ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คืออะไร?
ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันชนิดที่มีทั้งประโยชน์และโทษกับร่างกาย หากบริโภคอาหารในแต่ละมื้อด้วยปริมาณที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย

ไตรกลีเซอไรด์

ไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) คือ อนุภาคไขมันชนิดหนึ่งมีขนาดที่เล็กที่ลอยอยู่ในเลือดหลังจากถูดดูดซึมมาทางลำไส้ใหญ่ โดนปกติร่างกายสามารถสังเคราะห์กลีเซอไรด์ขึ้นได้เองจากในตับ หรืออาจจะมาจากอาหารต่างๆที่ทานเข้าไปในแต่ละวัน โดยเมื่อมีการกินอาหารเข้าไปในร่างกายไตรกลีเซอไรด์จะถูกส่งผ่านเข้าไปในกระแสเลือด โดยอาศัยตัวช่วยอย่างไลโปโปรตีนและส่งต่อไปยังเซลล์

ส่วนต่างๆของร่างกายหากมีปริมาณที่มากเกินไปจะทำการส่งไตรกลีเซอไรด์ไปเก็บที่เนื้อเยื่อไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งสาเหตุนี้เองทำให้เกิดการอ้วนขึ้นได้ ในผู้ที่ทานอาหารมากเกินความจำเป็น

ไตรกลีเซอไรด์ ประกอบด้วย กรดไขมันจำนวนสามโมเลกุลที่ยังไม่เสถียร รวมตัวกับกลีเซอรอล จำนวนหนึ่งโมเลกุล จึงรวมตัวกันเป็น ไตรกลีเซอไรด์หรือไขมันที่แท้จริง ( True Fat ) ส่วนบางตำรา ในข้อมูลทางวิชาการอาจจะใช้ชื่อตามโครงสร้างทางเคมีว่า ไตรอะซิลกลีเซอรอล ก็ได้

ไตรกลีเซอร์ไรด์ กับ คอเลสเตอรอล ต่างกัน อย่างไร?

เมื่อผู้คนเริ่มเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองเพื่อเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มากขึ้น ก็เกิดเป็นกระแสคนรักสุขภาพที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก มีข้อมูล ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และประเด็นที่ทุกคนให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ “ ไขมัน ” เพราะหลายแหล่งข้อมูลต่างโจมตีว่าไขมันนั้นคือตัวอันตราย ต้องลดให้ได้มากที่สุด ความจริงแล้วไขมันก็เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายไม่น้อยไปกว่ากลุ่มโปรตีน วิตามิน หรือคาร์โบไฮเดรต เราจึงควรศึกษาให้เข้าใจดีเสียก่อนว่า อะไรคือไขมันดีที่ร่างกายต้องการ และอะไรคือไขมันเลวที่ต้องตัดทิ้ง

ไตรกลีเซอร์ไรด์กับคอเลสเตอรอลเป็นสองตัวแรกที่ถูกพูดถึงมากที่สุด หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเดียวกันเพราะถูกจัดกลุ่มว่าเป็นไขมันที่ทำให้เกิดโรคทั้งคู่ แต่หากลงลึกในรายละเอียดไขมันทั้งสองตัวนี้ไม่เหมือนกันเลย
ไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) : คือไขมันที่ได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป หรือร่างกายสร้างขึ้นเองได้ด้วยตับและลำไส้เล็ก ให้พลังงานอยู่ที่ 9 แคลอรี่ต่อกรัม ไตรกลีเซอร์ไรด์จะอยู่ในกระแสเลือดด้วยการรวมเข้ากับโปรตีน ก่อนถูกดูดซึมเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตลอดจนสะสมไว้ในเนื้อเยื่อไขมันบางส่วนด้วย
คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) : คือสารขี้ผึ้งที่คล้ายไขมัน ไม่ได้ให้พลังงานใดๆ กับร่างกายเลย แต่มีความสำคัญต่อการสร้างผนังเซลล์และฮอร์โมนต่างๆ เรารับคอเลสเตอรอลได้จากอาหารที่กรดไขมันอิ่มตัวสูง และร่างกายก็สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลได้เองจากตับ นอกจากนี้คอเลสเตอรอลยังแบ่งย่อยอีกเป็น 2 ประเภท คือ คอเลสเตอรอลที่อันตราย ( LDL ) และคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์ ( HDL )
โดยปกติร่างกายแต่ละคนต้องการใช้พลังงานแตกต่างกันไป หลักๆ เรารับพลังงานจากการทานอาหารนั่นเอง แต่ก็ไม่ใช่ว่าเลือกทานอะไรก็ได้ตามใจ เพราะระบบร่างกายมีขั้นตอนที่เป็นลำดับชัดเจน โดยเริ่มที่ดึงพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ต่อด้วยไขมัน และโปรตีนเป็นส่วนสุดท้าย ดังนั้นหากเมื่อไรที่เรารับสารประเภทคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงไขมันออกมาใช้ และเมื่อเจาะประเด็นของไตรกลีเซอร์ไรด์กับคอเลสเตอรอลก็พบว่า ส่วนของไตรกลีเซอร์ไรด์

