- อยากสวยต้องรู้ วัสดุที่นำมาใช้ในการเสริมจมูกได้แก่อะไรบ้าง
- ฉีดฟิลเลอร์ คืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร อันตรายหรือไม่บทความนี้มีคำตอบ !
- ฟิลเลอร์คืออะไร สวยแต่เสี่ยงหรือไม่ ฉีดบริเวณไหนได้บ้าง ใต้ตา ปาก จมูก คาง
- คัพ 75 A จะอัพไซส์ได้แค่ไหน
- โหงวเฮ้งแบบไหนที่ถือว่าดี
- ผู้ชายก็ทำศัลยกรรมได้
- การศัลยกรรมยกกระชับแก้ม และสารเติมเต็มโหนกแก้ม
- การดูแลตัวเองหลังทำศัลยกรรม
- การเลือกคลินิกศัลยกรรมที่เหมาะกับตัวเอง
- การทำศัลยกรรมของคนแต่ละช่วงอายุ
- ทำไมต้องศัลยกรรมหน้าผากและไรผม
- การศัลยกรรมที่เหมาะสมสำหรับอาชีพต่างๆ
- เช็คลิสต์ก่อน ศัลยกรรม ( Surgery )
- ศัลยกรรมใบหน้าเพื่อความสมบูรณ์ของใบหน้า โครงหน้าและแนวขากรรไกร
- สิ่งที่เราเคยสงสัยกับการทำศัลยกรรม
- หน้าไม่สวย ขาเรียวสวย ไว้ก่อน
- โบท็อกซ์ (Botox) คืออะไรกัน?
- เสริมหน้าอก เพิ่มเสน่ห์ผู้หญิง
- การดูดไขมันที่ให้ผลลัพธ์ 15 เท่า
- เลเซอร์ ( Laser ) นวัตกรรมเพื่อความงาม
- การป้องกันและการแทรกซ้อนจากการ เสริมจมูก
- แก้ไขตาล่างด้วยการศัลยกรรม
- ไขข้อสงสัยการทำตาและทำตาแบบ ฝ คืออะไร
- วิธีกรีดแผลศัลยกรรมชั้นตาตามความเหมาะสม
- ผ่าตัดศัลยกรรมชั้นตาแบบแผลขนาดเล็ก
- ปรับรูปตาอย่างไรให้ใบหน้าดูดี
- ศัลยกรรมใบหน้าเพื่อคงความอ่อนเยาว์
- เนรมิตจมูกสวยเข้ารูปทรงด้วยศัลยกรรม
- ยกเครื่องศัลยกรรมกระดูกใบหน้า
- ขั้นแรกของการศัลยกรรมที่ควรรู้
- ศัลยกรรมปลูกรากผม ปลุกความมั่นใจ
- 7 ทรงจมูกสุดฮิต ที่สาวไทยนิยมทำมากที่สุด
- ไหมละลาย ของวิเศษจากนางฟ้าใจดี
- เมโสหน้าใส สปาบำบัดเพื่อใบหน้าที่สมบูรณ์แบบ
- เมโสแฟต ( Meso Fat ) แก้ปัญหาความไม่กระชับให้กลับสู่ความสาว
- Hyaluronidases เอนไซม์ที่ช่วยจัดการเซลลูไลท์ที่ไร้ประโยชน์
- กรดไฮยาลูโรนิค ( Hyaluronic acid ) คืออะไร
- ข้อควรรู้ก่อนการ ผ่าตัดกราม ( Jaw Surgery )
- เลเซอร์หลุมสิว รักษาหลุมสิว ด้วย สามวิธีขั้นเทพ
- ตาสองชั้น ศัลยกรรม กรีดตาสองชั้น ราคาเบาๆ ตาสวย ดูธรรมชาติ
- ปลูกผมหุ่นยนต์ รวดเร็วแม่นยำ ไร้ผลข้างเคียง สร้างผมใหม่ที่จะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต
- เลเซอร์ฝ้า อย่างไรให้ได้ผลดีมีประสิทธิภาพที่สุด
- ลบรอยสักด้วยเลเซอร์จะหายจริงไหม ทำแล้วจะอันตรายหรือเปล่า โพสต์นี้ต้องอ่าน
- ศัลยกรรมปลูกผม มันคืออะไร ปลูกแล้ว มันได้ผลจริงๆหรือ
- การปลูกผมแบบ Follicular Unit Transplantation ( FUT ) ทำครั้งเดียวสร้างเส้นผมใหม่ที่ถาวร
- ศัลยกรรมปลูกผมแบบ Follicular Unit Extraction ( FUE ) สร้างเส้นผมถาวร แบบ ไร้รอยแผล
- ผ่าตัดโหนกแก้ม ความสวยแบบถาวร กับโครงหน้าใหม่ไร้ที่ติ
- ซิลิโคนแต่ละแบบ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรกันบ้างนะ
