Home สมุนไพร มะขามแขก ช่วยลดอาการบวมน้ำ

มะขามแขก ช่วยลดอาการบวมน้ำ

0
มะขามแขก ช่วยลดอาการบวมน้ำ
มะขามแขก ช่วยลดอาการบวมน้ำ เป็นไม้พุ่ม ผิวเปลือกเรียบ ดอกเป็นสีเหลือง ใบประกอบแบบขนนก มีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม ฝักแบน ฝักอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีน้ำตาล
มะขามแขก
เป็นไม้พุ่ม ผิวเปลือกเรียบ ดอกเป็นสีเหลือง ใบประกอบแบบขนนก มีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม ฝักแบน ฝักอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีน้ำตาล

มะขามแขก

มะขามแขก มักถูกใช้ในการบรรเทาอาการท้องผูก ด้วยการนำใบแห้งหรือฝักแห้งมาต้มเพื่อรับประทาน มีทั้งที่ใช้ในรูปแบบสมุนไพรเดี่ยวและผสมร่วมกับสมุนไพรอื่น เนื่องจากมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) ที่มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ให้ถ่ายท้องได้ ชื่อสามัญ Alexandria senna, Alexandrian senna, Indian senna, Tinnevelly senna ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna alexandrina Mill. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)

ลักษณะของมะขามแขก

  • ต้น เป็นไม้พุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 0.5-1.5 เมตร ลำต้นค่อนข้างขาว และมีกิ่งก้านสาขา ผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง เป็นพืชที่ทนแร้งได้ดี เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่อน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและต้นกล้า
  • ดอก จะบานจากโคนไปหาปลายช่อ กลีบดอกเป็นสีเหลือง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง
  • ใบ คล้ายใบมะขามไทย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยออกเรียงสลับกัน เป็นคู่ โคนและปลายใบมน แผ่นใบมีขนนุ่มขึ้น ใบมีสีเขียวอ่อนๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม
  • ผล ผลอ่อนจะมีสีเขียวแต่พอแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 6 -12 เมล็ด

ประโยชน์ของมะขามแขก

  • สามารถนำมาแปรรูปเป็นสินค้าต่างๆได้ เช่น ยาชง แคปซูล เป็นต้น

สรรพคุณของมะขามแขก

1. สามารถช่วยทำให้การถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะอันพึงประสงค์ในคนไข้หลังผ่าตัดคว้านต่อมลูกหมากได้ดีมากกว่าการใช้ Milk Of Magnesia (MOM) และแคลเซียมเซนโนไซต์ ช่วยทำให้ผู้ป่วยสูงอายุหลังการผ่าตัดสามารถขับถ่ายอุจจาระได้คล่องมากขึ้น
2. ใบ มีสรรพคุณในการช่วยถ่ายน้ำเหลืองได้ดี
3. ใบ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้
4. ใบ สามารถช่วยในการถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูกได้
5. ช่วยขับลมในลำไส้ได้ (ใบ, ฝัก)
6. ใบ สามารถช่วยในการถ่ายพิษเสมหะได้
7. ใบ สามารถช่วยทำให้อาเจียนได้
8. ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ และต้านเชื้อแบคทีเรียได้ (ข้อมูลทางเภสัชวิทยา)
9. ใบ สามารถช่วยลดอาการบวมน้ำได้
10. ใบ ช่วยถ่ายโรคบุรุษได้
11. มีสรรพคุณในการแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ, ฝัก)
12. ใบ สามารถช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้
13. ใบ สามารถช่วยแก้อาการสะอึกได้
14. มีสรรพคุณในการช่วยถ่ายพิษไข้ (ใบ, ฝัก)
15. ใช้ทำเป็นยาระบาย ยาถ่าย และอาการท้องผูกได้ โดยการใช้ใบและฝัก วิธีการคือให้นำใบประมาณ 2 กรัม และฝัก 10-15 ฝัก มาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ต้มประมาณ 4 นาทีจากนั้นใส่เกลือเพื่อช่วยกลบรสเฝื่อน ใช้ทานเพียงรอบเดียว หรือ จะบดให้แห้งเป็นผงชงกับน้ำดื่มก็ได้ หากเกิดอาการปวดมวนท้องหลังดื่ม ให้แก้ด้วยการนำมาต้มรวมกับยาขับลมปริมาณเพียงเล็กน้อย เพื่อช่วยบรรเทาอาการไซ้ท้อง (ใบ, ฝัก)

ข้อควรระวังเกี่ยวกับมะขามแขก

  • ควรรับประทานอาหารเสริมที่มีโพแทสเซียมสูงๆหากจำเป็นต้องใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดธาตุโพแทสเซียม (Ploss, 1975; Levine et al., 1981)
  • หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมลง รู้สึกไม่มีแรง และอาจถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิต เนื่องจากเสียน้ำจากการขับถ่ายมาก
  • หากใช้ในทางที่ผิด จะทำให้ปริมาณของแกมมา-โกลบูลินในเลือดต่ำลง และจะทำให้นิ้วมือนิ้วเท้า มีลักษณะหนาและใหญ่ขึ้น (Finger clubbing)
  • หากใช้ยาติดต่อกันนานอาจจะทำให้ลำไส้ชินกับยา ทำให้ต้องใช้ยาตลอดจึงจะถ่ายได้
  • มีผลข้างเคียง อาจมีอาการไซ้ท้องหรืออาการปวดมวนได้ท้องได้
  • เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปีห้ามใช้
  • ไม่ควรใช้เป็นยาลดความอ้วน เพราะมันมีฤทธิ์แค่ช่วยในการขับถ่าย ส่วนไขมันก็ยังอยู่ในตัวเราเหมือนเดิม ไม่ได้ถูกขับออกไปพร้อมของเสีย
  • การใช้ร่วมกับยาต้านฮีสตามีนซึ่งเป็นยาแก้แพ้ จะทำให้ฤทธิ์การเป็นยาระบายลดน้อยลง (Erspamer and Paolini, 1946)
  • อาจทำให้ข้อกระดูกมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ (Hypertrophic Osteoarthropathy)
  • อาจก่อให้เกิดพิษต่อตับได้ หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน (Malmquist, 1980) อาจทำให้อิเล็กโทรไลต์ในเลือดต่ำ ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรดหรือด่าง ทำสูญเสียโพแทสเซียมในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะอ่อนเพลีย น้ำหนักลด การดูดซึมผิดปกติ อาจทำลายเซลล์ประสาทในลำไส้ และมีความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุ
  • สามารถช่วยให้อุจจาระมีมวลมาก และมีลักษณะนิ่ม ขับถ่ายได้สะดวกขึ้นโดยการใช้เป็นยาระบาย ให้กินในช่วงก่อนนอน โดยยาจะออกฤทธิ์ประมาณ 8-10 ชั่วโมงหลังจากรับประทาน
  • ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเกร็งในช่องท้อง โรคลำไส้ใหญ่ส่วนล่างอักเสบ ลำไส้อุดตัน ไส้ติ่งอักเสบ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้(Reynolds, 1989)
  • หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร หรือในหญิงมีประจำเดือน ห้ามรับประทาน (Reynolds, 1989; Baldwin, 1963)

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร (มหาวิทยาลัยมหิดล), หนังสือสมุนไพรกับวัฒนธรรมไทยตอนที่ 2 ไม้ริมรั้ว (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ), กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, คู่มือประชาชนในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย (กันทิมา สิทธิธัญกิจ, พรทิพย์ เติมวิเศษ)
https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://indiabiodiversity.org/