Home นิตยสารเพื่อสุขภาพ มะหิ่งแพะ สรรพคุณใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษยาเบื่อเมา

มะหิ่งแพะ สรรพคุณใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษยาเบื่อเมา

0
มะหิ่งแพะ สรรพคุณใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษยาเบื่อเมา
มะหิ่งแพะ สรรพคุณใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษยาเบื่อเมา ไม้ล้มลุกใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อออกที่บริเวณซอกใบ ดอกสีเหลืองคล้ายดอกถั่ว
มะหิ่งแพะ
ไม้ล้มลุกใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อออกที่บริเวณซอกใบ ดอกสีเหลืองคล้ายดอกถั่ว

มะหิ่งแพะ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Crotalaria chinensis L. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Crotalaria akoensis Hayata, Crotalaria kawakamii Hayata, Crotalaria sinensis J.F.Gmel. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ ดอกคอน (จังหวัดเลย), ผักฮงหาย (จังหวัดนครราชสีมา), มะหิ่งแพะ (จังหวัดลำพูน)[1]

ลักษณะของต้นมะหิ่งแพะ

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ 15-60 เซนติเมตร
    – ต้นมีอายุขัยเพียงฤดูเดียวเท่านั้น
    – ลำต้นมีลักษณะต้นที่ตั้งตรง โดยลำต้นจะแตกกิ่งก้านออกจากรอบ ๆ ลำต้น
    – กิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุม[1]
  • ใบ
    – ออกใบในลักษณะที่เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
    – ใบจะเป็นรูปวงรีแกมขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก รูปขอบขนานแกมไข่กลับ หรือเป็นรูปใบหอก
    – แผ่นใบมีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ 0.5-2 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ 2.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ โดยจะดอกออกที่บริเวณซอกใบหรือบริเวณที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 2-5 ดอก กลีบดอกมีสีเป็นสีเหลือง ดอกมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปดอกถั่ว[1]
  • ผล
    – ออกผลในรูปแบบของฝัก ลักษณะรูปร่างของฝักเป็นรูปขอบขนาน
    – ในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 15-20 เมล็ด[1]

สรรพคุณของต้นมะหิ่งแพะ

1. ตำรายาพื้นบ้านของล้านนาจะนำทั้งต้น มาต้มกับน้ำใช้สำหรับอาบเป็นยาแก้ฟกบวมตามร่างกายได้ (ทั้งต้น)[1]
2. รากนำมาใช้ทานเป็นยาสำหรับถอนพิษยาเบื่อเมาได้ (ราก)[1]
3. ตำรายาของไทยจะนำรากมาใช้เป็นยาสำหรับแก้พิษไข้เนื่องจากอาการอักเสบ และนำมาใช้ดับพิษร้อนได้อีกด้วย (ราก)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะหิ่งแพะ”. หน้า 82.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.jardineriaon.com/