Home สมุนไพร ต้นรักใหญ่ ช่วยแก้ส้นเท้าแตก แก้ปวดข้อเรื้อรัง

ต้นรักใหญ่ ช่วยแก้ส้นเท้าแตก แก้ปวดข้อเรื้อรัง

0
ต้นรักใหญ่ ช่วยแก้ส้นเท้าแตก แก้ปวดข้อเรื้อรัง
ต้นรักใหญ่ ช่วยแก้ส้นเท้าแตก แก้ปวดข้อเรื้อรัง ไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกสีขาวเริ่มบานจะเป็นสีชมพูและสีแดงสด ผลค่อนข้างกลมโคนก้านผลจะเป็นสีแดง
รักใหญ่
ไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกสีขาวเริ่มบานจะเป็นสีชมพูและสีแดงสด ผลค่อนข้างกลมโคนก้านผลจะเป็นสีแดง

รักใหญ่

รักใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในจีน ลาว บังกลาเทศ ไทย กัมพูชา อินเดีย พม่า [4] สามารถพบขึ้นกระจายพันธุ์ได้ทั่วไปที่ตามป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ป่าผลัดเบญจพรรณ ทุ่งหญ้าโล่ง ป่าผลัดใบ เขาหินปูน ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,000 เมตร[1],[2] สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้ที่จังหวัดกำแพงเพชร อุทัยธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ [3] ชื่อสามัญ Black lacquer tree, Burmese lacquer tree, Thai vanish wood, Burmese vanish wood[4], Vanish tree, Red zebra wood[1] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Gluta usitata (Wall.) Ding Hou (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Melanorrhoea usitata Wall.) อยู่วงศ์มะม่วง (ANACARDIACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น รักหลวง, สู่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), รัก (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี, ภาคกลาง), น้ำเกลี้ยง (จังหวัดสุรินทร์), รักเทศ (เชียงใหม่), ฮัก, ซู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มะเรียะ (เชียงใหม่), ฮักหลวง (ภาคเหนือ)[1],[2],[3],[4]

ลักษณะของรักใหญ่

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบที่มีขนาดกลางถึงใหญ่ ต้นสูงประมาณ 15-25 เมตร เรือนยอดมีลักษณะเป็นพุ่มค่อนข้างกลม มีเปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกต้นจะแตกเป็นร่องตามแนวยาว เปลือกชั้นในจะมีลักษณะเป็นสีชมพูอ่อน มีขนสีขาวขึ้นที่กิ่งอ่อนกับยอด กิ่งแก่จะเกลี้ยงหรือมีขนสั้น ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ และติดผลช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์
  • ใบ มักมีแมลงมาวางไข่ตามใบ ทำให้เป็นตุ่มกลมที่ตามแผ่นใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่มตอนที่ปลายกิ่ง ใบเป็นรูปขอบขนานแกมรี รูปไข่กลับ ที่โคนใบจะมนหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนที่ปลายใบจะแหลมหรือกลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบกว้างประมาณ 3.5-12 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะหนาคล้ายแผ่นหนัง มีใบแก่สีเขียวเข้ม จะมีไขขึ้นปกคลุม มีขนสีน้ำตาลขึ้นที่ตามผิวใบทั้งสองด้าน ใบอ่อนจะมีขนขึ้นหนาแน่น ท้องใบจะมีขนขึ้นหนาแน่นจะหลุดเมื่อใบแก่เต็มที่ หลังใบจะมีขนน้ำตาลประปราย มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 15-25 เส้น จะนูนชัดทางด้านบน เป็นร่างแหชัดที่ด้านล่าง ก้านใบมีความยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร [2]
  • ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนง ออกดอกที่ตามปลายกิ่ง ตามซอกใบและที่ใกล้ปลายกิ่ง มักจะทิ้งใบก่อนออกดอก ดอกเริ่มบานจากดอกสีขาวเป็นสีชมพูและสีแดงสด ออกดอกเป็นแบบกลุ่มช่อหนาแน่นที่ตามซอกใบช่วงด้านบน ช่อดอกยาวได้ประมาณ 35 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยมีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร จะมีขนสั้นนุ่มเป็นสีน้ำตาลขึ้น มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ดอกตูมเป็นรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2.5 มิลลิเมตร มีขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร จะมีขนประปราย มีขนขึ้นเป็นกระจุกที่ปลาย กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีขาวจะมีแถบสีเหลืองแกมกับสีเขียวตรงกลาง มีกลีบดอกอยู่ 5-6 กลีบ จะแผ่กว้าง ที่ปลายกลีบจะแคบและแหลม ส่วนที่หลังกลีบจะมีขนขึ้น มีกลีบเลี้ยงดอกอยู่ 5 กลีบ เชื่อมกัน ที่ปลายจะแยกเป็น 5 แฉก ดอกที่แก่จะมีกลีบเลี้ยงคล้ายหมวก กว้างประมาณ 0.7-1.8 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 3-7.5 มิลลิเมตร เป็นสีแดง มีกลีบจำนวน 5 กลีบ ที่ผิวด้านในจะมีขนสั้นนุ่ม กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร ที่ปลายกลีบจะแหลมหรือมน จะมีขนขึ้นอย่างหนาแน่น กลีบดอกจะขยายขึ้นแจะจะเป็นปีกเมื่อติดผล จานฐานดอกจะเกลี้ยง มีจำนวนเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 30 อัน มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร รังไข่กลม มีก้านเกสรเพศเมียอยู่ 1 อัน จะติดอยู่ที่ด้านข้างรังไข่[2]
  • ผล ค่อนข้างกลม ผนังผลชั้นในจะแข็ง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-3 เซนติเมตร กลีบดอกที่ขยายเป็นปีกตรงโคนก้านผลจะเป็นสีแดง มีปีกอยู่ 5 ปีก มีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ที่ตรงระหว่างโคนปีกกับผลมีก้านเชื่อมกัน มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ปีกมีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เห็นเส้นปีกชัด[2]

