ โดยการวินิจฉัยโรคมะเร็งอัณฑะแพทย์จะสอบถามจากประวัติอาการของผู้ป่วย ทำการตรวจร่างกายและคลำลูกอัณฑะ รวมถึงการตรวจอัลตร้าซาวด์ และเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แน่ชัด แพทย์จะทำการผ่าตัดอัณฑะออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา โดยจะทำให้ทราบว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งอัณฑะหรือไม่และสามารถตรวจระยะของโรคมะเร็งได้อีกด้วย ระยะของมะเร็งอัณฑะ โรคมะเร็งอัณฑะเป็นโรคมะเร็งชนิดที่มีความรุนแรงต่ำ ดังนั้นจึงมีเพียงแค่ 3 ระยะ และมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งยังคงลุกลามอยู่เฉพาะในอัณฑะเท่านั้น หรืออาจลุกลามเข้าสู่ถุงอัณฑะ ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง โดยอาจคลำเจอต่อมน้ำเหลืองโตได้ ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งมีการแพร่เข้าสู่กระแสเลือดและแพร่ไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป โดยส่วนใหญ่มักจะพบที่ปอดและสมองมากที่สุด ซึ่งระยะนี้จะตรวจพบค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ในเลือดสูงมาก การรักษามะเร็งอัณฑะ การรักษาโรคมะเร็งอัณฑะแพทย์จะนิยมใช้วิธีการผ่าตัด ร่วมกับการทำเคมีบำบัดและรังสีรักษาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วยว่าจะใช้วิธีไหน ซึ่งหากผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อการรักษาได้ดีก็จะทำให้รักษาหายง่ายขึ้น แม้ว่าจะเข้าสู่ระยะการแพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไปแล้วก็ตาม แต่หากผู้ป่วยมีอาการดื้อยา ก็จะทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควรได้สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอัณฑะให้พบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกยังไม่มีวิธีที่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแพทย์แนะนำให้หมั่นสังเกตความผิดปกติของตัวเอง โดยหากพบว่าอัณฑะมีอาการเจ็บ บวมหรือคลำเจอก้อนผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วนส่วนวิธีการป้องกันก็ยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ หากพบว่าตั้งครรภ์ลูกชายควรระมัดระวังการบริโภคอาหารและยาในขณะตั้งครรภ์ให้ดี ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเอกสารอ้างอิง Some facts about testicular cancer, American Cancer Society."Marijuana Use Linked To Increased Risk Of Testicular Cancer". Cancer. 115 (6) : 1215–23. PMC 2759698 Freely accessible. Would it be better to use MRI scans instead of CT scans to monitor men with early stage...

มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา

0
มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) คือ โรคมะเร็งที่เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นบริเวณทวารหนัก มีอาการถ่ายเป็นเลือด ปวดและคันบริเวณทวารหนัก เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ค่อนข้างน้อย ซึ่งโรคมะเร็งทวารหนักก็อาจเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกชนิดของทวารหนัก ได้แก่ เซลล์บุภายในทวารหนัก โดยอาจเป็นเซลล์เยื่อเมือกหรือเซลล์เบื่อบุผิวภายนอกก็ได้ กล้ามเนื้อ เส้นเลือดและเซลล์ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น แต่โรคมะเร็งทวารหนักที่พบได้บ่อย มักจะเกิดจากเซลล์เยื่อเมือกบุภายในและเซลล์เยื่อบุผิวภายนอกมากที่สุด มะเร็งทวารหนักมีสาเหตุจาก มะเร็งทวารหนักภาษาชาวบ้านเรียก " มะเร็งตูด " ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคมะเร็งทวารหนัก แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งได้แก่ ทวารหนักเกิดการติดเชื้อเอชพีวี ( HPV ) จึงทำให้เป็นมะเร็งทวารหนักได้ง่าย การมีเพศสัมพันธ์ทาทวารหนักและการสำส่อนทางเพศ รวมถึงคนที่เป็นหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งทวารหนัก และมะเร็งปากทวารหนักมากขึ้นด้วยเช่นกัน ผู้หญิงที่เคยมีประวัติเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งช่องคลอด โดยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งทวารหนักมากกว่าคนทั่วไป ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานต่ำ ทำให้ป่วยมะเร็งทวารหนักง่ายและเป็นโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ( HIV ) จะมีโอกาสเป็นมะเร็งทวารหนักได้สูงด้วย การสูบบุหรี่ เนื่องจากสารพิษในบุหรี่อาจกระตุ้นให้เกิดมะเร็ง เกิดการอักเสบเรื้อรังของทวารหนัก หรือ มีเนื้องอกที่ทวารหนักคล้ายริดสีดวง มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกติ โดยจะเป็นชนิดไม่ถ่ายทอด อายุ โดยจากสถิติพบว่า มะเร็งทวารหนักจะพบได้ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากกว่าวัยอื่นๆ และมีโอกาสเกิดใน ผู้หญิงและผู้ชายเท่าเทียมกันนอกจากนี้มะเร็งทวารหนักก็มีหลายชนิดเช่นกัน แต่ที่พบบ่อยที่สุดจะมี 2 ชนิดคือ ชนิดสความัสและชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา โดยทั้งสองชนิดก็ถูกจัดเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง >> วิธีสังเกตอาการมะเร็ง >> อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็ง อาการของโรคมะเร็งทวารหนัก โรคมะเร็งทวารหนักไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะ แต่มีอาการเหมือนกับการอักเสบทั่วไป โดยอาการที่แพทย์ชี้ว่ามักจะพบบ่อยๆ ในผู้ป่วยมะเร็งทวารหนัก ได้แก่  ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือมีมูกเลือดปนมา มีอาการปวดเบ่งอุจจาระ มีก้อนเนื้อบริเวณทวารหนัก โดยอาจโผล่มาให้เห็นหรือคลำเจอเมื่ออุจจาระ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโตจนคลำเจอได้ โดยอาจพบว่าโตทั้งสองข้างหรือโตข้างเดียว ซึ่งอาการนี้จะพบได้เมื่อมะเร็งลุกลามไปมากแล้วการวินิจฉัยและระยะของโรคการวินิจฉัยโรคมะเร็งทวารหนักแพทย์จะสอบถามจาก ประวัติอาการของผู้ป่วย และทำการตรวจร่างกาย ตรวจทวารหนัก รวมถึงตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อทราบผลการตรวจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยวิธีนี้ก็จะทำให้ทราบระยะของอาการป่วยด้วย มะเร็งทวารหนัก คือ การเกิดเนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็งขึ้นบริเวณทวารหนัก มีอาการถ่ายเป็นเลือด ปวดและคันบริเวณทวารหนัก โรคมะเร็งทวารหนักมีทั้งหมด 4 ระยะ มะเร็งทวารหนักระยะที่ 1 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก ไม่เกิน 2 เซนติเมตร มะเร็งทวารหนักระยะที่ 2 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้นจากเดิม เกินจาก 2 เซนติเมตร มะเร็งทวารหนักระยะที่ 3 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งได้ลุกลามเข้าไปสูงเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียง มะเร็งทวารหนักระยะที่ 4 เป็นระยะที่อันตรายมาก โดยมะเร็งได้มีการลุกลามและแพร่กระจายออกไปสู่อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะปอดและตับ ซึ่งแพร่ผ่านกระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลืองนั่นเอง    การรักษาโรคมะเร็งทวารหนัก การรักษา แพทย์มักจะใช้ 3 วิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด โดยได้แก่การผ่าตัด การใช้รังสีรักษาและการทำเคมีบำบัด แต่อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับอายุและความพร้อมทางด้านสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วย นอกจากนี้ก็มีวิธีการรักษาด้วยยารักษาตรงเป้า  แต่ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษา จึงยังไม่นิยมนำมาใช้มากนัก และเนื่องจากมะเร็งทวารหนักเป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง จะรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับระยะ สุขภาพและอายุของผู้ป่วยด้วย สำหรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งทวารหนักที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบันยังไม่พบ ซึ่งแพทย์แนะนำให้สังเกตความผิดปกติของตัวเองจะดีที่สุด และรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน สำหรับการป้องกัน ก็ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหลายและการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี แต่ก็ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาที่ยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัดเช่นกัน ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. Thun MJ, Hannan LM, Jemal A (September 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy...

มะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษา ( Ovarian Cancer )

0
มะเร็งรังไข่ มะเร็งรังไข่ ( Ovarian Cancer ) อาการจะแสดงออกหลากชนิด มะเร็งรังไข่ จะเกิดที่อวัยวะภายในผู้หญิงเท่านั้น รังไข่ ในเพศหญิงจะอยู่บริเวณอุ้งเชิงกรานหรือช่องท้องน้อย ติดกับส่วนปลายเปิดของปีกมดลูก โดยรังไข่จะทำหน้าที่ในการผลิตเซลล์ไข่ออกมาเพื่อรอการผสมพันธุ์กับตัวอสุจิของผู้ชาย และเกิดการปฏิสนธิจนเป็นทารกในที่สุด รวมถึงมีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงอีกด้วย ซึ่งรังไข่นั้นจะมี 2 ข้างซ้ายขวา และมีโอกาสเป็นโรค มะเร็งรังไข่ ได้ทั้งสองข้าง โดยอาจพบมะเร็งรังไข่ข้างเดียวหรือพร้อมกับทีเดียวทั้งสองข้างเลยก็ได้ อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและระยะของโรคอีกด้วย >> มะเร็งรังไข่สามารถตรวจได้อย่างไร ? >> อาการของระยะมะเร็งต่างๆ รังไข่ก็ประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิด โดยทุกชนิดสามารถเกิดมะเร็งได้ทั้งหมด เช่น เซลล์สร้างไข่ เซลล์สร้างฮอร์โมน เซลล์เนื้อเยื่อบุผิว ( Epitthlium ) เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือดและเจิร์มเซลล์ ( Germ Cell ) เป็นต้น แต่ทั้งนี้ที่มักจะพบได้มากที่สุด ก็คือมะเร็งรังไข่ที่เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว ยกเว้นในวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น มักจะพบมะเร็งรังไข่จากเจิร์มเซลล์ได้มากที่สุด แต่อย่างไรโอกาสที่จะพบมะเร็งรังไข่ในวัยเด็กก็มีน้อยมากเช่นกัน สาเหตุของมะเร็งรังไข่ สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งรังไข่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดเช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน โดยปัจจัยที่ทางแพทย์ชี้ว่าน่าจะเป็นสาเหตุของมะเร็งรังไข่ มีดังนี้ ความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งตัวหรือการตายของเซลล์ปกติทั้งชนิดที่ถ่ายทอดได้และไม่สามารถถ่ายทอดได้ โรคอ้วน เป็นผลให้ฮอร์โมนเกิดการแปรปรวนและส่งผลให้เป็นมะเร็งรังไข่ได้ง่ายเช่นกัน คนที่มีลูกน้อย มีลูกยากหรือไม่มีเลย และได้รับฮอร์โมนกระตุ้นกรณีที่มีบุตรยาก คนที่ประจำเดือนมาเร็วตั้งแต่อายุยังน้อย และประจำเดือนหมดช้ากว่าปกติ เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งเต้านมมาก่อน จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ได้สูง การทานฮอร์โมนเพศบางชนิดอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในช่วงหมดประจำเดือนติดต่อกันเกิน 5 ปี การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่อาจไปกระตุ้นให้เกิดเป็นมะเร็งได้ มีอายุมากขึ้น มีความเครียดสะสม ชนิดของมะเร็งรังไข่ นอกจากนี้มะเร็งรังไข่ยังพบได้บ่อยทั้งในวัยเด็ก  จนถึงวันสูงอายุเลยทีเดียว แต่มักจะพบในวัยใกล้หมดประจำเดือนมากที่สุด ซึ่งชนิดของมะเร็งรังไข่ก็จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ เจิร์มเซลล์ เป็นกลุ่มที่พบได้มากในวัยเด็กและวัยสาว เซลล์เนื้อเยื่อบุผิว โดยจะมี 2 ชนิดย่อยคือ อีพีทีเลียมคาร์ซิโนมา หรือ อะดีโนคาร์ซิโนมา ( Epithelial Carcinoma, Adenocarcinoma ) มักจะพบในวัยผู้ใหญ่มากที่สุด และมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก บริเวณที่เกิดมะเร็งรังไข่ 1.1 มะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ ( Ovarian Epithelial Carcinoma ) มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่เยื่อบุผิวรังไข่ เป็น มะเร็งรังไข่ ที่พบมากที่สุด คือร้อยละ 90 ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด สามารถพบได้ในผู้ที่มีอายุมากแล้ว ตั้งแต่ 56- 60 ปีขึ้นไป มีด้วยกันหลายชนิด ชนิดที่พบมากที่สุดคือชนิดซีรัส ซีสตาดีโนคาร์ซิโนมา มะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ เป็นมะเร็งที่มีรุนแรงสูง เพราะมักจะพบได้ที่รังไข่ทั้งสองข้าง ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 75 มักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการของโรคอยู่ที่ระยะที่ 3 ไปแล้ว จึงทำให้มีโอกาสรอดชีวิตน้อยมาก 1.2 มะเร็งฟองไข่ ( Germ Cell Tumor ) มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ฟองไข่ สามารถพบได้ร้อยละ 5 ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด ชนิดที่พบมากที่สุดมี 2 ชนิด คือ ชนิดดิสเจอร์มิโนมา และอิมเมเชอร์เทอราโทมา มะเร็งรังไข่ในฟองไข่ มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี มีอาการของโรคที่ไม่รุนแรงมากนัก เพราะจะเกิดขึ้นที่รังไข่ข้างเดียว ถ้าหากพบแพทย์เร็วก็มีโอกาสรักษาหายได้มากถึงร้อยละ 60-85 1.3 มะเร็งเนื้อเยื่อรังไข่ ( Sex Cord-Stromal Tumor ) มีจุดเริ่มต้นที่เนื้อเยื่อรังไข่ พบได้ร้อยละ...

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ( Endometrial Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา

0
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ( Endometrial Cancer ) คือ โรคมะเร็งที่เกิดกับเยื่อบุโพรงมดลูก โดยชนิดที่พบได้มากที่สุดก็คือชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา ซึ่งมีความรุนแรงในระดับปานกลาง ส่วนอาการของมะเร็งชนิดนี้ ยังไม่มีอาการที่บ่งชี้เฉพาะได้ แต่สามารถสังเกตได้จากอาการที่มักจะพบได้บ่อยๆ โดยมีความคล้ายคลึงกับการมีประจำเดือนผิดปกติ และมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง  เยื่อบุโพรงมดลูก หรือเยื่อบุมดลูก ( Endometrium ) คือ เยื่อเมือกบุภายในโพรงของมดลูก ซึ่งในคนปกติเยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาประมาณ 5-6.7 มิลลิเมตร เป็นผนังด้านในสุดของมดลูก ซึ่งในแต่ละรอบประจำเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกจะได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่ให้เจริญเติบโตหนาตัวขึ้น เพื่อช่วยปกป้องให้ทารกเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์มารดาอย่างปลอดภัย แต่ถ้าไม่มีการฝังตัวของไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกออก เกิดเป็นประจำเดือน แต่ถ้ามีการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว เยื่อบุโพรงมดลูกจะเจริญกลายเป็นรก ซึ่งเป็นทางผ่านของออกซิเจน และอาหารจากเลือดของแม่สู่ทารก โดยเยื่อบุโพรงมดลูกจะเป็นเนื้อเยื่อที่มีการสร้างขึ้นใหม่และสลายไปอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือในทุกเดือนร่างกายจะมีการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นมา หากไม่มีประจำเดือน ก็จะสลายออกมาเป็นประจำเดือน และมีการสร้างใหม่เพื่อทดแทน>> อาการของระยะมะเร็งต่าง ๆ เป็นอย่างไร มาดูบทความนี้ค่ะ >> วิธีสังเกตอาการมะเร็ง มีวิธีดังนี้ค่ะ ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเติบโตจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน ดังนั้นเมื่อฮอร์โมนเหล่านี้มีมากผิดปกติก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชด้วยซึ่ง ได้แก่ 1. ฮอร์โมนวัยทอง ฮอร์โมนวัยทองมีหลายชนิดและหลายส่วนประกอบ บางชนิดสามารถกระตุ้นมะเร็งได้มาก 2. สมุนไพร สมุนไพรกบางชนิดมีเอสโตรเจนปริมาณสูง เช่น กวาวเครือ และอีกหลายชนิดมีเอสโตรเจนแฝงอยู่โดยไม่รู้ อาจทำให้เลือดระดูออกผิดปกติหรือเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ 3. ความอ้วนในชั้นไขมันของคนเราเป็นที่สะสมของเอสโตรเจน ดังนั้นยิ่งอ้วนมากยิ่งมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากขึ้น 4. ยารักษามะเร็งเต้านม ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัด บางรายแพทย์แนะนำให้รับประทานยาป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ( ทามอกซิเฟน ) ซึ่งยานี้มีลักษณะคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติได้ จึงสมควรได้รับการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด 5. ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เมื่อเป็นมากๆ อาจมีสิว ผิวมัน ขนดกร่วมด้วยกลุ่มนี้มีเอสโตรเจนสูงเช่นกัน    6. โรคเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้ 7. ประวัติพันธุกรรม ญาติสายตรง เป็นมะเร็งสำไส้ใหญ่ 8. ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน อาจส่งผลต่อการป่วยมะเร็งได้เช่นกัน 9. ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน เพราะโรคอ้วนมีผลต่อฮอร์โมน ทำให้การทำงานของมดลูกผิดปกติและอาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ 10. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน รวมถึงผู้ที่มีประจำเดือนเร็วตั้งแต่อายุยังน้อย และผู้ที่หมดประจำเดือนช้าเกินจากอายุ 55 ปีขึ้นไป อาการของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก 1. เลือดออกทางช่องคลอดหลังวัยหมดประจำเดือน 2. ตกขาวผิดปกติและมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ คล้ายกับโรคมะเร็งปากมดลูก 3. ประจำเดือนมาผิดปกติ ในคนที่ยังไม่พ้นวัยหมดประจำเดือน เช่น ประจำเดือนมามาก มาน้อย หรือมาครั้งละหลายวันนานกว่าปกติ 4. คลำเจอมดลูกโตบริเวณเหนือหัวหน่าวในอุ้งเชิงกรานหรือบริเวณช่องท้องน้อย 5. ปัสสาวะมีอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อยเกินไป และมีอาการแสบขัด 6. อุจจาระมีอาการผิดปกติ เช่น ท้องผูกบ่อยๆ และมักจะปวดเบ่งเวลาอุจจาระ 7. มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ระยะของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก สำหรับการวินิจฉัยโรคหรือระยะของโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกแพทย์จะทำการสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย ตรวจร่างกาย และทำการขูดมดลูกเพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น และทราบด้วยว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะไหน โดยมี 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งยังคงลุกลามอยู่ภายในตัวมดลูกเท่านั้น โดยหากพบในระยะนี้จะสามารถรักษาให้หายได้ง่าย    ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลามเข้าสู่ปากมดลูก ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปมาก โดยส่วนใหญ่จะลุกลามเข้าสู่รังไข่ ช่องคลอด เยื่อหุ้มมดลูกและเนื้อเยื่อรอบมดลูกบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือท้องน้อย ระยะที่ 4 เป็นระยะที่อันตรายที่สุด โดยมะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะและทวารหนัก รวมถึงอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป ด้วยการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดและน้ำเหลือง โดยเฉพาะปอด การรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก การรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกนิยมใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อประเมินการลุกลามของโรคและพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม โดยอาจรักษาด้วยการใช้รังสีรักษาหรือการทำเคมีบำบัดร่วมกัน รวมถึงการให้ฮอร์โมน ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับระยะ ความรุนแรงของโรคและสุขภาพของผู้ป่วยเองด้วย ส่วนอีกวิธีหนึ่ง การให้ยารักษาตรงเป้ายังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมโดยยังไม่แน่ชัดว่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษามากแค่ไหน การป้องกันมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ปรึกษาแพทย์เมื่อมีความผิดปกติหลังวัยหมดประจำเดือน ออกกำลังกายเป็นประจำ และควบคุมน้ำหนัก ทานยาคุมกำเนิดอาจลดความเสี่ยงมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (ยาคุมกำเนิดมีผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม) ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ...

มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา

0
มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของผู้หญิง ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งในอนาคต และเป็นโรคมะเร็งที่พบในผู้หญิงมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า ฮิวแมมแปปปิโลมาไวรัส ( Human Papiloma Virus ) หรือเรียกสั้นๆว่า เชื้อ HPV ซึ่งมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตในแต่ละปีเป็นปริมาณมากทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก มะเร็งปากมดลูกที่มีความรุนแรงของโรคสูงหากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ก็แทบจะไม่รู้เลยว่าป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากมักไม่มีอาการป่วยเบื้องต้นใดๆแสดงออกมา  ทำให้กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคชนิดนี้ก็จะอยู่ในช่วงที่อาการเริ่มหนักและรักษาได้ยาก >> มะเร็งปากมดลูกเกิดได้อย่างไร >> มะเร็งที่มับพบในเพศหญิงและไม่ควรมองข้าม ปากมดลูก ( Cervix ) เป็น อวัยวะที่อยู่บริเวณตรงกลางของช่องท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน ตรงกับเนินหัวหน่าว โดยด้านหลังจะติดกับลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ส่วนด้านหน้าจะติดกับกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งปากมดลูกเป็นส่วนปลายของตัวมดลูกและเป็นเนื้อเยื่อในระบบสูตินรีเวช และมดลูกมีหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิและประจำเดือน รวมถึงช่วยในการพยุงการตั้งครรภ์ เพื่อให้ทารกสามารถอยู่ในครรภ์ สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกพบว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า เอชพีวี ( HPV ) โดยเป็นเชื้อที่จะติดต่อกันในขณะมีเพศสัมพันธ์ และนอกจากเชื้อดังกล่าวแล้ว ก็พบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากหลายปัจจัยเสี่ยง ซึ่งได้แก่ การสำส่อนทางเพศ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อไม่ใช้ถุงยางอนามัย การมีลูกมาก ซึ่งจะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากกว่าคนที่มีลูกน้อย สามีมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อน ซึ่งอาจนำเชื้อมาติดภรรยาได้ เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูก อายุ โดยพบว่ามะเร็งปากมดลูกจะพบได้มากที่สุดในคนที่มีอายุ 45-55 ปี เชื้อ HPV คืออะไร? มะเร็งปากมดลูก จากฮิวแมมแปปปิโลมาไวรัส คือ โรคที่เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสชนิดที่เรียกว่า ไวรัสเอชพีวี ( HPV หรือ Human Papillomavirus ) หรือ อาจเรียกว่าไวรัสหูด ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธุ์ในตระกูล ( Family ) Papillomavirus  มีหลายสายพันธุ์ย่อยมากมาย เป็นร้อยๆชนิด  มีทั้งชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งและชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่สายพันธุ์ที่ถือได้ว่ามีความอันตรายและส่งผลร้ายต่อสุขภาพมากที่สุดคือ สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ซึ่งเป็นเชื้อเอชพีวี ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ได้มากถึง 70% เลยทีเดียว    HPV ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร? ปกติแล้วร่างกายของมนุษย์เรา หากมีความแข็งแรงปกติ ก็สามารถที่จะกำจัดเชื้อของ HPV ที่เข้าสู่ร่างกายได้เอง แต่ถ้าวันที่ร่างกายมีความอ่อนแอเกิดขึ้น และไม่สามารถกำจัดเชื้อ HPV ออกจากร่างกายได้ ก็จะส่งผลให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะต้องใช้เวลานานหลายปี หรือหลายสิบปี  กว่าจะทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูกและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด ส่วนมากเราจะพบผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กได้ค่อนข้างน้อย ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอายุที่เกิน 30 ปีขึ้นไป เราสามารถติดเชื้อ HPV ได้อย่างไร? เชื้อเอชพีวี ( HPV ) ชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกโดยส่วยใหญ่จะสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการสัมผัสทางผิวหนัง https://www.youtube.com/watch?v=sfPLe1NliMg อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกยังไม่พบอาการที่ชี้เฉพาะ โดยอาการเริ่มต้นของมะเร็งปากมดลูกจะมีอาการคล้ายกับการอักเสบของมดลูกทั่วไป โดยแพทย์ได้ชี้ถึงอาการป่วยของมะเร็งปากมดลูกที่มักจะพบได้บ่อยๆ จากผู้ป่วยมะเร็งดังนี้ มีตกขาวผิดปกติและมีกลิ่นเหม็น โดยอาจมีอาการคันร่วมด้วย มีเลือดออกมาทางช่องคลอด แต่ไม่ใช่ประจำเดือน ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยอาจมาน้อย มามาก หรือขาดในบางเดือน มีอาการปวดท้องน้อยและปัสสาวะบ่อยจนผิดปกติ ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะที่มะเร็งลุกลามไปมากแล้ว มีอาการท้องผูก มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การวินิจฉัยและการตรวจคัดกรอง การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยกำลังเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่นั้น แพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย และทำการตรวจภายใน เพื่อนำเซลล์จากปากมดลูกไปตรวจแพปสเมียร์ และอาจมีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อผลการตรวจที่แม่นยำมากขึ้นอีกด้วย การตรวจแปปสเมียร์ (  Papsmear หรือ Papanicolaou Test ) การตรวจแปปสเมียร์ ( Papsmear ) คือ วิธีในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกชนิดหนึ่ง เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก...

การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไต

0
เปลี่ยนไต สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย  หรือ ไตทำงานได้น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะต้องได้รับการ เปลี่ยนไตจำนวน 1 ข้าง เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้มีไตใหม่มาคอยทำหน้าที่ทดแทนไตเดิม  ซึ่งไตเดิมไม่สามารถทำหน้าที่ได้แล้วทั้งสองข้าง  เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยเปลี่ยนไต จะมีไตเดิมจำนวน 1 ข้าง และไตใหม่จำนวน 1 ข้าง หากไตใหม่สามารถทำ งานได้ดี เป็นปกติ และไม่มีปฏิกิริยาเหมือนจะต่อต้าน  ผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้องทำการฟอกเลือด หรือ ล้างไตอีกต่อไปการรับบริจาคไต สามารถรับบริจาคได้จากกลุ่มคนเหล่านี้ >> ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ  >> วิธีการรักษาไตวายเรื้อรัง สามารถทำได้อย่างไรมาดูกันค่ะ    ผู้ที่เปลี่ยนไตจะได้รับบริจาคจาก 2 กลุ่ม 1. ผู้บริจาคไตที่เพิ่งเสียชีวิต ผู้บริจาคอวัยะที่เพิ่งจะเสียชีวิต บางแห่งอาจจะต้องรอให้ผู้บริจาคอวัยวะหัวใจหยุดเต้นเสียก่อน  แต่บางที่อาจจะพึ่งการตรวจคลื่นสมองเป็นหลัก  หากสมองตายแล้ว ผู้บริจาคอวัยวะจะสามารถบริจาคอวัยวะได้ทันทีในขณะนั้น ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องรอให้หัวใจหยุดเต้นก็สามารถทำได้  ซึ่งแพทย์จะจัดเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดไต ทันทีที่ผู้บริจาคได้เสียชีวิตลง 2. รับบริจาคจากญาติที่มีชีวิตอยู่ รับบริจาคจากญาติที่มีชีวิตอยู่หรือ บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดไม่ว่าจะเป็น พ่อ – แม่ หรือ ญาติพี่น้อง  ลุง ป้า น้าอา หรือแม้กระทั่งหลาน หากเป็นกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเดียวกัน ย่อมสามารถบริจาคไตให้แก่กันได้ ผู้บริจาคที่มีกรุ๊ปเลือดเดียวกันกับผู้ป่วย หากผลแสดงออกมาว่าเข้ากันได้ ก็สามารถบริจาคไตให้กันได้ เราสามารถบริจาคไตที่ไหนได้บ้าง สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคไต  สามารถแสดงความจำนงได้ที่ศูนย์บริจาคไต  ซึ่งถือได้ว่าเป็นหน่วยงานของสภากาชาดไทย  หรือแม้กระทั่งโรงพยาบาลประจำจังหวัด  หรือ โรงพยาบาลที่มีคณะแพทยศาสตร์   หลังจากที่ผู้บริจาคได้ทำเรื่องเพื่อขอบริจาคไตแล้ว  ควรแจ้งให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดทราบด้วย  ซึ่งญาติและผู้ใกล้ชิด จะคอยทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจ และเซ็นชื่อยินยอม เพื่อให้แพทย์ได้ผ่าตัดเอาไตของผู้บริจาคไปให้กับผู้รับบริจาค หากต้องการบริจาคไตให้ญาติ ต้องตรวจอะไรบ้าง? ผู้บริจาคไต จะต้องได้รับการตรวจร่างกาย เพื่อที่จะสามารถยืนยันได้อย่างแน่ชัด ว่าผู้บริจาคมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ และมีสภาพจิตใจที่เป็นปกติ  ซึ่งผู้บริจาคจะต้องผ่านการตรวจคัดกรอง ดังนี้  1. วัดความดันเลือดและชีพจร  ซึ่งผู้บริจาคจะต้องไม่เป็นความดันโลหิตสูง 2. ต้องตรวจเลือดดูการทำงานของไต  ซึ่งไตต้องปกติและต้องไม่เป็นเบาหวาน 3. ต้องทำการตรวจปัสสาวะ ซึ่งต้องปกติเท่านั้น 4. ตรวจอัลตราซาวน์  ต้องพบว่าไม่มีโรคร้ายแรง 5. ต้องตรวจคลื่นหัวใจอย่างละเอียด 6. ต้องถูกประเมินทางจิตเวช หลังจากที่ได้มีการบริจาคไตให้กับญาติ  ผู้บริจาคควรดูแลตนเองอย่างไร ? เมื่อผู้บริจาคได้รับการผ่าตัดไตออกไปแล้ว  ผู้บริจาคจะเหลือไตเพียงแค่ข้างเดียวเท่านั้น  เพราะฉะนั้น ผู้บริจาคควรระมัดระวัง และควรดูแลตนเอง โดยจะต้องนอนพักฟื้น 2 – 4 สัปดาห์ จึงจะสามารถเริ่มต้นทำงานเบา ๆ ได้  และช่วงในระยะพักฟื้น ควรหมั่นลุกขึ้นเดินบ่อยครั้ง เพื่อบริหารร่างกายแบบค่อยเป็นค่อยไป  อีกทั้งในช่วงระยะแรก ไม่ควรให้ แผลเปียกน้ำเป็นอันขาด เพื่อป้องกันอาการติดเชื้อ และ ผู้บริจาคจะต้องไม่ยกของหนัก นอกจากนี้  ผู้บริจาคควรดูแลสุขภาพให้เต็มที่ เพื่อที่จะสามารถกลับมามีสุขภาพเป็นปกติ และ แข็งแรงเหมือนเดิม หากต้องการบริจาคไตให้กับสภากาชาดไทย ต้องทำอย่างไร ? 1. ผู้บริจาคจะต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ หรือ ควรมากกว่า 18 ปี และไม่ควรอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ 2. ผู้บริจาคจะต้องไม่เป็นความดันโลหิตสูง  และ ไม่เป็นโรคเบาหวาน 3. เมื่อตรวจสภาพร่างกายแล้ว ต้องพบว่าไตของผู้บริจาคสามารถทำงานได้เป็นปกติ  พร้อมทั้งไม่มีประวัติว่าเป็นโรคเรื้อรัง  4. ไม่มีภาวะโรคอ้วน 5. ผ่านการประเมินทางจิตเวช คุณสมบัติของผู้รับบริจาคไต 1. เป็นผู้ป่วยที่กำลังรักษาตนเองด้วยการล้างไตทางช่องท้อง หรือ ต้องทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2. อายุของผู้ป่วยจะต้องไม่เกิน 60 ปี  หากเป็นผู้ป่วยเด็กจะต้องไม่เกิน 5 ปี 3. ผู้ปวยไม่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง 4....

วิธีการบำบัดทดแทนไต ( Kidney Replacement Therapy )

0
การบำบัดทดแทนไต การบำบัดทดแทนไต คือวิธีการรักษาอย่างหนึ่งที่ใช้ทดแทนหน้าที่ของไตในการฟอกเลือดและกรองเลือด ใช้ทำหน้าที่แทนไตเมื่อไตทำงานไม่ได้หรือทำงานได้ไม่เพียงพอ เรียกว่าไตวาย ทั้งไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง การบำบัดทดแทนไตมีหลายวิธี ได้แก่ การแยกสารผ่านเยื่อ การบำบัดทดแทนไตสามารถทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้  1. การบำบัดทดแทนไตแบบการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม หรือ ฮีโมไดอาไลซิส   สามารถทำได้ที่โรงพยาบาล โดยจะต้องทำสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้งด้วยกัน 2. การบำบัดทดแทนไตแบบการล้างไต โดยใช้น้ำยาทางช่องท้อง หรือ ซีเอพีดี  สามารถทำเองได้ที่บ้าน และต้องทำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม ปกติแล้วแพทย์จะอธิบายข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสำคัญให้กับผู้ป่วยและญาติได้ทราบ ไม่ว่าจะเป็นข้อดีหรือแม้กระทั่งข้อเสีย รวมไปถึงการให้คำแนะนำพร้อมทั้งวิธีทำที่เหมาะสม  แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม แพทย์จะพิจารณาตามสภาวะร่างกาย การใช้ชีวิต และภาวะของโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ในกรณีที่ต้องทำการตัดสินใจ ว่าผู้ป่วยจะเลือกฟอกเลือดและทำการล้างไตโดยใช้วิธีใด  ผู้ป่วยสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนกระทั่ง ญาติ  สามารถร่วมตัดสินใจด้วยได้  เนื่องจากผู้ป่วยบางกลุ่มอาจจะทำการตัดสินใจได้ยาก เพราะมีปัญหาทางด้านการเงิน หรือ การใช้สิทธิ์ในแต่ละครั้งผ่านการรักษาโดยตรง >> ผู้ที่บริจาคไตต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง อยากรู้บทความนี้มีคำตอบค่ะ >> ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร อยากรู้มาดูกันบทความนี้ค่ะ สำหรับผู้ป่วยใหม่ที่ยังคงใช้สิทธิ์รักษา 30 บาท สามารถรักษาได้ทุกโรคนั้น  ผู้ป่วยจะสามารถเบิกได้เฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยต้องทำการล้างไตทางช่องท้อง  ถ้าเป็นวิธีการฟอกเลือด ผู้ป่วยจะต้องจ่ายเงินเอง  แต่ข้อสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ  ผู้ป่วยและญาติจะต้องมีความเข้าใจ  การล้างไตจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และต้องทำอย่างถูกต้องเท่านั้น พร้อมทั้งจะต้องสังเกตอาการผิดปกติอยู่ตลอดเวลาร่วมด้วย หากต้องเปลี่ยนจากการล้างไตทางหน้าท้อง ไปเป็นการฟอกเลือดในกรณีที่ผู้ป่วยพบว่า ตนเองจะต้องทำการเปลี่ยน จากการล้างไตทางด้านหน้าท้อง ไปเป็นการฟอกเลือดแทนนั้น  ผู้ป่วยจะต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อบ่งชี้ ผ่านการให้ฟอกเลือดแบบชั่วคราว หรือ ถาวร ดังนี้ ข้อบ่งชี้  ให้ทำการฟอกเลือดแบบชั่วคราว  อาจจะมีอาการอักเสบของช่องท้อง ที่ได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น  ซึ่งกรณีนี้อาจจะเกิดจากเชื้อรา หรือ มีอาการติดเชื้อโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย  ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดอวัยวะในช่องท้อง หรืออาจจะมีไส้เลื่อนที่ยังไม่ได้ทำการแก้ไข  ผู้ป่วยมีช่องทางติดต่อระหว่างอวัยวะภายนอก หรือ ผู้ป่วยมีลักษณะอ้วนมาก  ข้อบ่งชี้ ให้ฟอกเลือดแบบถาวร  เกิดเหตุการณ์น้ำยารั่วออกจากช่องท้องอย่างเป็นประจำ  เยื่อบุทางช่องท้อง ดูเหมือนจะเป็นพังผืดจนไม่สามารถวางสายได้ หรือ รอยของโรค จะส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อมากกว่าปกติทั่วไป  ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง  จนไม่สามารถล้างหน้าผ่านทางหน้าท้องได้ การบำบัดไตทดแทนแบบการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม สำหรับการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม หรือ ฮีโมไดอาไลซิส นั้น  จะต้องทำภายในโรงพยาบาล หรือ ศูนย์หน่วยไตเทียมเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีเครื่องฟอกเลือดโดยประมาณ 460 เครื่อง โดยกระจัดกระจายตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน  รวมไปถึงมูลนิธีต่าง ๆ ร่วมด้วย   หลังจากที่ผู้ป่วยได้ทำการฟอกเลือดแล้ว ผู้ป่วยจะมีลักษณะดีขึ้น สดชื่นขึ้น  พร้อมทั้งมีความสมดุลของน้ำและเกลือแร่เป็นอย่างดี  อีกทั้งยังคงช่วยลดระดับความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย วิธีการฟอกเลือด สำหรับวิธีการฟอกเลือดนั้น  จะเป็นการนำเลือดจากหลอดเลือดดำของผู้ป่วยโดยตรง โดยเฉพาะในบริเวณที่เตรียมหลอดเลือดเอาไว้แล้ว  ซึ่งจะมีการผ่านเข้ามาภายในตัวกรองของเสียของเครื่องไตเทียม  เพื่อให้เครื่องไตเทียมได้ทำการกรองของเสียเสียก่อน สำหรับเลือดที่ถูกกรองแล้วนั้น จะไหลกลับเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดดำอีกครั้ง โดยเฉพาะในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่ได้เตรียมหลอดเลือดเอาไว้แล้ว เช่นกัน  ขั้นตอนการฟอกเลือด 1. ผู้ป่วยจะถูกทำความสะอาดบริเวณแขน และ บริเวณที่จะวางอุปกรณ์ ที่จะมีการฟอกเลือดโดยตรง เพื่อให้ปราศจากเชื้อโรค 2. เจ้าหน้าที่ทำการแทงเข็มจำนวน 2 เข็ม  ซึ่งเข็มแรกจะแทงเข้าไปในหลอดเลือดดำที่ถูกเตรียมเอาไว้  ส่วนเข็มที่สองจะถูกแทงเข้าไปยังหลอดเลือดเส้นเดียวกัน แต่จะอยู่ทางด้านเหนือของทิศทางเลือดำไหล  เพื่อเป็นช่องทางในการนำเลือดที่ดี ที่ได้รับการฟอกแล้ว กลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง 3. เมื่อผู้ป่วยฟอกเลือดเสร็จแล้ว  พยาบาลจะดึงเข็มออกทันที  และใช้ผ้ากอสปราศจากเชื้อ ทำการกดหลอดเลือดไว้ แล้วใช้พลาสเตอร์ปิดเอาไว้ให้แน่น  ส่งผลทำให้เลือดหยุดไหลได้เอง  โดยการฟอกเลือดจะทำสัปดาห์ละ 2 – 3...

