ความสำคัญของผักและผลไม้
สิ่งที่โดดเด่นอย่างมากสำหรับประเทศไทยเรานั้นก็ต้องเป็นเรื่องของผักและผลไม้ ที่ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหน ฤดูอะไรก็มีผักดีๆ สดๆ ใหม่ๆ ผลไม้อร่อยๆ ให้เลือกกินกันได้ตลอดทั้งปี สลับหมุนเวียนกันแบบไม่ขาดสาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีอย่างมากสำหรับคนไทยที่จะมีวิตามินต่างๆ จากผักและผลไม้นั้นข่วยสร้างสุขภาพที่ดี เพิ่มความแข็งแรงของร่ายกายได้อย่างดี ช่วยทั้งระบบการย่อยอาหาร บำรุงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ตามไปพบกับสรรพคุณและประโยชน์ของ ตะขบไทย !
ตะขบไทย
ตะขบบ้าน มีชื่อสามัญ คือ Coffee plum, Indian cherry, Indian plum, East Indian plum, Rukam, Runeala plum และชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Flacourtia jangomas (Lour.) Raeusch. (ทั้งยังมีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Flacourtia cataphracta Roxb. ex Willd.) และปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์สนุ่น (SALICACEAE)
นอกจากนี้ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก ว่า ครบ (ปัตตานี), มะเกว๋นควาย (ภาคเหนือ), ตะขบควาย (ภาคกลาง), กือคุ (มลายู ปัตตานี) เป็นต้น
ลักษณะของตะขบไทย
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น เรือนยอดเป็นรูปไข่ทึบ ตรงโคนต้นเป็นพูพอน เปลือกต้นมีสีน้ำตาลอ่อน เป็นแผ่นบาง ๆ จะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พบได้ตามป่าราบ ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง และตามป่าผลัดใบ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลอยู่ที่ประมาณ 300-800 เมตร,,
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีใบที่กลมคล้ายกับใบพุทรา มีลักษณะเป็นรูปวงรี รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม ตรงโคนใบมน ส่วนขอบใบจะตื้น ใบมีขนาดกว้างอยู่ประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร ใบบางเป็นสีเขียว ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเป็นมัน,,
ผล ผลสดมีเนื้อสีขาว ลักษณะเป็นลูกกลม ๆ ขนาดเท่าลูกพุทรา มีขนาดประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ผลสุกเป็นสีแดงหรือสีม่วง เมื่อแก่เป็นสีดำ มีรสหวานฝาดเล็กน้อย ภายในมีหลายเมล็ด ออกผลในช่วงประมาณเดือนเมษายน,,
สรรพคุณของตะขบไทย
รากจะมีรสฝาดอยู่เล็กน้อย สามารถใช้ปรุงเป็นยาขับเหงื่อได้ (ราก) ทั้งยังมีสรรพคุณเป็นยากล่อมเสมหะและอาจมอีกด้วย (ราก)
ส่วนเนื้อไม้มีรสฝาด ๆ สามารถใช้ทำเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด และมูกเลือด (เนื้อไม้)
สุดท้ายเปลือก แก่น และใบ สามารถเป็นยารักษาอาการปวดเมื่อยตามตัว แก้โรคเหน็บชา ทั้งรักษาอาการปวดข้อ และแก้เส้นเอ็นพิการ (เปลือก, แก่น, ใบ)
ประโยชน์ของตะขบไทย
1. สามารถนำใบมาใช้เพื่อการย้อมสีได้ โดยใช้อัตราส่วนของใบสดต่อน้ำ 1:2 และนำไปสกัดใช้ใบสด 15 กรัม จะสามารถย้อมเส้นไหมได้ถึง 1 กิโลกรัม สีที่ได้จะขึ้นอยู่กับการสกัดสีและการใช้สาร สกัดสีโดยใช้ใบสดนำมาต้มกับน้ำนานประมาณ 1 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำ และนำมาย้อมเส้นไหมด้วยวิธีการย้อมร้อนประมาณ 1 ชั่วโมง และนำมาแช่ในสารละลายช่วยในการจุนสีหลังย้อมเสร็จจะได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว ส่วนในการใช้จุนสีขณะย้อมก็จะได้สีน้ำตาลเขียวเหมือนกัน แต่ถ้านำมาสกัดน้ำด้วยวิธีการคั้นเอาน้ำ และกรองเอาแต่น้ำ แล้วมาย้อมเส้นไหมด้วยวิธีการย้อมร้อน และนำมาแช่สารละลายช่วยจุนสีหลังย้อมจะกลายเป็นสีเขียวขี้ม้า
2. ผลสุกจะมีรสหวานฝาด สามารถรับประทานได้,
3. นำไปใช้ปลูกได้ทั่วไป สามารถปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาทั้งในสวนผลไม้หรือจะเป็นตามสวนป่าเพื่อเป็นอาหารของนกก็ได้เช่นกัน
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ตะขบไทย”. หน้า...
ต้นขึ้นฉ่าย สรรพคุณช่วยแก้อาการตกเลือด
ขึ้นฉ่าย
ขึ้นฉ่ายจีน หรือคื่นฉ่ายใบ เป็นพืชผักที่หาง่ายในท้องตลาด โดยคื่นช่ายพันธุ์จีนจะมีขนาดลำต้นเล็กกว่า กินได้ทั้งแบบสด และสุก และมีสรรพคุณเป็นยา เป็นสมุนไพรล้มลุกหรือพรรณไม้ยืนต้นลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร มีอายุได้ถึง 1-2 ปี มีกลิ่นหอมฉุนทานได้ทั้งต้น มีถิ่นกำเนิดในเขตประเทศอากาศร้อน แอฟริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง (Celery) และขึ้นฉ่ายจีน (Chinese Celery) นิยมปลูกเพื่อใช้ปรุงอาหารช่วยในการดับกลิ่นคาวต่าง ๆ ได้ เพิ่มความอร่อยให้กับอาหารหลากหลายเมนู มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Apium graveolens L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)
ลักษณะของขึ้นฉ่ายจีน
ต้น
- เป็นพืชล้มลุก
- ต้นมีความสูง 30 เซนติเมตร
- ลำต้นมีลักษณะกลวง
- มีกลิ่นหอมทั้งต้น
- มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ ต้นสีขาว ต้นสีเขียว และต้นสีน้ำตาลเขียว
ใบ
- ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก
- ออกใบตรงข้ามกัน
- ใบสีเขียวอมเหลือง
- ใบย่อยเป็นรูปลิ่มหยัก
- ขอบใบหยักเป็นแฉกลึก
- ในแต่ละแฉกอาจจะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปห้าเหลี่ยม
- ก้านใบยาวแผ่ออกเป็นกาบ
ดอก
- ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาว
- เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
- ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม
- ตรงยอดดอกนั้นแผ่เป็นรัศมี
ผล
- ผลมีรูปร่างกลมรี
- มีสีน้ำตาล
- มีขนาดค่อนข้างเล็ก
- มีกลิ่นหอม
- จะให้ผลแค่เพียงครั้งเดียว
คุณค่าทางโภชนาการ
ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี
สาอาหาร
ปริมาณที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต
3 กรัม
น้ำตาล
1.4 กรัม
เส้นใย
1.6 กรัม
ไขมัน
0.2 กรัม
โปรตีน
0.7 กรัม
น้ำ
95 กรัม
วิตามินเอ
22 ไมโครกรัม 3%
วิตามินบี 1
0.021 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี 2
0.057 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 3
0.323 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี 6
0.074 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี 9
36 ไมโครกรัม 9%
วิตามินซี 3
มิลลิกรัม 4%
วิตามินอี
0.27 มิลลิกรัม 2%
วิตามินเค
29.3 ไมโครกรัม 28%
ธาตุแคลเซียม
40 มิลลิกรัม 4%
ธาตุเหล็ก
0.2 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมกนีเซียม
11 มิลลิกรัม 3%
ธาตุฟอสฟอรัส
24 มิลลิกรัม 3%
ธาตุโพแทสเซียม
260 มิลลิกรัม 6%
ธาตุโซเดียม
80 มิลลิกรัม 5%
ธาตุสังกะสี
0.13 มิลลิกรัม 1% %
ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
ข้อควรระวังในการรับประทาน
หากรับประทานมากเกินไป สำหรับเพศชายอาจจะทำให้เป็นหมันได้ และจะทำให้อสุจิลดลงถึง 50%
หากหยุดรับประทานแล้ว จำนวนของเชื้ออสุจิจะกลับสู่ระดับปกติในระยะเวลา 8-13 สัปดาห์
สำหรับบางคนนั้นอาจจะเกิดอาการแพ้จากการสัมผัสต้นจนถึงขั้นรุนแรงได้
สารสกัดจากต้นจะช่วยเร่งให้สีผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้น
การใช้ประกอบอาหาร ไม่ควรผัดหรือต้มผักให้สุกเกินไป
ความร้อนจะไปทำลายวิตามินและเกลือแร่ที่มีอยู่ให้หมดไป
สรรพคุณของขึ้นฉ่ายจีน
ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้
ช่วยในการคุมกำเนิด
มีฤทธิ์ในการลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย
ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์
ช่วยต่อต้านการอักเสบเรื้อรัง
ช่วยรักษาฝีฝักบัว
ช่วยแก้ลมพิษ ผดผื่นคันต่าง ๆ
ช่วยทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว
...
หนามพรม กับสรรพคุณรู้ไว้ติดตัว
หนามพรม
หนามพรม เป็นไม้พุ่มมีชื่อสามัญ คือ Conkerberry, Bush Plum มีถิ่นกำเนินอยู่ทั่วไปในเขตร้อน เช่น เอเชียใต้ ออสเตรเลีย และต่ามหมู่เกาะต่างๆ ใบเขียวเป็นมันวาว กลีบดอกสีขาวรูปดาว สรรพคุณของรากใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารได้ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Carissa spinarum L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Carissa cochinchinensis Pierre ex Pit., Carissa diffusa Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE),
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ขี้แฮด (ภาคเหนือ), พรม หนามพรม (ภาคกลาง)
ลักษณะของหนามพรม
ลักษณะของต้น,,
- มีความสูงได้ถึง 4-5 เมตร
- ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก
- เป็นพุ่มทึบ
- เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง
- มีหนามแหลมยาวตามกิ่ง ลำต้น และบริเวณโคนต้น ยาว 1-3 เซนติเมตร
- ลำต้นมียางสีขาว
- สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
- เติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด
- เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง
- สามารถพบได้ตามบริเวณป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป
- มีเขตการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย
ลักษณะของใบ,,
- ใบเป็นใบเดี่ยว
- ออกเรียงตรงข้ามกัน
- ใบเป็นรูปรี รูปกลม รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ
- ปลายใบแหลมมีติ่ง
- โคนใบสอบ
- ขอบใบเรียบ
- ทั้งหลังใบและท้องใบเรียบ
- ใบมีความกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร และยาว 2.5-4 เซนติเมตร
- แผ่นใบค่อนข้างบาง ไม่มีขน
- ใต้ท้องใบมีเส้นใบประมาณ 5-7 คู่ ค่อนข้างเห็นได้ชัด
- ก้านใบสั้น ยาวได้ 1-3 มิลลิเมตร
ลักษณะของดอก,,
- ดอกเป็นแบบสมบูรณ์เพศ
- ออกดอกเป็นช่อ
- จะออกที่ปลายกิ่ง
- ดอกย่อยเป็นสีขาวมีกลิ่นหอม
- มีกลีบดอก 5 กลีบ
- โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว
- ปลายกลีบดอกแหลม
- กลีบดอกยาว 2.5 มิลลิเมตร
- กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ
- กลีบเป็นรูปหอก
- โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ
- ปลายกลีบแยกออกจากกัน
- มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ภายในหลอดดอกหรือกลางท่อดอก
ลักษณะของผล,
- ผลเป็นรูปทรงกลมรีหรือรูปไข่
- ผิวผลเรียบเป็นมัน
- ผลอ่อนเป็นสีเขียว
- ผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มหรือสีดำ
- มีเมล็ด 1 เมล็ด เป็นรูปรี สีน้ำตาลอ่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร
คุณค่าทางโภชนาการ
สารอาหาร
ปริมาณสารที่ได้รับ
ไขมัน
2.3g 4%
ไขมันอิ่มตัว
1 กรัม 5%
คอเลสเตอรอล
1 มก 0%
โซเดียม
8 มก 0%
คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด
19g 6%
ไฟเบอร์
9.3g 37%
น้ำตาล
1 กรัม
โปรตีน
2.4g 5%
วิตามินเอ
0%
วิตามินซี
7%
แคลเซียม
6%
เหล็ก
16%
สรรพคุณของหนามพรม
แก่น สามารถช่วยบำรุงไขมันได้
แก่น มีรสชาติมันเบื่อ สามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายแข็งแรงได้,
ราก นำมาผสมกับลำต้นไส้ไก่แล้วต้มกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารได้
ราก นำมาผสมกับรากไส้ไก่ และรากนมแมวแล้วต้มกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงในจมูก
เนื้อไม้ มีรสชาติเฝื่อนมันขมฝาด สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายแข็งแรงได้,
ใบ ใช้รักษาโรคต่างๆ ในร่างกาย เช่น ช่องปากอักเสบ...
ลูกไหน ผลไม้เนื้อแน่นช่วยลดระดับความดันโลหิต
ลูกไหน
ไหน (Plum) โดยทั่วไปแล้วเราจะเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า “พลัม” หรือ “ลูกพลัม” (ทับศัพท์) แต่สำหรับภาษาพูดจะเรียกกันว่า “ไหน” หรือ “ลูกไหน” ซึ่งเป็นชื่อไทย ส่วนลูกพลัมแห้งเราจะเรียกว่า “พรุน” หรือ “ลูกพรุน” ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus domestica L. จัดอยู่ในวงศ์ ROSACEAE ในตระกูลพรุน เช่นเดียวกับ ลูกท้อ บ๊วย เชอร์รี่ อัลมอนด์ และนางพญาเสือโคร่ง และมีถิ่นกำเนิดจากบริเวณคอเคซัสในเอเชียตะวันตก
สายพันธุ์ลูกไหน
พลัมมีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ โดยมี 3 ชนิดที่สำคัญได้แก่ Prunus domestica, Prunus salicina และ Prunus americana พลัมหลาย ๆ ชนิดจะผสมตัวเองได้ไม่ดี จำเป็นต้องมีการปลูกร่วมกันหลาย ๆ สายพันธุ์เพื่อช่วยในการผสมเกสร เพราะจะทำให้เกิดการติดผลที่ดีขึ้น สำหรับสายพันธุ์ที่ปลูกได้ดีในประเทศก็มีอยู่หลายสายพันธุ์เช่นกัน โดยเฉพาะพลัมสายพันธุ์ญี่ปุ่น, เช่น
พันธุ์กัลฟ์รูบี้ ผลเป็นรูปหัวใจมีขนาดใหญ่ เมื่อสุกเต็มที่จะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเกือบดำ เนื้อในผลมีสีเหลือง รสหวานฉ่ำ
พันธุ์กัลฟ์โกล สายพันธุ์จากฟลอริดา ผลมีขนาดใหญ่เท่ากับพันธุ์กัลฟ์โกล ผลเมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองและค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดงอมเหลืองเมื่อสุก เนื้อในผลมีสีเหลือง รสชาติดี มีกลิ่นหอม
พันธุ์แดงบ้านหลวง หรือพันธุ์บ้านหลวงแดง สายพันธุ์จากไต้หวัน ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ที่ผลมีร่องลึกเห็นได้ชัด ผิวของผลมีสีแดง และมีจุดประอยู่บริเวณผิวผล ผลอ่อนเนื้อแข็งมีรสเปรี้ยว ส่วนผลสุกเนื้อจะนิ่มและมีรสหวาน โดยสายพันธุ์นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีเนื้อสีแดงและชนิดที่มีเนื้อสีเหลือง
พันธุ์เหลืองอินเดีย สายพันธุ์จากอินเดีย ออกดอกติดผลดก ผลแก่เป็นสีเหลือง เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เนื้อในผลมีสีเหลือง พันธุ์นี้ไม่นิยมนำมารับประทานสด แต่จะนิยมนำไปแปรรูปในลักษณะแช่อิ่มหรือดองมากกว่า
พันธุ์แดงอินเดีย สายพันธุ์นี้นำเข้าจากอินเดียเช่นกัน ผลจะมีขนาดเล็ก มักนิยมปลูกไว้เพื่อใช้เป็นคู่ผสม
พันธุ์จูหลี่ สายพันธุ์จากไต้หวัน ลักษณะของผลคล้ายกับสายพันธุ์แดงบ้านหลวง แต่ผลจะมีขนาดเล็กกว่า นิยมปลูกไว้เพื่อใช้เป็นคู่ผสม ใช้ผลแปรรูปเป็นพลัม และนำมาแช่อิ่มได้ดี
ลักษณะของต้นพลัม
ต้น เป็นไม้ผลยืนต้น มีลักษณะทรงต้นค่อนข้างเล็กเช่นเดียวกับต้นพีช การปลูกในประเทศไทยต้องปลูกในที่ที่มีความหนาวเย็น และพื้นที่ที่ปลูกจะต้องมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป แต่สำหรับบางสายพันธุ์อาจปลูกได้ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป
ใบ เป็นรูปหอก ปลายและโคนใบแหลม แผ่นใบสีเขียว ขอบใบเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยแบบถี่ๆ
ดอก ออกดอกจำนวนมาก ดอกมีขนาดเล็กและมีสีขาว ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ปกติแล้วจะผสมตัวเองไม่ได้ แต่จะต้องผสมข้ามพันธุ์และเฉพาะเจาะจงพันธุ์เท่านั้น และจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากได้รับความหนาวเพียงพอ
ผล เป็นแบบผลเดีี่ยวจึงจัดเป็นพวก Stone Fruit คือมีส่วนของเนื้อที่แข็งเหมือนกับลูกพีชและบ๊วย และผลจะมีความหลากหลายในเรื่องของขนาด สีผล และเนื้อผล ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่เพาะปลูก บางพันธุ์ผลอาจมีร่องยาวด้านข้าง เมื่อผลโตเต็มที่แล้วจะมีสีขาวนวลปกคลุมอยู่ ซึ่งเราจะเรียกว่าสารเคลือบ หรือ “Wax bloom” เนื้อจะมีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดแข็งอยู่ 1 เมล็ด
เมล็ดพลัม เมล็ดเป็นเมล็ดเดี่ยว แข็ง มีสีน้ำตาล
พลัมสามารถแบ่งตามการใช้ประโยชน์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พลัมที่ใช้รับประทานแบบสดๆ (ลูกพรุนสด) ได้แก่พันธุ์กัลฟ์โกล พันธุ์กัลฟ์รูบี้...
