Home สมุนไพร ต้นธรณีสาร สรรพคุณช่วยรักษาผิวหนังอักเสบ

ต้นธรณีสาร สรรพคุณช่วยรักษาผิวหนังอักเสบ

0
ต้นธรณีสาร สรรพคุณช่วยรักษาผิวหนังอักเสบ
ต้นธรณีสาร สรรพคุณช่วยรักษาผิวหนังอักเสบ เป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้น ใบเดี่ยวออกเรียงสลับแน่น ดอกเดี่ยวสีแดงเข้มลักษณะห้อยลง ผลเป็นรูปทรงกลมผิวเกลี้ยงสีน้ำตาลอ่อน ออกเรียงเป็นแนว
ต้นธรณีสาร
เป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้น ใบเดี่ยวออกเรียงสลับแน่น ดอกเดี่ยวสีแดงเข้มลักษณะห้อยลง ผลเป็นรูปทรงกลมผิวเกลี้ยงสีน้ำตาลอ่อน ออกเรียงเป็นแนว

ธรณีสาร

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phyllanthus pulcher Wall. ex Müll.Arg.[1] อยู่วงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น รุรี (จังหวัดสตูล), ครีบยอด (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), ตรึงบาดาล (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), ก้างปลาดิน (จังหวัดนครศรีธรรมราช), เสนียด (จังหวัดกรุงเทพมหานคร), ก้างปลา (จังหวัดนราธิวาส), คดทราย (จังหวัดสงขลา), ก้างปลาแดง (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), ดอกใต้ใบ (จังหวัดนครศรีธรรมราช), มะขามป้อมดิน (จังหวัดเชียงใหม่), กระทืบยอด (จังหวัดชุมพร) [1],[3]

ลักษณะของต้นธรณีสาร

  • ต้น เป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้น จะมีขนาดที่เล็ก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ต้นสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นจะแผ่กิ่งก้านใกล้ปลายยอด เปลือกต้นมีลักษณะเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นกลม จะมีรอยแผลใบที่ตามลำต้น และมีขนนุ่มขึ้นที่ตามกิ่งอ่อนตามใบประดับ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด สามารถพบเจอขึ้นกระจายที่ตามป่าผลัดใบ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกินประมาณ 400 เมตร[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับแน่นในระนาบเดียวกันที่ตรงปลายยอด แต่ละกิ่งย่อยจะมีใบย่อยอยู่ประมาณ 15-30 คู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมไข่ รูปขอบขนานเบี้ยว ที่ปลายใบจะมน ส่วนที่โคนใบจะมนเบี้ยว ขอบใบจะเรียบ ที่ปลายสุดจะเป็นติ่งแหลมเล็ก ใบย่อยกว้างประมาณ 0.8-1.3 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1.52.5 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะแผ่และบาง ที่หลังใบเรียบและเป็นสีเขียว ที่ท้องใบก็จะเรียบเช่นกันเป็นสีเทาแกมสีเขียว มีเส้นใบอยู่ข้างประมาณ 6-8 คู่ ก้านใบมีลักษณะสั้นสามารถยาวได้ประมาณ 0.8-1.5 มิลลิเมตร และมีสีแดงนิดหน่อย หูใบจะเป็นสีน้ำตาลแดง เป็นรูปหอกแกมสามเหลี่ยม ขนาดประมาณ 3-4 x 1.5-2 มิลลิเมตร[3]
  • ดอก เป็นดอกเดี่ยว ดอกเป็นสีแดงเข้ม เป็นดอกแบบแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ที่ใบประดับจะมีขนนุ่มขึ้นอยู่ที่ฐาน ดอกเพศผู้ออกดอกเป็นกระจุกที่ตามซอกใบ กลีบดอกมีอยู่ 4 กลีบ ที่โคนกลีบจะเป็นสีแดง มีเกสรเพศผู้อยู่ 2 อัน มีก้านชูที่สั้น จะเชื่อมติดกัน อับเรณูจะแตกตามแนวยาว ก้านดอกมีลักษณะบาง สามารถยาวได้ถึงประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยงดอกอยู่ 4 กลีบ มีสีแดงเข้ม เป็นรูปสามเหลี่ยมแกมไข่ ที่ขอบจะแหว่ง กลีบเลี้ยงมีขนาดประมาณ 2-3 x 1-2 มิลลิเมตร จะมีต่อมอยู่ ที่ฐานของดอกจะเป็นต่อม 4 อัน มีลักษณะเป็นรูปเหลี่ยม รูปไตแบนบาง กว้างประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร ดอกเพศเมียออกดอกที่ตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะห้อยลง เรียงอยู่หนาแน่นที่ใต้ท้องใบ มีกลีบดอกเพศเมียอยู่ 6 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยมแกมไข่ ที่ขอบจะแหว่ง กลีบดอกเพศเมียมีขนาดประมาณ 3.5-4 x 1.5 มิลลิเมตร รังไข่มีลักษณะเป็นรูปกึ่งกลม เกลี้ยง มีที่ปลายจะมี 6 พู รังไข่จะมีอยู่ 3 ห้อง มีก้านชูอยู่ 3 อัน ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน[3]
  • ผล เป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร ผิวผลมีลักษณะเกลี้ยง และเป็นสีน้ำตาลอ่อน ก้านผลมีความยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงที่ติดทน ผลออกเรียงเป็นแนว เป็นระเบียบอยู่ที่บริเวณใต้ใบ ติดผลช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน[3]