พิษของต้นรักใหญ่

  • ขนที่ได้จากใบแก่จะเป็นพิษกับผิวหนัง ถ้าขนโดนผิวหนังจะทำให้คัน และอาจจะทำให้คันนานนับเดือน อาจทำให้ผิวหนังบวม ชาวบ้านจะแก้ด้วยการในเปลือกกับใบสักมาต้มกับน้ำใช้อาบ[2]
  • น้ำยางสดจะมีสารพิษ Phenol อยู่ โดยจะออกฤทธิ์ระคายเคืองกับผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังอักเสบ มีอาการคัน เกิดอาการบวมแดง พองเป็นตุ่มน้ำใส อาจลุกลามรุนแรงเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง สามารถรักษาเบื้องต้นได้โดยการรีบล้างออกด้วยสบู่กันน้ำสะอาด ทาด้วยครีมสเตียรอยด์วันละ 1-2 ครั้ง อย่างเช่น ครีมtriamcinolone acetonide 0.025%-0.1% หรือครีม prednisolone 5% ผู้ที่แพ้ปานกลางหรือรุนแรง จำเป็นต้องทานเพรดนิโซโลน (Prednisolone) ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารมื้อเช้า หรือทั้งหลังอาหารเช้าและเย็น อาการจะดีขึ้นภายใน 6-12 ชั่วโมง และผู้ที่แพ้รุนแรง อาจต้องทานเพรดนิโซโลน (Prednisolone) นาน 2 สัปดาห์ โดยลดขนาดลงทุกวันจนกระทั่งหยุดใช้ยา[2],[5]

ประโยชน์รักใหญ่

  • มีเนื้อไม้เป็นสีแดงเข้ม จะมีริ้วสีแก่แทรก มีลักษณะมันเลื่อม เสี้ยนสน เนื้อไม้ค่อนข้างที่จะเหนียวละเอียด แข็งแรงทนทาน ไสกบตบแต่งได้ยาก ชักเงาได้ ใช้ทำบัวประกบฝาเครื่องเรือน รางปืน ไม้อัด เครื่องมือทางการเกษตร เฟอร์นิเจอร์ รางรถไฟ กระสวย เสา เครื่องกลึง คาน [3]
  • สามารถใช้น้ำยางทำน้ำมันเคลือบเงาได้ เมื่อน้ำยางใสโดนอากาศจะเป็นสีดำ เป็นมัน การใช้ยางรักที่ทางภาคเหนือรู้กันมานานแล้ว ด้วยการใช้เป็นวัสดุสำคัญในงานศิลปกรรมเพื่อผลิตเครื่องรัก การลงพื้นหรือทาสิ่งต่าง ๆ ที่เรียกกันว่า ลงรัก) เป็นงานประณีตศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย อย่างเช่น ใช้ทากระดาษกันน้ำซึม งานประดับมุก ทาไม้รองพื้นสำหรับปิดทอง งานเขียนลายรดน้ำ ทาไม้เครื่องเขินเพื่อการลงลวดลาย[2],[3]
  • สามารถใช้ยางไม้ทำงานฝีมือ ที่เรียกกันว่า เครื่องเขินและทาผ้า เครื่องจักสานกันน้ำซึมได้[3]