ส้มเกลี้ยง ผลไม้เนื้อหวานฉ่ำกลิ่นหอม
ส้มเกลี้ยง
ชื่อสามัญของส้มเกลี้ยง คือ Orange, Bilti, Sevile orange, Sweet orange, Surect orange, Sour orange, Bigarade , ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Citrus sinensis (L.) Osbeck อยู่ในวงศ์ส้ม ,
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ลีมาก ส้มตรา มะเกลี้ยง เซาะกา ส้มจีน หมากหวาน เซซุยเญอ ลีมามานิห์ เช้ง มะขุน ลีแย น้ำผึ้ง ,,
ลักษณะ
ต้น มีถิ่นกำเนิดบริเวณทางตอนใต้ของประเทศจีน ต่อมาได้แพร่กระจายไปประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ทวีปยุโรป หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ในประเทศไทยเชื่อว่าเริ่มมีการปลูกช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือสมัยกรุงธนบุรี เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ 5-7 เมตร ทรงต้นมีลักษณะค่อนข้างทึบ แผ่กว้าง มีลำต้นกับกิ่งก้านที่แข็งแรง จะมีหนามที่ตามลำต้น หนามจะแข็งและใหญ่ ต้นที่เกิดจากเมล็ดจะมีหนามเยอะ มีลักษณะยาวเรียวแหลม ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด การปักชำ การตอน การติดตา การต่อกิ่ง เกษตรกรจะนิยมขยายพันธุ์โดยวิธีการตอน ติดตา ต่อกิ่ง เพราะจะให้ผลผลิตเร็วกว่าการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่มาก,
ใบ อ่อนมีลักษณะเป็นเหลี่ยม มีหนามแหลมที่บริเวณซอกใบ ใบประกอบจะมีใบย่อยใบเดียว ใบจะออกเรียงสลับกัน มีลักษณะเป็นรูปวงรีถึงรูปไข่ ที่ปลายใบแหลมมน บางครั้งจะเว้าตื้นนิดหน่อย ส่วนที่ขอบใบจะเป็นคลื่นถึงหยักมน ใบกว้างประมาณ 1-2 นิ้วฟุต ยาวประมาณ 2-3 นิ้วฟุต สีใบด้านหลังเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบมีสีเขียวอ่อน ก้านใบจะสั้น แผ่เป็นครีบ จะมีหูใบเล็กเรียวแทบไม่เห็น,
ดอก ออกเป็นช่อกระจายที่ตามซอกใบ มีดอกย่อยดอกเดียวถึงหลายดอก 10-20 ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีขนาดปานกลาง ดอกบานมีกลิ่นหอม กลีบดอกมีสีขาว 4-5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 20-25 อัน ฤดูที่ผลิดอกอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ดอกบานช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม เวลาผลิดอกถึงดอกบานประมาณ 30 วัน เวลาดอกบานถึงผลแก่ประมาณ 8 เดือน,,
ผล เป็นรูปทรงกลมถึงกลมแป้น ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเหลืองแกมเขียวถึงส้มสด มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-10 เซนติเมตร ผิวผลจะมีตุ่มน้ำมันเล็ก ๆ กระจายรอบผล เปลือกผลหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร ลักษณะจะค่อนข้างแข็ง ในผลแบ่งเป็นช่องประมาณ 12 ช่อง อัดแน่นด้วยเนื้อผล มีลักษณะเรียวและยาว สีเหลือง จะมีน้ำรสหวานอมเปรี้ยว ที่ตรงกลางจะมีแกนแข็งสีขาว เปลือกในมีสีขาว ในผลมีเมล็ดเป็นรูปไข่แกมรูปลิ่ม เมล็ดย่น มีสีขาว เมล็ดจะค่อนข้างแบน,,
สรรพคุณของส้มเกลี้ยง
ดอกจะมีสรรพคุณที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้,
เปลือก อยู่ในตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" เป็นตำรับยาที่มีส่วนประกอบใน "เปลือกส้ม 8 ประการ" กับสมุนไพรชนิดอื่น ในตำรับ มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง...
ส้มเขียวหวาน สรรพคุณและประโยชน์ 18 ข้อ
ส้มเขียวหวาน
ส้มเขียวหวาน ผลไม้รสเปรี้ยวที่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีรสหวานมากกว่าส้มชนิดอื่น ทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินซีและใยอาหาร มีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ ที่ดีต่อสุขภาพ Mandarin orange , Tangerine , Mandarine , Mandarin ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Citrus reticulata Blanco ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ส้มแก้วเกลี้ยง ส้มจุก ส้มแป้นกระดาน ส้มเชียงตุง ส้มขี้ม้า ส้มเหม็น มะเขียว ส้มแสงทอง ขะเขียว มะขุน มะบาง ส้มตรังกานู ส้มจีนเปลือกล่อน ,
ลักษณะ
ต้น กำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม ต้นสูงได้ประมาณ 3 – 5 เมตร ที่ลำต้นจะแตกกิ่งก้านมาก และที่กิ่งอ่อนจะมีหนาม ,
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่มนรี ที่ปลายใบแหลม ส่วนที่ขอบใบจะเรียบหรือมีฟันเลื่อยเล็กน้อย ใบกว้างประมาณ 2.5 – 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5.5 – 8 เซนติเมตร ที่แผ่นใบมีสีเขียวเรียบเป็นมัน ที่เนื้อใบจะแข็ง และมีต่อมน้ำมันอยู่ที่ตามแผ่นใบ
ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นช่อที่บริเวณง่ามใบและที่ปลายยอดกิ่ง มีกาบใบอยู่ 5 ใบ และมี 5 กลีบ ดอกมีขนาดเล็กมีสีขาวอมเหลือง ที่ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 18 – 24 อัน มีเกสรเพศเมียประมาณ 3 – 5 อัน และมีรังไข่ 9 – 5 อัน
ผล มีลักษณะค่อนข้างกลม เนื้อนิ่ม เส้นผ่านศูนย์กลางขนาดประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร ที่เปลือกนอกมีสีเขียว ผลที่สุกจะมีสีเขียวอมเหลืองหรือสีเหลืองแดง มีผิวเรียบเกลี้ยง เป็นมัน มีเปลือกที่อ่อน ผิวหนา ส่วนภายในมีเนื้อลักษณะฉ่ำน้ำ จะแบ่งออกเป็นกลีบ ๆ และมีสีส้ม ที่กลีบแต่ละกลีบจะมีเมล็ดสีขาวอยู่ด้านใน เมล็ดจะมีลักษณะเป็นรูปไข่ ที่ปลายจะแหลม มีสีขาวนวล นิยมนำเปลือกสีเขียวมาตาแห้ง ใช้เป็นยา มีรสปร่าหอมร้อน ,,
สรรพคุณของต้นส้มเขียวหวาน
ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นหน้าอกได้
ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการของโรคไข้หวัดได้
สามารถใช้เมล็ดเป็นยาแก้อาการปวดเต้านม และเต้านมอักเสบ
ช่วยแก้อาการปวดท้องได้
สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
รักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต ปรากฏอยู่ในตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" มีส่วนประกอบของเปลือกส้มเขียวหวานอยู่ใน เปลือกส้มถึง 8 ประการ และสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
สามารถใช้เปลือกผล เป็นยารักษาโรคผมร่วง
สามารถใช้เมล็ด เป็นยาแก้ปวดกระษัยลม
เปลือกผล ช่วยแก้อาการปวดชายโครง
สามารถใช้เป็นยาแก้ไอ และช่วยขับเสมหะ...
อินจัน พรรณไม้โบราณใกล้สูญพันธุ์บำรุงเลือดลมได้
อินจัน
อินจัน Gold apple เป็นต้นไม้โบราณที่ปัจจุบันหาดูได้ยากนิยมปลูกไว้ตามวัด ต้นจันเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างแปลก ต้นเดียวกันแต่ออกผล 2 แบบ ผลหนึ่งลูกจะกลมป้อม ๆ ขนาดใหญ่ เรียกว่า ลูกอิน อีกผลลูกจะแบน ๆ แป้น ๆ มีขนาดเล็ก เรียกว่า ลูกจัน ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Diospyros decandra Lour. อยู่ในวงศ์มะพลับ ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น จันอินจันโอ ลูกจันทร์ จันอิน จันท์ลูกหอม อิน จันลูกหอม ลูกจัน จัน ลูกอิน
ลักษณะอินจัน
ต้น เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร เรือนยอดจะเป็นทรงกลมหรือทรงกระสวย หนาทึบ ลำต้นตรง ที่เปลือกต้นจะเรียบ มีสีน้ำตาลเข้มอมเทา สีดำแตกเป็นสะเก็ด เนื้อไม้จะมีสีขาว กิ่งอ่อนกับยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล มีกิ่งก้านเหนียว
ใบ เป็นใบเดี่ยวมีสีเขียวเข้ม จะออกเรียงสลับกัน ใบคล้ายกับรูปรี ที่โคนใบจะมน ส่วนที่ปลายใบสอบหรือแหลม แผ่นใบจะเรียบบางและมันลื่น ที่ขอบใบเรียบ ยาว 7-10 เซนติเมตร กว้าง 1-3 เซนติเมตร
ดอก มีสีขาวนวล สีเหลืองอ่อน เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ จะแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นช่อมีขนาดเล็ก ในช่อหนึ่งมีประมาณ 3 ดอก ส่วนต่าง ๆ จะมีขนสีน้ำตาลแดงอยู่ มีกลีบเลี้ยงอยู่ 4-5 กลีบเรียงเป็นรูปถ้วยไม่เชื่อมกัน มีกลีบดอกอยู่ 4-5 กลีบ ที่โคนกลีบจะเชื่อมกันเป็นรูปเหยือกน้ำ ดอกเพศเมียออกดอกเป็นดอกเดี่ยวที่ตามกิ่งเล็ก ๆ กลีบดอกกับกลีบเลี้ยงเหมือนกับดอกเพศผู้แต่ใบจะใหญ่กว่า
ผล มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-8 เซนติเมตร ผลจะมีส่วนของกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอม มีรสหวาน สามารถทานได้ ผลมีสองแบบคือ ผลเป็นรูปกลมแป้น จะไม่มีเมล็ดหรือมีเมล็ดลีบ ผลมีรอยบุ๋มอยู่ตรงกลาง มีรสฝาดหวาน และมีกลิ่นหอม เรียกว่า ลูกจัน และผลเป็นรูปกลม มีเมล็ด 2-3 เมล็ด จะไม่มีรอยบุ๋ม จะมีรสฝาดหวาน เรียกว่า ลูกอิน ผลมีรสฝาด จะต้องคลึงให้ช้ำก่อนจะทำรสฝาดหายไป
ประโยชน์ของอินจัน
เนื้อไม้มีลวดลายสวย นิยมในการนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ประดับตกแต่ง แต่ปัจจุบันนี้เป็นไม้หวงห้ามไป เนื่องจากหายากและใกล้สูญพันธุ์
ผลสุกจะมีรสหวานฝาดเล็กน้อย นิยมทานเป็นผลไม้สด และนำไปแปรรูปเป็นของหวาน
สามารถแก้ดีพิการได้ (เนื้อไม้)
สามารถแก้ตับพิการได้ (แก่น)
สามารถบำรุงตับกับปอดให้ปกติได้ (เนื้อไม้, แก่น)
สามารถแก้อาการไข้ที่มีผลต่อตับกับดีได้ (เนื้อไม้)
สามารถแก้ไข้ที่มีผลต่อดีได้ (แก่น)
สามารถแก้อาการเหงื่อมากได้ (เนื้อไม้)
สามารถแก้อาการนอนไม่หลับ และอาการกระสับกระส่ายได้ (ผล)
สามารถบำรุงหัวใจได้ (แก่น)
สามารถแก้ลม และแก้อาการอ่อนเพลียได้ (แก่น)
สามารถช่วยบำรุงผิวพรรณได้ (แก่น)
จากการศึกษาวิจัยผลไม้ในประเทศไทยพบว่า น้ำผลไม้ลูกจัน จะมีฤทธิ์ที่ต่อต้านอนุมูลอิสระได้
เนื้อไม้จะแข็ง...
สาเก แหล่งอาหารโปรตีนหลักที่ดีต่อสุขภาพ
สาเก
สาเก (Breadfruit) เป็นหนึ่งในพืชผลที่เป็นแหล่งโปรตีนที่ให้พลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายถูกนำมาประกอบอาหารทั้งอาหารคาวและของหวาน เนื่องจากเนื้อประกอบไปด้วยแป้งเป็นหลักอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน ไฟเบอร์ และยังเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE) สาเกป่ามีถิ่นกำเนิดในนิวกินีและปลูกทั่วหมู่เกาะแปซิฟิกมีสายพันธุ์มากกว่า 120 สายพันธุ์ปัจจุบันเกษตรกรมีการคัดเลือกพันธุ์ที่มีรสชาติดีที่สุด มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และให้ผลผลิตในปริมาณมากสามารถเก็บเกี่ยวได้เป็นเวลานาน ชื่อสามัญ, Bread fruit tree, Bread nut tree ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Artocarpus altilis (Parkinson ex F.A.Zorn) Fosberg และมีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpus communis J.R.Forst. & G.Forst., Artocarpus incisus (Thunb.) L.f., Saccus laevis Kuntze, Sitodium altile Parkinson ex F.A.Zorn
ชื่อเรียกอื่นอีกว่า “ขนุนสำปะลอ”
ถิ่นกำเนินของสาเก
สาเกป่าเดิมทีมีถิ่นกำเนิดในนิวกินีและปลูกทั่วหมู่เกาะแปซิฟิก เพาะปลูกกันมานานมากกว่า 3,000 ปีแล้ว ซึ่งในเกาะมาวีและเกาะฮาวาย คือแหล่งที่สะสมสายพันธุ์ต่าง ๆ เอาไว้หลายหลากสายพันธุ์ โดยปลูกเอาไว้ให้ชมกันมากที่สุดในโลกเลยทีเดียว เป็นไม้ผลที่ออกลูกดก (ในหนึ่งฤดูต้นอาจออกผลราว 200 ผล) ส่วนที่นิยมปลูกในบ้านเราคือ พันธุ์ข้าวเหนียว ซึ่งในบ้านเรานั้นอาจจะพบได้บ้างตามหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ โดยวิธีการขยายพันธุ์นั้นจะขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อจากโคนต้นเก่ามาปลูก และเมื่อต้นมีอายุที่มากขึ้น มักจะตัดต้นทิ้ง เพราะว่าเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านใบดูเก้งก้าง และมีหนอนมาเจาะตามกิ่งและลำต้นทำให้ต้นตายง่ายอีกด้วย
ลักษณะของสาเก
ต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่โพลีนีเซีย และจัดว่าเป็นผลไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกอีกด้วย ในเวลาต่อมาได้แพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ซึ่งมีการปลูกอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเขตร้อน โดยถูกจัดว่าเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นนั้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนมียางขาว ๆ การขยายพันธุ์นั้นจะใช้วิธีการปักชำราก โดยสายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่ พันธุ์ข้าวเหนียว (ผลจะมีขนาดใหญ่ ผลสุกเนื้อเหนียว นิยมปลูกทั่วไป หรือปลูกไว้ทำขนม), และพันธุ์ข้าวเจ้า (ผลจะมีขนาดเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่เป็นที่นิยมปลูก และไม่ค่อยนำมารับประทานกันมากนัก)
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ลักษณะใบคล้ายกับรูปไข่ ใบเป็นสีเขียวเข้ม มีขนาดใบที่ใหญ่และหนา มีรอยหยักหรือร่องลึกเกือบถึงก้านกลางใบ (คล้ายคลึงกับใบมะละกอ) ก้านใบจะเห็นเด่นชัด
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้กับปลายยอด ดอกมีสีเหลือง มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้มีลักษณะคล้ายกระบองและห้อยลงมา มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนช่อดอกตัวเมียนั้นมีลักษณะกลม แต่จะแยกกันคนละดอก และดอกออกได้ตลอดทั้งปี
ผล มีลักษณะของผลเป็นทรงกลมรี ผลเป็นสีเขียวอมเหลือง ลูกคล้ายคลึงกับขนุน แต่จะลูกเล็กกว่า มีความกว้างได้ประมาณ 15-20 เซนติเมตร ส่วนเนื้อภายในมีสีเหลืองซีดหรือขาวผลไม่มีเมล็ด (แต่จะมีอยู่สายพันธุ์หนึ่งที่มีเมล็ด นั่นก็คือ ขนุนสำปะลอ)
สรรพคุณของสาเก
1. มีฤทธิ์ในการช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต (ผล)
2. มีส่วนช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ (ผล)
3. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย (เปลือกต้น)
4. รากมีรสเบื่อเมา สามารถใช้เป็นยารักษากามโรค ด้วยการนำรากมาฝนผสมกับน้ำดื่มครั้งละไม่เกิน 1 แก้วตะไล วันละครั้ง อาการจะค่อย ๆ ทุเลาลงและหายเป็นปกติในที่สุด (ราก)
5. ยางสามารถนำมาใช้ในการรักษากลากเกลื้อนและหิดได้ (ยาง)
6. มีส่วนช่วยยับยั้งการสร้างเมลานิน...