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไตวายเฉียบพลันและโรคไตวายเรื้อรัง

0
ภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเฉียบพลัน หรือ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคไตขั้นรุนแรง ย่อมได้รับผลกระทบต่อร่างกายในทุก ๆ ส่วน โดยเฉพาะการเกิด ภาวะแทรกซ้อน ตามมา ดังนี้   พยาธิสภาพโรคไตวายเรื้อรัง อาการภาวะแทรกซ้อน อันเนื่องมาจากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเฉียบพลัน และ โรคไตวายเรื้อรัง ถือได้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกคนที่เป็นโรคชนิดนี้ การระมัดระวังรวมไปถึงการสังเกตอาการของผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลาที่ มีอาการผิดปกติ มีโอกาสช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น เพราะญาติและผู้ป่วยเอง จะสามารถบอกถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับแพทย์ได้ ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจและวินิจฉัยตามอาการ และถ้าค้นพบภาวะแทรกซ้อนและรักษาได้ทันท่วงที ย่อมสามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยได้อย่างแน่นอน 1. อาการผู้ป่วยมีภาวะน้ำท่วมปอด ผู้ป่วยมักจะมีอาการน้ำท่วมปอดเนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้เป็นปกติ หรือ ขับน้ำไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ปวดหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีน้ำภายในร่างกายมากขึ้น บางครั้งก็อาจจะมีผลมาจาก สาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างเช่น ผู้ป่วยอาจจะได้รับน้ำเข้าทางหลอดเลือดเพิ่มเติมหรือมากจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่ผู้ป่วยปัสสาวะออกมาได้น้อยรวมไปถึงผู้ป่วยไม่ได้รักษาความสมดุลของเกลือและน้ำ 2. หัวใจขาดเลือดส่งผลอย่างไรกับไตวาย ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคไตวายมักจะมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่ทั่วท้องอาจจะมีอาการปวดศีระษะ หรือ เวียนศีรษะร่วมด้วย หรือ อาจจะเกิดหัวใจวายขึ้นได้ ในกรณีนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบโดยด่วน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหัวใจวาย อาการของผู้ป่วยโดยรวม คือ มีอาการหอบเหนื่อย สะอึก ใจสั่น รู้สึกเจ็บหน้าอก ปวดกราม ปวดหู ปวดคอหรือช่วงไหล่ ปวดหรือชาที่บริเวณหน้าอก บ่า และแขน ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเป็น ๆ หาย ๆ ได้เช่นกัน>> ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร บทความนี้มีคำตอบค่ะ >> อาการของโรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ 3. ผู้ป่วยมีภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง ในกรณีนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากไตได้ขับของเสียออกน้อยลง ส่งผลทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ หรือ เต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาทีเนื่องจากมีโปแตสเซียมในเลือดสูงหรืออาจมีภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยไตวาย มักมีอาการน้ำท่วมปอดเนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้เป็นปกติหรือขับน้ำไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีน้ำภายในร่างกายมากขึ้น 4. ผู้ป่วยที่มีอาการความดันเลือดสูงขึ้นจนผิดปกติ 4.1 ความดันเลือดสูงขึ้นไม่มากเท่าไหร่นัก ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการอะไรมากนัก 4.2 ความดันเลือดสูงมากขึ้น แถมโพแทสเซียมก็ยังคงสูงตามไปด้วย ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดท้อง เป็นตะคริวง่าย และอาจจะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ ชีพจรเต้นเร็ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเวียนหัวร่วมด้วย บวกกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง 4.3 ผู้ป่วยมีโซเดียมต่ำร่วมด้วย ซึ่งในกรณีนี้ร่างกายของผู้ป่วยจะมีน้ำคั่ง มีอาการสับสน หมดสติ ท้องเดิน แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีโซเดียมสูง ผู้ป่วยจะมีอาการชา กระตุก มือจีบ เป็นต้น 4.4 หากผู้ป่วยมีแมกนีเซียมสูง ฟอสเฟตสูง ผู้ป่วยจะมีอาการง่วงซึม หัวใจเต้นช้าลง 5. ผู้ป่วยที่มีภาวะซีดหรือมีภาวะเลือดจาง  สามารถพบกรณีนี้ได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ส่งผลทำให้อาการภาวะไตวายรุนแรงขึ้น ซึ่งสภาวะเลือดจาง หรือ เลือดซีด จะส่งผลทำให้เซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย ได้รับออกซิเจนน้อยลงกว่าเดิม หรือ ไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และ ขี้หนาว ซึ่งผู้ป่วยไตวาย ยังสามารถมีภาวะซีดมาจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ ดังนี้ ภาวะขาดสารอาหาร ผู้ป่วยที่เสียเลือดไปกับการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม ผู้ป่วยที่เสียเลือดไปกับการเจาะเลือดบ่อย ๆ ผู้ป่วยที่เสียเลือดในทางเดินอาหาร ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกง่าย ผู้ป่วยเสียเลือดระหว่างการฟอกเลือด ผู้ป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย 6. ผู้ป่วยที่มีภาวะยูเรียหรือระดับยูเรียสูงมาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะไม่สมดุลของค่าอีเล็คไตรไลท์ โดยมีโซเดียม ไนโตรเจน โพแทสเซียม ฟอสเฟต และน้ำคั่ง แถมเลือดยังเป็นกรดอีกด้วย 7. ผู้ป่วยที่ระบบประสาทส่วนปลายอักเสบ จนถูกทำลาย ผู้ป่วยมักจะมีอาการร้อนที่บริเวณเท้า เมื่อแตะเท้าจะรู้สึกเจ็บปวด ส่งผลทำให้ผู้ป่วยต้องขยับเท้าอยู่ตลอดเวลา ส่งผลทำให้เกิดการทรงตัวที่ไม่ดี 8. ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน โดยมีสาเหตุมาจาก ไตเสียหน้าที่ที่จะสังเคราะห์วิตามินดี ( Vitamin D )...

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย

0
อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย ผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย  มักจะต้องได้รับโภชนาการที่ดีและมีความเหมาะสม กับช่วงระยะของอาการไตวายที่ผู้ป่วยเป็นอยู่  ซึ่งการรับประทานโภชนาการที่ดีและมีความเหมาะสมนั้น จะช่วยทำให้ลดอัตราการเจ็บป่วย ตลอดจนกระทั่งลดอาการแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่ง อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย จะถูกจำกัดสารอาหารต่างๆตามระยะของโรค การควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายระยะที่ 1 – 3 ต้องจำกัดโปรตีน ไขมัน น้ำตาล และเกลือ อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายระยะที่ 4 – 5 ต้องจำกัดและควบคุมอาหารมากขึ้น  ต้องระมัดระวังเรื่องฟอสเฟต และ โพแทสเซียม อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย หลังจากที่ได้รับการปลูกถ่ายไต  จะต้องควบคุมอาหารเหมือนกับผู้ป่วยไตวายระยะที่ 1 – 3  ซึ่งจะต้องพิจารณาไตใหม่ด้วยว่า สามารถทำงานได้ดีหรือไม่ อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายหลังจากล้างไตหรือทำการฟอกเลือด   ผู้ป่วยอาจจะรับประทานอาหารโปรด ตามใจผู้ป่วยได้บ้างแต่ต้องไม่มาก  เพราะจำเป็นจะต้องควบคุมอาหารต่อไปเรื่อย ๆ  ถึงแม้ว่าจะทำการล้างไตแล้วก็ตาม  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทำให้การทำงานของไตกลับมาเป็นเช่นเดิมได้ทั้งหมด อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายจากการการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม   สามารถทำได้ในช่วงเวลา 8 – 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  สามารถกำจัดของเสียได้เพียง 6 – 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายจากการล้างไตทางด้านหน้าท้อง   ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้าน สามารถทำได้ทุกวัน  วิธีนี้จะสามารถกำจัดของเสียได้ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ของไตปกติ >> โปรตีนมีความสำคัญมากแค่ไหนต่อร่างกาย อยากรู้ตามมาดูกันค่ะ >> โปแตสเซียมในร่างกายมีความจำเป็นอย่างไร อยากรู้หาคำตอบได้ที่บทความนี้ สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง มีโอกาสขาดสารอาหาร 1. โรคไต ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเบื่ออาหาร 2. การจำกัดอาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย ส่งผลทำให้เหลือแต่เมนูอาหารรสจืด และ มีเมนูอาหารน้อยลง  ทำให้ผู้ป่วยเบื่อที่จะรับประทานอาหาร และอยู่ในสภาวะเครียด 3. มีการสูญเสียสารอาหารต่าง ๆ ไปกับการบำบัดไต  โดยเฉพาะโปรตีน 4. ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อ จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียโปรตีนมากยิ่งขึ้น  โปรตีนที่ผู้ป่วยไตวายต้องการ โปรตีน นับได้ว่าส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ และ เนื้อเยื่อภายในร่างกาย และโปรตีนยังคงมีความจำเป็นในการเสริมสร้างฮอร์โมน ภูมิต้านทาน และกระบวนการซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายของคนเราทั้งหมด เมื่อมีการย่อยสลายโปรตีนที่เราได้รับประทานเข้าไปในแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดของเสียในรูปแบบยูเรีย  ทำให้เป็นสาเหตุที่จะต้องจำกัดโปรตีน  โดยเฉพาะในช่วงหลังจากที่ผู้ป่วยได้ทำการล้างไต หรือ ทำการฟอกเลือดแล้ว  ผู้ป่วยจะสามารถเพิ่มโปรตีนขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผู้ป่วยไตวายระยะที่ 1 – 3  ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่ขาดสารอาหาร แต่ต้องการโปรตีนประมาณ 0.6-0.8 กรัม หรือ วันละ 6 – 8 ช้อนโต๊ะ ซึ่งระดับยูเรียจะต้องเพิ่มขึ้นไม่เกินวันละ 20 มก./ดล.เท่านั้น ผู้ป่วยไตวายระดับที่ 4 – 5   ในกลุ่มผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง  มักจะต้องการโปรตีนประมาณ 0.6-0.8 กรัมต่อวัน  ส่วนผู้ป่วยที่ทำการฟอกไต  ควรได้รับโปรตีน 1.1 - 1.4 กรัมต่อวัน โปรตีนแบบไหนที่ส่งผลดีต่อผู้ป่วยไตวาย โปรตีนที่มีความสมบูรณ์และมีกรดอะมิโนอย่างครบถ้วน  ส่วนใหญ่แล้วจะได้มาจากเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ที่สามารถย่อยได้ง่าย  ไม่ว่าจะเป็นไข่ขาว กบ กุ้ง และ ไก่  รวมไปถึงกรดไขมันชนิดดี ได้แก่ โอเมก้า 3 โปรตีนจากพืช  อย่างเช่น  ถั่วชนิดต่าง ๆ เต้าหู้  เป็นต้น โปรตีนภายในถั่วเมล็ดแห้ง  อาจจะต้องระวังโพแทสเซียม และ ฟอสฟอรัส โปรตีนจากไข่ขาว  สามารถทดแทนเนื้อสัตว์ที่ขาดไปได้ ซึ่งไข่ขาวจำนวน 1 ฟอง จะเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์สุกแล้ว 1 ช้อนโต๊ะ การพิจารณาว่าผู้ป่วยได้รับโปรตีนเพียงพอหรือยัง  มีวิธีดังนี้ ประเมินจากสภาพร่างกายของผู้ป่วย...

การวินิจฉัยโรคไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง

0
วินิจฉัยโรคไต การ วินิจฉัยโรคไต แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคไตตามขั้นตอนโดยจะต้องอาศัยข้อมูล พร้อมทั้งประวัติและอาการของผู้ป่วยที่แสดงได้อย่างชี้ชัด  พร้อมทั้งผลการตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย  1. แพทย์ทำการซักประวัติ พร้อมทั้งอาการป่วย ซึ่งแพทย์อาจจะสอบถามผู้ป่วยว่ามีอาการอย่างไรบ้าง  ปัสสาวะได้ดีแค่ไหน และมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เป็นต้น 2. แพทย์ทำการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุ แพทย์อาจดูผิวหนัง รวมไปถึงอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง ดูลักษณะของทรวงอก การหายใจที่มีกลิ่นยูเรีย การค้นพบความดันเลือดต่ำ หรือ หัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย  หรือ ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ การค้นพบอาการปากอักเสบ  ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อุจจาระร่วง เป็นต้น เมื่อฟังเสียงปอดแล้วมีเสียงกรอบแกรบ ปัสสาวะน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรภายใน 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีอาการสับสน ซึม หรือ หมดสติ 3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เจาะเลือด เพื่อตรวจดูการทำงานของไต และดูค่าบียูเอ็น และ ครีเอตินีน พร้อมทั้งตรวจดูของเสียคั่งค้าง การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจปัสสาวะ ว่ามีไข่ขาว หรือ สารเคมี พร้อมทั้งสิ่งปกติหรือไม่ 4. การประเมินอาการความรุนแรงของโรคไตวาย  การตรวจดูค่าครีเอตินีน เคลียรานส์  พร้อมทั้งเจาะเลือดหาค่าครีเอตินีน เจาะเลือดตรวจอีเลคโตรไลท์  เพื่อดูค่าโซเดียม โพแทสเซียม ฟอสเฟต และสภาวะเลือดเป็นกรด ค่าปกติของโปรตีนและค่าอัลบูมินจากปัสสาวะ ปกติแล้ว ค่าโปรตีนรวมในปัสสาวะ ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ค่าปกติน้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน ค่าโปรตีนรวมในปัสสาวะเพียงแค่ครั้งเดียว  ค่าปกติน้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน ค่าอัลบูมินในปัสสาวะ ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ค่าปกติต้องน้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวัน  ส่วนไมโครอัลบูมิน  ค่าจะอยู่ที่ 30-300 มิลลิกรัมต่อวัน ค่าอัลบูมินในปัสสาวะเพียงแค่ครั้งเดียว ค่าปกติจะน้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวันส่วนไมโครอัลบูมินจะอยู่ที่ 30 -300 มิลลิกรัมต่อวัน >> ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร อยากรู้มาดูกัน >> วิธีการรักษาไตวายเรื้อรังทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ การวินิจฉัยโรคไตวายและแยกแยะโรคที่มีอาการใกล้เคียง ในกรณีที่ ไตวายเฉียบพลัน  มักจะมีอาการรุนแรง และ เฉียบพลันส่วน ภาวะไตวายเรื้อรัง  เป็นอาการป่วยที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจง ไม่ได้เฉียบพลัน  ซึ่งอาการส่วนใหญ่อาจจะเกิดขึ้นจากโรคชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย  จำเป็นจะต้องตรวจดูการทำงานของไตเป็นหลักการแยกแยะโรค ผู้ป่วยและญาติจำเป็นจะต้องสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งดูความสัมพันธ์ที่อาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้นได้  เพื่อที่จะสามารถแจ้งอาการทั้งหมดให้แพทย์ทราบได้อย่างละเอียด ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคไตและแยกแยะได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ หากผู้ป่วยและญาติ สามารถบอกอาการได้มากพอและมีความชัดเจน    โรคที่มีอาการใกล้เคียงกับโรคไตวาย 1. อาการปวดบั้นเอว  อาจจะมีอาการปวดร้าวไปถึงขาหนีบ  ซึ่งอาจจะเกิดมาจากโรคถุงน้ำในไต ซึ่งสามารถแยกโรคนี้ออกจากโรคไตวายได้เช่นกัน 2. อาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือ เป็นน้ำล้างเลือด และมีอาการปวดบั้นเอวร่วมด้วย อาจจะเกิดจากโรคมะเร็งที่ไต  มีนิ่วในไตหรือทางเดินปัสสาวะ  มีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ  มีก้อนนิ่วหลุดออกมา เป็นต้น 3. อาการปัสสาวะน้อย หรือ ไม่มีปัสสาวะ อาจจะเป็นโรคที่เกิดจาก เลือดออกในทางเดินอาหารมาก  กระเพาะอาหารทะลุ  ร่างกายขาดน้ำมาก เนื่องจากท้องเสีย  ทางเดินปัสสาวะอุดกั้น  มีอาการต่อมลูกหมากโต  การบวมบริเวณท่อปัสสาวะโดยตรง  กระเพาะปัสสาวะอักเสบ  ผู้ป่วยหลังทำการผ่าตัด หรือ ผู้ป่วยฉีดยาเข้าเส้นประสาทหรือไขสันหลัง  เป็นต้น 4. อาการบวม  สามารถพบได้ในโรคหน่วยไตอักเสบ ,โรคไตเนฟโฟรติก โรคตับเรื้อรัง ภาวะหัวใจวาย โรคท่อน้ำเหลืองอุดตัน บวมจากอาการแพ้ยา 5. อาการซีด...

การรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน 

0
โรคไตวายเฉียบพลัน โรคไตวายเฉียบพลัน ถือได้ว่าเป็นโรคภัยที่รุนแรงผู้ป่วยจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาตัวอย่างเร่งด่วนทันที  หากล่าช้าอาจจะส่งผลต่อชีวิตได้ แต่ถ้าหากสามารถรักษาได้อย่างถูกต้อง และทันเวลา ไตจะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา และสามารถทำงานได้เป็นปกติภายใน 3 วัน แต่ถ้าหากปล่อยให้ไตถูกทำลายมากๆ อาจจะส่งผลทำให้เป็นโรคไตวาย  เรื้อรังได้เช่นเดียวกัน  กระบวนการรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน 1. ค้นหาสาเหตุของโรคไตวายเฉียบพลัน  การแก้ไขสภาวะช็อค หากค้นพบว่าร่างกายขาดน้ำและขาดเลือด  จะมีการรักษาโดยการให้เลือดและสารน้ำ หรือ พลาสม่า อย่างรวดเร็ว มีการให้ยาแก้อักเสบติดเชื้อ หยุดรักษาด้วยยาที่ส่งผลทำให้เกิดอาการไตวาย หากค้นพบว่ามีสาเหตุมาจาก การเกิดภาวะอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะทำการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดอาการไตวาย ในรูปแบบเบื้องต้น แล้วจึงค่อย ๆ รักษา โดยการหยุดภาวะอุดตันที่เกิดขึ้น 2. การรักษาโรคไตวายเฉียบพลันโดยใช้ยา เพื่อรักษาอาการโรคไตวายเฉียบพลัน ส่งผลทำให้ไตสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น หรือ เป็นการช่วยเพิ่มปริมาณของปัสสาวะให้มากกว่าเดิม  โดยอาจจะใช้ยาเพื่อกระตุ้นหลอดเลือด หรือ ใช้ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น 3. การรักษาอาการโรคไตวายเฉียบพลันแบบประคับประคอง รวมไปถึงมีการรักษาอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 4. หากอาการของผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลันยังคงไม่ดีขึ้น  อาจจะมีการรักษาด้วยการฟอกเลือด  เพื่อที่จะทำการขับของเสียออกจากร่างกาย  โดยต้องทำสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง การควบคุมอาหารและน้ำ ในผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลัน ผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลัน มักจะขาดสารอาหาร  เนื่องจากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนบ่อยครั้ง  รวมไปถึงมีการสลายตัวของโปรตีนภายในร่างกาย   ซึ่งในช่วงที่โรคไตวายเฉียบพลันแบบรุนแรง จำเป็นจะต้องจำกัดน้ำและอาหาร ที่ส่งผลและ เพิ่มภาวะให้กับไต  แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว  การจำกัดน้ำและอาหาร สามารถผ่อนหรือเบาลงได้ตามความเหมาะสม  วิธีการรักษาภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะเลือดเป็นกรด สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน และ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง  เนื่องจากไตไม่สามารถทำหน้าที่ในการขับกรด  พร้อมทั้ง โพแทสเซียม ออกจากร่างกายได้ หากผู้ป่วยมีอาการภาวะเลือดเป็นกรดอยู่นาน จะส่งผลทำเกิดการสร้างกระดูกที่ลดลง ส่งผลทำให้สูญเสียมวลเนื้อเยื่อได้ในที่สุด  ส่วนวิธีการรักษา มีดังต่อไปนี้ 1. มีการให้ยา เคเอกซาเลท  แพทย์ส่วนใหญ่จะต้องระมัดระวังการให้ยาชนิดนี้แก่ผู้ป่วย เพราะจะส่งผลทำให้โซเดียมสูงขึ้นได้  ทำให้เกิดภาวะบวมตามมา และ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน 2. ในช่วงที่ซีรั่มไบคาร์บอเนตในเลือดต่ำกว่า 10 มิลลิอีควาเลนซ์ต่อลิตร  แพทย์อาจจะให้ยาโซเดียมไบคาร์บาเนต ในปริมาณที่ต่ำกว่าการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ หลังจากนั้นอาจจะมีการปรับขนาดของยา 3. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด หรือ โพแทสเซียมในเลือดสูงได้  แพทย์อาจจะต้องทำการล้างไต หรือ ฟอกเลือด>> โปแตสเซียมในร่างกายมีความจำเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ >> ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ วิธีการรักษาภาวะโพแทสเซียมสูง ภาวะโพแทสเซียมสูง สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันขั้นรุนแรง หรือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง  ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อตามร่างกายสูงมาก  ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลดลงได้ รวมไปถึงผู้ป่วยอาจจะมีอาการอ่อนแรง  คลื่นไส้ และ ท้องเดิน ส่วนวิธีการรักษา มีดังต่อไปนี้    1. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง   แพทย์อาจจะให้ควบคุมอาหาร ถ้าไม่ดีขึ้นจึงจะให้ยาไปรับประทาน 2. ผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง  แพทย์อาจจะให้ควบคุมอาหาร พร้อมกับให้ยาไปรับประทานร่วมด้วย 3. ผู้ป่วยที่มีโพแทสเซียมสูงอย่างรุนแรง  แพทย์จะให้ยาสองตัว ซึ่งเป็นยาที่ช่วยดึงโพแทสเซียมเข้าสู่เซลล์ภายในร่างกาย  กับ ยาที่ช่วยขับโพแทสเซียมออกจากร่างกาย  ซึ่งออกทางปัสสาวะ 4. ผู้ป่วยจะต้องระมัดระวังการรับประทานอาหาร ที่ส่งผลทำให้เกิดโพแทสเซียมสูง และจำเป็นจะต้องระมัดระวังยาที่ทำให้โพแทสเซียมสูงขึ้นด้วย 5. ผู้ป่วยจะต้องติดตาม ดูค่าโพแทสเซียมในเลือดอย่างเป็นประจำ การรักษาภาวะฟอสเฟตสูง สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ช่วงระยะที่ 3 ขึ้นไป มักจะมีความเสี่ยงต่อระดับของค่าฟอสเฟสภายในเลือด ซึ่งอาจจะสูงกว่า 7.0 มิลลิกรัม ผู้ป่วยที่มีภาวะฟอสเฟสสูง  สามารถรักษาได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยจะต้องจำกัดปริมาณฟอสเฟตจากอาหาร ซึ่งผู้ป่วยจะต้องงดอาหารที่มีฟอสเฟตสูงเป็นสำคัญ 2. ผู้ป่วยจะต้องเสริมอาหารที่มีแคลเซียมสูง โดยจะต้องรับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น 3. ผู้ป่วยจะต้องคุมระดับแคลเซียมและฟอสเฟตในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติ  ซึ่งค่าแคลเซียมจะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 9.0 – 10.2 มิลลิกรัม%   ส่วนค่าฟอสเฟต  จะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง...

ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก

0
ไขกระดูก คืออะไร? ไขกระดูก คือ เนื้อเยื่อที่อยู่ภายในโครงกระดูกทุกชิ้นภายในร่างกายของคนเรา โดยที่ไขกระดูกจะมีหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และ เกล็ดเลือด อีกทั้งไขกระดูก ยังประกอบไปด้วยเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดชนิด ต่าง ๆ อีกด้วย สเต็มเซลล์ คืออะไร? สเต็มเซลล์ คือ เซลล์ตัวอ่อน ที่มีอยู่ภายในเนื้อเยื่อ หรือ อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายของคนเรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ทำให้มีคุณสมบัติในการแบ่งตัว สามารถเจริญเติบโต และคอยทำหน้าที่ได้เหมือนกับเซลล์ และ เนื้อเยื่อ พร้อมทั้งอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายของเราได้ เมื่อมีการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เกิดขึ้น สเต็มเซลล์ที่ถูกปลูกถ่ายจึงสามารถเจริญเติบโต จนกลายเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะในส่วนต่าง ๆ ได้นั่นเอง ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ซึ่งในปัจจุบัน การปลูกถ่าย ไขกระดูก หรือ ปลูกถ่าย สเต็มเซลล์ นั้น ถือได้ว่ามีวิธีการรักษาและทำการปลูกถ่ายที่ดีและมีประสิทธิภาพ ทำให้การปลูกถ่ายไขกระดูก หรือ สเต็มเซลล์ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่สำหรับโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ยังคงไม่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูก หรือ สเต็มเซลล์ได้ ซึ่งอยู่ในช่วงของการศึกษาอยู่เช่นกัน>> สเต็มเซลล์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร ? >> ไขกระดูกเมื่อถูกการฉายรังสีจะเกิดผลกระทบอย่างไร ? >> เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความสำคัญอย่างไร ? ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) และ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) ด้วยการปลูกถ่าย ไขกระดูก หรือ สเต็มเซลล์ จะใช้รักษาเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งสองชนิดนี้ ที่อยู่ในช่วงของโรคที่มีระดับความรุนแรงสูง อย่างเช่น โรคอยู่ในช่วงดื้อยาเคมีบำบัด โรคมีโอกาสที่จะย้อนกลับมาเป็นซ้ำ เป็นต้น วิธีการปลูกถ่ายไขกระดูก และ สเต็มเซลล์ นับได้ว่าเป็นการรักษาโดยจะมีการกำจัดไขกระดูก ที่ยังคงมีโรคหรือเชื้อของโรคมะเร็งอยู่ให้หมดไป ซึ่งการกำจัดที่ว่านี้จะทำได้ด้วยเคมีบำบัด บางครั้งอาจจะมีการกำจัดร่วมกันกับการฉายรังสีรักษา ซึ่งภายหลังจากที่ได้กำจัดแล้ว จะต้องมีการปลูกถ่ายเซลล์ ไขกระดูก และ สเต็มเซลล์ เข้าไปแทนที่ทันที โดยจะมีการส่งเซลล์ปกติให้กับผู้ป่วยทางหลอดเลือดดำ คล้ายคลึงกับการให้เลือด โดยที่เซลล์จะเข้าไปเจริญเติบโตภายในโพรงกระดูก จนกระทั่งกลายเป็นเซลล์ไขกระดูกแบบปกติ เซลล์ไขกระดูก และ สเต็มเซลล์ ได้มาจากที่ไหน? เซลล์ไขกระดูก และ สเต็มเซลล์ ส่วนใหญ่แล้วจะได้มาจากหลายทางด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น เซลล์จากตัวผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งแพทย์จะมีวิธีเก็บจากเลือดของผู้ป่วย ซึ่งเรียกว่า ฟีรีซีส ซึ่งได้มาจากเลือดภายในสายสะดือ ซึ่งจะถูกเก็บไว้ตั้งแต่แรกเกิด หรือ อาจจะเป็น ไขกระดูก ของคนภายในครอบครัว หรือ คนอื่น ๆ ที่มีเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งร่างกายของผู้ป่วยจะต้องยอมรับ และ เข้ากับผู้ป่วยได้เท่านั้น ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้เฉพาะสเต็มเซลล์จากแหล่งที่มีความพร้อมเท่านั้นอีกด้วย ช่วงของการรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูก และ สเต็มเซลล์ ในส่วนของการรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่าย ไขกระดูก และ สเต็มเซลล์ ถือได้ว่าเป็นการรักษาที่ค่อนข้างจะยุ่งยาก มีความซับซ้อน และจำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานเป็นเดือน ๆ ซึ่งในช่วงที่อยู่ในผู้ป่วยเข้ารับการรักษานั้น ผู้ป่วยจะต้องอยู่ห้องแยกไปจากผู้ป่วยโดยทั่วไป อีกทั้งในระหว่างที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอยู่นี้ อาจจะต้องพบเจอกับสภาวะแทรกซ้อนที่ค่อนข้างจะรุนแรง อาจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้เช่นกัน หากผู้ป่วยอยู่ในช่วงที่ไขกระดูกและสเต็มเซลล์ยังไม่เจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และผู้ป่วยมีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง เนื่องจากร่างกายขาดเม็ดเลือดขาว จนไม่สามารถควบคุมได้ และยังคงขาดเกล็ดเลือดของผู้ป่วยอยู่ ส่วนค่าใช้จ่ายในการรักษา ถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ผู้ป่วยบางกลุ่มอาจจะไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการนี้ได้ ซึ่งปัจจุบันแพทย์และโรงพยาบาลได้พยายามตั้งมูลนิธิขึ้นมา เพื่อที่จะมีเงินบริจาคให้กับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยวิธีการนี้โดยตรง ร่วมตอบคำถามกับเรา บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเอกสารอ้างอิง "Palliative care. Clinical practice guidelines in oncology". Journal of the...

กรดแพนโทเธนิคหรือวิตามินบี 5 คืออะไร ( Pantothenic Acid หรือ Vitamin B5 )

0
วิตามินบี 5 วิตามินบี 5 นั้นมีหลายชื่อเรียก เช่น กรดแพนโทเธนิค, กรดแพนโทเทนิก, วิตามินบี5, Calcium Pantothenate, Vitamin B5 , Pantothenic Acid API ซึ่งก็คือวิตามินที่เริ่มมีการค้นพบขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ.1938 โดย ดร.วิเลียม ( Dr.R.R.William ) ซึ่งได้ค้นพบจากการแยกกรดชนิดนี้ออกมาจากตับและยีสต์ พร้อมกับตั้งชื่อกรดชนิดนี้ตามคำ ภาษากรีกว่า Panthos และเรียกโดยทั่วไปว่ากรดแพนโทเธนิค โดยต่อมาในปี ค.ศ.1950 ลิปแมน (Lipmann) ก็ได้ค้นพบเพิ่มเติมอีกว่า กรดแพนโทเธนิคก็เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของโคเอนไซม์เอ ( Coenzyme A,CoA ) เช่นกัน >> สารอาหารให้พลังงานแก่ร่างกายมีอะไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ >> กรดอะมิโน สำคัญอย่างไร อยากรู้มาหาคำตอบได้ที่บทความนี้กันค่ะ อะไรคือแคลเซียม แพนโทธิเนต Calcium Pantothenate หรือ Vitamin B5 เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์เอ Coenzyme A ( CoA ) และส่วนหนึ่งของ วิตามินบี 2 แคลเซียม แพนโทธิเนต Calcium Pantothenate หรือ Vitamin B5 ยังช่วยปกป้องเซลล์ต่อความเสียหายต่อการเกิดสารเปอร์ออกไซด์โดยการผลิตกลูตาไธโอนเพิ่มขึ้น แคลเซียม แพนโทธิเนต เป็น เกลือแคลเซียมของวิตามินB5 ที่ละลายได้ในน้ำ  เป็นที่พบแพร่หลายในพืชและเนื้อเยื่อสัตว์ กรดแพนโทเธนิค, กรดแพนโทเทนิก, วิตามินบี5, มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ เป็นปัจจัยสำคัญในการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และกรดไขมัน วิตามินบี 5 มีส่วนเกี่ยวข้องในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินฮอร์โมนเตียรอยด์ คอเลสเตอรอล และไขมัน เป็นต้น กรดแพนโทเธนิคหรือ Vitamin B5 มีสรรพคุณอะไร กรดแพนโทเธนิค หรือ วิตามินบี 5 จะมีลักษณะเป็นน้ำมันสีเหลืองอ่อน ซึ่งจะเสียได้ง่ายเมื่อโดนกับความร้อนและสภาพความเป็นกรดด่าง และที่สำคัญก็จะถูกดูดซึมได้ง่ายเมื่ออยู่ในสภาพของแอลกอฮอล์ที่เรียกว่าแพนโทธีนอลอีกด้วย โดยเมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะเปลี่ยนเป็นกรดแพนโทเธนิคอย่างรวดเร็วมาก นอกจากนี้ก็สามารถละลายน้ำได้ และมักจะพบอยู่ในรูปของเกลือโซเดียมในทางการค้านั่นเอง หน้าที่ของกรดแพนโทเธนิคหรือ วิตามินบี5 วิตามินบี 5 ช่วยอะไร ? วิตามินบี5 หรือกรดชนิดนี้จะทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบหลักของเอนไซม์เอ ซึ่งจะคอยดักจับและทำลายหมู่ซิทิลจากสารประกอบต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายและยังสามารถพบได้ในเนื้อเยื่อทุกชนิดอีกด้วย นอกจากนี้ก็มีหน้าที่อื่นๆ เช่น 1. วิตามิน บี 5 ช่วยในการสังเคราะห์สาระสำคัญชนิดหนึ่ง ที่จะทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาทโดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ อะซีทิลโคลีน 2. ทำหน้าที่ในการเป็นตัวร่วมในการสร้างอะซีทิลโคเอนไซม์เอ โดยเป็นสารที่จะช่วยในการผลิตพลังงานให้กับร่างกาย ซึ่งผลิตจากไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตนั่นเอง 3. ช่วยสังเคราะห์กรดไขมัน สเทอรอลและคอเลสเตอรอล รวมถึงฟอร์ไฟริน ที่มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเฮโมโกลบินโดยเฉพาะ  4. ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์สารที่มีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งได้แก่ สารพอร์ไฟริน 5. ช่วยสังเคราะห์กรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย  6. ช่วยรักษาอาการเหน็บชาที่มือและเท้า วิตามินบี 5 หรือ กรดแพนโทเทนิก เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีหน้าที่ช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์ต่าง ๆ การเจริญเติบโตของร่างกาย และการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง การดูดซึมของกรดแพนโทเธนิค การดูดซึมกรดแพนโทเธนิค จะสามารถดูดซึมได้ดีบริเวณลำไส้เล็ก ซึ่งจะดูดซึมเข้าไปในร่างกายและเนื้อเยื่อต่างๆ จากนั้นก็จะถูกเปลี่ยนเป็นโคเอนไซม์เอ และขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะ โดยอาจจะมีการขับถ่ายทางเหงื่อบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ในเด็กแรกเกิดจะมีระดับของกรดแพนโทเธนิคในเลือดสูงมากกว่าแม่ถึง 5 เท่าเลยทีเดียว แหล่งอาหารที่พบกรดแพนโทเธนิค วิตามินบี5 แหล่งอาหารที่สามารถพบกรดแพนโทเธนิค หรือ วิตามินบี5ได้สูงก็คือในเนื้อเยื่อของสัตว์ เช่น ตับ ไข่แดง หัวใจ สมอง...

กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา

0
กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็ง สำหรับการ รักษาโรคมะเร็ง ในรูปแบบกระบวนการรักษาโดยใช้วิธีการอื่นๆ ซึ่งกำลังอยู่ใน กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็ง นั้น  ยังคงไม่สามารถนำมาเป็นวิธีการรักษาในทางปฏิบัติได้  มีดังนี้ กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งด้วยความร้อน เพื่อ รักษาโรคมะเร็ง สำหรับกระบวนการรักษาด้วยความร้อน ถือได้ว่าเป็นการนำความร้อนสูงเข้ามาช่วย เพื่อให้เซลล์มะเร็งได้ตอบสนองต่อรังสีรักษา หรือ เคมีบำบัดได้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิความร้อน โดยตรง การรักษาในรูปแบบนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาเนื่องจาก  ยังคงมีเซลล์มะเร็งบางชนิด ที่มีลักษณะดื้อต่อรังสีรักษา หรือ ยาเคมีบำบัดโดยตรง หากก้อนมะเร็งได้รับอุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้น อาจจะมีลักษณะตอบสนองต่อรังสีรักษาและเคมีบำบัดได้นั่นเอง>> การใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือไม่ ? >> วิธีตรวจและรักษามะเร็งต่างๆ กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งด้วยชีวสารรักษาเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ชีวสารรักษา ถือได้ว่าเป็นตัวยาที่มีคุณสมบัติเหมือนกับสารต้านเซลล์ต่างๆ ที่มีความแปลกปลอมภายในร่างกายของคนเรา หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นสารเพิ่มภูมิคุ้มกันและต้านทานโรคของมนุษย์ก็สามารถเรียกได้ การใช้ชีวสารรักษาก็เพื่อที่จะหยุดยั้งและต้านทานเซลล์มะเร็งบางชนิดเท่านั้น แถมยังคงมีความเชื่อที่ว่า จะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อยมาก เมื่อได้ใช้ร่วมกันกับการรักษาด้วยวิธีการหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัด รังสีรักษา หรือแม้กระทั่ง เคมีบำบัดก็ตาม ก็จะช่วยเพิ่มผลทางด้านการรักษาในรูปแบบและวิธีการต่างๆ เหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งในการต้านทานโรคด้วยยาเพิ่มภูมิคุ้มกัน สำหรับยาเพิ่มภูมิคุ้มกัน หรือ ยาต้านทานโรค นับได้ว่าเป็นยาที่สามารถช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันภายในร่างกายได้ ส่งผลทำให้เซลล์มะเร็งที่มีอยู่ภายในร่างกาย มีลักษณะหยุดเจริญเติบโต หรือ อาจจะส่งผลทำให้เซลล์มะเร็งตายได้เช่นกัน กระบวนการวิจ้ยการรักษาโรคมะเร็งด้วยการวัคซีนเพื่อป้องกัน ถือได้ว่าเป็นการรักษาหลักการเดียวกันกับการให้ยาเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค เพราะเป็นการรักษาในรูปแบบเดียวกัน แต่จะผิดแปลกตรงที่ตัวยาเป็นวัคซีนอย่างแท้จริง ซึ่งในปัจจุบันกำลังมีการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการรักษาในรูปแบบนี้กันมากยิ่งขึ้น  เพื่อที่จะทำให้ผลของการรักษาเป็นผลที่ดี และมีผลแทรกซ้อนต่ำลงไปกว่าเดิม  กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อรักษา สำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ รวมไปถึงการปลูกถ่ายไขกระดูก  จะมีการกำจัดเนื้อเยื่อ หรือ อวัยวะที่เป็นโรคมะเร็ง ซึ่งจะต้องกำจัดออกให้หมดไปเท่านั้น และจะมีการแนะนำอวัยวะใหม่ ที่ไม่มีโรคมะเร็งไปทำการปลูกถ่ายแทนที่ กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็ง ในรูปแบบการแพทย์สนับสนุน และ การแพทย์ทางเลือก การแพทย์สนับสนุน ( Complementary Medicine ) วิธีนี้เป็นวิธีการ รักษาโรคมะเร็ง แบบไม่รุกราน วิธีนี้แทบที่จะไม่มีผลข้างเคียงหรือไม่มีอาการแทรกซ้อนเลยก็ว่าได้ นอกเหนือจากนี้คือ มีการยอมรับการรักษาการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์ทางเลือก ( Alternative Medicine ) เป็นวิธีการ รักษาโรคมะเร็ง ที่ได้มีการปฏิเสธการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบัน บางวิธีการอาจจะยังคงเป็นการรักษาแบบรุกรานอยู่ และอาจจะมีผลข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อนมากกว่า การแพทย์องค์รวม ( Holistic Medicine ) ถือได้ว่าเป็นวิธีการรักษาทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งจิตวิญญาณ ซึ่งวิธีการรักษาจะเป็นการรวมกันระหว่าง แพทย์สนับสนุน และ แพทย์ทางเลือก การแพทย์ผสมผสาน ( Integrative Medicine )  ถือได้ว่าเป็นวิธีการรักษาที่รวมกันระหว่าง แพทย์แผนปัจจุบัน และ การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจพร้อมทั้งจิตวิญญาณ  นับได้ว่าเป็นการรักษาทั้งแพทย์แผนปัจจุบันแพทย์สนับสนุนและแพทย์ทางเลือกแต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามการตัดสินใจเพื่อใช้การแพทย์ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตามนอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน คุณควรที่จะต้องทำการปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการ รักษาโรคมะเร็ง ก่อนเสมอ เพื่อที่จะไม่ส่งผลทำให้เกิดขัดการระหว่างการรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันโดยตรง เหตุผลที่แพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ค่อยยอมรับการรักษาแพทย์สนับสนุน กับ แพทย์ทางเลือก ส่วนใหญ่แล้ว เราจะพบเจอกับปัญหาที่ว่า แพทย์แผนปัจจุบันมักจะต่อต้านการรักษาแพทย์วิธีต่างๆ ซึ่งการบำบัดรักษา ที่ไม่ติดขัดกับแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ทางด้านผู้ป่วยและญาติ ควรที่จะปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันที่เชี่ยวชาญทางด้านโรคมะเร็งเสียก่อน แล้วจึงตัดสินใจใช้วิธีการรักษาแบบแพทย์สนับสนุนและแพทย์ทางเลือกจริง แล้วในส่วนของการบำบัดรักษาเกือบจะทุกวิธี ย่อมมีผลข้างเคียงตามมาเสมอ สำหรับผลข้างเคียงที่สำคัญและน่ากลัวมากที่สุด นั่นก็คือ การลุกลามและการกระจายตัวของโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากใครอยากจะเลือกรักษาโดยวิธีทางแพทย์สนับสนุน หรือ แพทย์ทางเลือกควรพิจารณาก่อน ดังนี้ ควรมีความมั่นใจ และไม่ควรตัดสินใจด้วยความกลัว หากจะรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน ควรตอบตนเองให้ได้เสียก่อนว่า อยากจะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีไหน ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ให้ดีเสียก่อน กระบวนการรักษาและสถานที่ที่ให้การรักษา พร้อมทั้งเครื่องมือที่ใช้ มีลักษณะเป็นอย่างไร น่าเชื่อถือหรือไม่ ควรรู้ตัวยาที่ใช้ในการรักษาร่วมด้วย ควรทราบว่าการรักษาที่เลือกจะต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่จึงจะเห็นผล ควรทราบถึงผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนที่อาจจะตามมา ควรศึกษาด้วยว่า การรักษาที่ผู้ป่วยเลือก มีหลักฐานทางการแพทย์ที่สามารถให้คำยืนยันได้หรือไม่ ควรทราบค่าใช้จ่ายในการรักษา ควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจ กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งแบบประคับประคอง พยุงอาการ และ การรักษาทางอายุกรรมแบบทั่วไป ในส่วนของกระบวนการ รักษาโรคมะเร็ง แบบประคับประคองและพยุงอาการโดยมีการพิจารณาถึงอาการ พร้อมทั้ง สุขภาพของผู้ป่วยเป็นข้อบ่งชี้ในการรักษา ซึ่งการรักษาแบบนี้...

