Home สมุนไพร ต้นเมี่ยงหลวง ชาใบอ่อนสรรพคุณช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว

ต้นเมี่ยงหลวง ชาใบอ่อนสรรพคุณช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว

0
ต้นเมี่ยงหลวง ชาใบอ่อนสรรพคุณช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ต้นเมี่ยงหลวง ชาใบอ่อนสรรพคุณช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกเดี่ยวสีขาว งปลายของขอบใบจะเป็นรอยจักฟันเลื่อย ผลอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม
เมี่ยงหลวง
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกเดี่ยวสีขาว งปลายของขอบใบจะเป็นรอยจักฟันเลื่อย ผลอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม

เมี่ยงหลวง

ต้นเมี่ยงหลวง เป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้นที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง จัดอยู่ในวงศ์วงศ์ชา (THEACEAE) มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศจีน ลาว และเวียดนาม ประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดเลย โดยขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบเขา บนภูเขาหินทราย ในพื้นที่ที่ระดับความสูงอยู่ที่ประมาณ 1,200-1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเล แต่ในต่างประเทศจะสามารถพบได้ที่ระดับความสูง 2,300 เมตร จากระดับน้ำทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ Gordonia axillaris (Roxb. ex Ker Gawl.) Endl. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Camellia axillaris Roxb. ex Ker Gawl., Polyspora axillaris (Roxb. ex Ker Gawl.) Sweet ชื่ออื่น ๆ อินทปัฎฐา เข็มใหญ่ แมวคล้องตอ ตีนจำ ส้านเขา (จังหวัดเลย) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะและองค์ประกอบของต้นเมี่ยงหลวง

  • ต้น
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 20 เมตร
    – เปลือกลำต้นมีผิวเรียบ ลำต้นมีสีเป็นสีค่อนข้างขาว มีกิ่งก้านแผ่กว้างออกมาจากลำต้น
  • ใบ
    – ใบในลักษณะที่เป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบเรียงสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบจะเป็นรูปยาวรี รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ หรือรูปหอกกลับ ตรงปลายใบเป็นติ่งแหลมหรือมน ส่วนโคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม ช่วงปลายของขอบใบจะเป็นรอยจักฟันเลื่อย
    – ใบมีแผ่นใบหนา หลังใบและท้องใบมีผิวเรียบ ใบมีเส้นแขนงใบที่ไม่ชัดเจนมากนะ [1],[3]
    – ใบกว้างอยู่ที่ประมาณ 4-5.5 เซนติเมตร และใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 12-18 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนมกราคม จะออกดอกในลักษณะที่เป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกเป็นคู่ที่บริเวณตามซอกใบ
    – ดอกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกดอกเป็นคู่ตามบริเวณซอกใบ
    – ดอกมีก้านดอกยาวอยู่ที่ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ โดยเมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 10 เซนติเมตร
    – ดอกมีกลีบดอกทั้งสิ้น 5 กลีบ โดยกลีบดอกจะเรียงซ้อนเหลื่อมกัน ลักษณะรูปร่างของกลีบจะเป็นรูปมนกลมหรือรูปไข่กลับกว้างเกือบกลม ปลายกลีบจะเว้าหรือเป็นรอยหยัก กลีบดอกมีความยาวประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตร แต่บางกลีบก็มีขนาดไม่เท่ากัน
    – ดอกมีสีเป็นสีขาว ใบประดับมีประมาณ 6-7 ใบ หลุดร่วงได้ง่าย กลีบเลี้ยงมีทั้งสิ้น 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมกัน มีลักษณะเป็นรูปไข่หรือกลม มีขนขึ้นปกคลุมด้านนอก มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นสีเหลือง และมีเป็นจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูวงนอกจะเชื่อมติดกับโคนกลีบดอก โดยมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร มีอับเรณูยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร
    – ดอกมีรังไข่ที่อยู่เหนือวงกลีบซึ่งจะมีด้วยกัน 5 ช่อง มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มีขนสั้น ๆ หนานุ่มขึ้นปกคลุมอยู่ ตรงก้านเกสรเพศเมียจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และก้านเกสรเพศเมียจะมีขนกำมะหยี่ขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น[1],[3]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นผลสด ผลมีรูปทรงเป็นผลแบบแคปซูล มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปกระสวยหรือรูปทรงกระบอก ตรงปลายแหลม
    -ผลอ่อนจะมีขนขึ้นปกคลุม พอผลแก่ตัวลง ขนที่ปกคลุมอยู่จะร่วงหลุดหายไปจนผิวผลเกลี้ยง
    -ผลจะแตกอ้าออกเป็น 5 เสี่ยง โดยจะมีแกนกลางผลที่ติดทน
    – ผลมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-8 เซนติเมตร
  • เมล็ด
    – ในผลจะมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ด เมล็ดมีลักษณะที่แบน
    – ตรงปลายของเมล็ดมีปีกบาง ๆ และเบี้ยว เมล็ดรวมปีกมีความยาวอยู่ที่ 1.5-2 เซนติเมตร[1],[3]

สรรพคุณของต้นเมี่ยงหลวง

1. ใบอ่อนนำมาใช้เป็นตัวกระตุ้นช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว (ใบอ่อน)[1],[2]
2. ใบอ่อนมีฤทธิ์ฝาดสมานจึงนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ท้องเสียได้ (ใบอ่อน)[1],[2]
3. ใบอ่อนนำมาใช้ทำเป็นยาขับปัสสาวะ (ใบอ่อน)[1],[2]

ประโยชน์ของต้นเมี่ยงหลวง

  • เป็นพรรณไม้ที่หายากชนิดหนึ่ง นิยมนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “เมี่ยง หลวง (Miang Luang)”.  หน้า 243.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “เมี่ยง หลวง”.  หน้า 162.
3. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “เมี่ยง หลวง”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/.  [30 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.gardensonline.com.au/
2.https://www.onlineplantguide.com/