ส้มจี๊ด ผลไม้มงคลช่วยแก้ท้องอืด
ส้มจี๊ด
ส้มจี๊ด (Kumquats) หรือ ส้มกิมจ้อ เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศจีน แล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี ภาษาจีนกวางตุ้งเรียกว่า ก่ำควิด เป็นที่มาของชื่อ kumquat ( คัมควอท ) มาจากภาษาจีน หมายถึง หมายถึงส้มแมนดารินที่มีสีทอง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Citrus japonica Thunb
ลักษณะ
ต้น เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1.5 – 3 เมตร ที่กิ่งจะมีหนามแหลม และยาวประมาณ 1 – 3 เซนติเมตร มีเขตกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันตก
ใบ เป็นใบประกอบแบบลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ที่ปลายใบจะแหลม โคนใบแหลม กว้างประมาณ 2 – 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 – 7 เซนติเมตร ที่แผ่นใบจะหนาเนียน ผิวใบมีสีเขียว มีหูใบที่เล็ก
ดอก เป็นดอกเดี่ยว มักออกรวมเป็นกลุ่ม ดอกมีสีขาวและมีกลิ่นหอม ดอกจะออกที่ตามซอกใบกับที่ปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ที่ปลายเป็น 5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบ ร่วงง่าย ถ้าดอกบานจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 – 2.5 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้เป็นจำนวนมาก
ผล มีลักษณะเหมือนส้มทั่วไป แต่ขนาดเล็กกว่า เป็นส้มกินเปลือก ผลมีขนาดที่เล็กและกลม เส้นผ่านศูนย์กลางมีขนาดประมาณ 1.5 – 3 เซนติเมตร ผลมีผิวที่บางมีสีส้มและมีกลิ่นหอม ถ้าผลสุกจะมีสีส้ม มีรสเปรี้ยว มีเมล็ด 1 – 3 เมล็ด
สรรพคุณของต้นส้มจี๊ด
ผลสามารถช่วยแก้ภูมิแพ้ที่สำแดงอาการทางลำคอ
สามารถช่วยในการย่อยอาหารได้
สามารถช่วยแก้เสียงแหบได้
ผลมีฤทธิ์เย็น และมีรสเปรี้ยวอมหวาน มีสรรพคุณที่ช่วยหล่อลื่นปอด
นำผลมาดองกับเกลือแล้วทำให้แห้ง ใช้อมช่วยแก้อาการเจ็บคอ
มีวิตามินสูง นำมาทำน้ำส้มคั้นใช้ผสมกับเกลือเล็กน้อย จิบกินแก้อาการไอ ,
น้ำในผลมาผสมกับเกลือ กินเป็นยาขับเสมหะ ,
ชาส้มจี๊ดช่วยรักษา ปอดเป็นอวัยวะที่ดูดซับอารมณ์ ความเศร้า คนที่มีเรื่องเศร้า หรือร้องไห้บ่อย จะสูญเสียพลังปอด และจะทำให้ปอดชื้น มีเสมหะ หายเป็นหวัดยาก
เปลือกผลที่ดิบสามารถนำมารับประทานสด ๆ ช่วยขับลม และช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ชาส้มมีสรรพคุณที่ช่วยแก้ท้องอืด มีลมในท้อง มีอาการลมตีขึ้นทำให้คลื่นไส้อาเจียน
วิธีทำชาส้มจี๊ด
เตรียมส้มสด 5 – 8 ลูก น้ำตาลกรวด 20 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำใส่ในถ้วยชา แล้วใส่น้ำตาลกรวดเท่าที่ต้องการชงในน้ำร้อน ปิดฝาอบจนมีกลิ่นหอม ให้ดื่มขณะที่อุ่น
ประโยชน์ของต้นส้มจี๊ด
สามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้...
สาลี่ ผลไม้ฤทธิ์เย็นช่วยดับพิษร้อน แก้อาการไอ
สาลี่
สาลี่ Chinese pear เป็นต้นไม้ที่ออกผลสีน้ำตาลอมเหลือง มีรสหวานฉ่ำ มีกลิ่นหอม กรอบอร่อย อยู่ในวงศ์กุหลาบ Rosaceae ต้นไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน ดอกจะออกเป็นช่อ มีสีขาว ผลลักษณะคล้ายแอปเปิล และหลายสี เช่น สีเขียว สีน้ำตาล สีเหลือง สีแดงแดงอมส้ม เนื้อกรอบและฉ่ำน้ำ เนื้อบางสายพันธุ์จะมีลักษณะเป็นเนื้อทราย เมล็ดมีลักษณะแบนรีและมีขนาดเล็ก เมล็ดมีสีดำ สีน้ำตาลออกดำ ซึ่งต้นดูแลง่าย ให้ผลดก ทนต่อศัตรูพืช ลำต้นสูงประมาณ 30-40 ฟุต ชื่อสามัญ Chinese pear, Taiwan pear, Sand pear, Asian pear, Korean pear, Japanese pear, Nashi pear และชื่อทางวิทยาศาสตร์ของ Pyrus pyrifolia (Burm.f.) Nakai
สรรพคุณของสาลี่
สามารถช่วยในการขับปัสสาวะได้
สามารถช่วยกระตุ้นความเฉื่อยชาของลำไส้ ช่วยในการหลั่งน้ำย่อยต่างในระบบการย่อยอาหาร ช่วยลดอาการท้องอืด และช่วยทำให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดี
ช่วยบำรุงปอดให้แข็งแรงได้
สามารถแก้อาการไอ ไอแห้ง ละลายเสมหะ และเพิ่มความชุ่มชื้นให้ปอด
มีฤทธิ์เย็น ช่วยแก้กระหาย คลายร้อน ลดความ ร้อนในร่างกาย และช่วยดับพิษร้อนในร่างกายได้
ปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด
สามารถช่วยระงับประสาท และช่วยให้ผ่อนคลายความกังวล ความไม่สบายใจ ความทุกข์ในใจได้
เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และทำให้ร่างกายแข็งแรง
กระตุ้นการทำงานของไต
ช่วยกระตุ้นการทำงานของไต
มีเส้นใยอาหารสูง สามารถช่วยระบาย ช่วยขับถ่าย ป้องกันการท้องผูก และป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
ช่วยฟอกกระเพาะอาหาร จะทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง
สามารถแก้อาการคอแห้ง เจ็บคอและระคายคอ เค็มคอกระหายน้ำ ที่มีสาเหตุมาจากอาหารที่ผงชูรสเยอะ
นำมาสับให้ละเอียด นำไปต้มกับน้ำตาลทรายแล้วรับประทาน บรรเทาอาการหวัด
สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้
สามารถฟอกเลือดให้สะอาด จะทำให้ไตทำงานได้ดี
บรรเทาอาการเจ็บป่วยได้
ประโยชน์ของสาลี่
มีกลิ่นหอมที่ช่วยกระตุ้นจิตใจ จะทำให้สดชื่น เบิกบาน กระชุ่มกระชวย
มีน้ำตาลที่ร่างกายสามารถเอาไปใช้เป็นพลังงานได้ และช่วยทำให้ไม่รู้สึกหิว
เหมาะกับคนที่ต้องการจะลดน้ำหนัก
สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับลำคอ ร่างกายอ่อนแอ โรคโลหิตจาง และวัณโรค
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 42 กิโลแคลอรี
สารอาหาร
ปริมาณสารที่ได้รับ
วิตามินบี 1
0.009 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 2
0.01 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 3
0.219 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 5
0.07 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 6
0.022 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี 9
8 ไมโครกรัม 2%
วิตามินซี
3.8 มิลลิกรัม 5%
วิตามินอี
0.12 มิลลิกรัม 1%
วิตามินเค
4.5 ไมโครกรัม 4%
โปรตีน
0.5 กรัม
เส้นใย
3.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต
10.65 กรัม
ไขมัน
0.23 กรัม
น้ำตาล
7.05 กรัม
โคลีน
5.1 มิลลิกรัม 1%
ธาตุโซเดียม
0 มิลลิกรัม 0%
ธาตุฟอสฟอรัส
11 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมกนีเซียม
8 มิลลิกรัม 2%
ธาตุโพแทสเซียม
121 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมงกานีส
0.06 มิลลิกรัม...
องุ่น ผลไม้มหัศจรรย์อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญ
องุ่น
องุ่น (Grape, Grape vine) เป็นผลไม้เถาเลื้อยที่มีประโยชน์หลากหลายส่วนใหญ่นิยมทานเป็นผลไม้สด คั้นเป็นน้ำผลไม้ แยม ใช้ในการผลิตไวน์ และน้ำมันสกัดจากเมล็ด มีแร่ธาตุและวิตามินหลายชนิดมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และต้านมะเร็ง ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสารอาหารที่สำคัญมากมาย และมีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Vitis vinifera L. จัดอยู่ในวงศ์ (VITACEAE) นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า ผูเถา (จีนกลาง), ผู่ท้อ (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น
ลักษณะของต้นองุ่น
ต้น เป็นพรรณไม้เลื้อยจำพวกเถา มีความยาวได้ถึง 10 เมตร มีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั้งต้น เถาอ่อนผิวจะเรียบ ตามข้อเถามีมือสำหรับยึดและเกาะเอาไว้ สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด,,
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่ มีหยักคล้ายกับรอยฝ่ามือ หนึ่งใบจะมีรอยเว้าอยู่ประมาณ 3-5 รอย ปลายใบมีความแหลม โคนใบเว้าเข้าหากันจนคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย เนื้อใบบาง ส่วนใต้ใบมีขนขึ้นปกคลุม ใบมีความกว้างและความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ส่วนก้านใบนั้นมีความยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร,
ดอก จะออกดอกเป็นช่อตรงข้ามกับใบ ลักษณะกลมยาวและใหญ่ ดอกย่อยจะเป็นสีเหลืองอมสีเขียว แบ่งเป็น 5 กลีบย่อย และแตกออกเป็น 5 แฉก มีรังไข่อยู่ 2 อัน ในแต่ละรังไข่จะมีไข่อ่อนอยู่ 2 เมล็ด มีเกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านเกสรเพศผู้จะยาว ส่วนก้านเกสรเพศเมียจะสั้น กลม เมื่อดอกโรยถึงจะออกผล
ผล ออกผลเป็นพวงๆ ผลย่อยมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมรีเป็นรูปไข่ ผลมีสีเขียว สีม่วงแดง หรือสีม่วงเข้ม ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูก ส่วนเปลือกผลจะมีผงสีขาวเคลือบอยู่ เนื้อในผลค่อนข้างฉ่ำน้ำ และมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-3 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปยาวรี
สรรพคุณขององุ่น
1. ผล ช่วยลดความดันโลหิตสูง
2. ผล ช่วยบำรุงเส้นเอ็นและกระดูก
3. ผล มีสรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง
4. ผล ช่วยแก้อาการไอ ไอเรื้อรัง ,
5. ผล ช่วยบำรุงครรภ์ ครรภ์รักษา ,,
6. ผล มีสรรพคุณช่วยบำรุงไต ,,
7. ผล มีสรรพคุณช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง ,
8. ผล มีสรรพคุณเป็นยาแก้เลือดน้อย โลหิตจาง
9. ผล มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะเช่นกัน ,,
10. ผล นำมาคั้นเอาน้ำรับประทาน จะช่วยแก้อาการหงุดหงิดได้
11. ผล ช่วยขับลมชื้นในร่างกาย แก้บวมน้ำ (ราก,เถา,ใบ),, แก้ตัวบวมน้ำ ,
12. ผล ช่วยแก้หัวใจเต้นผิดปกติ แก้เหงื่อออกไม่รู้ตัว เหงื่อออกเนื่องจากหัวใจไม่ปกติ ,,
13. ผล มีรสหวานและเปรี้ยวเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอด ม้าม และไต ใช้เป็นบำรุงโลหิต ,,
14. เมล็ด ช่วยลดไขมันในเลือด ด้วยการนำมาบดให้เป็นผงแห้ง บรรจุแคปซูลกิน 1-2...
สละ ผลไม้ทานดีมากประโยชน์ และสรรพคุณ
สละ
สละ (Snake Fruit) เป็นพืชในวงศ์ปาล์มและอยู่ในสกุลเดียวกับระกำ เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซีย มีมากกว่า 30 สายพันธุ์ พันธุ์ที่นิยมทานมาก คือ สละอินโด หรือพันธุ์ปนโดะห์ ของเมืองยอร์กยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เพราะมีรสหวาน กลิ่นหอม และพันธุ์บาหลี ของเกาะบาหลี นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว รสชาติอมเปรี้ยว และเนื้อเยอะ ชื่อสามัญ Salak, Zalacca ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Salacca zalacca (Gaertn.) Voss อยู่ในวงศ์ปาล์ม
ลักษณะ
ราก เป็นระบบรากฝอยอย่างเดียวเหมือนกับพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอื่นๆ รากจะแตกออกจากบริเวณโคนเหง้าเหนือดิน เพื่อเป็นรากค้ำยันหรือที่เรียกว่ารากอากาศ ส่วนรากส่วนมากจะแตกออกจากเหง้าใต้ดินแทงออกในแนวขนานกับดินยาวได้มากกว่า 2 เมตร
ต้น ต้นเป็นทรงพุ่มคล้ายระกำ มีหนามแข็งแหลมที่ก้านใบ ดอกจะแยกเพศมีสีน้ำตาล ผลออกเป็นทะลายเรียกว่าคาน แต่ละคานจะมีทะลายย่อยจะเรียกว่ากระปุก
ใบ ประกอบด้วยใบย่อยที่แตกออกจากก้านใบ คล้ายใบมะพร้าว ยาวประมาณ 2-3 เมตร ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบอ่อนที่แตกออกจากยอดใหม่จะห่อรวมกัน เรียกว่า ใบรูปหอก ที่แทงออกจากกลางยอด เมื่อแก่จะแผ่คลี่ออกเป็นใบ และใบย่อย ใบมีลักษณะอ่อน และลู่มากกว่าใบระกำ ปลายใบมีหนามขนาดเล็กที่ขอบใบ ใบมีลักษณะโค้งลงบริเวณกลางใบจนถึงปลายใบ ส่วนบนมีลักษณะเว้าลงเป็นร่อง
ก้านใบ แตกออกบริเวณแกนลำต้นจะมีหนามแหลมจำนวนมากทั่วลำก้าน ก้านใบที่แก่ และเหี่ยวตายจะไม่ร่วงหลุดออกจากต้น แต่จะค่อยๆกรอบผุไปเรื่อยๆ
ดอก แทงออกจากกาบใบหรือระหว่างชั้นของโคนกาบใบ มีลักษณะยาวอ่อนลู่ลงสู่ดินหรือทอดนอนตามพื้นดิน เรียกว่า ทะลายดอก ช่อดอกออกจะมีกาบหุ้ม และคลี่ออกเมื่อดอกแก่ แต่กาบดอกยังติดอยู่ที่ช่อดอก ทะลายดอกประกอบด้วยช่อดอก แต่ละทะลายจะมีช่อดอกประมาณ 3-15 ช่อดอก ในช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ไม่มีก้านดอก ดอกติดกับแกนช่อดอกแน่น โดย 1 ช่อดอกจะนับเป็น 1 กระปุกผล ระยะการบานของดอกประมาณ 3 วัน 1 ต้น จะให้ทะลายดอกประมาณ 9-12 ทะลาย
ผล ออกเป็นทลายมีลักษณะเป็นรูปทรงรียาว ผลอ่อนจะมีสีน้ำตาล ผลแก่มีสีแดงอมน้ำตาล เปลือกจะเป็นเกล็ดซ้อนกัน ด้านบนของผลจะมีขนแข็งสั้น เนื้อเป็นกลีบ มีสีเหลืองอ่อน เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีเมล็ดอยู่ข้างในเนื้อ มีเมล็ดเล็กกว่าระกำ เนื้อล่อนไม่ติดเมล็ด
เมล็ด มีเมล็ดเล็ก มีลักษณะรูปทรงรี อยู่ข้างในเนื้อ มีสีน้ำตาลเข้ม มีผิวเปลือกเรียบเป็นมัน มีเนื้อล่อนเมล็ด มีเมล็ดเล็กกว่าระกำ
สายพันธุ์สละ
พันธุ์ในประเทศไทยที่นิยมปลูก
พันธุ์เนินวง ผลหัวท้ายเรียว สีส้มอมน้ำตาลมีหนาวยาว ผลดิบจะมีรสชาติที่อมเปรี้ยว ผลสุกจะมีรสชาติที่หวานหอมเมล็ดจะเล็ก
พันธุ์หม้อ ผลยาว มีปลายแหลมเป็นจะงอยเปลือกสีแดงเข้ม
พันธุ์สมาลี ทรงต้นคล้ายระกำ ผลป้อมสั้น เนื้อเป็นสีส้มคล้ายระกำ
พันธุ์พื้นเมืองของอินโดนีเซียและมีการปลูกทั่วประเทศ
พันธุ์ปนโดะห์ : เป็นที่นิยมบริโภคในอินโดนีเซีย เพราะมีกลิ่นหอมรสหวาน แบ่งเป็น 2 แบบ
คือ ปนโดะห์ดำ และ ปนโดะห์เหลือง
พันธุ์บาหลี : เป็นพันธุ์ที่พบมากในเกาหลี รสอมเปรี้ยวเนื้อเยอะ และมีราคาแพงมากที่สุด
สละกับระกําต่างกันยังไง
ผลของระกำออกเป็นทะลาย ลูกป้อม ๆ กลม ๆ อ้วน ๆ เปลือกหุ้มผลจะมีเกล็ดสีน้ำตาลหรือสีดำ...