- การเตรียมตัวเองก่อนไปเสริมจมูก แบบง่ายๆ ที่คลินิกทั่วโลกเขาใช้กัน
- เสริมจมูกแบบไหน และอย่างไรดี ถึงจะปัง พร้อมข้อดีและเสีย
- แป้งเจ้านาง พัฟแห้ง เปียก ภายในตัว กันน้ำ ปกติดริ้วรอยได้ดังใจ
- How to น่ารู้สำหรับสาวๆ ที่อยากสวยด้วยวิธีการร้อยไหม
- ปากกระจับ | ปากบาง | ปากปีกนก
- 3 วิธีปลูกผม Follicular Unit Extraction ( FUE ) ถาวร แบบธรรมชาติ
- ฉีดโบท็อกซ์ อันตรายไหม ก่อนจะทำต้องรู้อะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
- ดูดไขมัน Water Jet ด้วยพลังงานน้ำอ่อนโยน ไม่ต้องดมยา
- ดูดไขมัน Power Assisted Liposuction
- ดูดไขมัน Smart Lipo มี ข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร
- ดูดไขมันแบบ Body Tite แผลเล็กพร้อมกระชับผิวได้ภายในตัว
- ดูดไขมัน Vaser Liposelection ( VASER )
- 5 วิธีการดูดไขมัน ต้นแขน+ต้นขา สลายไขมันให้หายได้ภายในพริบตา
- คำถามที่พบบ่อยเรื่องการเสริมหน้าอก
- การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการเสริมหน้าอก พร้อม ผลข้างเคียง
- เสริมหน้าอก ทรงไหนดี ทรงซิลิโคน มีข้อดีข้อเสีย อย่างไรบ้าง
- วิธีลดต้นขา มีต้นขาใหญ่ อย่าไปกลัว เพราะมีวิธีแก้
วัสดุที่ใช้เสริมจมูก
อย่างที่เคยกล่าวไปแล้วนะคะ ว่าการนำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายของเรานั้นเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง แค่มีเงินเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ สาวๆ จะต้องรู้ด้วยว่า การเสริมจมูก นั้นดีอย่างไร และมีรูปแบบไหนบ้าง ซึ่งเราได้พูดถึงกัน ไปบ้างแล้ว คราวนี้เราจะมาเจาะลึกลงไปถึงวัสดุที่นำมาเสริมจมูกกันดูบ้าง เชื่อว่าสาวๆ หลายๆ คน ถ้าพูดถึง วัสดุที่ใช้เสริมจมูก ก็คงคิดถึงซิลิโคนแท่งกันใช่ไหมคะ นั่นก็มีส่วนถูกค่ะ แต่นอกจากซิลิโคนแล้ว ยังมีวัสดุอื่นๆ อีก ดังนี้ค่ะ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องศัลยกรรมเสริมจมูก
1. เสริมจมูกแบบไหน และอย่างไรดี ถึงจะปัง
2.การเตรียมตัวเองก่อนไปเสริมจมูก
3.วัสดุที่นำมาใช้ในการเสริมจมูก
4.ซิลิโคนแต่ละแบบ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร
5.ทรงจมูกสุดฮิต ที่สาวไทยนิยมทำมากที่สุด
วัสดุที่ใช้เสริมจมูก
- จากร่างกายของคนไข้เอง เช่น กระดูก กระดูกอ่อน ไขมันหน้าท้องหรือต้นขา
- วัสดุสังเคราะห์ เช่น ซิลิโคนแท่ง สารเติมแต่ง ( Filler ) และ Gore tex
การนำมาใช้ของวัสดุชนิดต่างๆ
1. กระดูก / กระดูกอ่อน
- ใช้ทำจมูกคนไข้ที่มีรูปร่างผิดรูป เนื่องจากอุบัติเหตุ หรือเกิดการพิการในส่วนต่างๆ
- ใช้ในกรณีที่คนไข้ต้องการจมูกปลายหยดน้ำ