เนื้องอกในสมอง มะเร็งสมอง ( Brain Cancer )

0
มะเร็งสมอง มะเร็งสมอง ( Brain Cancer ) คือ โรคที่เกิดขึ้นที่เซลล์และเนื้อเยื่อสมองเท่านั้น อาจจะเป็นเนื้อร้ายที่งอกขึ้นเองแล้วขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นมะเร็งสมอง หรือ เนื้องอกในสมองได้ สมองนับได้ว่าเป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบประสาทซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากที่สุดสำหรับมนุษย์ ทำหน้าที่ในเรื่องของการคิด ส่งผลทำให้เกิดความรู้สึก และยังคงทำหน้าที่ในการ ควบคุมระบบการทำงานของอวัยวะ พร้อมทั้งทุกส่วนภายในร่างกายของคนเราอีกด้วย โพรงสมอง จะอยู่บริเวณตรงกลางสมองทุกๆส่วน ซึ่งโพรงสมองจะมีหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงสมอง พร้อมทั้ง ไขสันหลัง ด้วยลักษณะของสมอง ที่ประกอบไปด้วยเซลล์และเนื้อเยื่อมากมาย หลายชนิดด้วยกัน  ส่งผลทำให้เซลล์และเนื้อเยื่อสมองส่วนใหญ่ สามารถเกิดเป็นเนื้องอกและมะเร็งสมองได้เช่นกัน เนื้องอกในสมอง คือ ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นภายในสมอง ไม่สามารถลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อ หรือแม้กระทั่งอวัยวะอื่น ๆ ได้ แต่ถ้าหากก้อนเนื้อมีลักษณะโตขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลทำให้ก้อนเนื้อกดทับและเบียดเนื้อเยื่อ พร้อมทั้งอวัยวะโดยรอบ ในกรณีนี้จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายกับเป็นโรคมะเร็งสมองได้เช่นกันสำหรับเนื้องอกหรือมะเร็งสมองถือได้ว่ามีหลายชนิดด้วยกัน  นับได้ว่าแต่ละชนิดนั้น จะมีความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกันออกไป ส่วนชนิดที่มีความรุนแรงอย่างมากที่สุด นั่นก็คือ ชนิดไกลโอบาลสโตมา นั่นเอง มะเร็งสมองสามารถเกิดขึ้นได้กับสมองส่วนใด สมองสามารถแบ่งออกเป็นหลายส่วนด้วยกัน ดังนี้ 1. สมองใหญ่ หรือ Cerebrum มะเร็งสมองสามารถเกิดขึ้นกับสมองในส่วนนี้จะคอยทำหน้าที่ในเรื่องของความจำ ความรู้สึก ตลอดจนกระทั่งการพูดคุย การเคลื่อนไหวของร่างกาย 2. สมองน้อย หรือ Cerebellum สมองน้อยจะคอยทำหน้าที่หลักในเรื่องของการทรงตัว เมื่อเป็นมะเร็งสมอง จะมีอาการผิดปกติกับสมองน้อยด้วยเช่นกัน 3. สมองส่วนกลาง หรือ Mid Brain และ สมองส่วนท้าย หรือ Medulla Oblongata สมองสองส่วนนี้ จะมีหน้าที่ในการควบคุมระบบการหายใจ ปัจจัยการเกิดมะเร็งสมอง อาการโรคมะเร็งสมองจะเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม ทั้งชนิดที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ และ เกิดความผิดปกติต่อเนื่องชนิดที่ถ่ายทอดได้ กลุ่มคนที่เป็นมะเร็งสมองจะมีอาการโรคมะเร็งสมองอย่างต่อเนื่อง มะเร็งสมองผู้ที่ได้รับรังสีชนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง ผู้ที่บริโภคสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในปริมาณสูง มารดาที่ตั้งครรภ์ ขาดสารอาหารบางชนิดซึ่งอาจจะส่งผลต่อเด็กในครรภ์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง >> สมองเสื่อมจะทำให้เกิดอาการหรือพฤติกรรมอย่างไรบ้าง ? >> ผู้ป่วยสมองเสื่อมสามารถทำนิติกรรมได้หรือไม่ ? อาการของมะเร็งสมอง อาการมะเร็งสมองจะปวดศีรษะมาก ซึ่งอาการปวดที่ว่านี้ มักจะมีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจจะทำให้เกิดอาการอาเจียนร่วมด้วย แขนและขาข้างเดียวกันของผู้ป่วย จะมีลักษณะอ่อนแรง ผู้ป่วยอาจจะมีอาการชัก ถึงแม้จะไม่มีไข้ก็ตาม ผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาทางสายตาร่วมด้วย อาการมะเร็งสมองส่งผลทำให้เห็นภาพซ้อน หรือ มีอาการตาเหล่เกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยจะมีลักษณะทรงตัวไม่ค่อยได้ และ เดินเซ ในส่วนของการวินิจฉัยโรค เบื้องต้นแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ มักจะวินิจฉัยเนื้องอกหรือมะเร็งสมองจากการพูดคุยและสอบถามประวัติ พร้อมทั้งอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการตรวจสมองด้วยการเอกเซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นหลัก แต่ถ้าหากจะให้ผลที่แน่นอนจริง ๆ  จำเป็นจะต้องมีการตรวจชิ้นเนื้อ หาก แพทย์ได้ตรวจผลเอกซเรย์แล้วพบว่า ผู้ป่วยมีก้อนเนื้อในสมองอยู่จริง แพทย์จะทำการรักษาผู้ป่วย ด้วยวิธีการผ่าตัดเพียงแค่ครั้งเดียว พร้อมกับมีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ วิธีรักษามะเร็งสมอง วิธีการรักษาหลัก ๆ ของมะเร็งสมองสำหรับกระบวนการและวิธีการรักษาของโรคเนื้องอกในสมอง หรือมะเร็งสมองนั่นก็คือ การผ่าตัด  ซึ่งหลังจากที่ผู้ป่วยได้เข้ารับการผ่าตัดแล้ว แพทย์จะทำการประเมินโรคอีกครั้ง พร้อมทั้งดูระยะของโรคและชนิดของเซลล์ เพื่อที่จะสรุปผลการรักษาในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยโดยตรง  สำหรับเนื้องอกสมองในชนิดที่ไม่รุนแรง  หากแพทย์ได้ทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกหมดแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสหายจากโรคนี้สูงถึงประมาณร้อยละ 80 – 90 กันเลยทีเดียว  แต่ถ้าหากแพทย์ไม่สามารถผ่าตัดเนื้องอกออกมาได้ การควบคุมโรคชนิดนี้ดูเหมือนจะต่ำลงไป ส่วนวิธีการป้องกันโรคเนื้องอกและโรคมะเร็งสมองนั้น  ถือได้ว่ายังคงไม่มีวิธีการป้องกันได้โดยตรงนั่นเอง ร่วมตอบคำถามกับเรา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเอกสารอ้างอิง Gregg, N. (2014). "Neurobehavioural Changes In Patients Following Brain Tumour: Patients And Relatives Perspective.". Supportive Care In Cancer. Jones, Caleb. "Brain Tumor Symptoms, Miles...

วิตามินบี 6 ( Vitamin B6 – Pyridoxine ) สำคัญอย่างไร

0
วิตามินบี6 วิตามินบี6 ( Vitamin B6 )  เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ มีความสำคัญในการผลิตโปรตีนชนิดต่างๆ และการผลิตสารสื่อนำประสาทในสมองและระบบประสาท มีความจำเป็นต่อการสร้างฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง และเพื่อควบคุมสมดุลของฮอร์โมน รวมไปถึงปรับสมดุลฮอร์โมนของภูมิคุ้มกันให้เหมาะสม มีโครงสร้างที่ ประกอบไปด้วยวงแหวนไพริดีน Pyridine ดังนั้น จึงมีการตั้งชื่อโดยยึดส่วนประกอบสำคัญเป็นหลัก ซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ชนิดคือ ไพริดอกซีน Pyridoxine ไพริดอกซาล Pyridoxamine และไพริดีน Pyridine >> วิตามินอี มีประโยชน์อย่างไร และหาได้จากที่ไหน มาดูกันค่ะ >> ประโยชน์ของวิตามินซีมีอะไรบ้าง อยากรู้มาหาคำตอบกันค่ะ คุณสมบัติของวิตามินบี6 ( Vitamin B6 ) วิตามินบี6 มีสูตรทั่วไป คือ C8H11NO2 ซึ่งประกอบไปด้วยสาระสำคัญ 3 ชนิดที่มีคุณสมบัติทางชีววิทยาคล้ายๆ กัน นั่นคือ ไพริดอกซีน Pyridoxine, ไพรีดอกซาล Pyridoxal และ ไพริดอกซามีน Pyridoxamine และเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นจึงเรียกสารเหล่านี้แบบรวมๆ ว่า ไพริดอกซีน Pyridoxine หรือวิตามินบี 6 นอกจากนี้หากทำให้วิตามินบี6 เป็นผลึกจะได้ผลึกที่มีสีขาวละลายน้ำได้มีรสเค็มและไม่มีกลิ่น และสามารถละลายในสารละลายที่เป็นกรดด่างปานกลางได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้เมื่อโดนแสงแดดก็จะสลายตัวได้ง่ายเช่นกัน วิตามินบี 6 จะไปเปลี่ยนเป็นโคเอนไซม์ในรูปของไพริดอกซาลฟอสเฟต ส่วนวิตามินบี6 ที่เหลือก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะภายใน 8 ชั่วโมงโดยจะไม่มีการเก็บไว้ที่ตับเหมือนกับวิตามินตัวอื่นๆ ดังนั้นในปัสสาวะจึงมักจะมีวิตามินบี 6 อยู่เสมอ หน้าที่สำคัญของวิตามินบี 6 ( Vitamin B6 ) เป็นโคเอนไซม์ที่จะทำหน้าที่ในการเร่งปฏิกิริยาของการเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนและกรดไขมันในร่างกาย รวมทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ ไพริดอกซาลฟอสเฟต ( Pyridoxal Phosphate, PLP ) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้ ช่วยสร้างเซโรโทนิน Serotonin โดยเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัวดีขึ้น และช่วยควบคุมการทานของสมองและเนื้อเยื่อให้ทำงานเป็นปกติมากขึ้น ทำหน้าที่ในการสร้างกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น อะลานีน กรดแอสพาร์ทิก และกรดลูทามิก ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนทริปโทเฟนหรือกรดอะมิโนให้เป็นวิตามินบี3 หรือไนอะซิน ช่วยสร้างสารภูมิคุ้มกันโรค เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น และสังเคราะห์สารแรกเริ่มของวงแหวนฟอร์ไฟริน Porphyrin Ring โดยเป็นสารที่มีความสำคัญในการสร้างเฮโมโกลบิน ช่วยแก้การเป็นตะคริว แขนขาชาและช่วยขับปัสสาวะ ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแร่ธาตุแมกนีเซียม ทำหน้าที่สังเคราะห์สารที่มีความจำเป็นต่อการเปลี่ยนกรดไลโนเลอิกให้เป็นกรดอะราซิโดนิก ช่วยในการสลายไกลโคเจนให้เป็นน้ำตาลกลูโคส การดูดซึมของวิตามินบี 6 ( Vitamin B6 ) โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะสามารถดูดซึมวิตามินบี6 ได้ดีที่สุดบริเวณลำไส้เล็กตอนต้น โดยจะเข้าไปเปลี่ยนเป็นโคเอนไซม์ในรูปของไพริดอกซาลฟอสเฟต ส่วนวิตามินบี6 ที่เหลือก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะภายใน 8 ชั่วโมงโดยจะไม่มีการเก็บไว้ที่ตับเหมือนกับวิตามินตัวอื่นๆ ดังนั้นในปัสสาวะจึงมักจะมี วิตามินบี 6 อยู่เสมอ หากไม่พบวิตามินบี 6 ก็อาจแสดงได้ว่าได้รับวิตามินบี 6 ไม่เพียงพอนั่นเอง วิตามินบี 6 ( Vitamin B6 ) อยู่ในอาหารประเภทใด วิตามินบี 6 สามารถพบได้ทั้งในผักผลไม้และเนื้อสัตว์ ซึ่งในผักผลไม้จะพบในรูปของไพริดอกซีน และในเนื้อสัตว์จะพบในรูปของไพริดอกซานและไพรริดอกซามีน โดยอาหารที่พบวิตามินบี 6 ได้มากที่สุด ได้แก่ปลา ไข่ไก่ ตับสัตว์ ข้าวไม่ขัดสี นม เนื้อปลา ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ผลวอลนัท รำข้าว...

ประโยชน์ของวิตามินซี ( Vitamin C )

0
ประโยชน์ของวิตามินซี วิตามินซี ( Vitamin C ) มีมากในฝรั่ง ฝรั่ง คือ ผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีปริมาณของวิตามินซีสูงมาก โดยพบว่าฝรั่ง 100 กรัมจะมีวิตามินซีมากถึง 228 มิลลิกรัมเลยทีเดียว ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราควรจะได้รับวิตามินซีขั้นต่ำ 60 มิลลิกรัม การทานฝรั่งเพียงลูกเดียวจึงให้วิตามินซีที่เพียงพอสำหรับร่างกาย และนอกจากนี้วิตามินซีก็เป็นวิตามินชนิดที่สามารถละลายน้ำได้อีกด้วย ทั้งยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก >> วิตามินอี มีประโยชน์อย่างไร และหาได้จากที่ไหนบ้าง มาดูกันค่ะ >> วิตามินบี 6 มีสำคัญอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ มนุษย์สามารถสังเคราะห์วิตามินซีได้เองได้หรือไม่? โดยปกติแล้ววิตามินซีสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้เองในพืชและสัตว์ จึงทำให้พืชผลไม้ส่วนใหญ่มีวิตามินซีเป็นส่วนประกอบอยู่ แต่สำหรับมนุษย์จะไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีขึ้นมาเองได้ จึงต้องใช้วิธีการรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีเพื่อเสริมวิตามินซีให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนั่นเอง โดยกระบวนการสังเคราะห์วิตามินซีขึ้นมาของพืชและสัตว์นั้น ประโยชน์ของวิตามินซีจะเกิดขึ้นโดยการเปลี่ยนน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวให้เป็นวิตามินซี ซึ่งพืชจะเปลี่ยนน้ำตาลจากน้ำตาลกาแลคโตส ( Galactose ) และน้ำตาลแมนโนส ( Manose ) ส่วนสัตว์ก็จะเปลี่ยนจากน้ำตาลกลูโคส ( Glucose ) นั่นเอง ส่วนสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ก็เพราะยีนส์ที่ชื่อว่า GULO เกิดการกลายพันธุ์ จนไม่สามารถที่จะทำการสังเคราะห์ได้ อย่างไรก็ตามประโยชน์ของวิตามินซีกับความสามารถในการดูดซึมวิตามินซีเข้าสู่ร่างกาย มนุษย์ก็มีความได้เปรียบสูงมากทีเดียว เพราะพบว่ามนุษย์สามารถดูดซึมวิตามินที่ได้รับจากอาหารได้อย่างดีเยี่ยม ในขณะที่สัตว์มีอัตราการดูดซึมวิตามินต่ำมากและมักจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะมากกว่าที่ร่างกายจะได้ใช้ประโยชน์อีกด้วย https://www.youtube.com/watch?v=cR9tA56wOEQ ประโยชน์ของวิตามินซี วิตามินซีป้องกันไข้หวัด โดยพบว่าหากได้รับวิตามินซีวันละ 1,000 มิลลิกรัมจะสามารถเสริมภูมิต้านทานต่อไข้หวัดได้ และยังมีคุณสมบัติที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระพร้อมเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ดี ประโยชน์ของวิตามินซี ประโยชน์ของวิตามินซี วิตามินซี อุดมไปด้วยประโยชน์มากมายที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง เช่น - ช่วยสังเคราะห์คอลลาเจนที่มีความจำเป็นต่อโครงสร้างส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะการเสริมสร้างผิวหนัง เส้นเอ็น กระดูกอ่อน เป็นต้น พร้อมทั้งช่วยชะลอวัยให้ดูเด็กกว่าวัยอีกด้วย - ช่วยสร้างคาร์นิทีน ( Carnitine ) ที่เป็นกรดอะมิโนจำเป็น โดยกรดอะมิโนประเภทนี้จะทำหน้าที่ในการนำไขมันเข้าไปสู่เซลล์ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อสังเคราะห์สารสื่อประสาทและช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กให้ดีขึ้นอีกด้วย - ช่วยป้องกันไข้หวัด โดยพบว่าหากได้รับวิตามินซีวันละ 1,000 มิลลิกรัมจะสามารถเสริมภูมิต้านทานต่อไข้หวัดได้ และยังมีคุณสมบัติที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระพร้อมเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ดีอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องของการป้องกันไข้หวัดก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าวิตามินซีสามารถป้องกันได้จริงหรือไม่ แต่ที่เห็นได้ชัดก็คือ จะช่วยให้ไข้หวัดหายเร็วขึ้นและสามารถลดความรุนแรงของอาการป่วยลงได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าในฝรั่งจะมีวิตามินซีสูงมากและมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะช่วยเสริมโครงสร้างของร่างกายให้แข็งแรง กระตุ้นการดูดซึมธาตุเหล็ก ช่วยเร่งการทำงานของระบบประสาท พร้อมทั้งบำรุงผิวให้เนียนนุ่มน่าสัมผัส เรียกได้ว่าเป็นผลไม้ที่มากไปด้วยประโยชน์จริงๆ แถมฝรั่งยังออกผลให้ได้รับประทานกันตลอดปีอีกด้วย เพราะฉะนั้นใครอยากมีสุขภาพดี ห้ามพลาดกับการเสริมวิตามินซีให้กับร่างกายด้วยการทานฝรั่งเด็ดขาด อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง Guava, in Fruits of Warm Climates, p 356-63". Center for New Crops & Plant Products, Department of Horticulture and Landscape Architecture, Purdue University, West Lafayette, Indiana. Retrieved 24 April 2015. Nutritiondata.com. "Nutrition facts for common guava". Retrieved August 17, 2010. Guava, in Fruits of Warm Climates, p 356-63". Center for New Crops & Plant Products, Department of Horticulture and Landscape Architecture, Purdue University, West Lafayette,...

Body Mass Index (BMI) คืออะไร? วิธีคำนวณและความสำคัญต่อสุขภาพ

0
Body Mass Index (BMI) คืออะไร? Body Mass Index (BMI) คือค่าดัชนีมวลกายที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวและส่วนสูง เพื่อประเมินภาวะน้ำหนักของบุคคลว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักเกิน หรือภาวะอ้วน ความสำคัญของ BMI ในการประเมินสุขภาพ BMI เป็นตัวชี้วัดที่ง่ายและรวดเร็วในการประเมินสถานะน้ำหนักตัวและสุขภาพเบื้องต้น ทำไม BMI จึงถูกใช้เป็นตัวชี้วัดภาวะน้ำหนักและสุขภาพ? BMI ใช้เป็นตัวชี้วัดเพราะคำนวณง่ายและสามารถบ่งชี้ถึงความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง BMI สามารถช่วยประเมินความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ได้อย่างไร? BMI ที่สูงหรือต่ำกว่าปกติอาจเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของโรค เช่น: น้ำหนักเกินหรืออ้วน: เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ เบาหวาน และข้อเสื่อม น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์: เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารและภูมิคุ้มกันต่ำ ข้อจำกัดของ BMI และปัจจัยที่ควรพิจารณาร่วมในการวิเคราะห์สุขภาพ BMI ไม่สามารถแยกแยะระหว่างมวลกล้ามเนื้อและไขมันได้ ดังนั้นจึงควรใช้ร่วมกับการประเมินอื่นๆ เช่น อัตราส่วนรอบเอวต่อส่วนสูง หรือเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย วิธีคำนวณค่า BMI การคำนวณค่า BMI ใช้สูตรง่ายๆ โดยพิจารณาน้ำหนักตัวและส่วนสูงเป็นหลัก สูตรคำนวณ BMI สำหรับผู้ใหญ่ สูตรคือ:  BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 ตัวอย่างการคำนวณ BMI หากบุคคลมีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม และส่วนสูง 1.75 เมตร: BMI = 70 x (1.75 x 1.75) = 22.86 ตารางค่ามาตรฐาน BMI และเกณฑ์การแบ่งกลุ่มน้ำหนักตัว ต่ำกว่า 18.5 = น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 18.5 - 24.9 = น้ำหนักปกติ 25 - 29.9 = น้ำหนักเกิน 30 ขึ้นไป = ภาวะอ้วน การแปลผล BMI และผลกระทบต่อสุขภาพ BMI ที่อยู่นอกเกณฑ์ปกติอาจส่งผลต่อสุขภาพในหลายด้าน ภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มีผลต่อสุขภาพอย่างไร? น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ: ภาวะขาดสารอาหาร ภูมิคุ้มกันต่ำ โรคกระดูกพรุน น้ำหนักเกินและโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วน น้ำหนักเกินหรืออ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อ: โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง โรคข้อเข่าเสื่อม ความสัมพันธ์ระหว่าง BMI กับโรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง BMI ที่สูงสัมพันธ์กับการสะสมไขมันในช่องท้อง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญ ข้อจำกัดของ BMI และวิธีการประเมินสุขภาพเพิ่มเติม แม้ว่า BMI จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการที่ควรพิจารณา BMI ไม่สามารถแยกแยะมวลกล้ามเนื้อและไขมันได้ ผู้ที่มีกล้ามเนื้อมาก เช่น นักกีฬา อาจมีค่า BMI สูงแต่ไม่ได้หมายถึงภาวะอ้วน ในขณะที่ผู้ที่มีไขมันสะสมมากแต่กล้ามเนื้อน้อยอาจมีค่า BMI ปกติ ดัชนีอื่น ๆ ที่ใช้ร่วมกับ BMI เพื่อประเมินสุขภาพ อัตราส่วนรอบเอวต่อส่วนสูง (Waist-to-Height Ratio): ใช้ประเมินไขมันในช่องท้อง เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (Body Fat Percentage): วัดปริมาณไขมันโดยตรง ค่าดัชนีมวลกายเฉพาะเพศและอายุ: ใช้สำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้หญิงตั้งครรภ์ วิธีดูแลสุขภาพให้ BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ การดูแลสุขภาพโดยรวมช่วยรักษา BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างยั่งยืน อาหารที่ช่วยควบคุมน้ำหนักและลดไขมันส่วนเกิน รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป น้ำตาล...