เลมอน ผลไม้รสเปรี้ยวช่วยเพิ่มรสชาติอาหารและมีประโยชน์มากมาย
เลมอน
ชื่อสามัญของเลมอน คือ Lemon อ่านว่า เล-ม่อน เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญ มีรสเปรี้ยวนิยมถึงนำมาใช้ในเมนูอาหารคาวรวมถึงเครื่องดื่ม ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Citrus limon (L.) Osbeck อยู่ในวงศ์ส้ม และชื่อเรียกอื่น คือ มะนาวฝรั่ง มะนาวนมยาน มะนาวเทศ และที่สำคัญ Lemon มีคุณสมบัติช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย ควบคุมน้ำหนัก และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ลักษณะของเลมอน
ต้น เป็นไม้พุ่ม ที่ปลายยอดจะมีหนามแหลม
ใบ เป็นใบเดี่ยว ถ้าเอมมาขยี้จะมีกลิ่นหอม
ดอก เป็นสีขาวและมีกลิ่นหอม
ผล มีลักษณะกลมรี ปลายผลมีติ่งแหลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดหลายเมล็ด เนื้อฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว
เลมอน กับ มะนาว ไม่ใช่ชนิดเดียวกัน เลมอนมีสีเหลือง Lemon คือ มะนาวนมยาน มะนาว Lime คือลูกสีเขียว ๆ กลม ๆ เล็ก ๆ
แนะนำ : เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นกรด อาจจะทำลายเคลือบฟัน ควรเจือจางด้วยน้ำก่อนนำมาใช้ และก่อนใช้ควรล้างทำความสะอาดทุกครั้ง
ประโยชน์ของเลมอน
สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยได้
สามารถช่วยขจัดคราบสบู่ในห้องน้ำที่ตามขอบประตู ฉากกั้นห้องน้ำ ใช้เบกกิงโซดาใส่ลงบนเลมอนที่ฝานแล้วเล็กน้อย นำมาขัดตรงที่มีคราบสบู่ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด จะทำให้ห้องน้ำสะอาด
ช่วยขจัดคราบและกลิ่นบนเขียงได้ โดยฝานผลเป็นครึ่งลูก บีบน้ำลงบนเขียง ใช้เปลือกขัดไปเรื่อย ๆ ปล่อยทิ้งไว้ 20 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ใช้ดับกลิ่นคาวปลา ทำให้รสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น และช่วยแก้เลี่ยนได้
ความเปรี้ยวกับความเป็นกรดถูกนำไปทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อทดแทนกรดชนิดอื่นที่มีราคาสูง
ช่วยลดปริมาณกรดฟอสฟอริกในปัสสาวะให้น้อยลง เป็นผลดีกับสุขภาพร่างกาย
เปลือกสามารถช่วยรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้องได้
กำจัดของเสียที่ตกค้างในลำไส้
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
สามารถป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และป้องกันหวัด
ใช้เป็นเครื่องดื่มหรือใช้แต่งกลิ่นก็มีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น น้ำ น้ำอัดลม เครื่องดื่มค็อกเทล
สามารถทำความสะอาดคราบสกปรก เชื้อโรคตามเคาน์เตอร์ได้ โดยฝานบางแล้วผสมกับเบกกิงโซดา นำมาถูตรงที่มีคราบ แล้วใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาด ๆ มาเช็ดทำความสะอาดอีกครั้ง ไม่ควรใช้กับพื้นสแตนเลสหรือพื้นหินอ่อน เนื่องจากจะทำให้สีซีดจาง
สามารถขจัดคราบกาแฟในกาต้มได้ โดยหั่นแล้วไปต้มกับน้ำสะอาดในกาต้มกาแฟจนเดือด ปล่อยทิ้งไว้ 2 ชั่วโมงแล้วนำกาต้มล้างทำความสะอาด คราบก็จะหลุดออกมา
เปลือก มีฤทธิ์ที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย มีการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด น้ำยาล้างจาน เพื่อฆ่าเชื้อโรคกับแบคทีเรีย เช่น บริเวณผ้าม่าน พรม โซฟา และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ
มีการนำเปลือกหรือกากมาทำเป็นอาหารและของหวาน
สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้
สามารถลดขนาดและละลายก้อนนิ้วในถุงน้ำดีกับไตให้ขับออกมาทางปัสสาวะ
เปลือกสามารถช่วยขับลมในลำไส้ได้
ช่วยบำรุงตับและช่วยกระตุ้นให้ตับผลิตน้ำดีได้มากขึ้น ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ
มีวิตามินพี (Bioflavonoids) ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งแรง
มีสารที่สามารถช่วยต่อต้านมะเร็งได้อยู่หลายชนิด
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัมให้พลังงาน 29 กิโลแคลอรี
สารอาหาร
ปริมาณสารที่ได้รับ
วิตามินบี 1
0.04 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี 2
0.02 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี 3
0.1 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 5
0.19 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี 6
0.08 มิลลิกรัม...
ลูกท้อ ผลไม้เมืองหนาวเนื้อหวานชุ่มฉ่ำ
ลูกท้อ
ลูกท้อ คือ Peach เป็นต้นไม้ที่ให้ผลอยู่ในวงศ์กุหลาบ (Rosaceae)เป็นพรรณไม้เมืองเหนือมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนรวมถึงทางภาคเหนืองของประเทศไทยที่มีอาการเย็นปลูกได้ตามเนินเขา ผลท้อสดเนื้อหวานฉ่ำ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Prunus persica (L.) Stokes ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น หุงหม่น มะฟุ้ง หุงคอบ มักม่วน
ลักษณะของลูกท้อ
ต้น เป็นไม้เมืองหนาวขึ้นได้ดีในพื้นที่ที่สูงตั้งแต่ 3,000 ฟุตขึ้นไป และอุณหภูมิประมาณ 10 องศาเซลเซียส ต้นท้อทนแล้งได้ จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบ
ใบ เป็นไม้ใบเดียว เรียงสลับกัน มีลักษณะคล้ายรูปหอก
ดอก เป็นดอกเดี่ยวเป็นกระจุก มีกลีบดอก 5 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ดอกเป็นสีขาว สีชมพู สีแดง
ผล เป็นผลสดเมล็ดเดี่ยว ผิวจะมีขนปกคลุม
สิ่งที่ควรระวังในการรับประทาน : ผิวของผลท้อมีผลอ่อน ๆ ถ้าสัมผัสอาจทำให้ระคายเคืองและคัน ก่อนจะรับประทานให้นำไปล้างให้ขนหลุดออกให้หมดออกก่อนรับประทาน
สรรพคุณของลูกท้อ
เมล็ดสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้
สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
สามารถช่วยรักษาโรคหอบหืดได้
เมล็ดสามารถช่วยแก้อาการท้องผูกได้
สามารถใช้ดอกเป็นยาระบาย
ดอกสามารถช่วยในการขับปัสสาวะได้
ใบสามารถช่วยขับพยาธิได้
สามารถบรรเทาอาการปวดของโรคไส้เลื่อน
เมล็ดสามารถช่วยให้ลำไส้และหัวใจทำงานได้อย่างปกติ
สามารถช่วยให้ลำไส้หล่อลื่น และทำความสะอาดลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่
เมล็ดสามารถช่วยแก้อาการไอได้
เมล็ดสามารถช่วยบำรุงโลหิต
สามารถลดอาการเหงื่อออก
ประโยชน์ของลูกท้อ
ช่วยทำให้ผิวขาวเนียน ชุ่มชื้น และไม่แห้งกร้าน นำเนื้อประมาณครึ่งลูกมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วปั่นให้ละเอียด ให้เป็นเนื้อครีม ล้างหน้าให้สะอาดแล้วนำมาพอกหน้า พอกหน้าประมาณ 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำ
สามารถป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันได้
ต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน และป้องกันหวัดได้
ชาวจีนมีความเชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืน และช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย ถ้าดอกบานระหว่างการฉลองวันปีใหม่ เชื่อว่าปีต่อไปจะเป็นปีแห่งโชคลาภ
ดอกสามารถใช้ตกแต่งภายในบ้านเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล ในสมัยโบราณหากมีการเขียนป้ายคำอวยพร นิยมเขียนลงไม้ที่ทำจากต้นท้อเพื่อความเป็นสิริมงคล
สามารถช่วยเสริมสร้างและบำรุงกระดูกกับฟันให้แข็งแรง
ช่วยบำรุงสายตา
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 39 กิโลแคลอรี
สารอาหาร
ปริมาณสารที่ได้รับ
วิตามินเอ
16 ไมโครกรัม 2%
วิตามินบี 1
0.024 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี 2
0.031 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี 3
0.806 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 5
0.153 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี 6
0.025 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี 9
4 ไมโครกรัม 1%
วิตามินซี
6.6 มิลลิกรัม 8%
วิตามินอี
0.73 มิลลิกรัม 5%
วิตามินเค
2.6 ไมโครกรัม 2%
โปรตีน
0.91 กรัม
เส้นใย
1.5 กรัม
คาร์โบไฮเดรต
9.54 กรัม
น้ำตาล
8.39 กรัม
ไขมัน
0.25 กรัม
เบตาแคโรทีน
162 ไมโครกรัม 2%
ธาตุแคลเซียม
6 มิลลิกรัม 1%
ธาตุแมกนีเซียม
9 มิลลิกรัม 3%
ธาตุฟอสฟอรัส
20 มิลลิกรัม 3%
ธาตุโซเดียม
0 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี
0.17 มิลลิกรัม 2%
ธาตุโพแทสเซียม
190 มิลลิกรัม 4%
ธาตุแมงกานีส
0.061 มิลลิกรัม 3%
ธาตุเหล็ก
0.25 มิลลิกรัม 2%
ข้อมูลจาก USDA Nutrient database
สั่งซื้ออาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค...
ลิ้นจี่ ผลไม้มากสรรพคุณป้องเหน็บชา
ลิ้นจี่
ลิ้นจี่ (Lychee, Litchi, Lichee, Lichi) เป็นไม้ยืนต้นกึ่งเขตร้อนที่มีอายุยืนยาวผลไม้ชนิดนี้มีลักษณะเปลือกเป็นสีแดง ถูกจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับลำไยและเงาะ จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE) ผลอุดมไปด้วยน้ำ 83% ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ไฟเบอร์สูง และยังมีสารอาหารสำคัญอย่างวิตามิน A, B และวิตามิน C ที่ช่วยให้หลอดเลือดและกระดูกแข็งแรง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Litchi chinensis Sonn. และได้มีการปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศไทยแถบภาคเหนือ หรือในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดียตอนเหนือ บังกลาเทศ อเมริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา โดยสายพันธุ์มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่เป็นที่นิยมกันก็ได้แก่ สายพันธุ์จักรพรรดิ กิมเจ็ง และฮงฮวย เป็นต้น โดยถือเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของผลไม้สดหรือในรูปแบบแปรรูปก็ตาม
ลักษณะของลิ้นจี่
ลำต้น มีอายุ 5-25 ปี หรือมากกว่า เป็นไม้ไม่มีการพลัดใบ และมีความสูงขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร หรือมากกว่า ลำต้นแตกกิ่งค่อนข้างต่ำ กิ่งมีขนาดยาว แตกกิ่งออกจำนวนมาก ทำให้แลดูเป็นทรงพุ่มหนาทึบเป็นทรงกลม เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทา เปลือกลำต้นขรุขระ
ใบ เป็นใบประกอบ โดยมีก้านใบหลักยาว 10-20 ซม. แต่ละก้านใบมีใบย่อยแตกออกด้านข้างเรียงสลับกัน 2-10ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปหอก เรียวยาว โคนใบสอบ ปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบ แผ่นใบหนา และเหนียวคล้ายหนัง ใบอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีค่อนข้างแดง ส่วนใบแก่มีสีเขียวเข้ม และเป็นมัน ส่วนท้องใบมีสีเขียวอมเทาที่จางกว่าแผ่นใบด้านบน
ดอก ออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่งหรือปลายยอด มีก้านช่อดอกยาว 10-30 ซม. ก้านช่อดอกแตกแขนงกว้าง 10-30 ซม. แต่ละช่อดอกประกอบด้วยดอกจำนวนมาก ดอกมีขนาด 3-5 มม. มีก้านดอกยาวประมาณ 1.5 มม. ดอกมีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ ส่วนกลีบดอกจะไม่มี สีเหลืองอมเขียว เป็นรูปถ้วย ภายในมีเกสรตัวผู้ 5-10 อัน ส่วนชั้นในสุดเป็นเกสรตัวเมียที่มีก้านชูเกสร และรังไข่ โดยรังไข่มี 2 พู แต่จะติดเป็นผลเพียง 1 พู เมื่อดอกบานจะส่งกลิ่นหอม
ผล มีลักษณะหลายแบบขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ทั้งผลแบบกลม ทรงรี และรูปหัวใจ โดยใน 1 ช่อ จะมีผลตั้งแต่ 1-40 ผล หรือมากกว่า ผลมีเปลือกบาง ผิวเปลือกขรุขระ มีสีชมพูอมแดงหรือสีแดงสด เปลือกผลสามารถแกะแยกออกจากเนื้อได้ง่าย เนื้อสีขาวขุ่นที่ฉ่ำไปด้วยน้ำ เนื้อให้รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย
เมล็ด มีลักษณะรี เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม ผิวเปลือกเรียบ และเป็นมัน ขั้วเมล็ดมีเยื่อสีขาวที่เชื่อมกับขั้วผล
สรรพคุณของลิ้นจี่
1. รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกายได้
2. ใช้ช่วยให้พลังชี่ขับเคลื่อน (เมล็ด)
3. ใช้ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ราก, เปลือกลำต้น)
4. มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง
5. มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระอย่างสูง (สารสกัดจากเปลือก)
6. สามารถต้านมะเร็ง และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมได้อีกด้วย (สารสกัดเพอริคาร์ป)
7. เปลือกของผลใช้ทำเป็นชาชงดื่มแก้อาการหวัด (ชาจากเปลือก)
8. ใช้ช่วยแก้อาการคัดจมูก
9. มีส่วนช่วยบำรุงระบบการย่อยอาหาร
10....
