หน้าที่ของโปแตสเซียมในร่างกาย (Potassium)
โปแตสเซียม ทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลของกรดด่างร่วมกับคาร์บอเนต เฮโมโกลบินและฟอสเฟส และทำหน้าที่เป็นบัพเฟอร์ให้กับเม็ดเลือดแดง

โปแตสเซียม ( Potassium )

โปแตสเซียม ( Potassium ) เป็นแคทไอออน ที่พบได้จากของเหลวภายในเซลล์เป็นส่วนใหญ่ โดยจะพบมากถึงร้อยละ 97 เลยทีเดียว และจะพบอยู่ภายนอกเซลล์ประมาณร้อยละ 5 ของแร่ธาตุทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกาย โดยความสำคัญของโปแตส เซียมก็จะช่วยในการรักษาสมดุลของความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย ช่วยกระจายของเหลวที่ผนังเซลล์แต่ละด้านให้เป็นปกติ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะถูกเก็บไว้ในร่างกายน้อยมาก

หน้าที่ และประโยชน์ของ โปแตสเซียม

1. โปแตสเซียม ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกและลดความเสี่ยงภาวะต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับกระดูก เช่น กระดูกแตกหัก กระดูกพรุน เป็นต้น และสามารถรักษาแคลเซียมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอีกด้วย
2. Potassium มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้ร่างกายมีการเติบโตที่สมวัยมากขึ้น
3. Potassium ทำงานร่วมกับโซเดียม โดยจะช่วยรักษาภาวะความสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยควบคุมความดันออสโมติคภายในเซลล์ให้เป็นปกติ
4. Potassium ทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลของกรดด่างร่วมกับคาร์บอเนต เฮโมโกลบินและฟอสเฟส และทำหน้าที่เป็นบัพเฟอร์ให้กับเม็ดเลือดแดง
5. ทำงานร่วมกับแคลเซียมและโซเดียม ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการส่งประสาทสำหรับการหดตัวของกล้ามเนื้อ และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. มีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพของผิวหนัง และเพิ่มความแข็งแรงให้กับผิว
7. ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนกลูโคสให้กลายเป็นไกลโคเจน ที่สามารถนำไปใช้งานได้ง่ายขึ้น
8. ช่วยในการเมแทบอลิซึ่มของเซลล์
9. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายของไต
10. ทำงานร่วมกับฟอสฟอรัสเพื่อทำการส่งออกซิเจนไปยังสมอง และเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองให้ดียิ่งขึ้น

การดูดซึมของ โปแตสเซียม

โปแตสเซียม จะสามารถถูกดูดซึมได้ดีในส่วนของลำไส้เล็กตอนต้น โดยส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมที่ร้อยละ 90 ของโปแตสเซียมที่ร่างกายได้รับ ส่วนการขับออกจะขับออกทางปัสสาวะและเหงื่อเป็นหลัก มีที่ขับออกทาง อุจจาระเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ในการรักษาสมดุลของโปแตสเซียมไตก็จะทำหน้าที่ในส่วนนี้โดยตรง แต่จะสามารถสงวนโปแตสเซียมได้น้อยกว่าโซเดียมนั่นเอง

นอกจากนี้หากร่างกายมี โปแตสเซียม อยู่มากเกินไปก็จะส่งผลให้ไตเกิดการทำงานี่ผิดไปจากเดิมหรืออาจเกิดภาวะขาดของเหลวอย่างร้ายแรงได้ และที่สำคัญการดื่มเครื่องดื่มประเภทกาแฟและแอลกอฮอล์ก็จะกระตุ้นให้เกิดการขับโปตัสเซียมออกมาทางปัสสาวะมากขึ้นอีกด้วย จึงไม่ควรดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้มากเกินไป เพราะอาจทำให้ขาดโปตัสเซียมได้

แหล่งที่พบ โปแตสเซียม

โปแตสเซียม  เป็นแร่ธาตุที่มักจะถูกพบได้ในอาหารเกือบทุกชนิด โดยแหล่งที่พบได้มากที่สุด ก็คือ เนื้อสัตว์ ผักผลไม้แทบทุกชนิด เช่น ผักใบเขียว ส้ม กล้วย มะเขือเทศ องุ่นและน้ำอ้อย เป็นต้น