มะเร็งตับ ( Liver Cancer )

0
มะเร็งตับ มะเร็งตับ ( Liver Cancer ) คือ มะเร็งที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นบริเวณตับมีลักษณะหรือการทำงานผิดปกติแล้วพัฒนาเป็นมะเร็งในที่สุด หรืออาจเกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากบริเวณอื่นมายังตับ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นเวลาหลายปี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ภาวะอ้วน การรับประทานอาหารไม่เป็นประโยชน์ และการเป็นตับแข็งและชนิดของมะเร็งตับที่พบได้มากที่สุด ก็คือ ชนิดโฮปาโตมาและชนิดโคแลงจิโอคาร์ซิโนมา  ตับ เป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย โดยจะอยู่ในช่องท้องส่วนบนด้านขวา บริเวณติดกับใต้กระบังลม มีลักษณะแบ่งออกเป็น 2 กลีบซ้ายขวา ซึ่งกลีบด้านขวาจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบด้านซ้าย ส่วนหน้าที่ของตับ จะทำหน้าที่ในการ  สร้างน้ำย่อยเพื่อการสังเคราะห์โปรตีน คาร์โบไฮเดรต คอเลสเตอรอลและสร้างสาระสำคัญที่จะช่วยในการแข็งตัวของเลือด พร้อมกำจัดของเสียออกจากร่างกายอีกด้วย มะเร็งตับชนิดโฮปาโตมา เรียกย่อๆ ว่า เอชซีซี ( Hepatoma/Hepatocellular Carcinoma : HCC ) เกิดจากเซลล์ของตัวตับเอง มะเร็งตับชนิดโคแลงจิโอคาร์ซิโนมา เรียกย่อๆ ว่า ซีซีเอ ( Cholangio Carcinoma : CCA ) เกิดจากท่อน้ำดีในตับ ซึ่งมะเร็งตับ ทั้งสองชนิดนี้มักจะพบได้มากที่สุดในตับกลีบขวา แต่โดยปกติแล้วสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสองกลีบและอาจเกิดได้หลายจุดในเวลาเดียวกันอีกด้วย จึงมีความรุนแรงไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อก้อนมะเร็งได้มีการแพร่กระจายทางกระแสเลือดพร้อมกับสูบเนื้อตับด้วยกันเอง จึงทำให้โอกาสในการรักษาหายมีน้อยมาก สาเหตุของมะเร็งตับ แพทย์ระบุว่ามะเร็งตับอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน แต่ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด และมะเร็งตับทั้งสองชนิดก็เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกันอีกด้วย โดยสมารถสรุปได้ดังนี้>> ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งคืออะไรบ้าง ? >> อาการของระยะมะเร็งต่างๆ >> ตับ มีระบบการทำงานอย่างไร ? ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของมะเร็งตับชนิด HCC การดื่มเหล้าเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคตับแข็ง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งตับชนิดนี้ได้มากที่สุด- คนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติทั่วไป การอักเสบเรื้อรังของตับ ไม่ว่าเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม การได้รับสารอะฟลาทอกซิน ( Aflatoxin ) อย่างต่อเนื่อง โดยสารตัวนี้มักจะมาจากเชื้อราในถั่วที่เก็บรักษาไว้ไม่ดี เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ โดยอาจเป็นชนิดถ่ายทอดหรือไม่ถ่ายทอดก็ได้ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของมะเร็งตับชนิด CCA การทานอาหารหมักดองอย่างต่อเนื่องในปริมาณมาก เพราะอาหารหมักดองส่วนใหญ่จะมีสารก่อมะเร็ง การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่จะกระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้ การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นพยาธิที่จะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง จนอาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ เป็นนิ่วในท่อน้ำดี เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรังและเสี่ยงมะเร็งได้มากที่สุด ส่วนอัตราการเกิดมะเร็งตับที่พบในไทย พบว่ามะเร็งตับเป็นโรคที่พบเป็นอันดับ 1 ของผู้ชาย และพบเป็นอันดับ 3 ของผู้หญิง จึงสรุปได้ว่ผู้ชายมักจะมีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้มากกว่าผู้หญิงนั่นเอง นอกจากนี้ก็จะมีอัตราการเกิดที่สัมพันธ์กับช่วงอายุต่างกัน คือ โรคมะเร็งตับชนิด HCC จะพบได้ในทุกเพศทุกวัยแม้แต่วัยเด็ก ส่วนโรคมะเร็งตับชนิด CCA จะพบได้บ่อยในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป อาการของมะเร็งตับ ถึงแม้ว่าโรคมะเร็งตับทั้ง 2 ชนิดจะมีปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกัน แต่ก็มีอาการที่คล้ายคลึงกันอยู่มาก โดยสามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้ คลื่นไส้ อาเจียนบ่อยๆ พร้อมกับมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย มีอาการเจ็บบริเวณตับ ซึ่งอยู่บริเวณชายโครงด้านขวา หายใจลำบากและเหนื่อยง่าย รวมถึงมีอาการอึดอัดแน่นท้องร่วมด้วย ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากตับโตจนคลำเจอได้นั่นเอง มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง โดยในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการคันตามตัวและมีปัสสาวะสีเหลืองเข้มร่วมด้วย ในระยะที่โรคมะเร็งได้ลุกลามไปมาก จะมีอาการท้องบวม เนื่องจากเกิดน้ำมะเร็งในช่องท้องโดยสำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะใช้วิธีการตรวจร่างกาย พร้อมกับสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย และ ตรวจเลือดเพื่อหาค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ (  Tumor Marker ) นอกจากนี้ก็อาจมีการเอกซเรย์ดูภาพตับและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อผลการตรวจที่แน่ชัดมากขึ้น โดยวิธีการตรวจแบบนี้ก็สามารถบอกถึงระยะของโรคมะเร็งได้อีกด้วย  ระยะของมะเร็งตับ ระยะของโรคมะเร็งตับแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ คือ ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลาม ระยะที่...

วิตามินอี ( Vitamin E ) คืออะไร หาได้จากแหล่งไหน ?

0
วิตามินอี ( Vitamin E ) วิตามินอี ( วิตตามินอี, vitamin e ) คือ วิตามินอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของคนเราเป็นอย่างมาก และเป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในไขมัน โดยวิตามินชนิดนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้แคโรทีน วิตามินเอ และกรดไขมันไม่อิ่มตัวถูกออกซิไดส์ ซึ่งก็จะส่งผลในด้านดีหลายอย่างนั่นเอง ช่วยลดระดับของคอเลสตอรอลในเลือด กำจัดสารก่อมะเร็งและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โดยในอดีตนั้นวิตามินอีรู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ ทางวิทยาศาสตร์ว่า โทโคฟีรอล ซึ่งได้มีการค้นพบมานานแล้ว แต่ได้มีการศึกษาจริงๆ เมื่อไม่นานมานี้เอง นอกจากนี้ยังพบว่าวิตามินอีมีไทโคไตรอินอลสูงที่สุดอีกด้วย ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพและพบได้ในน้ำมันพืชทั่วไป ปริมาณวิตามินอี แต่ละช่วงอายุ วิตามินเป็นสารประกอบที่ร่างกายไม่ได้สร้างขึ้น แต่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณที่พอเหมาะช่วยการเจริญเติบโตและส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ รวมถึงความต้องการวิตามินอีของร่างกาย ได้แก่ อายุ 0-6 เดือน ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 4 มิลลิกรัม อายุ 7-12 เดือน ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 5 มิลลิกรัม อายุ 1-3 ปี ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 6 มิลลิกรัม อายุ 4-8 ปี ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 7 มิลลิกรัม อายุ 9-13 ปี ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 11 มิลลิกรัม อายุ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 15 มิลลิกรัม คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ ควรได้รับวิตมินอี ปริมาณ 15 มิลลิกรัม คุณแม่หลังคลอดบุตร และช่วงการให้นมบุตร ควรได้รับวิตมินอี ปริมาณ 19 มิลลิกรัม >> วิตามินเอ มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่งไร มาดูกันบทความนี้ค่ะ >> ประโยชน์ของวิตามินซีต่อร่างกายมีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ วิตามินอี มีประโยชน์อย่างไร 1. ต้านอนุมูลอิสระเพื่อป้องกันความเสื่อม ชะลอวัย 2. ปกป้องผิว ช่วยให้เซลล์ผิวทนต่อรังสี UV B ในแดดได้ดีขึ้น 3. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสัน และอัลไซเมอร์ 4. ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย 5. ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งที่ต่อมลูกหมากและเต้านม 6. ลดการอักเสบ ป้องกันแผลเป็นหนานูน 7. ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด วิตามินอีหาได้จากที่ไหน 1. อาหารที่มีวิตามินอีตามธรรมชาติได้แก่ ไข่ พืช ผัก ผลไม้ อาหารจำพวกถั่ว 2. น้ำมันที่มีส่วนผสมของถั่ว อาทิ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น 3. ครีมทาผิว โลชั่นบำรุงผิว 4. ยา อาหารทางการแพทย์ นมทางการแพทย์ อาหารที่มีวิตามินอีมีอะไรบ้าง 1. ไข่ จมูกข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลชนิดโฮลเกรน แป้งทำขนมปังแบบเสริมวิตามิน ถั่วเหลือง 2. น้ำมันพืช น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพดถั่ว 3. เมล็ดทานตะวัน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (วอลนัต พีแคน ถั่วลิสง จะมีแกมมาโทโคฟีรอลมากเป็นพิเศษ) 4. กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว ผักใบเขียว ผักขม อะโวคาโด (เฉพาะเนื้อ) ปวยเล้ง ผักผลไม้ หากนำผักไปปรุงสุกความร้อนจะทำลายวิตามินอีให้เหลือน้อยลง รวมถึงการนำผลไม้ไปแช่แข็งก็ทำให้วิตามินอีมีน้อยกว่าในผลไม้สด ร่างกายขาดวิตามินอี เสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง 1. เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย 2. กล้ามเนื้อฝ่อ 3. โรคโลหิตจาง 4. โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ อาการคนได้รับวิตามินอีไม่เพียงพอ หรือขาดวิตามินอี ปกติแล้วร่างกายไม่ค่อยขาดวิตามินอีจากการทานอาหาร แต่อาจมีปัญหาจากการดูดซึมไขมัน เช่น การทำงานของตับ ตับอ่อน และลำไส้ผิดปกติ 1. สูญเสียการรับสัมผัส...

ควรกินคาร์โบไฮเดรตกี่กรัมต่อวันอย่างไรไม่ให้อ้วน

0
คาร์โบไฮเดรต คืออะไร ? คาร์โบไฮเดรต ( carbohydrate ) หรือ เรียกสั้นๆว่า “ คาร์บ ” หมายถึง สารอาหารประเภทหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยจะสามารถพบได้มากในอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เช่น  ข้าว ขนมปัง แป้งชนิดต่างๆผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวทุกชนิดนอกจากยังรวมไปถึงผักหรือ ผลไม้ บางชนิดที่มีสารอาหารประเภทนี้ด้วย เราทานคาร์โบไฮเดรตเข้าไปก็เพื่อให้ร่างกายได้มีพลังงานไปใช้ในชีวิตประจำวันแต่ทั้งนี้ก็ควรทานในปริมาณที่พอดีกับร่างกาย หากมีการทานในปริมาณมากเกินไปก็จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่มากตามไปด้วย หากไม่สามารถใช้พลังงานหรือเผลาผลาญออกหมดในแต่ละวันก็จะทำให้มีพลังงานเหลือเป็นส่วนเกิน ร่างกายก็จะนำพลังงานเหล่านี้ไปเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน เมื่อมีเยอะๆเข้าก็จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และเป็นโรคอ้วนได้นั้นเอง ซึ่งการมีปริมาณไขมันที่มากก็จะส่งผลให้มีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม เป็นต้น>> ข้อมูลโภชนาการอาหารบอกอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ >> การหาค่าดัชนีมวลกาย ( BMI ) ทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ก็คงจะพอรู้กันว่าหากต้องการลดน้ำหนักลงให้ได้ผล หนึ่งในปัจจัยที่ต้องควบคุมก็คือ การทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต ให้น้อยลงกว่าปกติ แต่คาร์โบไฮเดรตก็เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่มี  ความจำเป็นต่อร่างกาย หากขาดไปก็จะทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพได้ ดังนั้นลองมาดูกันว่าต้องทานคาร์โบไฮเดรตอย่างไรให้เหมาะสมและไม่ทำให้อ้วน ดังข้อมูลต่อไปนี้ สัดส่วนอาหารมาตรฐาน ปริมาณอาหารคาร์โบไฮเดรต 1 คาร์บจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค โดยส่วนใหญ่ 1 คาร์บจะมีค่าเท่ากับอาหาร 1 ส่วนของหมวดอาหารแลกเปลี่ยน ( ยกเว้นผัก ) โดยจะมีตัวอย่างของสัดส่วนอาหารดังต่อไปนี้ ข้าว เส้นต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆหรือผักที่มีแป้งมาก ( ข้าวโพด เผือก มัน ฟักทอง ) มีคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บเท่ากับ 15 กรัม นมและผลิตภัณฑ์นม 240 มิลลิลิตรมีคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บ เท่ากับ 12 กรัม ผลไม้ ( ปริมาณขึ้นอยู่กับชนิดผลไม้ ) มีคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บ เท่ากับ 15 กรัม ผักใบ ดอก ( 3 ส่วนของหมวดอาหารแลกเปลี่ยน ) คาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บ เท่ากับ 15 กรัม ขนมหวานต่างๆ ( ถ้าไม่มีฉลากอาหาร ต้องประเมินเอง หรือประเมินจากสูตรอาหาร ) มีคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บ เท่ากับ 15 กรัม คาร์โบไฮเดรต คือ สารอาหารประเภทหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยจะสามารถพบได้มากในอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ดังนั้นจะต้องมีการทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องลดน้ำหนัก โดยมีหลักเกณฑ์ในการทานอาหารแบบกำหนดจำนวนคาร์บดังต่อไปนี้ ช่วงลดน้ำหนัก สำหรับเพศชาย ให้ทานในปริมาณ 3-4  คาร์บ ส่วนเพศหญิงให้ทานในปริมาณ  2-3 คาร์บ 2. ช่วงคุมน้ำหนัก สำหรับเพศชาย ให้ทานในปริมาณ 4-5  คาร์บ ส่วนเพศหญิงให้ทานในปริมาณ  3-4 คาร์บ 3. ผู้ที่ออกกำลังกาย สำหรับเพศชาย ให้ทานในปริมาณ 5-6  คาร์บ...

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer )

0
มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) คือ มะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้มากในเพศชาย โดยมักจะเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ บริเวณต่อมลูกหมาก เกิดที่ต่อมลูกหมาก ซึ่งต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งของผู้ชายในระบบทางเดินปัสสาวะที่สามารถเป็นมะเร็งได้ โดยต่อมลูกหมากจะอยู่บริเวณโคนอวัยวะเพศ ( องคชาต ) ติดกับกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างน้ำเมือกเพื่อใช้ในการหล่อเลี้ยงเชื้อ อสุจิโดยเฉพาะ โดยการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกชนิดของต่อมลูกหมาก ได้แก่ เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เซลล์สืบพันธุ์หรือเจิร์มเซลล์ เส้นเลือดและเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากเอง เป็นต้น แต่ที่มักจะพบได้มากที่สุดก็คือโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่เกิดจากเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากเอง มะเร็งต่อมลูกหมาก ปัจจุบันนี้เป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของโลก มะเร็งจัดเป็นโรคร้ายแรงอันดับหนึ่งที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้หากทำการรักษาไม่ทันเวลา จากสถิติพบว่าผู้ชายเสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) ซึ่งพบว่าอัตราการป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากของชายไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ ( DNA ) ทำให้เซลล์มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้งหลายเป็นเนื้องงอกและเนื้อร้ายในเวลาต่อมา ซึ่งการเจริญเติบโตของเซลล์ส่งผลให้เซลล์ที่อยู่รอบข้างถูกทำลายตามไปด้วย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ดีเอ็นเอของเซลล์ที่บริเวณต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน และจากสถิติของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากพบว่าผู้ป่วยจะเป็นชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ภายในครอบครัวมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม หรือมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ผิดสมดุล โดยการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แป้ง น้ำตาล เป็นหลัก ทำให้ร่างกายเกิดภาวการณ์สะสมของไขมันสูง ซึ่งจากสถิติพบว่าความเสี่ยงในการการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคนี้และไม่มี แลโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่มีการเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ไม่แสดงอาการให้ผู้ป่วยรับรู้ว่ามีเนื้อร้ายเกิดขึ้นที่ต่อมลูกหมากแล้ว ทำให้การตรวจพบหรือการสังเกตว่ามีเชื้อมะเร็งเกิดขึ้นหรือไม่ทำได้ยาก และหลายครั้งที่ทำการตรวจพบเชื้อมะเร็งก็ลุกลามอยู่ในขั้นแพร่กระจายที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยรักษาชีวิตและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตเนื่องจากการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก >> ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ >> อาการของระยะมะเร็งต่าง ๆ เป็นอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> สารตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากชนิดใหม่ให้ผลการตรวจชัดเจนขนาดไหน อยากรู้มาดูทางนี้ค่ะ สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมาก การเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่ อายุ โดยพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่จะมีอายุ 60 ปีขึ้นไป เชื้อชาติ พบว่ากลุ่มคนที่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากที่สุด ได้แก่ คนเชื้อชาติตะวันตก และกลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้น้อย คือ คนเชื้อชาติเอเชีย เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมบางชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ โดยอาจเป็นชนิดถ่ายทอดได้หรือไม่ถ่ายทอดก็ได้ การสูบบุหรี่ เพราะสารเคมีในบุหรี่อาจทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ การทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคมะเร็งที่พบได้ใน 10 อันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทยและมักจะ พบได้มากที่สุดในชาติตะวันตก ซึ่งจากสถิติของสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่จะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 69 ปีขึ้นไป แต่อาจพบได้บ้างประปรายในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี นอกจากนี้โรคมะเร็งต่อมลูกหมากก็มีหลายชนิดอีกด้วย แต่ที่มักจะพบบ่อยที่สุด ได้แก่ ชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา ซึ่งเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะ แต่จะมีอาการที่คล้ายกับต่อมลูกหมากอักเสบหรือต่อมลูกหมากโต โดยแพทย์ได้สรุปอาการที่สามารถสังเกตได้ดังนี้ 1. มีอาการปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะไม่สุดหรือมีเลือด มูกเลือดออกทางท่อปัสสาวะ    2. ในบางคนอาจมีอาการปวดหลังและขาอ่อนแรงได้ เนื่องจากมะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระดูกและไขสันหลัง โดยมะเร็งต่อมลูกหมากถือเป็นชนิดที่มีโอกาสแพร่เข้าสู่กระดูกได้สูงมากสำหรับการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยกำลังเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ แพทย์จะสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย ทำการตรวจร่างกาย ตรวจทวารหนัก และตรวจค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการตรวจที่ชัดเจน แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อในต่อมลูกหมากมาตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งนอกจากจะทราบผลของโรคแล้วก็ทราบระยะของอาการป่วยอีกด้วย มะเร็งต่อมลูกหมากสามารถเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกชนิดของต่อมลูกหมาก ได้แก่ เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เซลล์สืบพันธุ์หรือเจิร์มเซลล์ เส้นเลือดและเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากเอง ระยะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมากมีทั้งหมด 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งทั่วๆ ไป ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งมีการลุกลามอยู่ในต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียวเท่านั้น ซึ่งการตรวจค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ในระยะนี้ จะพบค่าระดับต่ำ ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งมีการลุกลามมากขึ้น แต่ยังคงอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมากและตรวจพบค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์สูงขึ้น ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อหุ้มต่อมลูกหมากหรือลุกลามเข้าสู่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ...

ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร ?

0
ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร ไตวาย เป็นภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือด จนไม่สามารถขับของเสีย ระดับน้ำ เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ ออกมาจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะได้ ทำให้มีของเสียตกค้างในร่างกาย ไตถือเป็นอวัยวะสำคัญที่มีอยู่ด้วยกัน 2 ข้าง หน้าที่สำคัญของไตคือ การขับถ่ายของเสียภายในร่างกาย และ ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารในรูปแบบน้ำและเกลือแร่ที่มีอยู่ภายในร่างกายให้มีความสมดุลโดยปกติแล้วไตของคนเราจะมีลักษณะคล้ายกับเมล็ดถั่วแดงมีสีน้ำตาลอมแดงและมีขนาดเท่ากับกำปั้นของคนเรา สำหรับกลุ่มคนในวัยผู้ใหญ่ ไตจะมีความยาวประมาณ 10–13 เซนติเมตรโดยที่ไตจะมีน้ำหนักข้างละไม่เกิน 120–170 กรัม ตำแหน่งของไต ตำแหน่งของไตจะอยู่ฝั่งซ้ายและขวา บริเวณส่วนหลังตรงบั้นเอว โดยไตจะอยู่นอกช่องท้อง ซึ่งไตข้างซ้ายจะอยู่ข้างหลังของกระเพาะอาหาร และไตข้างขาวจะอยู่ข้างหลังของตับ หน่วยของไต ไตแต่ละข้าง มักจะมีหน่วยไตข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยจะคอยทำหน้าที่ในการกรองน้ำเลือด ในแต่ละวันไตจะมีเลือดผ่านไตประมาณ 20–30 เปอร์เซ็นต์ของเลือดที่ออกมาจากหัวใจหรือคิดเป็นประมาณ 1.2 ลิตรต่อนาทีหรือ 1,700 ลิตรต่อวัน เมื่อไตได้มีการกรองน้ำเลือดเพื่อที่จะเอาสารต่างๆ ที่มีความจำเป็น กลับคืนสู่ร่างกายของคนเราแล้ว ไตก็จะทำหน้าที่ในการขับของเสียออกมาด้วยเช่นกัน ซึ่งของเสียส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบของปัสสาวะ กลุ่มคนวัยผู้ใหญ่จะปัสสาวะวันละ 1–2 ลิตร >> วิธีการรักษาไตวายเรื้อรังทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยไตวายเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ หน้าที่ของไตคืออะไร 1. ไต ทำหน้าที่ขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ ของเสียส่วนน้อยจะถูกขับออกทางเหงื่อ หากใครมียูเรียคั่งภายในกระแสเลือดมากๆ ก็อาจจะมีอาการมึนงง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาเจียน นอนไม่หลับ หรืออาจจะมีอาการชักและไม่รู้สึกตัว โดยปกติแล้วคนเราจะมียูเรีย 2.5 – 7.5 มิลลิโมลต่อ ลิตรเท่านั้น 2. ไต จะทำหน้าที่คอยควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย หากน้ำและเกลือแร่มีมากเกินความจำเป็น ก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะ ในกรณีผู้ป่วยไตวายที่ไม่สามารถขับโซเดียมส่วนเกินออกได้ จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการบวม ความดันโลหิตอาจจะสูง อีกทั้งผู้ป่วยที่ไม่สามารถขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกไปได้ อาจจะส่งผลทำให้หัวใจของผู้ป่วยเต้นผิปกติ หรือ หัวใจหยุดเต้นได้เช่นกัน 3. ไตทำหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์กลับเข้าสู่กระแสเลือด    4. ไต ทำหน้าที่ในการรักษาสมดุล ทั้งกรดและด่างภายในร่างกาย โดยที่กรดภายในร่างกาย จะมาจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ แป้ง และ น้ำตาล ส่วนด่าง จะมาจากอาหารประเภทผักและผลไม้รสเปรี้ยวหรือ ไม่หวานจัด 5. ไต คอยทำหน้าที่ผลิต และคอยควบคุมการทำงานของฮอร์โมนบางชนิดภายในร่างกาย อย่างเช่น ฮอร์โมนอีริทโทรพอยอิติน หรือ อีโป้ วิตามินดีในรูปแบบที่สามารถทำงานได้ สังเคราะห์พรอสตาแกลนิน เป็นต้น หากไตไม่สามารถทํางานได้ตามปกติจะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย เมื่อไตไม่ทำงาน อาจมีสาเหตุจากอาการไตวายเฉียบพลันหรืออาการไตวายเรื้อรัง เรามาดูกันว่าอะไรคือไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง? อาการไตวายเฉียบพลัน อาการไตวายเฉียบพลัน คืออาการที่ไตมีลักษณะสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้น้ำและของเสียไม่ได้ถูกขับออกมาจากร่างกาย ปัสสาวะอาจจะน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรต่อวัน ทำให้มีของเสียคั่งภายในเลือดจนกระทั่งเป็นพิษต่อร่างกาย รวมไปถึงมีการคั่งของน้ำและเกลือแร่ส่งผลทำให้เสียสมดุลของเกลือแร่และเสียสมดุลความเป็นกรดและเป็นด่างภายในเลือดอีกทั้งอาจจะทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนที่ต่อมหมวกไตนำไปสู่ความผิดปกติตามอวัยวะต่างๆภายในร่างกายได้ อาการไตวายเรื้อรัง อาการไตวายเรื้อรัง คือเนื้อไตได้ถูกทำลายไปทีละน้อยอย่างต่อเนื่องโดยระยะแรกอาจจะไม่มีอาการอะไรส่งผลทำให้การทำงานของไตเสียไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงนี้อาการจะเริ่มแสดงออก ถ้าหากอาการรุนแรงขึ้นเนื้อไตจะมีลักษณะฝ่อและเหี่ยวลงหรืออาจจะเกิดพังผืดแทรกภายในเนื้อไตสำหรับเนื้อไตส่วนที่ยังดีอยู่นั้นจะต้องคอยทำหน้าที่ให้มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถทดแทนไตส่วนที่เสียได้ เมื่อเนื้อไตปกติต้องทำงานมากยิ่งขึ้น จึงมีลักษณะใหญ่โตขึ้น เรื่อย ๆ ถึงแม้จะมีการรักษาแล้วก็ตาม แต่ไตที่วายเรื้อรัง จะไม่สามารถกลับมาเป็นปกติ หรือ ดีขึ้นได้ การเข้ารับการรักษาจะสามารถช่วยทำให้ไตไม่เสียเร็วขึ้นกว่าเดิมและจะมีอาการดีขึ้นส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่ค่อยเหนื่อยง่าย อีกทั้งการรักษาในแต่ละครั้งจะช่วยชะลอการเกิดอาการแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย ในกรณีที่ไตวายเพียงข้างเดียวและไตอีกข้างยังคงสามารทำหน้าที่แทนได้นั้น แพทย์อาจจะทำการรักษาด้วยการดูแลไม่ให้ไตมีอาการแย่ไปกว่าเดิม โดยที่ผู้ป่วยจะต้องระวังอาหารที่มีรสเค็ม รสหวาน และรสมันเป็นสำคัญ ในกรณีที่ไตวายทั้ง 2 ข้าง และมีอาการรุนแรงหรือผู้ป่วยอยู่ในช่วงไตวายระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการดูแลตนเองให้มากขึ้นควบคู่ไปกับการฟอกเลือดหรือทำการล้างไต แต่หากรุนแรงและมีอาการเรื้อรังจำเป็นจะต้องรักษาแบบนี้ตลอดไปจนกว่าจะทำการปลูกถ่ายไตได้ในที่สุด  สาเหตุของอาการไตวาย 1. มีเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง จนกระทั่งกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน อีกทั้งยังคงมีการหลั่งฮอร์โมนแอนตี้ไดยูเรติค โดยทั้งสองกรณีจะส่งผลทำให้น้ำถูกดูดกลับไปที่ไตมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผู้ป่วยมีปัสสาวะลดลง เกิดอาการเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ ตลอดจนกระทั่งมีของเสียคั่งในเลือดมากขึ้น 2. ทางเดินปัสสาวะเกิดการอุดตัน ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ากรวยไตลงมาส่งผลทำให้เกิดความดันในส่วนที่อยู่เหนือการอุดกั้นเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอย่างรวดเร็วเมื่อไตไม่มีการกรองของเสียหรือไม่มีปัสสาวะจึงทำให้เกิดของเสียคั่งภายในเลือด ของเสียคั่งภายในเลือดเกิดจากไตไม่กรองของเสียหรือไม่มีปัสสาวะ 3. ร่างกายขาดน้ำ ส่งผลทำให้เกิดความดันเลือดน้อยลงโดยเลือกไปเลี้ยงที่ไตลดลงในขั้นแรกหากความดันเลือดยังมีมากกว่า...

ปัญหาที่มากับการลดน้ำหนัก

0
การลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักสำหรับคนอ้วน สำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างการลดน้ำหนัก หรือ เคยผ่านช่วงเวลาที่ลดน้ำหนักมาแล้วนั้น เชื่อได้เลยว่าหลายๆคนต้องเคยเจอปัญหาต่างๆในระหว่างที่กำลังลดน้ำหนัก เช่น ทำไมน้ำหนักถึงลดไม่ลงสักที ทำไมน้ำหนักถึงลงช้า ทำไมออกกำลังกายมากแล้วยังไม่ผอมเสียที หรือจะเป็นคำถามอีกมามายที่เกิดความสงสัยขึ้น สำหรับใครที่กำลังเจอปัญหา เกี่ยวกับการลดน้ำหนักหรือกำลังประสบปัญหาอยู่ ลองมาดูกันว่าปัญหาที่เกิดกับตัวของคุณหรือไม่ ที่จะอธิบายดังต่อไปนี้หรือไม่ >> โรคอ้วนมีสาเหตุมาจากอะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> การหาค่าดัชนีมวลกาย ( BMI ) ทำได้อย่างไร ? ทำไมหญิงชายลดน้ำหนักได้ไม่เท่ากัน? ลดน้ำหนักยังไงให้ได้ผล เป็นคำถามที่น่าสงสัยเป็นอย่างยิ่งสำหรับคุณผู้หญิงทั้งหลาย ทั้งที่ควบคุมอาหารก็มากกว่า หรือออกกำลังกายก็หนักกว่า แล้วทำไมถึงลดน้ำหนักได้น้อยกว่าในผู้ชายที่ออกกำลังกายและควบคุมอาหารน้อยกว่าเรื่องนี้ทำให้ผู้หญิงส่วน ใหญ่รู้สึกว่าตนเองล้มเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายและมักถอดใจเลิกออกกำลังกายในที่สุด ซึ่งคำถามข้อนี้สามารถอธิบายเหตุผลได้ดังต่อไปนี้ 1. สงครามแคลอรีระหว่างเพศ เหตุผลที่จะอธิบายข้อแรกคือ โดยปกติแล้วในผู้ชายมักมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าผู้หญิง ร่วมถึงมีปริมาณของกล้ามเนื้อในร่างกายมากว่าด้วยซึ่งเซลล์กล้ามเนื้อจะเผาผลาญพลังงานได้ดีกว่าเนื้อเยื่อไขมัน จึงทำให้การใช้พลังงานในชีวิตประจำวันปกติของเพศชายจะสามารถเผาผลาญแคลอรีได้มากกว่าในเพศหญิงดังนั้นถึงแม้ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายจะมีรูปร่างเท่าๆกัน แต่ผู้ชายจะสามารถกินได้มากกว่าผู้หญิงโดยที่น้ำหนักไม่ขึ้น รวมทั้งสามารถลดน้ำหนักได้ง่ายกว่าเพียงลดปริมาณอาหารให้น้อยลงเท่านั้น 2. อายุ โดยปกติมนุษย์เราเมื่อมีอายุมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อในร่างกายต่างๆ ก็จะลดลงทำให้ปริมาณแคลอรีที่ต้องการในแต่ละวันก็ลดลงตามไปด้วยซึ่งผู้ชายสามารถควบคุมน้ำหนักได้ดีกว่าผู้หญิงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงอายุเท่าไหร่ก็ตาม เนื่องจากผู้หญิงเมื่อถึงวัยที่หมดประจำเดือนนั้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อลดลงเร็วกว่าปกติ จึงควบคุมน้ำหนักได้ยาก แม้ว่าจะกินอาหารแคลอรีต่ำในปริมาณน้อยแล้วก็ตามแต่ทั้งนี้อย่าพยายามลดน้ำหนักด้วยการลดแคลอรีมากๆ เนื่องจากจะไปทำให้เกิดการเร่งให้สูญเสียกล้ามเนื้อเร็วขึ้นซึ่งมีผลให้ระบบเผาผลาญลดลง ควรแก้ปัญหาโดยการออกกำลังกายแบบสร้างกล้ามเนื้อจะดีที่สุด โดยเฉพาะในผู้หญิงวิธีนี้เป็นสิ่งที่ช่วยรักษาระบบเผาผลาญในร่างกายให้ยังทำงานได้ในระดับเป็นปกติ 3. ออกกำลังกายแต่อย่าให้หนักเกินไป ธรรมชาติของร่างกายของผู้ชาย หากทำการออกกำลังกายที่เหมาะสมก็สามารถช่วยให้ลดน้ำหนักลงได้ โดยที่ไม่ต้องควบคุมหรือลดระดับอาหารที่ทานเข้าไปในแต่ละวัน และหากมีการเพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น ก็จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงเร็วขึ้นไปอีก ซึ่งแตกต่างจากในผู้หญิง หากผู้หญิงทำการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นแบบหนักมาก ก็อาจจะไม่ได้ผลเหมือนในผู้ชาย ซึ่งมีเหตุผลจากการวิจัยคือ ในผู้หญิงเมื่อยิ่งออกกำลังกายหนักขึ้นร่างกายจะส่งสัญญาณให้  “ อยากกิน ” เพื่อชดเชยพลังงานที่ได้สูญเสียออกไป เพราะร่างกายผู้หญิงทำงานในลักษณะคอยเก็บไขมัน ซึ่งเป็นระบบป้องกันร่างกายของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ เมื่อออกกำลังกายหนักจึงกระตุ้นให้เกิดอาการหิว อยากกินมากขึ้น ซึ่งในผู้ชายจะไม่พบหรือเป็นแบบนี้เหมือนในผู้หญิงดังนั้นการออกกำลังกายในระดับที่เหมาะสม จะสามารถช่วยให้ผู้หญิงสามารถลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกินได้ดีกว่า การออกกำลังกายแบบหนักและหักโหม หรือควรเคลื่อนไหวให้มากขึ้นตลอดวัน ไม่ใช่เพียงการออกกำลังกายแบบหนักในช่วงเวลาเพียงแค่วันละ 30 นาทีเท่านั้น 4. ค้นหาความจริงในการกินและออกกำลังกาย การลดน้ำหนักที่ได้ผลนั้น ผู้ลดน้ำหนักจะต้องคำนวณพลังงานที่ได้ใช้ออกไปในแต่ละวัน ต้องให้มากว่าพลังงานที่ได้รับจากการทานอาหารเข้าไป โดยเฉพาคุณผู้หญิงต้องทำการจดบันทึกทุกครั้งเมื่อมีการทานอาหารอะไรเข้าไป แม้จะเป็นเพียงแค่อาหารคำเล็กๆ หรือทานปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม เช่น ทานเค้ก 2 คำ ทานขนมปังเพียงครึ่งชิ้น ซึ่งหากรวมๆกันแล้วก็อาจจะเป็นปริมาณพลังงานที่สูงได้ รวมทั้งให้บันทึกกิจกรรมการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อที่จะได้มาคำนวณปริมาณพลังงานที่ได้ใช้ออกไปในแต่ละวัน นอกจากนี้ควรจดเวลา สถานที่ และความรู้สึกที่ทานอาหารต่างๆด้วย เพราะบางคนใช้การทานอาหารแก้เบื่อ เมื่อลองจดบันทึกดูสักระยะ จะสามารถทราบและวิเคราะห์พฤติกรรมการทานอาหารที่แท้จริงของตนเองได้ และเริ่มเรียนรู้เพื่อปรับตัวในการทานอาหารที่มีอิทธิพลจากอารมณ์ตนเองได้ในที่สุด 5. สิ่งที่ควรทำเพื่อลดช่องว่างระหว่างเพศ หาวิธีออกกำลังกายที่ไม่หนักมากจนเกินไป เช่น การเดิน 10-20 นาที โดยเฉพาะหลังจากทานอาหาร หรือทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงานออกไป อย่างน้อยให้ได้วันละ 150 กิโลแคลอรี สังเกตดูว่า อาหารสะท้อนถึงอารมณ์อย่างไรในระหว่างวัน โดยใช้วิธีการบันทึกมาช่วยแก้ไขพฤติกรรมนั้นๆ อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนชายของคุณ หรือคู่ของคุณที่กำลังลดน้ำหนัก เพราะการลดน้ำหนักของผู้หญิงไม่เหมือนกับผู้ชาย ติดตามความก้าวหน้าในการลดน้ำหนักของตนเอง และประคับประคองพฤติกรรมให้อยู่ในกฎเกณฑ์ อย่าให้ความล้มเหลวในการลดน้ำหนักของคนอื่นมาทำให้คุณหมดกำลังใจ ถ้าต้องการช่วยเหลือควรปรึกษานักโภชนาการอาหาร เพื่อขอคำแนะนำที่ดีและถูกต้อง 8 เหตุผลที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่ได้ผล ผู้ที่ลดน้ำหนักไม่ได้ผล อาจจะมาจากสาเหตุหรือปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งหากลองมาดูเหตุผลหลักๆ ที่มักเจอในผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงลดน้ำหนักก็มักจะเป็นเหตุผลที่ซ้ำๆและคล้ายๆกันดัง 8 ข้อต่อไปนี้ 1. ละเลยการออกกำลังกาย การออกกำลังกาย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญในการลดน้ำหนักที่รองมาจากการควบคุมอาหาร โดยไม่เพียงแต่ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยทำให้ระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานเพิ่มขึ้นอีกด้วยเพราะทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานมากขึ้น คนที่ออกกำลังกายขณะลดน้ำหนักจะช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้ 2. ช่วงเวลาลดน้ำหนักสั้นเกินควร การลดน้ำหนักที่กำหนดช่วงระยะเวลาที่สั้นเกินไป อาจทำให้ไม่สามารถลดน้ำหนักลงได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากเป็นการกดดันตนเองจนเกินไป อาจทำให้เครียดหรือท้อแท้ กับน้ำหนักที่ลดลงช้ากว่าที่คาดหวังไว้ ทั้งนี้ควรวางแผนระยะเวลาในการลดน้ำหนักที่ดี ไม่เร็วหรือน้อยช้าไป การลดน้ำหนักอย่างช้าๆร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร และปลูกฝังนิสัยในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะเป็นวิธีลดน้ำหนักที่ดี และช่วยป้องกันน้ำหนักส่วนเกินในระยะยาวได้ 3. หงุดหงิดกับปริมาณอาหารที่ลดลง การต้องปรับและควบคุมอาหารการกิน จากในสิ่งที่ชอบและกินในปริมาณมากๆ มากินอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ลดน้ำหนัก คงเป็นอะไรที่สร้างความหงุดหงิดใจให้กับผู้ลดน้ำหนักในระยะแรกไม่มากก็น้อย ซึ่งแม้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากแต่ก็ต้องค่อยๆปรับตัวตามไปด้วยความมีวินัยและอดทน 4. มองข้ามอาหารไขมันซ่อนรูป  อาหารหลายๆอย่าง มีไขมันประเภทเนย ครีม น้ำมัน...