ลำไย คุณสมบัติช่วยให้เจริญอาหาร หลับสบาย
ลำไย
ลําไย เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานกันเป็นอย่างมากในประเทศไทยบ้านเรา โดยจังหวัดที่ปลูกมากที่สุดคือจังหวัดลำพูน ส่วนประเทศที่ปลูกมากที่สุดคือประเทศจีน ซึ่งมีการปลูกมากถึง 26 สายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกในบ้านเราจะแบ่งออกเป็น 5 พันธุ์ ชนิดแรกคือ กะโหลก ซึ่งเป็นพันธ์ุที่มีผลใหญ่ เนื้อหวานอร่อยซึ่งก็จะแบ่งแยกย่อยไปได้อีกหลากหลายสายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์สีชมพู อีดอ อีแดง อีดำ เป็นต้น ส่วนจำพวกที่ 2-5 ก็คือ กระดูก สายน้ำผึ้ง เถา ขาว และธรรมดา ชื่อสามัญ Longan (ลองแกน) (มักเขียนผิดเป็น “ลำใย”) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Dimocarpus longan Lour. และมีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ว่า Euphoria longan (Lour.) Steud. จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)
คำแนะนำ : ไม่ควรจะรับประทานมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการร้อนใน เกิดแผลในช่องปาก และตาแฉะได้ ดังนั้นควรรับประทานแต่ในพอดี และผู้ที่มีอาการเจ็บคอ ไอมีเสมหะ มีหนองเป็นแผลอักเสบ ก็ไม่ควรที่จะรับประทานเช่นกัน
ลักษณะของลำไย
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สุง 9 - 12 เมตร เรือนยอดกลมและเป็นพุ่มทึบเปลือกขรุขระ สีน้ำตาลหรือสีเทา กิ่งค่อนข้างเปราะ เนื้อไม้มีสีแดงและแข็ง
ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 2 - 5 คู่ ออกตรงข้ามหรือสลับกัน รูปร่างใบเรียวยาว สีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
ดอก มีขนาดเล็ก ออกที่ปลายยอด มีสีครีมหรือขาวปนเหลือง มีกลิ่นหอม เป็นดอกสมบูรณ์เพศในช่อดอกเดียวกัน และมีดอกเพศผู้ดอกเพศเมีย
ผล มีรูปร่างค่อนข้างกลม เปลือกบางสีน้ำตาลอ่อน เนื้อมีสีขาวขุ่น รสหอมหวาน
เมล็ด ผลหนึ่งๆ มีเมล็ดเดียว รูปร่างกลม สีดำเข้มเป็นมัน ด้านบนของเมล็ดมีเนื้อเยื่อติดเป็นวงขาว ๆ ทำให้มีลักษณะคล้ายลูกตา
สรรพคุณของลำไย
1. มีส่วนช่วยให้หลับสบายและช่วยในการเจริญอาหาร
2. สามารถช่วยรักษาอาการหวัด ด้วยการนำใบมาชงกับน้ำร้อนดื่มได้
3. มีฤทธิ์ในการช่วยรักษาโรคมาลาเรีย โดยการนำใบสดประมาณ 20 กรัม น้ำ 2 แก้วผสมกับเหล้าอีก 1 แก้ว นำมาต้มรวมกันให้เดือดจนเหลือน้ำ 1 แก้วแล้วนำมาดื่ม
4. สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้โรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหนองได้ ด้วยการนำใบสดประมาณ 20 กรัมไปต้มกับน้ำดื่ม
5. สามารถแก้ปัญหาอาการตกขาวได้ ด้วยการนำรากมาต้มน้ำหรือเคี้ยวให้ข้น จากนั้นนำมารับประทาน
6. มีฤทธิ์ช่วยขับพยาธิเส้นด้าย ด้วยการนำรากมาต้มน้ำหรือเคี้ยวให้ค้นผสมกิน
7. มีฤทธิ์รักษาแผลที่เน่าเปื่อย บรรเทาอาการคัน ด้วยนำเมล็ดไปเผาให้เป็นเถ้าแล้วนำมาทา
8. มีฤทธิ์รักษาอาการท้องร่วง ด้วยการนำเปลือกของต้นที่มีสีน้ำตาลอ่อนนำมาต้มเป็นยา
9. มีฤทธิ์ในการช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร ด้วยการนำใบมาชงกับน้ำร้อนสำหรับดื่ม
10. มีฤทธิ์ในการรักษาอาการปัสสาวะขัด ด้วยการนำเมล็ดมาทุบให้แตกแล้วนำมาต้มน้ำสำหรับดื่ม แต่ต้องลอกเปลือกสีดำของเมล็ดออกให้หมดก่อนนะ
11. ดอกสามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะ สลายก้อนนิ่วในไตได้
12. มีคุณสมบัติแก้อาการวิงเวียนศีรษะอ่อนเพลีย และเพิ่มความสดชื่น ด้วยการนำเปลือกผลที่แห้งแล้วมาต้มน้ำดื่ม
13. มีฤทธิ์ในการช่วยรักษากลากเกลื้อน โดยการนำเมล็ดชุบน้ำส้มสายชูที่หมักด้วยข้าวแล้วนำมาถู แต่ทั้งนี้ต้องลอกเปลือกสีดำของเมล็ดออกก่อน
14. ใช้ช่วยรักษาแผลเรื้อรังและมีหนอง ด้วยการนำเมล็ดไปเผาเป็นเถ้า แล้วนำเอามาผสมกับน้ำมะพร้าวทาบริเวณที่เป็นแผล
15. สามารถใช้เป็นยาบำรุงม้าม เลือดลม หัวใจ บำรุงร่างกาย อาการนอนไม่หลับ...
ลางสาด ไม้ผลเมืองร้อนอุดมด้วยวิตามินเอ
ลางสาด
ลางสาด (Langsat) เป็น ต้นไม้จากตระกูลกระท้อนอุดมไปด้วยวิตามิน เช่น ไทอามีนและไรโบฟลาวิน ซึ่งเป็นหนึ่งในการผลิตเซลล์เซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยในการสลายคาร์โบไฮเดรต และวิตามินเอสูง ซึ่งช่วยในการรักษาสุขภาพผิวหนัง ดวงตา ฟัน เนื้อเยื่อโครงร่าง และเยื่อเมือกให้แข็งแรง ชื่อสามัญ Lancet (ลานเสท), Langsium (ลานเซียม) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Lansium parasiticum (Osbeck) K.C.Sahni & Bennet และมีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ว่า Aglaia domestica (Corrêa) Pellegr., Lansium domesticum Corrêa),, จัดอยู่ในวงศ์กระท้อน (MELIACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า รังสาด ลังสาด รางสาด ล า ง ส า ด (ไทย), ลาซะ ดูกู (มลายู) เป็นต้น โดยชื่อ “ลางสาด” หรือ “ลังสาด” นั้นมาจากภาษามาเลย์คำว่า “Langsat”,
ลักษณะของลางสาด
ต้น มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะมาลายู หมู่เกาะชวา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และในประเทศไทย ถูกจัดให้เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก เป็นไม้ผลเมืองร้อน (ร้อนชื้น) มีลำต้นตรง สูงอยู่ที่ประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นมุมแหลมกระจายกึ่งกลางลำต้นขึ้นไป ลักษณะปลายกิ่งตั้ง ส่วนผิวของลำต้นชั้นนอกเป็นสีเทาและมีพื้นผิวขรุขระ เปลือกไม่หลุดออก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยหรือในดินร่วนปนทราย ชอบแสงแดด ชอบอากาศชื้นปานกลาง และน้ำปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนแบบควั่นกิ่ง การติดตา และการต่อกิ่ง
ใบ เป็นใบประกอบ เกิดสลับซ้ายขวาอยู่ต่างระนาบกัน ก้านใบกลม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่รีโค้งมน ปลายใบมีลักษณะเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบมีไขนวลปกคลุมอยู่ ใบเป็นสีเขียวเข้ม ด้านล่างใบมีเส้นใบนูนเด่น
ดอก ออกเป็นช่อสีขาว ดอกเกิดไปตามลำต้นและตามกิ่ง ลักษณะของดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ผล ออกเป็นช่อ ๆ ผลตอนสดเป็นสีเขียว เมื่อผลสุกแล้วจะเป็นสีเหลือง ผลมีลักษณะทรงกลมรี เปลือกค่อนข้างบาง ผิวมีความละเอียด ผลอ่อนจะนุ่ม มียางมากเป็นสีขาวขุ่น ๆ ส่วนเนื้อภายในจะนิ่ม มีความฉ่ำน้ำ มีรสชาติหวานหอมอมเปรี้ยวเล็กน้อย ในผลมีเมล็ดอยู่ประมาณ 5 เมล็ด และเมล็ดเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะกลมแบนรี มีเปลือกหุ้มบาง ๆ ผิวเมล็ดเนียนเรียบ มีเนื้อในเป็นสีขาว มีรสชาติฝาดและขมจัด,
ลองกอง ลางสาด แตกต่างกันอย่างไร
1. ลองกองมีราคาที่แพงกว่า
2. ผลจะมีลักษณะออกกลมรี ส่วนลองกองผลจะค่อนข้างกลม
3. ลองกองเปลือกจะค่อนข้างหนา
4. ลองกองผิวจะหยาบเล็กน้อย
5. ส่วนลองกองจะเป็นสีเหลืองซีด
6. ลองกองจะไม่มียางสีขาว
7. ลองกองสามารถแกะรับประทานได้ง่าย
8. ผลลองกองจะมีจุก
9. ลองกองมีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเลย
10. ลองกองเมล็ดจะมีรสไม่ขม
11. เนื้อลองกองจะมีรสหวาน
12. ความหวานของลองกองจะมีค่าตั้งแต่ 16-19 องศาบริกซ์
13. ผลสุกแล้ว เนื้อลองกองจะแห้งและขาวใสคล้ายแก้ว
14. ลองกองเนื้อเยอะ
15. ช่อผลของลองกองค่อนข้างยาว
16. ใบของลองกองจะมีรสที่ขมจัด
17. ใบลองกองนั้นจะเป็นคลื่นใหญ่และมีร่องลึก
สรรพคุณของลางสาด
1. เมล็ดนำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ใช้เป็นยาสำหรับหยอดหู แก้อาการหูอักเสบหรือเป็นฝีในหูได้ (เมล็ด)
2....
ละมุด ผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารชั้นเยี่ยม
ละมุด
ละมุด (Sapodilla) เป็นไม้ยืนต้นโตช้า ผลจะมีผิวหยาบเมื่อสุกเนื้อสีน้ำตาลหวานนิ่ม อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารชั้นเยี่ยมรับประทานผลสุกช่วยให้อิ่มนานขึ้นและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ชื่อวิทยาศาสตร์ Manilkara zapota (L.) P.Royen อยู่ในวงศ์พิกุล ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ชวานิลอ สวา ละมุดฝรั่ง
ลักษณะ
ต้น มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนแถวประเทศเม็กซิโก อเมริกากลาง อินเดียตะวันตก เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง พุ่มทึบ กิ่งก้านแตกออกเป็นชั้น รอบ ๆ ลำต้น มีแหล่งปลูกในประเทศไทยที่อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี สายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ละมุดไทย และละมุดฝรั่ง
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ตามปลายกิ่ง ท้องใบเป็นสีน้ำตาลอมเขียว
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ดอกออกตามง่ามกิ่ง มีกลีบรองดอกเรียงกันอยู่ 2 ชั้น และมีกลีบดอกเชื่อมกัน ยกตั้งขึ้น มี 6 กลีบ มีสีเหลืองนวล
ผล มีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือที่ปลายแหลม ผิวเป็นสีน้ำตาล ผลดิบมียางสีขาว ยางมีสารที่ชื่อว่า Gutto มีรสฝาด แข็ง ผลสุกจะนิ่ม รสหวาน ไม่มียาง ในผลมีเมล็ดรูปรียาวสีดำอยู่ในเนื้อ 1 ผลมีเมล็ดประมาณ 2-6 เมล็ด
ประโยชน์ของละมุด
สามารถใช้ทานเป็นผลไม้ ทำไวน์ ทำเครื่องดื่ม
ช่วยให้รู้สึกสดชื่นและกระปรี้กระเปร่า
ช่วยให้รู้สึกสดชื่นและกระปรี้กระเปร่า
ยางสีขาวที่ทุกส่วนของลำต้นนำไปใช้ทำหมากฝรั่งกับรองเท้าบูทได้
ผลมีเส้นใยเยอะมาก ช่วยขับถ่ายและป้องกันอาการท้องผูกได้ และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
เปลือกลำต้น ต้มปรุงใช้เป็นยาแก้บิด (ประเทศฟิลิปปินส์)
สามารถนำเมล็ดใช้เป็นยาบำรุงกำลังได้
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัมให้พลังงาน 83 กิโลแคลอรี
สารอาหาร
ปริมาณสารที่ได้รับ
วิตามินบี 2
0.02 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี 3
0.2 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 5
0.252 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 6
0.037 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี 9
14 ไมโครกรัม 4%
วิตามินซี
14.7 มิลลิกรัม 18%
โปรตีน
0.44 กรัม
เส้นใย
5.3 กรัม
ไขมัน
1.1 กรัม
คาร์โบไฮเดรต
19.96 กรัม
ธาตุสังกะสี
0.1 มิลลิกรัม 1%
ธาตุโพแทสเซียม
193 มิลลิกรัม 4%
ธาตุแมกนีเซียม
12 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแคลเซียม
21 มิลลิกรัม 2%
ธาตุโซเดียม
12 มิลลิกรัม 1%
ธาตุฟอสฟอรัส
12 มิลลิกรัม 2%
ธาตุเหล็ก
0.8 มิลลิกรัม 6%
ข้อมูลจาก USDA Nutrient database
วิธีการทำน้ำละมุด
วัตถุดิบที่ต้องเตรียมมีดังนี้ เนื้อ 1 ถ้วย, เกลือป่น 1/4 ช้อนชา, น้ำแข็งทุบ 1 แก้ว, น้ำเปล่า 1 ถ้วย
ปอกเปลือกผลเอาแต่เนื้อ แล้วใส่ลงในเครื่องปั่น
เติมเกลือ น้ำเปล่า น้ำแข็งลงไปตาม
ปั่นจนละเอียดให้เข้ากัน
เทใส่แก้ว จะได้น้ำปั่นแบบเย็นชื่นใจ
ผลไม้ชนิดนี้มีรสหวานจัด ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรบริโภคเล็กน้อยนานครั้ง ไม่ควรให้เด็กเล็กรับประทานคนเดียว ถ้าต้องการให้เด็กรับประทานควรเอาเมล็ดออกให้ก่อนและหั่นเป็นชิ้นเล็กพอคำที่เด็กจะสามารถทานได้ เพราะเมล็ดลื่น...
ลองกอง สุดยอดผลไม้เนื้อฉ่ำแหล่งวิตามินบี
ลองกอง
ลองกอง (Longkong) มีถิ่นกำเนิดในทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหมู่เกาะชวา เกาะมลายู ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และทางภาคใต้ของประเทศไทย ในจังหวัดนราธิวาส และยังมีในประเทศทางแถบซูรินัม เปอร์โตริโก ออสเตรเลีย และฮาวายอีกด้วย โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศที่สามารถผลิตลองกองที่มีคุณภาพได้ดีที่สุด เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมในการปลูกที่เหมาะสม แต่พื้นที่ในการทำการปลูกลองกองได้นั้นยังมีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้มีผลผลิตที่น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ส่งผลทำให้ผลไม้ชนิดนี้มีราคาที่ค่อนข้างสูง และจัดได้ว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศอีกชนิดหนึ่งอีกด้วย โดยแหล่งการเพาะปลูกในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ทางภาคใต้ รองลงมาคือภาคตะวันออก ส่วนภาคเหนือและภาคกลางก็มีปลูกอยู่บ้างเล็กน้อย ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Lansium domesticum Corr. จัดเป็นพืชที่อยู่ในชนิดเดียวกันกับลางสาดและลูกู หรือ ดูกู (Duku) โดยจัดอยู่ในวงศ์ MELIACEAE เช่นเดียวกับกระท้อน กัดลิ้น ตะบูนขาว ตะบูนดำ และสะเดา ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลังสาดเขา (นครศรีธรรมราช) ส่วนชื่อนั้นมาจากชื่อพื้นเมืองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี,
สายพันธุ์ลองกอง
สายพันธุ์ในประเทศไทยจะมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง โดยสายพันธุ์ลองกองมีอยู่ด้วยกัน 7 สายพันธุ์ ได้แก่ ลองกองทั่วไป, ลองกองแกแลแมร์ (ลองกองแปรแมร์), ลองกองคันธุลี, ลองกองธารโต, ลองกองไม้, ลองกองเปลือกบาง, และลองกองกาญจนดิษฐ์ ซึ่งในแต่ละสายพันธุ์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ลองกองแห้ง (เนื้อใสแห้ง รสหวาน มีกลิ่นหอม เปลือกเหลืองคล้ำและไม่มียาง), ลองกองน้ำ (เนื้อฉ่ำน้ำ สีเปลือกเหลืองสว่าง), และลองกองกะละแม (แกแลแม, ปาลาเม, แปรแมร์) (เนื้อนิ่ม กลิ่นไม่หอม เปลือกบางและมียางเล็กน้อย) ซึ่งเป็นชนิดที่ได้รับความนิยมในการปลูกในทางการค้ามากที่สุด เพราะเป็นชนิดที่มีผลคุณภาพดี เนื้อมีรสที่หวานหอม มีเมล็ดน้อยหรือแทบไม่มีเลย แถมเมล็ดยังไม่ขมอีกด้วย ดังนั้นสายพันธุ์ของลองกองนั้นจึงควรมีเพียงแค่สายพันธุ์เดียวเท่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ในการค้า จึงไม่จำเป็นต้องแยกชนิดพันธุ์ เพราะคุณภาพนั้นเป็นที่ยอมรับของทางตลาดอยู่แล้ว
ลักษณะของลองกอง
ต้น ลำต้นนั้นไม่กลมมากนัก มักจะมีสันนูนและรอยเว้าอยู่บ้าง ผิวเปลือกค่อนข้างหยาบ แตกกิ่งแขนงภายในเป็นทรงพุ่มไม่กลมตรง มีแอ่งเว้าไปตามรอยของง่ามกิ่งและตามลำต้นให้เห็นเป็นระยะ ลักษณะเป็นรอยสูงต่ำ เป็นคลื่น ๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลูกด้วย ถ้าหากปลูกภายใต้ร่มเงาทึบหรือมีไม้อื่นมาก ลำต้นก็จะสูงชะลูดและผิวเปลือกจะค่อนข้างเรียบ แต่ถ้านำไปปลูกในพื้นที่ที่มีร่มเงาน้อย ลำต้นมักจะแผ่เป็นพุ่มกว้าง ๆ และมีผิวเปลือกที่หยาบ การขยายพันธุ์สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีทั้งวิธีการเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง การต่อกิ่ง หรือการเสียบยอดและเสียบข้าง และวิธีการติดตา
ราก ระบบของรากจะแตกต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับชนิดสายพันธุ์นั้น ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วรากแขนงจะมีขนาดใหญ่และหยาบ จะเจริญแผ่ไปทางแนวราบของผิวหน้าดิน เมื่อต้นมีอายุมาก ๆ จะสามารถมองเห็นรากส่วนนี้แยกจากโคนต้นที่ติดดินได้อย่างชัดเจน และต่อจากรากแขนงจะเป็นรากฝอย ซึ่งจะทำหน้าที่ในการดูดซับน้ำและอาหาร เจริญแผ่ไปตามหน้าดินตื้น ๆ
ใบ เป็นใบรวมมี 5-9 ใบย่อย ใบกว้างประมาณ 2-6 นิ้วและยาวประมาณ 4-8 นิ้ว และมีก้านใบย่อย ใบแก่จะเป็นสีเขียวเข้ม ดำเป็นมัน และมีรอยหยักเป็นคลื่นที่หนากว่าใบของลางสาด ผิวใบด้านบนจะเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง ลักษณะของใบเป็นแบบ elliptical โดยที่ปลายใบจะเรียวแหลม ส่วนโคนใบก็แหลมเช่นกัน ขอบใบเรียบ ลักษณะเส้นใบเป็นแบบแยกออกจากเส้นกลางใบเหมือนกับร่างแห โดยเส้นใบด้านใต้ท้องใบจะมีความเรียวเล็กนูน คมชัดกว่าใบของดูกูน้ำ
ดอก ตาดอกมีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง มีสีน้ำตาลอมเขียว มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5 เซนติเมตร โดยส่วนนี้จะเจริญไปเป็นช่อดอกยาวเรียกว่า Spike...