- หรือรายที่ซิลิโคนเสริมจมูกสูงมาก จนหนังปลายจมูกบาง จึงใช้กระดูกอ่อนหลังใบหูมาช่วยเสริมให้ดูโค้งมน ดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
- แต่เนื่องจากกระดูกอ่อนบริเวณใบหูมีจำกัด จงเหมาะกับผู้ที่ต้องการแต่งเสริมเพียงบางส่วนเท่านั้น
- ไขมันหน้าท้องหรือต้นขา
- สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้สิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เข้าไปในร่างกาย เพราะเกรงว่าจะเกิดอันตรายในอนาคต
- เหมาะกับผู้ที่มีสภาพปัญหาไม่มาก เช่น ปลายจมูกสวยอยู่แล้วแต่ขาดดั้งเล็กน้อย หรืออยากสวยตามธรรมชาติ
- วิธีนี้จะช่วยให้ไม่มีปัญหาเรื่องการแพ้ ทะลุ หรือเอียง แต่ก็มีข้อจำกัดว่า อาจตกแต่งทรงจมูกไม่ได้มากตามที่ต้องการเหมือนซิลิโคน หรือวัสดุอื่นที่คงรูปกว่า
- ซิลิโคนเสริมจมูก
- ซิลิโคนแบ่งออกเป็น ซิลิโคนสำเร็จรูป และแบบซิลิโคนแท่ง ที่ต้องนำมาเหลาเอง
- ข้อดี คือ ได้รูปทรงที่แน่นอน ไม่ค่อยเอียง
- เลือกซิลิโคนได้ตามลักษณะความอ่อน-แข็ง
- บางคนคิดว่าควรเสริมจมูกด้วยการเลือกซิลิโคนแบบนิ่มๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา แต่จริงๆ แล้ว ถ้าเลือกแบบที่นิ่มมากเกินไป ก็อาจทำให้ซิลิโคนยุบตัวลงได้ค่ะ
- Gortex
กอร์เท็กซ์ เป็นวัสดุสังเคราะห์อย่างหนึ่งในกลุ่มของพลาสติกซึ่งมีความปลอดภัย ซึ่งข้อดีของ กอร์เท็กซ์ คือ เข้ากับเนื้อเยื่อได้ ไม่เกิดการต่อต้านกับร่างกาย ตกแต่งรูปทรงได้สวยเป็นธรรมชาติ และทำได้ง่ายกว่าซิลิโคน รวมถึงเกิดโอกาสเบี้ยว หรือพังผืดยึดน้อยมาก แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการเสริมจมูกโดยใช้วัสดุอื่นๆ
- การใช้สารเติมแต่ง Filler
วิธีนี้เป็นอีกวิธีที่นิยมกันมาก เนื่องจากใช้เวลาน้อย เพียง 10-20 นาทีก็เสร็จ ไม่ต้องผ่าตัด
ไม่ต้องนอนพักฟื้น และที่สำคัญ ไม่มีอาการเจ็บหรือบวมมาก สามารถไปทำงานต่อได้เลย ทำให้เป็นวิธีเสริมจมูกที่ถูกใจสาวๆ มนุษย์เงินเดือน แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ต้องระมัดระวังเรื่องการใช้สารที่ไม่ปลอดภัย เพราะอาจทำให้จมูกผิดรูป หรือเกิดก้อนได้ในภายหลัง และวิธีแก้ไขก็ยากมาก ดังนั้น สาวๆ จึงควรเลือกปรึกษาเฉพาะแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยสูงสุด
เป็นยังไงกันบ้างคะ กับเรื่องราวน่ารู้ของ วัสดุที่ใช้เสริมจมูก ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ แต่เนื้อหาสาระก็ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะคราวหน้าเราจะมาพูดถึงซิลิโคนแต่ละชนิด รวมถึงข้อดี ข้อเสียกัน อย่าลืมติดตามอ่านตอนต่อไปกันนะคะ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
Heidingsfeld, M. L. (1906). “Histopathology of paraffin prosthesis”. J Cutan Dis. 24: 513–521.