สารอาหารที่เร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย

0
สารอาหารที่เร่งการเผาผลาญไขมัน คนที่อ้วน หรือ รูปร่างไม่สมส่วนมักจะมองหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารอาหารที่เร่งการเผาผลาญไขมันมาใช้ และคงไม่มีใครที่อยากจะเป็นคนอ้วน มีพุง หรือมีร่างกายใหญ่โตเกินปกติ เพราะนอกจากบุคลิกภาพภายนอกที่ดูไม่ดีแล้ว การหาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ก็ยังทำได้ยากกว่าคนปกติ และยังไม่รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มักมาพร้อมกับโรคอ้วนอีกด้วย หลายคนจึงมักหันมาลดน้ำหนักเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น ซึ่งผลที่ได้นั้นก็แตกต่างกันออกไปบางคนก็สามารถลดน้ำหนักได้สำเร็จโดยใช้วิธีปกติ ทั้งการกินอาหารที่มีประโยชน์ การควบคุมอาหารและการออกกำลัง  กายอย่างสม่ำเสมอ แต่ก็มีกลุ่มคนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถลดน้ำหนักตามที่คาดหวังได้ด้วยวิธีปกติ จึงพยายามหาตัวช่วยในการลดน้ำหนักเข้ามา ซึ่งส่วนมาก็จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ที่มีอยู่มากมายในปัจจุบันหลากหลายยี่ห้อ และสามารถหาซื้อได้ง่ายนั้นเอง สารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมัน คืออะไร? สารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมัน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆที่มีมากมายหลายชนิด เช่น เครื่องดื่ม อาหารเสริม ยา หรือสมุนไพรต่างๆ เป็นต้น ที่มาพร้อมกับโฆษณาชวนเชื่อที่หลากหลายว่า สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยควบคุมนำหนักในร่างกาย ทำให้ผู้ที่ใช้สามารถทำการลดน้ำหนักลงได้อย่างรวดเร็ว เปลี่ยนจากคนที่อ้วนเป็นคนผอมได้ง่ายๆ โดยที่ยังสามารถทานอาหารได้เหมือนคนปกติ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่วางขายกันอยู่ทั่วไป มีจุดที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ เจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ใช้วิธีการพิสูจน์ผลิตภัณฑ์กับกลุ่มคนจำนวนที่น้อย และใช้ระยะเวลาทดสอบแค่เพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การที่จะพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักชนิดนั้นๆ  สามารช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ และมีความปลอดภัยเพียงใดกับผู้ใช้งาน จะต้องทำการวิจัย ทดลองในกลุ่มคนที่มีจำนวนมากๆ และต้องทดสอบเป็นระยะเวลานานโดยอาจจะใช้ระยะเป็นปีเลยทีเดียว>> การดื่มการแฟสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ถั่วขาวช่วยลดน้ำหนักได้ดีจริงหรือไม่ หาคำตอบกันได้ที่นี่ค่ะ สารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมันที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน สำหรับสารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมันที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน และได้รับการทบทวนข้อมูลการวิจัยจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา มีดังต่อไปนี้ 1. ส้มขม หรือ บิตเตอร์ ออเร้นจ์ ( Bitter Orange ) ส้มขม เป็นสมุนไพรในตำรายาจีนอย่างหนึ่ง ที่มีการเอาเปลือก ดอก ใบ และผลมาสกัดเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ รวมทั้งยังมีสรรพคุณในการลดน้ำหนัก ในส้มขมจะมีส่วนประกอบของซินเนฟรีน ( Synephrine ) และโดพามีน   ( Dopamine ) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นคล้ายเอฟิดร้า ( Ephedra ) หรือมาฮวง ( Ma Huang )  จัดเป็นสารกระตุ้นชนิดหนึ่งที่มีการอ้างสรรพคุณว่าสามารถช่วยเผาผลาญแคลอรี่ สลายไขมัน และลดความอยากอาหารลงได้ นอกจากนี้ในส้มขมมักมีส่วนผสมของกาเฟอีนและสารประกอบอื่นๆอีกด้วย ในแง่ของการให้ผลเพื่อช่วยให้การลดน้ำหนัก ยังคงไม่มีผลการวิจัยที่ยืนยันได้ชัดเจน ว่าส้มขม ช่วยให้ลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ แต่ส้มขมอาจจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญแคลอรีในร่างกาย และช่วยลดความอยากอาหารได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น  เมื่อใช้ร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ส่วนในเรื่องของความปลอดภัย พบว่าส้มขมอาจจะไม่ปลอดภัยนัก เพราะผลิตภัณฑ์ส้มขมอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นรัว เกิดการวิตกกังวล และความดันโลหิตสูงขึ้นได้ และมีการพบว่าการใช้ส้มขมร่วมกับสารกระตุ้นชนิดอื่น เช่น กาเฟอีน อาจจะทำให้เกิดอาการหัวใจวายได้อีกด้วย 2. สารคาเฟอีน สารคาเฟอีน เป็นสิ่งใกล้ตัวที่สามารถพบได้ง่ายในปัจจุบัน จากการดื่มชา กาแฟ  โกโก้ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนเป็นส่วนผสม อย่างเช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังนอกจากนี้ยังพบได้ในยาและสมุนไพรบางชนิด รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ ที่ใช้คาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น คาเฟอีน เป็นสารกระตุ้นที่มีฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว เพิ่มความกระชุ่มกระชวย เพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เพิ่มการสลายตัวของไขมันให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นในแง่ของการลดน้ำหนัก แม้งานวิจัยจะไม่ชัดเจนว่าคาเฟอีนช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ก็มีทฤษฎีที่อ้างถึงผลของคาเฟอีนที่อาจมีผลต่อน้ำหนักตัว คือ คาเฟอีนเป็นสารที่ยับยั้งความหิว ทำให้กินอาหารน้อยลงแต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเพียงพอว่าจะช่วยลดน้ำหนักได้ในระยะยาว คาเฟอีนช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญแคลอรีในการย่อยอาหาร แต่ก็อาจจะไม่มากพอที่จะทำให้ลดน้ำหนักลงได้นั้นเองคาเฟอีนจะปลอดภัยหากใช้ในปริมาณน้อย แต่หากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบ เช่น ทำให้มีอาการ กระวนกระวายใจ นอนไม่หลับ และหากได้รับคาเฟอีนในปริมาณสูงๆมากเกินกว่า 400 มิลลิกรัม/วัน จะทำให้คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นสูง และมีอาการชักได้ 3. เยอร์บามาเต้  ( Yerba Mate ) คือพืชชนิดหนึ่งที่มีสารคาเฟอีน เป็นส่วนประกอบจะขึ้นเองอยู่ในป่าตามธรรมชาติแถบทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวอเมริกาใต้นิยมนำพืชชนิดนี้มาใช้ชงเป็นเครื่องดื่มในรูปแบบของ ชา ซึ่งเชื่อกันว่ามีสรรพคุณ ในการช่วยลดอาการเหนื่อยล้า...

ลดความอ้วน เพิ่มกระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism

0
กระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism ลดความอ้วน หลายคนคงมีความสงสัยว่า กระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism คืออะไร? เพราะเหตุใดจึงไม่สามารถลดน้ำหนักตัวลงตามที่ใจหวังไว้ได้เสียที ทั้งๆที่ทำตามขั้นตอนการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมปริมาณอาหารหรือการออกกำลังกายก็ตาม จึงมักเกิดความท้อแท้และเลิกลดน้ำหนักไปเลยก็มีทั้งนี้จะมีอีกหนึ่งปัจจัยที่จะมีผลในการน้ำหนักของแต่ละคน ก็คือ กระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism หรือ ระบบเผาผลาญ ในร่างกายของมนุษย์เรานั้นเอง ซึ่งระบบเผาผลาญในร่างกายของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน จึงทำให้การลดน้ำหนักในแต่ละคนก็อาจจะได้ผลมากน้อยแตกต่างกันไปด้วย ทั้งนี้หากผู้ใดที่มีระบบเผาผลาญในร่างกายต่ำ ก็สามารถที่จะหาวิธีกระตุ้นให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ดังข้อมูลต่อไปนี้ กระบวนการเผาผลาญอาหาร metabolism ระบบเผาผลาญคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร? กระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism ระบบเผาผลาญในร่างกาย หรือ เมแทบอลิซึม ( Metabolism ) หมายถึง กระบวนการทางชีวเคมีทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเซลล์เพื่อนำเอาพลังงานจากอาหารมาใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ระบบเผาผลาญจะเป็นตัวกำหนดอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ( Metabolic Rate )  ซึ่งหากมีอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายที่ต่ำ ก็จะทำให้สามารถลดน้ำหนักได้ยาก แต่ถ้าผู้ใดที่มีอัตรากรเผาผลาญพลังงานในร่างกายที่สูง ก็จะช่วยให้สามารถลดน้ำหนักได้ดีกว่าผู้ที่มีระบบเผาผลาญต่ำนั้นเอง โดยปกติมนุษย์ทุกคนจะมีอัตราหรือประสิทธิภาพการเผาผลาญพลังงานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอัตราการเผาผลาญของร่างกายมาจากพลังงาน 3 ส่วน หลักๆ คือ 1. พลังงานพื้นฐานที่ใช้ในการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การหายใจทางปอด การเต้นของหัวใจ การหมุนเวียนของเลือด การทำงานของระบบทางเดินอาหาร เช่น การย่อย และการดูดซึม ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้พลังงานทั้งสิ้น แม้แต่ขณะที่นอนหลับอวัยวะภายในอย่าง หัวใจ และปอดก็ยังทำงานอยู่ปกติ จึงมีการใช้พลังงานส่วนนี้ตลอดเวลา 2. พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนไหวหรือออกแรง เช่น การออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันทั้ง การเดิน การวิ่ง การขับรถ การทำงานต่างๆ เป็นต้น 3. พลังงานที่ใช้ในการย่อยอาหาร เป็นพลังงานในส่วนที่เกิดขึ้นในกระบวนการย่อยอาหารของร่างกาย>> ปัญหาที่มักพบคู่กับการลดน้ำหนักคืออะไร อยากรู้มาดูกัน >> การออกกำลังกายแบบไหนเหมาะกับตัวคุณ อยากรู้มาดูกันค่ะ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism ในตลอดช่วงชีวิตอายุคน อัตราระบบเผาผลาญในร่างจะไม่ได้อยู่ในระดับเดิมไปตลอดชีวิต แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ล้วนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบเผาผลาญในร่างกาย  ดังนี้ อายุ โดยปกติแล้ว เมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไปแล้ว ระบบเผาผลาญในร่างกายของคนเราจะลดลงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลาทุกๆ 10 ปี เพศ ( เพศชายแม้ขณะอยู่เฉยๆ ก็สามารถเผาผลาญพลังงานได้มากกว่าเพศหญิง ) น้ำหนัก ส่วนสูง วิถีการดำเนินชีวิต ปริมาณของมวลกล้ามเนื้อ คนที่มีกล้ามเนื้อมากจะมีระบบการเผาผลาญสูงกว่าคนที่มีไขมันมาก เพราะเซลล์กล้ามเนื้อเป็นเซลล์ขยัน ใช้พลังงานได้ดีกว่าเซลล์ไขมันซึ่งเปรียบได้กับเซลล์ขี้เกียจ พันธุกรรมการถ่ายทอดจากคนในครอบครัว โรคบางชนิด เช่น ไทรอยด์ต่ำ ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลงด้วย ทำไมน้ำหนักทรงตัว หลังลดความอ้วน? สำหรับผู้อยู่ในช่วงลดน้ำหนัก ในช่วงแรกๆจะสังเกตได้ว่าน้ำหนักตัวลดลงไปอย่างเร็ว แต่เมื่อผ่านไปสักพักน้ำหนักตัวจะลดลงได้น้อยจนทรงตัวแทบไม่ลดเลย สาเหตุที่เป็นแบบนี้เนื่องจากช่วงแรกๆ น้ำหนักตัวเรายังมากอยู่ ระบบเผาผลาญในร่างกายก็ยังคงทำงานได้สูง ดังนั้นเมื่อออกกำลังกายหรือมีการควบคุมลดแคลอรีจากอาหารลงมาเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงมาได้ง่ายแต่เมื่อร่างกายสูญเสียเซลล์ไขมัน เซลล์กล้ามเนื้อ และสูญเสียน้ำในระยะแรกซึ่งมีอยู่มาก ออกไปแล้ว ระบบเผาผลาญในร่างกายก็จะลดต่ำลง ร่างกายก็จะใช้พลังงานลดลงตามไปด้วย จึงส่งผลให้น้ำหนักในช่วงนี้จึงลดลงได้ยากนั้นเองเซลล์กล้ามเนื้อทุกๆครึ่งกิโลกรัมที่ลดลงในร่างกาย จะไปทำให้ระบบเผาผลาญทำงานลดลงประมาณวันละ 9 กิโลแคลอรี ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมคนที่ลดน้ำหนักจึงกลับมาอ้วนอีกได้ง่าย ถ้าหากไม่ควบคุมอาหารอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พลังงานที่ร่างกายต้องการจากอาหารก็จะลดน้อยลงไปอีก จึงทำให้ ปริมาณอาหารที่รับประทานจะต้องลดน้อยลงตามไปด้วย 6 วิธีกินเพิ่มกระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism หากผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีแล้วน้ำหนักไม่ลดลงสักที หรือปริมาณที่ลดลงน้อยมาก ก็อาจเป็นไปได้ว่ากำลังมีปัญหาเรื่องระบบเผาผลาญในร่างกาย ที่ทำงานได้ไม่ดีเพียงพอ ซึ่งก็มีวิธีที่จะกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้น ด้วย 6 วิธีดังต่อไปนี้ 1. กินบ่อย แต่แบ่งเป็นมื้อเล็กๆโดยปกติอาหารมื้อหลักในแต่ละวันก็จะประกอบด้วย มื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็น สิ่งหากต้องการให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ให้ลองทำการเปลี่ยนมาเป็นทานอาหารมื้อเล็กๆ เป็น 4-6 มื้อในแต่ละวัน...

มะม่วง ( Mango ) อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร

0
มะม่วง ( Mango ) มะม่วง ( Mango ) คือ ผลไม้ที่มีรสชาติหวานอร่อยและเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนส่วนใหญ่อีกด้วย เพราะไม่ว่าจะกินแบบสุกหรือแบบดิบ ก็ได้รสชาติที่อร่อยโดนใจ และนอกจากมะม่วงที่มีรสชาติหวานแล้วก็มีมะม่วงที่มีรสชาติเปรี้ยวอีกด้วย โดยจะนิยมนำมากินจุ้มกับน้ำปลาพริก รสดี หรือพริกเกลือ แต่หากต้องการให้เก็บไว้กินได้นานๆ ก็จะนำมาทำมะม่วงแช่อิ่มนั่นเอง >> คุณค่าทางโภชนาการที่มีในผลไม้มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ >> ผลไม้จากรถเข็นที่เราซื้อทานมีแคลอรี่เท่าไหร่บ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ ต้นกำเนิดของมะม่วง ในปัจจุบันพบว่า มะม่วง เป็นผลไม้ที่นิยมปลูกกันแทบทุกบ้านและถือเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่า มะม่วงเป็นไม้ถิ่นดั้งเดิมของไทยเอง แต่ความจริงแล้วมะม่วงมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศพม่าและ อินเดีย โดยอาจเรียกได้ว่าเป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดียเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังขึ้นชื่อว่าเป็นผลไม้ที่โบราณที่สุดของประเทศอินเดียอีกด้วย ซึ่งความสำคัญของมะม่วงไม่เพียงแต่เป็นผลไม้ที่นำมากินเพื่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังนิยมนำดอกมะม่วงมาใช้เพื่อบวงสรวงพระสุรัสวดีตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูอีกด้วย มะม่วง นำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไหร่? จากหลักฐานศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ทำให้ทราบว่ามะม่วงน่าจะเข้ามาในประเทศไทยเมื่อประมาณหลายร้อยปีที่แล้ว ซึ่งมะม่วงมีลักษณะเป็นต้นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mangifera indica ซึ่งแต่เดิมเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย และได้ถูกนำเข้ามาในไทยจนเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ซึ่งตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ก็ได้มีการพรรณนาถึงมะม่วงในสมัยสุโขทัยไว้หลายตอน แสดงให้เห็นว่าในสมัยสุโขทัย มีการปลูกมะม่วงกันอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว และสำหรับในปัจจุบันนี้ มะม่วงก็ได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยมีการส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยเฉพาะการส่งไปยังตลาดญี่ปุ่น เกาหลี และจีน เป็นต้น สายพันธุ์ของมะม่วง มะม่วง มีหลากหลายสายพันธุ์เช่นเดียวกันผลไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งพบว่ามะม่วงมีมากกว่า 50 สายพันธุ์ แต่ที่ได้รับความนิยมที่สุด ก็คือ มะม่วงเขียวเสวยและมะม่วงน้ำดอกไม้ ส่วนมะม่วงสายพัธุ์ที่นิยมปลูกในไทยมากที่สุด ได้แก่ 1. มะม่วงเขียวเสวย เป็นมะม่วงสายพันธุ์พื้นเมืองของนครปฐม โดยจะมีลักษณะผลยาว ปลายแหลมและด้านหลังโค้งนูนเล็กน้อย ส่วนเปลือกจะมีสีเขียวเข้มและหนาพอสมควรโดยรสชาติของมะม่วงชนิดนี้จะมีรสมัน ไม่หวาน ไม่เปรี้ยว และมีเนื้อกรอบ 2. มะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นมะม่วงที่นิยมนำมากินสุกมากกว่ากินดิบ โดยจะมีรูปร่างผลมะม่วงเรียวยาว เมื่อดิบจะมีเนื้อสีขาว แต่เมื่อสุกจะมีสีหลืองนวลและมีรสชาติหวานอร่อยมากทีเดียว 3. มะม่วงอกร่อง เป็นสายพันธุ์ที่มีความเก่าแก่มาก โดยส่วนใหญ่จะนิยมทานกับข้าวเหนียวมูนมากที่สุด โดยมะม่วงสายพันธุ์นี้จะมีรูปร่างผลค่อนข้างเล็ก มีร่องเป็นแนวยาวด้านท้อง เมื่อผลสุกจะมีเนื้อละเอียดและรสชาติอร่อยพอควร 4. มะม่วงฟ้าลั่น เป็นมะม่วงที่มีรสชาติมันเช่นเดียวกับมะม่วงเขียวเสวย มีผลกลม ท้ายแหลม แต่ปอกเปลือกยากพอสมควร เพราะเมื่อปอกเปลือกเนื้อมะม่วงจะปริแตกนั่นเอง 5. มะม่วงมหาชนก เป็นมะม่วงที่ผสมระหว่างมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันกับพันธุ์ซันเซ็ตของอินเดีย ซึ่งผลจะมีลักษณะยาวรี มีสีเหลืองเข้มและมีริ้วสีแดง ส่งกลิ่นหอมน่าทาน 6. มะม่วงหนังกลางวัน มีลักษณะผลยาวคล้ายกับงาช้าง เปลือกจะมีสีเขียวแก่จัดและมีรสชาติมันอมเปรี้ยว แต่เมื่อสุกจะมีรสหวานมาก 7. มะม่วงแก้ว เป็นมะม่วงที่มีลักษณะผลอ้วนป้อม เปลือกเหนียว นิยมนำมากินดิบมากที่สุด โดยมะม่วงชนิดนี้เมื่อเกือบสุก เปลือกจะเป็นสีอมส้มหรืออมแดง 8. มะม่วงโชคอนันต์ เป็นมะม่วงที่มีการกลายพันธุ์มาจากมะม่วงป่า ซึ่งจะมีลักษณะผลยาว ปลายมนเล็กน้อย และนิยมนำมาทำมะม่วงดองที่สุด ส่วนรสชาติ เมื่อดิบจะมีรสเปรี้ยวหรือมัน และเมื่อสุกจะมีรสหวาน สามารถนำไปทำเมนูของหวานเช่น ข้าวเหนียวมะม่วงหรือน้ำมะม่วงปั่นได้ประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารของมะม่วง ประโยชน์ของมะม่วง มะม่วง อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารมากกว่าที่หลายคนคิด ซึ่งก็มีประโยชน์ดังนี้ อุดมไปด้วยวิตามินหลากหลายชนิด เช่น วิตามินซี ช่วยในการป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และแก้อาการหวัด, วิตามินเอ ช่วยบำรุงรักษาดวงตาและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นมากขึ้น มีแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายเป็นจำนวนมาก เช่น ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียมและโพแทสเซียม ทั้งยังอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ที่จะช่วยฟื้นฟูผิวให้ชุ่มชื้น เนียนนุ่มและช่วยชะลอวัยได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกายและลดความเสี่ยงโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น  อุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นและลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้หรือโรคริดสีดวงทวาร มีส่วนช่วยในการเยียวยา รักษาโรคเบาหวาน โดยทำให้อาการดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามควรให้ผู้ป่วยกินในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น เพราะหากกินมากเกินไปก็จะเกิดผลเสียได้เช่นกันการเลือกมะม่วง ให้ได้รสชาติหวานอร่อย วิธีเลือกมะม่วงให้ได้รสชาติหวานอร่อย การเลือกมะม่วงสามารถทำได้ไม่ยาก โดยมีหลักในการเลือกดังนี้ 1. เลือกมะม่วงที่มีสีสันสดใสผิวเปลือกเรียบสวย ไม่ขรุขระและไม่หยาบ ที่สำคัญจะต้องไม่เหี่ยวด้วย 2. บนผิวเปลือกของมะม่วง ควรมีรอยตกกระพอประมาณ ซึ่งจะเป็นมะม่วงที่สุกกำลังดี 3. ลองดมกลิ่นดู...