บ๊วยผลไม้เมืองหนาว ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
บ๊วย
บ๊วย Chinese plum, Japanese apricot, Ume เป็นผลไม้เมืองหนาว มีต้นกำเนิดในประเทศจีน และเวลาต่อมาในภายหลังก็ได้แพร่กระจายไปหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น ไทย ลาว พม่า เวียดนาม ไต้หวัน ฯลฯ สำหรับในประเทศไทยนั้น จะมีการเพาะปลูกกันมาอย่างยาวนานแล้ว โดยได้รับการแพร่เข้ามาในทางภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Prunus mume Siebold & Zucc. จัดอยู่ในวงศ์ ROSACEAE ในตระกูลพรุน เช่นเดียวกับพลัม ลูกท้อ เชอร์รี่ อัลมอนด์ และนางพญาเสือโคร่ง
พันธุ์ต้นที่นิยมมาเพาะปลูก
1. พันธุ์เชียงราย หรือ พันธุ์แม่สาย ถูกจัดให้เป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย โดยมีการปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป แต่ก็มีข้อเสียนั่นก็คือ ตัวผลมีขนาดที่เล็กไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานแปรรูป,
2. พันธุ์ปิงติง สายพันธุ์นี้จัดเป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากไต้หวัน เหมาะสำหรับการเพาะปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป,
3. พันธุ์เจียนโถ พันธุ์นี้ก็เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากไต้หวันเช่นเดียวกัน และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป,
4. พันธุ์บารมี 1 หรือ พันธุ์ขุนวาง 1 ในส่วนสายพันธุ์นี้นั้นจะเป็นสายพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกมาจากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ มีจุดเด่นก็คือ ผลที่มีขนาดใหญ่และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป,
5. พันธุ์บารมี 2 หรือ พันธุ์ขุนวาง 2 ในสายพันธุ์นี้จะเป็นพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกมาจากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่เช่นกัน นอกจากจะให้ผลที่มีขนาดใหญ่แล้ว ยังให้ผลผลิตที่สูงอีกด้วย และเหมาะสำหรับนำมาปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป,
ลักษณะของบ๊วย
ต้น จัดเป็นไม้ผลยืนต้นที่สามารถเพาะปลูกได้ง่าย มีโรคและแมลงรบกวนน้อย และให้ผลผลิตที่สูงตามอายุและขนาดของลำต้น โดยต้องการอุณหภูมิในการปลูกอย่างต่ำประมาณ 7.2 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น สามารถที่จะเจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเสียบกิ่งหรือวิธีการปักชำ,
ใบ เป็นใบขนาดเล็ก มีสีเขียวอมเทา ขอบใบเป็นหยักคล้ายกับฟันเลื่อย
ดอก มีกลิ่นที่หอม ดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพู
ผล มีลักษณะกลมเป็นสีเขียว แต่เมื่อแก่เต็มที่แล้วก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ทั่วไปนั้นจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร เนื้อมีรสชาติขมอมเปรี้ยวและมีกลิ่นหอม ผลสุกเนื้อจะนิ่ม ภายในผลมีเมล็ดแข็ง ที่ประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันเมื่อผลแก่แล้ว จะเริ่มมีการเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ส่วนในประเทศไทยจะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนเมษายน,
โอวบ๊วย หรือ บ๊วยดำ ในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า “อูเหมย” ในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Smoked plum โดยการนำส่วนของผลที่ใกล้สุกมาทำเป็นยา หรือในชื่อของเครื่องยา Fructus Mume (สถาบันการแพทย์แผนไทยและจีน)
สรรพคุณบ๊วยดำ
1. รสที่เปรี้ยว ฝาด และสุขุม มีฤทธิ์ในการช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด ช่วยระงับอาการไอ แก้ไอแห้ง อาการไอเรื้อรัง
2. มีฤทธิ์ในการช่วยเสริมธาตุน้ำ ช่วยแก้ร้อนแบบพร่อง แก้อาการร้อนใน และช่วยแก้กระหายน้ำ
3. ใช้ช่วยลดอาการไข้
4. ใช้ช่วยสมานลำไส้ ช่วยระงับอาการท้องร่วง แก้อาการท้องร่วงเรื้อรังและมีเลือดปน บิดเรื้อรัง
5. มีฤทธิ์ในการช่วยป้องกันโรคติดต่อในลำไส้ได้
6. มีฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิ และแก้พยาธิ
7. ใช้ช่วยห้ามเลือดได้ดี
8. มีกรดมาลิก กรดซิตริก กรดซักซินิก ไฟโตสเตอรอล และในเมล็ดจะมีน้ำมันอยู่ มีฤทธิ์ที่สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้หลากหลายชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อบิด เชื้อวัณโรค เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อไทฟอยด์หรือไข้รากสาดใหญ่
ขนาดและวิธีใช้ :...
ราสเบอร์รี ผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินซี
ราสเบอร์รี
ราสเบอร์รี (Raspberry) คือผลไม้ในสกุล Rubus ซึ่งเป็นสกุลเดียวกันกับแบล็คเบอร์รี และเป็นหนึ่งในผลไม้ที่อยู่ในตระกูลเบอร์รี โดยส่วนใหญ่มักจะจัดอยู่ในสกุลย่อย Idaeobatus สำหรับในภาษาท้องถิ่นของไทยบ้านเรานั้นจะเรียกว่า “หนามไข่ปู” ผลไม้ชนิดนี้นั้นมีถิ่นกำเนิดในแถบยุโรป ในประเทศไทยนั้นก็มีการเพาะอยู่ด้วยเช่นกัน จะพบกระจายพันธุ์อยู่บนพื้นที่ภูเขาสูง เช่น ดอยภูคา จังหวัดน่าน, ภูกระดึง จังหวัดเลย, ดอยอินทนนท์ ดอยเชียงดาว ดอนผ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น เติบโตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศทั่วโลก แต่นิยมปลูกกันในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นมากกว่า เช่นทางอเมริกาและทางยุโรป ผลสุกงอมมีเข้มและความสดของสีผลเป็นหลัก มีรสชาติที่หวานมาก จึงเหมาะแก่การนำมารับประทานเป็นผลไม้ จึงเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญมากของทางยุโรป และยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายเลยทีเดียว โดยมีข้อมูลระบุว่าประเทศไทยนั้นได้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ประเภทนี้ปีละหลายสิบล้านบาทเลยทีเดียว
ลักษณะของราสเบอร์รี
ต้น เป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้หลายปี ลำต้นและตัวต้นนั้นมีความแข็งแรงมาก สามารถที่จะขยายพันธุ์ไปได้เรื่อย ๆ อย่างไม่มีจำกัด เพราะมันสามารถที่จะงอกลำต้นขึ้นมาใหม่จากลำต้นเดิมได้และรากก็จะเจาะลึกลงไปในดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้หน่อที่แทงขึ้นมาในแต่ละปีและวิธีการติดผล
ราก ลักษณะของรากต้นราสเบอรี่จะเป็นระบบรากตื้น รากมีลักษณะทรงกลมและมีรากฝอยหรือรากแก้วแขนงเล็กๆ แตกออกตามแนวราบ รากแทงลงในดิน มีสีน้ำตาล
ใบ ลักษณะของใบมีขนาดใหญ่เป็นทรงรี โดยขอบใบจะมีรอยฟันหยักเล็กๆ ก้านใบยาว มีหนามปกคลุมและมีใบย่อย 3 ใบบนก้านเดียวกัน ผิวของใบสากและใบมีสีเขียว
ดอก ออกเป็นช่อ มีดอกย่อย โดยดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงแตร กลีบดอกมีสีขาว กลีบเลี้ยงมีสีเขียว เกสรสีเหลือง ส่วนก้านดอกยาว ดอกออกตามซอกใบและบริเวณปลายกิ่ง
ผล ออกเป็นผลเดี่ยว ที่มีลักษณะรูปทรงกรวย ด้านในกลวงคล้ายรูปหัวใจ ผิวของเปลือกมีปุ่มเล็กๆ อยู่บนผลจำนวนมาก และมีขนเล็กๆ คลุมอยู่ทั่วผล ผลอ่อนจะมีสีขาว ส่วนผลสุกจะมีสีแดง เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ รสชาติเปรี้ยวอมหวานหรือหวานแล้วแต่ตามสายพันธุ์ กลิ่นเบอรี่จะมีกลิ่นที่หอมชวนรับประทาน ภายในผลมีเมล็ดเล็กๆ ลักษณะทรงรี เมล็ดแข็งและมีสีน้ำตาล
สรรพคุณของราสเบอร์รี
1. มีไขมันและแคลอรีที่ต่ำ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย
2. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายและช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ
3. มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านมะเร็ง เพราะอุดมไปด้วยกรดเอลลาจิก (Ellagic acid) ซึ่งในทางการแพทย์ได้มีการยอมรับว่ามันมีฤทธิ์แรงที่สุดในการช่วยป้องกันมะเร็ง และยังพบว่ากรดชนิดนี้สามารถช่วยจับสารพิษที่เป็นสารก่อมะเร็งไม่ให้จับกับดีเอ็นเอได้อีกด้วย เหตุนี้จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ และยังสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งไม่ให้ลุกลาม ทำให้เซลล์มะเร็งนั้นเกิดภาวะตายไปตามธรรมชาติ โดยจะไม่ทำลายเซลล์ปกติเหมือนการใช้ยาเคมีบำบัด
4. สามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมได้
5. สามารถช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสเปิร์มได้ถึง 20% (สาเหตุอาจมาจากภาวะความเครียด)
6. มีส่วนช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศได้เป็นอย่างดียิ่ง
7. มีส่วนช่วยลดโอกาสการแท้งบุตรในเพศหญิง มีโฟเลตที่เป็นตัวช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับตัวอ่อนระหว่างการตั้งครรภ์นั่นเอง
8. นำไปทำอาหารอย่างอื่นก็ได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน
9. สามารถนำมาแปรรูปทำเป็น น้ำ ปั่น เค้กแยม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือจะใช้แต่งกลิ่นสีในขนมหวานได้อย่างหลากหลาย ฯลฯ
10. อุดมไปด้วยวิตามินซี ที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย และยังมีวิตามินเอ วิตามินอี ที่มีส่วนช่วยในการชะลอการเกิดริ้วรอย บำรุงผิวพรรณ และช่วยสมานผิวหรือแผลต่าง ๆ ให้หายเร็วขึ้นได้อีกด้วย
11. มีแมงกานีส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ทองแดง และธาตุเหล็ก ซึ่งจะช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจและช่วยควบคุมความดันโลหิต และช่วยในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้อีกด้วย
12. อุดมไปด้วยวิตามินบีรวม วิตามินเค และวิตามินอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ร่างกายเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันได้ดียิ่งขึ้น
13. มีน้ำตาลต่ำ จึงช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้
14. สารสีแดงมีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตอีกด้วย
15. มีสารอาหารที่เอื้อต่อการมีบุตรทั้งเพศชายและเพศหญิง
ประโยชน์ของราสเบอร์รี
ใบนั้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นยาได้
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 53 กิโลแคลอรี
สารอาหาร
ปริมาณสารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต
11.94 กรัม
น้ำตาล
4.42 กรัม
เส้นใย
6.5 กรัม
ไขมัน
0.65 กรัม
โปรตีน
1.2 กรัม
วิตามินบี...
สุดยอดคุณประโยชน์จากระกำ 7 ข้อ
ระกำ
ระกำ (Salacca) เป็นพืชตระกูลปาล์มและอยู่ในสกุลเดียวกับสละ เป็นพืชที่ทำรายได้ให้เกษตรกร เฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดตราด เป็นที่รู้จักในนาม “ร ะ กำ หวานเมืองตราด” ราคาจะขึ้นอยู่กับคุณภาพ ซึ่งผลไม้เปลือกหนามชนิดนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Salacca wallichiana Mart. อยู่ในวงศ์ปาล์ม
ลักษณะ
ต้น เป็นต้นหรือเหง้าเตี้ย ยอดจะแตกเป็นกอ ผลออกเป็นกระจุกแบบทะลาย หนึ่งทะลายประมาณ 2-5 กระปุก ที่ลำต้นมีหนามยาวประมาณ 1 นิ้ว
ใบ ยาวเป็นทางลักษณะยาว 2-3 เมตร
ผล ที่เปลือกจะมีหนามเล็ก ๆ หนึ่งผลจะมี 2-3 กลีบ ผลดิบมีรสฝาดและเปรี้ยว ผลสุกมีรสเปรี้ยวอมหวาน เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ กลิ่นหอม ลักษณะจะคล้ายสละ แต่ผลจะป้อมกว่า เมล็ดใหญ่กว่า เนื้อมีสีแดงอมส้มหน่อย ๆ ถ้าเป็นสละเนื้อจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ และจะมีเนื้อ 1-2 กลีบ
คนไทยโบราณจะไม่นิยมปลูกในบ้าน เพราะไม่เป็นมงคล สาเหตุคงเป็นเพราะชื่อไม่เป็นมงคล เชื่อว่าถ้าปลูกในบ้านจะทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รับความชอกช้ำใจตลอดเวลา
สรรพคุณของระกำ
แก่นสามารถช่วยรักษาเลือดและรักษากำเดาได้
แก่นสามารถช่วยรักษาอาการไข้สำประชวรได้
สามารถช่วยทำให้เจริญอาหาร
สามารถบรรเทาอาการกระหายน้ำได้
ช่วยการย่อยอาหารได้
ผลหรือแก่น สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้
นำมารับประทาน ใช้เป็นยารักษาอาการไอ
ประโยชน์ของระกำ
ไม้ของต้นเอาหนามสามารถนำไปกั้นทำเป็นฝาบ้านได้
สามารถใช้รับประทานเป็นผลไม้หรือทำของหวานได้
เนื้อไม้อ่อนนุ่มและมีความหยุ่น สามารถนำมาทำเป็นจุกขวดน้ำ ทำของเล่น เพราะสามารถลอยน้ำได้ ใช้เป็นเครื่องประกอบดอกไม้
มีรสเปรี้ยวสามารถนำมาปรุงอาหารได้
นำผิวมาสกัดเป็นน้ำมัน
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 51 กิโลแคลอรี
สารอาหาร
ปริมาณสารที่ได้รับ
วิตามินบี 1
0 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2
0.2 มิลลิกรัม
วิตามินซี
6 มิลลิกรัม
ไขมัน
0.1 กรัม
โปรตีน
0.5 กรัม
ธาตุเหล็ก
0.4 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส
18 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม
8 มิลลิกรัม
ข้อมูลจาก
สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
สั่งซื้ออาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง
หนังสือผลไม้ 111 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, นิดดา หงษ์วิวัฒน์)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
มารัง ผลไม้พื้นเมืองคล้ายจำปาดะ
มารัง
ม า รั ง เป็นพืชพื้นเมืองในเกาะบอร์เนียว เกาะปาลาวัน และเกาะมินดาเนา ในฟิลิปปินส์พบกระจายพันธุ์ในมินโดโร เกาะมินดาเนา บาซิลัน และคาบสมุทรซูลู ในเกาะบอร์เนียว ชื่อภาษาอังกฤษ Timadang, Breadfruit cousin, Madang, Terap, Green pedalai, Marang, Johey oak ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Artocarpus odoratissimus ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ตีมาดัง เปอดาไลเขียว ตารับ มาดัง เตอรับ เป็นผลไม้พื้นเมือง เป็นที่นิยมมากในประเทศฟิลิปปินส์ตอนใต้ และที่เกาะมินดาเนา เกาะปาลาวัน เกาะบอร์เนียว ผลมีลักษณะคล้ายจำปาดะ สาเก ขนุน
ลักษณะ
ต้น สูงได้ถึง 25 เมตร สามารถรับประทานผลได้
ผลมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง กลิ่นหอม เนื้อมีลักษณะคล้ายขนุน แต่ยวงใหญ่กว่า เนื้อมีสีขาว ถ้าแกะแล้วต้องรับประทานทันที เนื่องจากถ้าปล่อยทิ้งเอาไว้จะทำให้รสชาติเปลี่ยนและมีสีดำ
เมล็ดนำไปต้มหรืออบแล้วนำมารับประทานได้
ประโยชน์ของมารัง
เป็นแหล่งพลังที่ดี จึงเหมาะมากสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายและนักกีฬา
ข้อควรระวัง : มีน้ำตาลสูง ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทาน
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม
สารอาหาร
ปริมาณสารที่ได้รับ
วิตามินซี
30 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก
2.1 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม
15 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส
35 มิลลิกรัม
โปรตีน
0.8-1.47 กรัม
คาร์โบไฮเดรต
32.4 กรัม
น้ำ
65.7-84.2 กรัม
ไขมัน
0.2-0.3 กรัม
เส้นใย
0.6-0.77 กรัม
เมล็ดมีโปรตีนมากกว่าเมล็ดของผลไม้ชนิดอื่น
ข้อมูลจาก Philippine Medicinal Plants
สั่งซื้ออาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งที่มา
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), www.stuartxchange.com
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.seedsdelmundo.com/
2.https://lahatdito.com.ph/product/
มามอนซีโย ผลไม้เมืองร้อนแห่งทวีปอเมริกา
มามอนซีโย
มามอนซีโย หรือ มามันซีโอ Mamoncillo เป็นผลไม้เมืองร้อนมีถิ่นกำเนิดที่ทางตอนเหนือของอเมริกาใต้เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะมีผลไม้ชนิดนี้ที่เฉพาะเขตร้อนเหนือเส้นศูนย์สูตรและในทวีปอเมริกา ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับลิ้นจี่ ลำไย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Melicoccus bijugatus Jacq.
