Home ผักและผลไม้ ชมพู่น้ำดอกไม้ ผลไม้พันธุ์โบราณหาทานยาก

ชมพู่น้ำดอกไม้ ผลไม้พันธุ์โบราณหาทานยาก

0
ชมพู่น้ำดอกไม้ ผลไม้พันธุ์โบราณหาทานยาก
ชมพู่น้ำดอกไม้ ผลไม้พันธุ์โบราณหาทานยาก ทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้นแห้งแล้ง และสามารถทนต่อความหนาวเย็นในช่วงเวลาสั้น ผลมีกลิ่นหอม เนื้อกรอบรสชาติหวาน
ชมพู่น้ำดอกไม้
ผลไม้พันธุ์โบราณหาทานยาก ทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้นแห้งแล้ง และสามารถทนต่อความหนาวเย็นในช่วงเวลาสั้น ผลมีกลิ่นหอม เนื้อกรอบรสชาติหวาน

ชมพู่น้ำดอกไม้

ชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศพบได้ในพื้นที่เขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลไม้ชนิดนี้ทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้นแห้งแล้ง และสามารถทนต่อความหนาวเย็นในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้ ซึ่งเนื้อมีสีเหลืองรสชาติหวาน กลิ่นหอม กรอบอร่อยสามารถกินดิบหรือสุกก็ได้ จัดอยู่ในวงศ์ตระกูล Myrtaceae

ชื่อสามัญของชมพู่น้ำดอกไม้ คือ Rose Apple, Malabar Plum, Jambu, Chom pu, Chom-phu, Pomme Rosa , พลัมโรส, มะละกาพลัม
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของชมพู่น้ำดอกไม้ คือ Syzygium jambos (L.) Alston[1]
ชื่อชมพู่น้ำดอกไม้ของท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มะซามุด มะห้าคอกลอก ชมพู่น้ำ ยามูปะนาวา มซามุด ฝรั่งน้ำ

ลักษณะ

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 เมตร เปลือกต้นจะค่อนข้างเรียบ มีสีน้ำตาล มีถิ่นกำเนิดที่ภูมิภาคอินโด-มาลายัน พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง เติบโตได้ดีในดินที่ความชื้นเหมาะสม แดดส่องเต็มวัน มีสายพันธุ์หลัก 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์จากประเทศไทยผลจะมีสีเขียวอ่อน และพันธุ์จากประเทศมาเลเซียผลจะมีสีแดง จะมีผลหลังปลูกได้ประมาณ 2 ปี จะชอบขึ้นตามป่าราบ และพบเจอการปลูกตามสวนเพื่อนำมารับประทานหรือนำมาขายเป็นสินค้า[1],[2]
  • ใบ เป็นใบเดียว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอกเรียวยาว ส่วนที่ปลายใบจะแหลมและเป็นติ่งแหลม โคนใบมนรี ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-17 เซนติเมตร ที่แผ่นใบหนาและมีสีเขียวเข้ม[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อกระจะ ดอกจะออกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยอยู่ประมาณ 3-8 ดอก กลีบดอกมีสีขาว, สีเหลืองอ่อน ลักษณะของฐานรองดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก[2]
  • ผล เป็นผลสดสามารถรับประทานได้ เป็นผลเดี่ยว ลักษณะเกือบกลม มีกลีบเลี้ยงที่ปลายผลอยู่ 4 กลีบ ในผลกลวง มีกลิ่นหอม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 80-100 กรัม ผลดิบมีสีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองทอง ด้านมนมีเนื้อบางมีสีขาวนวลหรือสีเขียวอ่อน มีเมล็ดขนาดใหญ่ เมล็ดมีสีน้ำตาล ออกผลช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน[1],[2]

วิธีการปลูกหรือขยายพันธุ์

สามารถปลูกด้วยเมล็ดหรือกิ่งตอน และเกลี่ยดินกลบ นำใบตองมาปิดบริเวณโคนต้น จะช่วยเก็บความชื้น รดน้ำวันละ 2 ครั้ง การกิ่งตอนให้ทำไม้ปักยึดผูกกับต้นไว้ ป้องกันการโค่นล้ม การป้องกันไม่ให้ต้นเฉา ให้นำมาปลูกที่ใกล้บริเวณริมคลอง ชอบน้ำ ควรปลูกให้ห่างกับบ้านประมาณ 2 เมตร ปลูกง่าย ไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง แต่ต้องห่อผลด้วยถุงพลาสติกป้องกันแมลง

สรรพคุณของชมพู่น้ำดอกไม้

  • ใบสดมาต้มกับน้ำ สามารถใช้ล้างแผลสดได้[5]
  • ใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้[2] และสามารถใช้เปลือกต้น เป็นยาแก้ท้องร่วงได้[5]
  • ใบเป็นยาลดไข้[3]
  • เปลือก ต้น เมล็ด มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้เบาหวาน[2]
  • สามารถนำผลมาปรุงเป็นยาชูกำลัง[2]
  • ใบสดมาตำแล้วพอก ใช้รักษาโรคผิวหนังได้[5]
  • เมล็ดมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้โรคบิดได้[5]
  • ใบ เป็นยาแก้ตาอักเสบได้[3]
  • ผลช่วยแก้ลมปลายไข้ได้[2]
  • ผลเป็นยาบำรุงหัวใจ[2]

ประโยชน์ของชมพู่น้ำดอกไม้

  • สามารถนำเปลือกมาสกัดเป็นสารที่ให้สีน้ำตาล
  • ผลมีสีที่สวยงามสามารถรับประทานได้ มีกลิ่นหอม รสหวาน จัดเป็นไม้หายาก ทำให้ผลมีราคาแพง[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
สารสกัดจากอะซิโตนกับน้ำจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus warneri, Staphylococcus cohnii, Yersinia enterocolitica, Staphylococcus aureus, Staphylococcus hominis สารที่สำคัญในการออกฤทธิ์ต้านเชื้อ คือ สารแทนนิน [4]

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการชมพู่น้ำดอกไม้ 100 กรัม พลังงาน 25 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
วิตามินเอ 17 ไมโครกรัม (2%)
วิตามินบี1  0.02 มิลลิกรัม (2%)
วิตามินบี2 0.03 มิลลิกรัม (2%)
วิตามินบี3 0.8 มิลลิกรัม (5%)
วิตามินซี 22.3 มิลลิกรัม (27%)
โปรตีน 0.3 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม
ไขมัน 0.3 กรัม
น้ำ 93 กรัม
โพแทสเซียม 123 มิลลิกรัม (3%)
ฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม (1%)
สังกะสี 0.06 มิลลิกรัม (1%)
แมกนีเซียม 5 มิลลิกรัม (1%)
แคลเซียม 29 มิลลิกรัม (3%)
แมงกานีส 0.029 มิลลิกรัม (1%)
ธาตุเหล็ก 0.07 มิลลิกรัม (1%)

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ชมพู่น้ำาดอกไม้”. หน้า 242-243.
พืชไม้ผล, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ชมพู่น้ำดอกไม้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/use/fruit.htm. [28 ส.ค. 2014].
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน, โรงเรียนสตรีนครสวรรค์. “ชมพู่น้ำดอกไม้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.sns.ac.th. [28 ส.ค. 2014].
หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ต้านจุลชีพจากเปลือกต้นชมพู่น้ำดอกไม้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [28 ส.ค. 2014].
ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “ชมพู่น้ำดอกไม้เพชรน้ำบุษย์ ผลทั้งปีหวานหอม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thairath.co.th. [28 ส.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
https://www.growables.org/information/TropicalFruit/RoseApple.htm