สรรพคุณรักใหญ่

1. สามารถช่วยแก้ปวดข้อเรื้อรังได้ (เปลือกต้น)[1],[2],[4]
2. สามารถนำเปลือกต้นหรือใบ มาผสมรากสะแอะหรือรากหนวดหม่อน, ทั้งต้นของสังวาลย์พระอินทร์, เปลือกต้นหรือใบแจง, แก่นฝาง, เปลือกต้นกันแสง เอามาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย มีแผลเปื่อยที่ตามตัวผู้ป่วยเอดส์ (เปลือกต้น, ใบ)[2]
3. สามารถใช้เปลือกรากรักษาโรคผิวหนังได้ (เปลือกราก)[1],[2],[4
4. สามารถนำแก่นมาต้มกับน้ำใช้อาบรักษาโรคผิวหนัง และผื่นคันได้ (แก่น)[2]
5. สามารถยางใช้ผสมยางสลัดไดเป็นยารักษาโรคผิวหนัง ขี้กลาก กัดเนื้อสดได้ (ยาง)[1],[2]
6. สามารถใช้ใบกับราก เป็นยาพอกแผลได้ (ใบ, ราก)[4]
7. เปลือกต้นจะมีรสเมา สามารถนำไปต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้กามโรคได้ (เปลือกต้น)[1],[2],[4]
8. สามารถช่วยแก้อาการปวดไส้เลื่อน และช่วยแก้ไส้เลื่อนในกระเพาะปัสสาวะได้ (เมล็ด)[2],[3]
9. สามารถช่วยแก้โรคท้องมานได้ (เปลือกราก)[1],[2],[4]
10. สามารถช่วยการย่อยอาหารได้ (เมล็ด)[1],[2]
11. ในตำรับยาพื้นบ้านอีสานนำลำต้นหรือราก ผสมลำต้นหรือรากมะค่าโมง เอามาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือดได้ (ลำต้น, ราก)[2]
12. เปลือกรากจะมีรสเบื่อเมา สามารถช่วยแก้โรคไอได้ (เปลือกราก)[1],[2],[4]
13. สามารถช่วยแก้โรคในฟันได้ (เมล็ด)[1]
14. สามารถใช้เมล็ดเป็นยาแก้ปากคอเปื่อยได้ (เมล็ด)[1],[2]
15. มีการใช้เปลือกต้นเข้ายาบำรุงกำลัง (เปลือกต้น)[1],[2],[4]
16. ใบ สามารถช่วยแก้ส้นเท้าแตกได้ (ใบ)[3]
17. สามารถช่วยแก้อักเสบได้ (เมล็ด)[2]
18. สามารถใช้เปลือกต้นเป็นยารักษาโรคเรื้อนได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
19. ยางนำมาทำเป็นยารักษาโรคเรื้อนได้(ยาง)[1],[2]
20. สามารถช่วยแก้คุดทะราดได้ (เมล็ด)[1],[2]
21. สามารถใช้ยางทำเป็นยารักษาโรคตับได้ (ยาง)[1],[2]
22. เปลือกรากจะมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้โรคตับได้ (เปลือกราก)[2]
23. สามารถช่วยแก้ริดสีดวงได้ (เมล็ด)[1],[2]
24. สามารถช่วยแก้ริดสีดวงทวารได้ (ยาง)[2]
25. สามารถใช้ยางทำเป็นยาแก้พยาธิได้ (ยาง)[1],[2]
26. เปลือกรากสามารถใช้แก้พยาธิในลำไส้ได้ (เปลือกราก)[2],[4] บ้างก็ว่ารากเป็นยาขับพยาธิ สามารถใช้รากเป็นยาพอกแก้พยาธิในลำไส้ได้ (ราก)[3]
27. น้ำยางของต้น มีรสขมเอียน จะมีฤทธิ์ที่เป็นยาถ่ายแบบแรง (ยาง)[1],[2]
28. สามารถนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้บิดได้ (เปลือกต้น)[1],[2],[4]
29. เปลือกของต้นจะมีสรรพคุณที่สามารถช่วยขับเหงื่อ และทำให้อาเจียนได้ (เปลือกต้น)[1],[2],[4]
30. สามารถช่วยแก้ไข้เรื้อรังได้ (ต้น)[3]
31. เมล็ดกับยาง มีสรรพคุณที่สามารถช่วยแก้ปวดฟันได้ และสามารถนำยางมาผสมน้ำผึ้ง ใช้เป็นยารักษาโรคที่ปาก เอาสำลีมาชุบอุดฟันที่เป็นรูจะสามารถช่วยแก้ปวดได้ (ยาง,เมล็ด)[1],[2]
32. สามารถช่วยแก้มะเร็งได้ (ยาง)[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “รักใหญ่ (Rug Yai)”. หน้า 260.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “รักใหญ่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [27 พ.ค. 2014].
3. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “รักใหญ่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com. [28 พ.ค. 2014].
4. สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ผศ.ดร.วิชาญ เอียดทอง). “ความหลากชนิดของพรรณไม้ให้ยางรัก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: oamc.ku.ac.th/knowledge/02-june/01.pdf. [28 พ.ค. 2014].
5. ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “รักหลวง” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [28 พ.ค. 2014].
6. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com/