ลักษณะ
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 30 เมตร เปลือกมีสีเทาและเรียบ ใบยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร
ดอก เป็นดอกเล็ก ๆ มีสีออกเขียวและขาว มีกลิ่นหอม ดอกมีเกสรเพศผู้กันเกสรเพศเมียในดอกเดียวกัน ดอกจะบานช่วงฤดูฝน
ผล มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมรี ผลเป็นสีเขียว ผลสุกช่วงฤดูร้อน เนื้อมีสีครีมถึงเหลืองอมส้ม ถ้านำผลไปคั้นเป็นน้ำผลไม้จะมีสีน้ำตาลเข้ม ผลมีเมล็ดขนาดใหญ่เป็นทรงรี นำเมล็ดไปอบและรับประทานได้
สรรพคุณของมามันซีโอ
สามารถนำใบมาใช้ปรุงเป็นยาช่วยสมานแผลในลำไส้
ประเทศปานามามีการนำใบมาใช้ไล่และกำจัดหมัด
ในเวเนซุเอลานำเมล็ดไปคั่วแล้วนำมาบดผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานแก้อาการท้องร่วง
ประโยชน์ของมามันซีโอ
สามารถนำเมล็ดไปอบแล้วรับประทานได้
มักนิยมปลูกตามข้างถนนเพื่อความสวยงาม และช่วยป้องกันฝุ่นและเสียงได้
ผลสามารถรับประทานได้
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 58.11-73 กิโลแคลอรี
สารอาหาร
ปริมาณสารที่ได้รับ
วิตามินบี 1
0.03-0.21 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2
0.01-0.20 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3
0.15-0.090 มิลลิกรัม
วิตามินซี
0.8-10 มิลลิกรัม
ทริปโตเฟน
14 มิลลิกรัม
ไลซีน
17 มิลลิกรัม
แทนนิน
1.88 กรัม
ธาตุเหล็ก
0.47-1.19 มิลลิกรัม
แคโรทีน
0.02-0.44 มิลลิกรัม (70 I.U.)
ธาตุแคลเซียม
3.4-15 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส
9.8-23.9 มิลลิกรัม
ไขมัน
0.08-0.2 กรัม
เส้นใย
0.07-2.60 กรัม
โปรตีน
0.5-1.0 กรัม
คาร์โบไฮเดรต
13.5-19.2 กรัม
ข้อควรระวัง
เมล็ดมีเยื่อหุ้มและลื่น อาจทำให้เผลอกลืนแล้วติดคอ ทำให้หายใจไม่ออก
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเพอร์ดู สหรัฐอเมริกา (Purdue University)
อ้างอิงรูปจาก
1.https://identify.plantnet.org/es/the-plant list/species/
2.https://specialtyproduce.com/produce/
มันสําปะหลัง พืชเศรษฐกิจอุดมด้วยสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
มันสำปะหลัง
มันสำปะหลัง (Cassava) มีถิ่นกำเนิดในแถบที่ลุ่มเขตร้อน มีหลักฐานแสดงว่ามีการเพาะปลูกกันในประเทศโคลัมเบียและเวเนซุเอลามานานกว่า 3,000-7,000 ปีแล้ว โดยมีการสันนิษฐานอีกว่าแหล่งกำเนิด น่าจะมาจาก 4 แหล่งด้วยกัน คือ แถบประเทศกัวเตมาลาและเม็กซิโก, ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้, ทางทิศตะวันออกของประเทศโบลิเวียและทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา, หรือทางทิศตะวันออกของบราซิล จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE) ใช้ชื่อสามัญ คือ Bitter Cassava, Manioc, Sweet Potato Tree, Tapioca plant, Yuca,และมีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Manihot esculenta Crantz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Manihot utilissima Pohl) ,, ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มันหิ่ว (พังงา), มันสำโรง มันไม้ (ชื่อเดิม), ต้าวน้อย, ต้าวบ้าน (ภาคเหนือ), มันต้นเตี้ย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สำปะหลัง มันสำโรง (ภาคกลาง), มันเทศ มันต้น มันไม้ (ภาคใต้), ต้าง (คนเมือง, ไทลื้อ), ก๋อนต้ง (ม้ง), โคร่เซาะ (กะเหรี่ยงแดง), หน้อยซิ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), หน่วยเซ่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ลำหม่อน ไคว่ต้น (ลั้วะ), กวายฮ่อ (ขมุ), ม่ะหนิ่ว (ปะหล่อง), ต้างน้อย, ต้างบ้าน, มันตัน, อุบีกายู เป็นต้น,
มันสำปะหลังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. ชนิดหวาน จะใช้เพื่อบริโภคหรือใช้ทำอาหารได้โดยตรง เช่น การนำไปนึ่ง เชื่อม ทอด ซึ่งมีปริมาณของกรดไฮโดรไซยานิคต่ำและไม่มีรสขม
2. ชนิดขม จะไม่เหมาะสำหรับนำมาบริโภคหรือใช้เลี้ยงสัตว์โดยตรง เนื่องจากมีปริมาณของกรดไฮโดรไซยานิคสูง ซึ่งมีความเป็นพิษต่อร่างกาย การนำมาใช้ต้องผ่านการแปรรูปก่อน แต่ในประเทศไทยจะมีการปลูก ชนิดขมเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมกันมากกว่าชนิดหวาน
ลักษณะของต้นมันสำปะหลัง
ต้น เป็นไม้พุ่ม มีลำต้นตั้งตรง เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความสูงประมาณ 1-5 เมตร มีการแตกกิ่ง กิ่งที่แตกจากลำต้นหลักเรียกว่า "กิ่งชุดแรก" ส่วนกิ่งที่แตกจากิ่งชุดแรกเรียกว่า "กิ่งชุดที่สอง" ต้นมันสำปะหลังจะแตกกิ่งเป็นแบบ 2 กิ่ง หรือ 3 กิ่ง ตามลำต้นจะเห็นรอยก้านใบที่หลุดร่วงไปจะเรียกว่า "รอยแผลใบ" และในระหว่างแผลใบจะมีชื่อเรียกอีกว่า "ความยาวของชั้น" ส่วนที่อยู่เหนือรอยแผลใบจะมีตาอยู่ ทุกส่วนของต้นเมื่อนำมาสับจะมีน้ำยางสีขาวไหลออกมา และรากสะสมอาหารเป็นแท่งหนาอยู่ใต้ดิน มีอยู่ประมาณ 5-10 รากต่อต้น รากมันสำปะหลัง (หัวมันสำปะหลัง) ระบบรากเป็นแบบรากฝอย รากจะเกิดจากข้อของลำต้นที่ใช้ปลูกและขยายใหญ่จนเป็นหัว โดยหัวมันสำปะหลังเมื่อนำมาตัดตามขวางแล้วจะมีส่วนประกอบดังนี้ คือ เปลือกชั้นนอก เปลือกชั้นใน และส่วนสะสมแป้งหรือที่เรียกว่าไส้กลาง และจะมีอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าราก มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ รากจริง และรากสะสมอาหาร (ทั่วไปเรียกว่าหัว) ที่มีปริมาณแป้งอยู่ประมาณ 15-40% รากสะสมอาหารจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-100 เซนติเมตร,, ,,
ใบ...
มันฝรั่ง พืชอาหารสารพัดประโยชน์
มันฝรั่ง
มันฝรั่ง (Potato) เป็นพืชกินหัวที่สำคัญชนิดหนึ่งที่กลายเป็นอาหารหลักและวัตถุดิบสำคัญอันดันที่ 4 ของโลก เนื่องจากสามารถใช้ทดแทนธัญพืชได้และมีคุณทางทางโภชนาการสูง ทำให้มีความต้องการเพื่อบริโภคสูง ถูกจัดอยู่ในวงศ์มะเขือ SOLANACEAE เชื่อว่ามีต้นกำเนินในเทือกเขาแอนดีสอยู่บนพื้นที่ระหว่างเม็กซิโกและชิลี ในประเทศโบลิเวีย หรือเปรู เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุตั้งแต่การปลูกไปจนถึงฤดูเก็บเกี่ยวประมาณ 4-5 เดือน ซึ่งภายหลังมีการใช้ชื่อสามัญอื่น ๆ เช่น Irish potato, White potato และมีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Solanum tuberosum L. นอกจากนี้ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มันเทศ มันอาลู มันอีลู (ภาคเหนือ) เป็นต้น
ลักษณะของมันฝรั่ง
ลำต้นมีลักษณะเป็นกิ่ง ที่ตั้งตรงและมีความสูงประมาณ 0.6-1 เมตร ลำต้นเป็นครีบ เมื่ออ่อนแล้วจะมีขน หัวเกิดจากลำต้นที่อยู่ใต้ดิน ใน 1 ต้นนั้นจะได้หัวประมาณ 8-10 หัว สำหรับแหล่งปลูกในประเทศไทยที่ได้ผลดีนั้น คือ จังหวัดทางภาคเหนือซึ่งมีอากาศหนาวเย็น เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ส่วนทางภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้นั้นก็มีปลูกกันบ้างแต่มีผลผลิตน้อยเมื่อเทียบกับจังหวัดทางภาคเหนือ โดยจังหวัดเชียงใหม่เป็นที่มีการปลูกและผลิตมากที่สุด,
หัว เป็นลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดเป็นกิ่งหรือเกิดจากส่วนล่างของลำต้น งอกชอนไชลงไปอยู่ในดิน ขยายใหญ่ เพื่อสร้างหัว หัวมีตาอยู่โดยรอบในลักษณะวงกลม ตาแต่ละตานั้นจะสามารถแตกออกได้ 3 กิ่ง ตามีเกล็ดที่มีรูปร่างคล้ายจาน มีไว้สำหรับป้องกันตาไม่ให้ได้รับอันตรายใดๆ และภายในหัวจะมีแกนตรงกลางพุ่งไปยังตาทุกตา
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงสลับกัน มีขนขึ้นอยู่เล็กน้อย และจะประกอบไปด้วยใบยอด 1 ใบ และใบย่อยที่มีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่แกมวงรีหรือแกมไข่กลับ ปลายแหลมประมาณ 2-4 คู่ และใบย่อยก็จะสั้นอีก 2 คู่ หรือมากกว่านั้น ใบมีความกว้างประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 1.5-7 เซนติเมตร,
ดอก จะออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกเกิดเป็นกลุ่มๆ อยู่ตรงยอดของต้นหรือซอกใบ ก้านดอกยาว จะประกอบไปด้วยดอกฝอยที่มีอยู่ประมาณ 7-20 ดอก ก้านดอกย่อยจะมีขน ดอกหนึ่งมีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาว สีกุหลาบ สีชมพูม่วง หรือเป็นสีม่วง โคนดอกนั้นจะเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน และเกสรเพศเมียอีก 1 อัน ซึ่งมีก้านชูเกสรยาว,
ผล เป็นผลสดที่มีหลายเมล็ด ผลจะมีลักษณะเล็กและกลม เป็นสีเขียวหรือสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ผลติดกันเป็นพวงๆ,
สรรพคุณของมันฝรั่ง
1. ช่วยขับน้ำนมของสตรี (หัว)
2. หัวมีสรรพคุณเป็นยาระงับประสาท (หัว)
3. ช่วยถอนพิษที่เป็นอันตรายในตับ (หัว)
4. มีวิตามินซีมาก จึงช่วยป้องกันไข้หวัดได้ (หัว)
5. หัวใต้ดินมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยในการย่อย (หัว)
6. ช่วยลดไขมัน ด้วยการใช้หัวมาปรุงเป็นอาหารรับประทาน (หัว)
7. ชาวเปรูจะนำมาทาบริเวณศีรษะเพื่อช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ (หัว)
8. หัวมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูงและช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว (หัว),
9. ชาวเปรูเป็นชาติแรกที่นำมาทำเป็นยาพอกกระดูก เมื่อกระดูกหัก (หัว)
10. นอกจากจะช่วยป้องกันหวัดแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย (หัว)
11....
มะหลอด สมุนไพรพื้นเมืองโบราณผลสีแดงสะดุดตา
มะหลอด
มะหลอด เป็นพันธุ์ไม้พุ่มสมุนไพรพื้นเมืองของไทยที่พบได้มากในทางภาคเหนือ ตามป่า ตามทุ่งนา หรือตามบ้านเรือนชนบท และสามารถพบได้ตามชายป่าชื้น ป่าเบญจพรรณ และมักจะขึ้นอยู่ตามเนินเขาในที่ร่มที่ความสูงระดับ 200-1,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เมื่อสุกผลจะมีสีแดงดูสะดุดตารสเปรี้ยวมีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด แก้ไอ แก้หอบหืด ลดไข้ เมล็ดในมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อและฆ่าพยาธิ รากมีฤทธิ์ห้ามเลือด แก้ปวด เป็นต้น
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Elaeagnus latifolia L. จัดอยู่ในวงศ์ (ELAEAGNACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ส้มหลอด (ภาคใต้), สลอดเถา หมากหลอด หรือ บะหลอด บ่าหลอด (ภาษาคำเมือง), ควยรอก (ตราด) เป็นต้น
ลักษณะของมะหลอด
ต้น เป็นไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีเกล็ดสีเทาหรือสีเงินขึ้นปกคลุม
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ลักษณะใบเป็นรูปรีหรือรูปรีแกมหอก ปลายใบแหลม โคนใบเป็นสอบ ขอบใบนั้นจะเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นสีเขียวอมน้ำเงินเกลี้ยง ส่วนใบด้านล่างมีเกล็ดเล็ก ๆ สีน้ำตาลขึ้นอยู่ทั่วไป กว้างประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร และก้านใบยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ มีความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศหรือมีดอกเพศเมียปะปนรวมอยู่ด้วย ลักษณะกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดคล้ายสันเหลี่ยม ยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ที่ปลายนั้นแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่กับหลอดท่อดอก
ผล มีลักษณะหลายรูปทรง เช่น ผลรูปรี รูปไข่ รูปกรวย รูปลูกแพร์ และรูปทรงกระบอก ยาวอยู่ที่ประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลักษณะโดยรวมจะคล้าย ๆ กับมะเขือเทศราชินี ผิวของเปลือกจะมีความสากเล็กน้อย มีจุดสีขาวสีเงินบนผล ผลเมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียว ผลเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม สีแดง สีส้มแดง หรือสีเหลือง ผลมีรสชาติที่เปรี้ยว รสชาติที่ฝาดจนถึงรสชาติหวาน นำมารับประทานเป็นผลไม้ได้ และผลมีเมล็ดสีน้ำตาลเหลือง ลักษณะเมล็ดหัวท้ายจะแหลมยาวรี ตัวเมล็ดเป็นพู (ร่อง) โดยเมล็ดหนึ่งจะมีอยู่ 8 พู
ผลไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 รส โดยทุกรสนั้นจะมีรสชาติฝาดรวมอยู่ด้วย ซึ่งได้แก่ รสชาติที่เปรี้ยว สีผลจะออกสีส้มใส, รสหวานนั้นจะมีสีที่ค่อนข้างแดงเข้ม หารับประทานได้ยาก, และมะหลอดก๋ำปอ มีรสชาติที่ไม่เปรี้ยวและไม่หวานมาก ก่อนที่จะนำมารับประทานต้องทำให้นิ่มเสียก่อนด้วยวิธีการนวดหรือคลึง เพราะจะสามารถช่วยลดรสชาติความฝาดลงไปได้เยอะเลยทีเดียว แถมยังช่วยให้แยกเมล็ดออกมาได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
ผลไม้ชนิดนี้บางคนอาจไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินมาก่อน เพราะเท่าที่ทราบนั้นก็คือผลไม้ชนิดนี้เป็นผลไม้ของทางภาคเหนือ โดยจะออกดอกออกผลในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อตอนผลสุก ต้นจะดูสวยงามเป็นอย่างมากเพราะจะเต็มไปด้วยผลที่มีสีแดงสด สีส้ม สีเหลือง และสีเขียว คละเคล้ากันไป เห็นแล้วน่ารับประทานเป็นอย่างมาก แต่น่าเสียดายที่ผลไม้ชนิดนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายมากนัก ทำให้มีผลผลิตจำหน่ายเข้าสู่ตลาดนั้นมีจำนวนที่น้อยมาก และมักจะพบเห็นวางจำหน่ายตามตลาดในจังหวัดรอบนอกตามแถบชนบทเสียมากกว่า ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักเหมือนผลไม้ชนิดอื่น ๆ และยังไม่มีการส่งเสริมการปลูกอย่างจริงจัง ทำให้ในปัจจุบันนี้ค่อนข้างจะหาได้ยากขึ้นไปทุกที
สรรพคุณของมะหลอด
1. ดอกช่วยบำรุงหัวใจ
2. ใบใช้ช่วยบำรุงเนื้อหนังให้สมบูรณ์
3. ผลและดอกนั้นช่วยคุมธาตุในร่างกาย
4. ดอกช่วยแก้โรคตา
5. ผลมีฤทธิ์ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียนได้
6. ดอกสามารถช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้
7. เถาช่วยแก้ไข้พิษ
8. เปลือกต้นช่วยขับเสมหะ
9. ดอกมีฤทธิ์ใช้แก้ริดสีดวงจมูก
10. ผลดิบและดอกใช้เป็นยาฝาดสมาน
11. รากนำมาผสมกับรากเติ่ง แล้วนำไปแช่เหล้าที่ทำจากข้าวเหนียวตำ ใช้กินแก้อาการปวดกระดูก...
