ดาวกระจาย
เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก สีเหลืองสด จะมีริ้วประดับ

ดาวกระจาย

ดาวกระจาย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกกลางแจ้ง มีกำเนิดและมีการแพร่กระจายในประเทศเขตร้อนอย่างเม็กซิโก รวมถึงในแถบกึ่งเขตร้อนของอเมริกาและเวสต์อินดีส ชื่อสามัญ Mexican Aster, Cosmos, Cosmea มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cosmos bipinnatus Cav. อยู่วงศ์ Compositae (วงศ์เดียวกับดาวเรือง) ชื่อเรียกในท้องถิ่น คำเมืองไหว,คำแพ,ดาวเรืองพม่า,หญ้าแหลมนกไส้

ลักษณะของต้นดาวกระจาย

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุก มีอายุได้ราว 1 ปี ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ต้นสูงได้ถึงประมาณ 25-85 เซนติเมตร ที่กลางลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาเยอะ ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม จะมีขนขึ้นนิดหน่อย ที่โคนต้นจะเป็นสีม่วงและไม่มีขน กิ่งก้านเป็น 4 เหลี่ยม ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอได้ที่ตามที่รกร้างในชนบท[1],[2],[3]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบจะออกเรียงสลับกัน ที่ปลายใบจะคี่ ดอกช่อใบจะเป็นใบเดี่ยว ที่ปลายใบแหลมกว่าใบอื่น ช่อใบจะมีใบย่อยประมาณ 3-5 ใบ ใบย่อยเป็นรูปไข่ ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะมน ที่ขอบใบจักเป็นซี่ฟันประมาณ 2-3 ซี่ ใบมีลักษณะเป็นสีเขียว มีเนื้อใบนิ่ม ที่หลังใบจะมีขนประปราย ส่วนที่ท้องใบก็จะมีขนประปรายเช่นกัน [1],[2]
  • ดอก ดอกจะออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก ออกดอกที่ตามซอกใบ ที่ปลายยอด ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองสด สีแดงอมม่วง สีชมพูและขาว จะมีริ้วประดับเป็นรูปหอกเรียงเป็นวง จะมีทั้งวงนอกและวงใน ดอกเมื่อบานจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-10 มิลลิเมตร ดอกวงนอกจะเป็นหมัน กลีบดอกเป็นรูปรางน้ำ ดอกวงในจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นรูปท่อ ที่ปลายจะมีแฉก 5 แฉก ก้านดอกมีความยาวประมาณ 1.8-8.5 เซนติเมตร[1],[2],[3]
  • ผล ผลเป็นรูปทรงแคบ จะมีสันประมาณ 3-4 สัน ผลค่อนข้างที่จะแข็ง จะมีรยางค์เป็นหนาม มีความยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร[1]
  • เมล็ด มีลักษณะรียาว หัว และท้ายเรียวแหลม เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง สีน้ำตาลอมดำ

สรรพคุณดาวกระจาย

1. สามารถใช้แก้อาการฟกช้ำได้ โดยนำต้นสดประมาณ 30-70 กรัม มาตำให้แหลก มาต้มกับน้ำผสมกับเหล้าขาวนิดหน่อย ใช้ทานวันละ 1 ครั้ง (ต้น)[3]
2. สามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาแก้พิษงูกัด แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการนำต้นสดมาต้มกับน้ำทาน ส่วนกากที่เหลือสามารถเอามาพอกที่บริเวณที่เป็น (ทั้งต้น, ใบ และต้น)[1],[2],[3]
3. ทั้งต้นสามารถช่วยแก้ฝีในลำไส้ได้ (ทั้งต้น)[3]
4. สามารถนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยา แก้อาการท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้อาการปวดกระเพาะ แก้อาการปวดท้อง (ทั้งต้น)[1],[3] บ้างก็ว่าสามารถนำใบกับต้นมาต้มกับน้ำแล้วรินเอาแค่น้ำมาดื่มใช้เป็นยาแก้อาการท้องร่วงได้ (ใบและต้น)[2]
5. สามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยารักษาบาดแผลได้ (ทั้งต้น, ใบ, ต้น)[1],[2]
6. สามารถช่วยแก้ตับไตอักเสบ อักเสบเฉียบพลันได้ (ทั้งต้น)[3]
7. นำต้นสดประมาณ 30-70 กรัม มาต้มผสมกับน้ำตาลนิดหน่อย สามารถดื่มแก้บิดได้ (ต้น)[3]
8. สามารถช่วยแก้ลำคอปวดบวม แก้ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อได้ (ทั้งต้น)[3]
9. ทั้งต้นสามารถช่วยกระจายลม ฟอกโลหิตได้ (ทั้งต้น)[3]

ข้อควรระวัง

  • สตรีมีครรภ์ห้ามทาน [3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัดที่ได้จากต้นสดรวมกับหนอนหม่อนแห้ง แล้วเอาไปให้หนูที่มีอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบ โดยใช้ 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม ทานติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ยับยั้งอาการปวดข้อและข้ออักเสบได้ จะต้องใช้ทั้งสองชนิดร่วมกัน ถ้าแยกใช้ตัวใดตัวหนึ่งจะไม่เห็นผล[3]
  • พบว่าทั้งต้นดาวเรืองมีสาร Saponin, Glycoside, Alkaloid, Tannin, Lavanol, Choline [3]
  • สารที่สกัดได้ด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Staphylo coccus ภายนอกได้แบบมีประสิทธิภาพ[3]
  • พบว่ามีสารที่ให้รสขมหรือ Bittera ที่ก้านกับใบดาวเรือง และพบว่ามีน้ำมันระเหยนิดหน่อย[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ดาว กระ จาย”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 220.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ดาวกระจาย (Dao Kra Chai)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 112.
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ดาวกระจาย”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 286-287.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.selectseeds.com/
2.https://plants.gardenworks.ca/