สรรพคุณธรณีสาร

1. ใบ สามารถใช้ภายนอกเป็นยาดูดหนองรักษาแผลได้ ยาพอกฝีได้ (ใบ)[1],[2],[5]
2. ต้น ใช้ฝนทาแก้พิษฝีอักเสบ แก้ฝีอักเสบได้ (ต้น)[3],[6]
3. ใบ ตำผสมข้าวเหนียวดำ ใช้เป็นยาพอกแก้กระดูกหักได้ (ใบ)[7]
4. ต้น ใช้เป็นยาทาผิวหนัง แก้อาการคัน และแก้ผิวหนังอักเสบได้ (ต้น)[7]
5. ต้น ใช้เป็นยาทาท้องเด็กได้ จะช่วยทำให้ไตทำงานได้ตามปกติ และสามารถใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ (ต้น)[7]
6. ต้น นำมาฝนใช้ทาท้องเด็กได้ จะช่วยแก้ขัดเขา (ต้น)[6]
7. ต้น ต้มกับน้ำทานเป็นยาแก้ปวดท้องได้ [1],[3],[7]
8. สามารถนำใบมาตำ แล้วนำมาใช้พอกเหงือกแก้โรคเหงือก และแก้อาการปวดฟันได้ (ใบ)[3],[7]
9. ราก ช่วยแก้พิษตานซางเด็กได้ (ราก)[3]
10. ราก มีรสจืดเย็น มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อนได้ (ราก)[3] สามารถนำใบมาตำให้แหลกผสมน้ำซาวข้าวหรือเหล้า แล้วนำมาใช้พอกดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ได้ (ใบ)[5]
11. ในประเทศมาเลเซียจะนำใบใช้เป็นยาแก้ไข้สูง (ใบ)[3]
12. ใบ ตำพอกใช้แก้ปวดบวม และแก้อาการบวมได้ (ใบ)[1],[2],[3]
13. ใบ ตำใช้พอกแก้ผื่นคันตามร่างกายได้ (ใบ)[1],[2],[3]
14. ในมาเลเซียนำใบ ใช้เป็นยาแก้แผล สามารถแก้บวมคัน แก้ปวดแผลจากอาการไหม้ได้ (ใบ)[3]
15. ใบ สามารถช่วยแก้นิ่วในไตได้ (ใบ)[3]
16. ใบ ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหารได้ (ใบ)[3]
17. รากต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ ท้องเฟ้อ แก้ท้องอืดได้ (ราก)[3]
18. ต้น ใช้ภายนอกใช้เป็นยาล้างตาได้ (ต้น)[3],[7]
19. นำใบแห้งมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาใช้แทรกพิมเสนกวาดคอเด็ก สามารถช่วยรักษาพิษตานทรางของเด็ก ลดไข้ รักษาแผลในปาก รักษาอาการตัวร้อน และสามารถใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ได้ (ใบ)[1],[2],[3],[4]
20. นำใบมาขยำเอาน้ำมาใช้ชโลมทาเป็นยาลดไข้สำหรับเด็กได้ (ใบ)[7]

ประโยชน์ธรณีสาร

  • คนไทยโบราณเชื่อกันว่าถ้าปลูกไว้ในบ้าน จะมีความเป็นสิริมงคล ทำให้มีความสุขร่มเย็น ถ้าต้นงอกงามได้ดี เป็นสัญญาณที่บอกว่าเจ้าของบ้านจะได้รับเกียรติยศ ตำแหน่งหน้าที่การงานดีขึ้น มีโชคลาภ และเชื่อว่าสามารถแผ่อิทธิคุณ คุ้มครองอาณาบริเวณให้รอดพ้นจากมนต์ดำ ช่วยปัดเสนียดจัญไร การปลูกจะขึ้นดีในที่ร่ม ให้ปลูกในกระถางใบใหญ่ ใช้ดินร่วนปลูก ถ้าใส่ปุ๋ยคอกจะสามารถช่วยทำให้เติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น เมื่อเอาดินกลบหัวแล้วอย่ากดดินให้แน่น รดน้ำพอชุ่ม ก่อนรดน้ำให้สวดคาถา นโม พุทธยะ 3 จบทุกครั้ง ถ้าต้นตั้งตัวได้ควรให้รับแสงแดดแบบรำไร เพื่อให้หัวมีขนาดใหญ่ ปลูกวันพฤหัสบดีข้างขึ้นจะดีที่สุด[5]
  • เป็นไม้มงคลโบราณนิยมใช้ประกอบทำน้ำมนต์ ด้วยการนำใบชุบน้ำมนต์ แล้วนำมาใช้ประพรมเพื่อปัดรังควานและเสนียดจัญไร นิยมปลูกที่ตามวัด มีการปลูกที่ตามบ้านแบบประปราย[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง

1. ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “ว่าน ธร ณี สาร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/. [02 มิ.ย. 2014].
2. คู่มือการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลลำพะยา. “ว่านธรณีสาร”. หน้า 34.
3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ว่านธรณีสาร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [02 มิ.ย. 2014].
4. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ว่านธรณีสาร (Wan Thorani San)”. หน้า 274.
5. ไทยเกษตรศาสตร์. “สมุนไพรธรณีสาร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com. [02 มิ.ย. 2014].
6. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ธร ณี สาร”. หน้า 355.
7. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ว่านธรณีสาร”. หน้า 162.

อ้างอิงรูปจาก

1.https://www.nparks.gov.sg/
2.https://en.tripadvisor.com.hk/