มะพูด ผลไม้ป่าดงดิบรสเปรี้ยวอมหวานแห่งอินโดนีเซีย
มะพูด
มะพูด (Yelloe mangoesteen) เป็นพันธุ์ไม้ในตระกูลมังคุดและส้มแขก และยังถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ซึ่งผลไม้ชนิดนี้เมื่อผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวานรับประทานได้หรือใช้แทนมะนาวในการปรุงอาหาร หรือใช้ผลสุกแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ผลไม้กวน ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz อยู่ในวงศ์มังคุด ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น จำพูด ปะหูด ไข่จระเข้ ปะพูด พะวาใบใหญ่ ส้มปอง ประโฮด ตะพูด ประโหด ส้มม่วง มะนู ประหูด ตะพูด
ลักษณะ
ต้น มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-10 เมตร บ้างก็ว่าสูงประมาณ 15 เมตร เรือนยอดมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่ เป็นทรงพุ่ม ลำต้นตรง อาจมีร่องรอยแผลเป็น ลักษณะเป็นปุ่มปมตะปุ่มตะป่ำ เกิดจากการหลุดร่วงของกิ่งก้าน จะแตกกิ่งก้านต่ำเป็นพุ่มโปร่ง ก้านแตกออกจากลำต้นถี่ เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลเข้ม เรียบ แตกเป็นร่อง ถ้าเปลือกต้นเกิดบาดแผลจะมียางสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองไหลออกมา โดยการใช้เมล็ด การใช้ต้นกล้าปักชำ มีเขตการกระจายพันธุ์ที่ป่าดิบชื้น ตามชายห้วย พื้นที่ริมน้ำที่ป่าเบญจพรรณ พบเจอได้มากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ และพื้นที่แถบชายแดนจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ ที่ต่างประเทศสามารถพบเจอได้ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ชวา ลาว กัมพูชา บอร์เนียว,,,,
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้ามกันเป็นคู่ ใบมีลักษณะเป็นรูปใบหอก แกมรูปขอบขนาน ที่โคนใบจะกว้างมนตัดตรง เว้าคล้ายรูปหัวใจแล้วค่อย ๆ สอบเรียวเล็กที่ปลายใบ ขอบใบจะเรียบ ใบกว้าง 8-12 เซนติเมตร ยาว 15-25 เมตร แผ่นใบจะเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบจะเหนียวหนาคล้ายกับแผ่นหนัง ส่วนหลังใบจะเรียบลื่นและเป็นมัน มีสีเขียวเข้ม ท้องใบมีขน แต่บางครั้งก็ไม่มี ใบแห้งจะมีสีเหลืองอมสีเทา ก้านใบยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีขนบาง ๆ ปกคลุม,,
ดอกออกเป็นช่อ ช่อละ 3-5 ดอก ดอกออกที่ตามซอกใบตามแผลใบตามกิ่งก้าน ดอกมีสีขาวอมเหลือง ดอกแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบซ้อนกัน ดอกจะมีลักษณะตูมเป็นทรงกลม กลีบดอกมีลักษณะเป็นทรงกลม หนามีสีเหลืองอ่อน ถ้าดอกบานเต็มที่จะกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร บานเป็นรูปถ้วยโถ ดอกออกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม,,
ผล มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 เซนติเมตร ผิวผลจะเรียบเป็นมัน ผลอ่อนจะมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองสดอมสีส้ม เนื้อผลมีสีเหลือง มีรสเปรี้ยวอมหวาน ในผลมีเมล็ด 2-5 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปรี มีสีน้ำตาล ติดผลช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน,,,
สรรพคุณของมะพูด
สามารถแก้อาการช้ำในได้ (ผล)
สามารถช่วยขับถ่ายโลหิตเสียให้ตก (ผล)
ผลจะมีฤทธิ์ที่เป็นยาระบายอ่อน ๆ
สามารถแก้อาการเจ็บคอได้ (ผล,น้ำที่คั้นจากผล),,
สามารถแก้อาการร้อนในได้ (ราก),,
น้ำที่คั้นได้จากผลจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน สามารถช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้,,
นำเมล็ดมาบดผสมน้ำส้มหรือเกลือ สามารถใช้ทาแก้อาการบวมได้
เปลือกต้นจะมีรสฝาด นำไปต้มแล้วกรองเอาน้ำมาใช้ชำระล้างบาดแผล,,
สามารถถอนพิษผิดสำแดงได้ (ราก),,
สามารถช่วยขับเสมหะ และช่วยกัดเสมหะได้ (ผล,น้ำที่คั้นจากผล),,,
...
มะยมต้นไม้ชื่อมงคล สารพัดประโยชน์ที่น่าสนใจ
มะยม
มะยม (Star gooseberry) เป็นผลไม้รสเปรี้ยวเมื่อผลเริ่มแก่สามารถนำมารับประทานได้ทั้งแบบดิบหรือจะนำมาแปรรูป เช่น เชื่อม ดอง แช่อิ่ม ออกผลในช่วงฤดูฝน นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรพื้นบ้านทั้ง เปลือก ราก ผล และดอก ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญ เช่น วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม และแร่ธาตุอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งผลไม้ชนิดนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus (L.) Skeels จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หมากยม หมักยม (ภาคอีสาน), ยม (ภาคใต้) เป็นต้น
ลักษณะของมะยม
ต้น ไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง เปลือกของลำต้นมีลักษณะขรุขระ มีสีเป็นสีเทาปนน้ำตาล
ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงสลับกันเป็น 2 แถว
ดอก ต้นตัวผู้จะออกดอกเต็มต้นแต่ไม่ติดลูก ส่วนต้นมะยมตัวเมียนั้นจะมีดอกที่น้อยกว่า ในทางการแพทย์นั้นจะนิยมใช้มะยมตัวผู้เป็นหลักทั้งในส่วนของใบและราก เพราะมีสรรพคุณทางยาค่อนข้างสูงกว่ามะยมตัวเมีย
ผล เมื่ออ่อนผลจะเป็นสีเขียว แต่เมื่อผลแก่แล้วจะเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อมีความฉ่ำน้ำเป็นอย่างมาก ในผลมีเมล็ดกลม ๆ 1 เมล็ด เป็นสีน้ำตาล ในส่วนของรสชาตินั้นจะมีรสหวานอมฝาด
ข้อควรระวัง : น้ำยางจากเปลือกของรากมะยมนั้นจะมีพิษเล็กน้อย หากรับประทานเข้าไปอาจมีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ และมีอาการง่วงซึมได้ ควรระวังน้ำยางจากเปลือกรากให้ดี
สำหรับความเชื่อในตำราพรหมชาติฉบับหลวง ระบุเอาไว้ว่า ถ้าปลูกในทางทิศตะวันตกจะช่วยป้องกันสิ่งไม่ดีไม่ให้มากล้ำกรายได้ และเชื่อกันว่าเป็นต้นไม้มงคลนาม ซึ่งคล้ายกับคำว่า “นิยม” ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่ปลูกจะมีเมตตามหานิยม
ประโยชน์ของมะยม
1. ผลมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่ จึงช่วยในการชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้
2. ผลมีฤทธิ์ช่วยในการดับร้อนและปรับสมดุลในร่างกายได้
3. สามารถใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้ผลแก่นำมาดองในน้ำเชื่อมเป็นเวลา 3 วัน (การผสม : น้ำ 1 ส่วน ต่อ น้ำตาล 3 ส่วน) จากนั้นก็นำมารับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
4. มีฤทธิ์ช่วยในการแก้ไข้ (ราก)
5. ช่วยต้านหวัดได้ เพราะมีวิตามินซีสูง
6. ผลมีฤทธิ์กัดเสมหะ และดับพิษเสมหะได้ ด้วยการรับประทานผลแบบสุกหรือแบบดิบก็ได้เช่นเดียวกัน
7. ช่วยในการบำรุงโลหิต โดยการใช้ผลแก่นำมาดองในน้ำเชื่อมจนครบ 3 วัน (น้ำ 1 ส่วน / น้ำตาล 3 ส่วน) แล้วนำมารับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
8. ดอกสดนำมาต้มกรองเอาแต่น้ำสามารถใช้แก้โรคตา ชำระล้างดวงตาได้ (เป็นสูตรในสมัยโบราณ ในปัจจุบันไม่ขอแนะนำให้ทำ)
9. มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ ด้วยการใช้เปลือกต้นนำเอามาต้มกับน้ำดื่ม (เปลือกของลำต้น)
10. ผลสามารถใช้เป็นยาระบายได้
11. สามารถใช้แก้น้ำเหลืองเสียให้แห้งได้ (ราก)
12. สามารถใช้ช่วยรักษาเม็ดผดผื่นคันหรือแก้โรคประดง (โรคผื่นคันตามผิวหนัง) ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กิโลกรัมนำมาต้มกับน้ำ 10 ลิตร ต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที แล้วทิ้งไว้ให้อุ่นจากนั้นก็นำมาอาบ และควรทำควบคู่ไปกับการใช้รากที่ฝนกับน้ำซาวข้าวทาบริเวณที่เป็นผดผื่นคัน (ราก)
13. นิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้สด และได้มีการนำมาประกอบอาหาร เช่น ใช้ทำส้มตำ ส่วนของยอดอ่อนก็นำมาใช้รับประทานเป็นผักสดทานกับน้ำพริก ลาบ ขนมจีน ส้มตำ
14. ใช้ช่วยรักษาโรคผิวหนังได้ (ราก)
15. ช่วยแก้อาการปวดหลัง...
มะปราง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย
มะปราง
มะปราง (Plum mango) มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย ลาว พม่า มาเลเซีย ซึ่งจะมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Bouea macrophylla Griff. อยู่ในวงศ์มะม่วง ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มะผาง ปราง บักปราง ต้นมีลักษณะค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก จะมีรากแก้วแข็งแรง กิ่งก้านสาขาจะค่อนข้างทึบ ลำต้นสูง 15-30 เมตร
ลักษณะของ
ต้น ลักษณะทรงพุ่มค่อนข้างเป็นทรงกระบอก เนื่องจากแตกกิ่งในระดับต่ำ จำนวนกิ่งมาก โดยเฉพาะกิ่งแขนงที่แตกออกจากกิ่งหลัก และกิ่งมีใบติดตลอดจนถึงเรือนยอด ลำต้นมีความสูงในช่วง 15-30 เมตร เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ออกสีเหลืองส้มหรือเหลืองแดง เปลือกลำต้นมียาง
ใบ คล้ายกับใบมะม่วงแต่เล็กกว่า ใบเรียวยาว สีเขียว ที่ขอบใบจะเรียบ ส่วนที่แผ่นใบจะเหนียว สามารถเห็นเส้นใบได้ชัด ใบอ่อนจะเป็นสีม่วงแดง มีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร
ดอกออกเป็นช่อ ออกดอกที่บริเวณปลายกิ่งแขนง เมื่อดอกบานจะเป็นสีเหลือง เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร
ผล คล้ายรูปไข่และกลม ที่ปลายจะเรียวแหลม 1 ช่อ จะมีผลประมาณ 1-15 ผล ผลดิบจะเป็นสีเขียวอ่อนถึงเข้ม ผลสุกจะเป็นสีเหลืองถึงเหลืองอมส้ม เปลือกจะนิ่ม เนื้อด้านในจะเป็นสีเหลืองแดงส้มออกแดงจะขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ มีรสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยวจัด ภายในผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ดมีลักษณะคล้ายเมล็ดของมะม่วง
พืชตระกูลมะปราง
มะยงห่าง ภายนอกจะคล้ายมะยงชิด ที่ต่างกันคือรสชาติ มะยงห่างรสจะเปรี้ยวมากมีรสหวานเล็กน้อย มะยงห่างไม่ค่อยนิยมปลูกเพื่อการค้า
มะปรางเปรี้ยว มีรสเปรี้ยวทั้งผลดิบและผลสุก เหมาะกับการนำไปแปรรูปมากกว่าการนำมาทานสด อย่างเช่น ดอง แช่อิ่ม น้ำผลไม้ เป็นต้น
กาวาง ภายนอกคล้ายกับมะยงชิดกับมะยงห่าง ที่ต่างคือมีกาวางมีรสเปรี้ยวใกล้เคียงกับมะดัน ที่มาของชื่อกาวาง มีเรื่องเล่าว่า มีนกกาหิวโซบินมาเห็นผลไม้ชนิดนี้สีเหลืองสวย เมื่อลองจิกเพื่อลิ้มรสชาติก็ต้องวางแล้วบินหนีไปทันที เป็นที่มาของชื่อ “กาวาง”
มะปรางหวาน ผลดิบกับผลสุกมีรสชาติหวานสนิท ความหวานจะแตกต่างกัน หวานมากหรือหวานน้อย เมื่อทานอาจทำให้ไอระคายคอ คันคอ ถ้ามีรสชาติหวานสนิท
มะยงชิด มีรสหวานอมเปรี้ยวหรือหวานและเปรี้ยวอยู่ในผลเดียว ขนาดมีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร มะยงชิดมีรสชาติหวานมากกว่าเปรี้ยว ผลดิบมีรสมัน ผลสุกจะมีรสออกหวาน เนื้อจะค่อนข้างแข็ง เปลือกหนา (ถ้ารสเปรี้ยวมากกว่าหวาน จะเรียกว่า "มะยงห่าง")
มะยงชิดและมะปรางกันอย่างไร
ผลดิบจะมีรสมัน ส่วนมะยงชิดผลดิบจะมีรสเปรี้ยวจัด
ผลดิบเป็นสีเขียวออกซีด ส่วนมะยงชิดผลดิบจะเป็นสีเขียวจัดกว่า
ผลมีขนาดเล็กกว่ามะยงชิด
ผลสุกจะมีรสชาติหวานมาก ส่วนมะยงชิดผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว
ผลสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนมะยงชิดจะเป็นสีเหลืองแกมส้ม
บางสายพันธุ์เมื่อทานอาจจะทำให้คันหรือระคายคอ ส่วนมะยงชิดเมื่อทานจะไม่มีอาการคันหรือระคายคอ
ประโยชน์ของมะปราง
ผลสุกสามารถทานเป็นผลไม้ หรือใช้ทำน้ำผลไม้ ทำแยม นำไปกวน ทานผลดิบกับน้ำปลาหวาน กะปิหวาน หรือนำไปดอง แช่อิ่ม
สามารถใช้ใบทำเป็นยาพอกแก้อาการปวดศีรษะได้
สามารถแก้น้ำลายเหนียวได้
สามารถช่วยฟอกโลหิตได้
มีแคลเซียม, ฟอสฟอรัส สามารถช่วยบำรุงกระดูกกับฟันได้
สามารถช่วยป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ เช่น...