ปริมาณ โปแตสเซียม ที่ควรได้รับประจำวัน
เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ หน่วย
ทารก 0-5 เดือน  —– น้ำนมแม่—– มิลลิกรัม/วัน
6-11 เดือน 925 -1,500 มิลลิกรัม/วัน
เด็ก 1-3 ปี 1,175 – 1,950 มิลลิกรัม/วัน
4-5 ปี 1,525 – 2,550 มิลลิกรัม/วัน
6-8 ปี 1,625 – 2,725 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 1,975 – 3,325 มิลลิกรัม/วัน
13-15 ปี 2,450 – 4,100 มิลลิกรัม/วัน
16 -18 ปี 2,700 – 4,500 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้หญิง 9-12 ปี 1,875 – 3,125 มิลลิกรัม/วัน
13-15 ปี 2,100 – 3,500 มิลลิกรัม/วัน
16 -18 ปี 2,150 – 3,600 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19 – 30 ปี 2,525 – 4,200 มิลลิกรัม/วัน
31 – 70 ปี 2,450 – 4,100 มิลลิกรัม/วัน
≥ 71 ปี 2,050 – 3,400 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 – 70 ปี 2,050 – 3,400 มิลลิกรัม/วัน
≥ 71 ปี 1,825 – 3,025 มิลลิกรัม/วัน
หญิงตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 1 +0 มิลลิกรัม/วัน
ไตรมาสที่ 2 (+350) – (+575) มิลลิกรัม/วัน
ไตรมาสที่ 3 (+350) – (+570) มิลลิกรัม/วัน
หญิงให้นมบุตร (+575) – ( +975) มิลลิกรัม/วัน

 

ผลของการขาด โปแตสเซียม

โดยปกติแล้วมักจะไม่ค่อยพบการขาด โปแตสเซียมมากนัก นอกจากในภาวะที่ร่างกายไม่ปกติ เช่น มีอาการป่วยด้วยโรคต่างๆ อาเจียน ขาดโปรตีนและพลังงานอย่างรุนแรง หรือการทานยาบางชนิดที่ส่งผลทำให้ปัสสาวะบ่อย จึงมีโอกาสขาดโปแตสเซียมสูงขึ้นไปด้วย ซึ่งภาวะที่ร่างกายได้รับโปแตสเซียมต่ำเกินไปนั้นก็จะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแอ หรืออ่อนเพลียง่าย รวมถึงการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจะช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ในวัยรุ่นก็จะพบสิวขึ้น บ่อยมาก ส่วนในวัยชราจะมีปัญหาผิวแห้งกร้าน ไม่เพียงเท่านี้ โปแตสเซียมยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หัวใจเต้นช้า ท้องผูก และทำให้การเมแทบอลิซึมเสื่อมลงไปอีกด้วย ซึ่งหากรุนแรงก็อาจเป็นอัมพาตได้เลยทีเดียว

การเป็นพิษของ โปแตสเซียม

ในกรณีที่ร่างกายมี โปแตสเซียม มากเกินไปก็พบได้น้อยมากเหมือนกัน เพราะปกติแล้วไตจะสามารถควบคุมระดับของโปแตสเซียมได้ดีอยู่แล้ว นอกจากนี้ความผิดปกติกับการทำงานของไตหรือได้รับโปแตสเซียมทางเส้นเลือดในอัตราที่เร็วเกินไป ก็จะทำให้มี โปแตสเซียม สูงจนอาจเกิดพิษได้ โดยอาการที่มักจะพบได้จากการเป็นพิษของโปแตสเซียม ก็คือ ผิวหนังเป็นแผลไหม้ มีอาการคัน ระคายเคือง กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ และอาจมีการหายใจติดขัด ซึ่งก็เสี่ยงอันตรายมากเหมือนกัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Meija, J.; et al. (2016). “Atomic weights of the elements 2013 (IUPAC Technical Report)”. Pure Appl. Chem. 88 (3): 265–91. doi:10.1515/pac-2015-0305.

Haynes, William M., ed. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). Boca Raton, FL: CRC Press. p. 4.122. ISBN 1439855110.

Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds, in Lide, D. R., ed. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5.

www.healthline.com/potassium