เท่านั้นที่ถูกดึงออกมาเพราะสามารถให้พลังงานกับร่างกายได้ ในขณะที่คอเลสเตอรอลซึ่งมีพลังงาน 0 แคลอรี่จะไม่ถูกแตะต้องเลยแม้แต่น้อย นั่นหมายความว่าโอกาสสะสมของคอเลสเตอรอลในร่างกายนั้นมีสูงกว่ามาก อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ หรือสารอาหารประเภทไหน ต่างก็มีทั้งคุณและโทษ จึงต้องควบคุมดูแลให้ร่างกายได้รับสารอาหารทั้งหมดในปริมาณที่เหมาะสมอยู่เสมอ ไม่มากไปและไม่น้อยไป

โดยสรุปแล้ว ข้อแตกต่างระหว่าง ไตรกลีเซอไรด์ และ คอเลสเตอรอล คือ ไตรกลีเซอไรด์ แตกต่างจากคอเลสเตอรอลเนื่องจาก ไตรกลีเซอไรด์ จะเป็นไขมันที่แท้จริงที่มีการให้พลังงาน หรือ มีแคลอรี่ ประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม แต่ คอเลสเตอรอล จะเป็นสารขี้ผึ้งที่คล้ายไขมัน จะไม่มีการให้พลังงานแต่อย่างใด หรือมีค่าพลังงานเท่ากับ 0 แคลอรี่นั่นเอง และในภาวะที่ร่างกายขาดพลังงานจาก กลูโคสในคาร์โบไฮเดรต ร่างกายจะไปดึงพลังงานสำรองที่เก็บไขในรูปของไขมันจาก ไตรกลีเซอไรด์ มาใช้แทน เพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงชีวิตอยู่ไปได้ตามปกติ

ไตรกลีเซอไรด์เข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างไร

ไตรกลีเซอไรด์ ก็เหมือนกับ คอเลสเตอรอล คือ ไม่สามารถเข้าไปลอยอยู่ในกระแสเลือดในร่างกายได้เอง แต่ต้องมีตัวช่วยในการพาไป ซึ่งตัวช่วยที่ว่านี้ก็คือ ไคโลไมครอน ( Chylomicron ) ซึ่งเป็นไลโปโปรตีนชนิดความหนานานต่ำที่สุด มีหน้าที่หลักในการขนส่งลำเลียงสารอาหารประเภทไขมัน ทั้ง ไตรกลีเซอไรด์ และ คอเลสเตอรอล จากบริเวณลำไส้เล็ก ผ่านท่อน้ำเหลือง ( Lymphatic System ) จากนั้นจึงเข้าสู่การไหลเวียนของเลือดทางหลอดเลือดดำ ( Left Subclavianvein )

ไคโลไมครอนจะเริ่มทำงานทันที เมื่ออาหารที่ทานเข้าไปเริ่มเข้าสู่กระบวนการย่อยที่ลำไส้เล็ก โดยจะทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ดังนั้น หากต้องการจะไปเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดค่าไตรกลีเซอไรด์ ทางแพทย์จะต้องให้ผู้ที่จะตรวจ ทำการงดอาหารอย่างน้อย 12 – 14 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ เพื่อให้ผลการตรวจที่ได้ออกมาแม่นยำและตรงมากที่สุด

ไตรกลีเซอไรด์ จะไหลเวียนผ่านเข้าไปที่ตับและถูกย่อยสลายด้วยเอนไซด์ จนแตกตัวออกเป็นกรดไขมัน ( Fatty Acids ) ซึ่งเป็นส่วนที่เล็กสุดที่จะนำไปใช้ประโยชน์กับเซลล์ส่วนต่างๆในร่างกาย หากใช้ไม่หมดและมีส่วนที่เหลือจะเรียกว่า กรดไขมันอิสระ ( Free Fatty Acids ) โดยส่วนนี้จะถูกตับเข้ามาจัดการเก็บเอาไว้
ไตรกลีเซอไรด์กับแหล่งพลังงานสำรองในร่างกายนอกจากไตรกลีเซอไรด์ ที่เป็นพลังงานสำรองในร่างกายแล้ว ยังมีแหล่งสำรองพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งคือ ไกลโคเจน ( Glycogen ) หมายถึง สารชนิดหนึ่ง ที่ถูกเก็บไว้เป็นพลังงานสำรอง ภายในร่างกาย

ไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) คือ อนุภาคไขมันชนิดหนึ่งมีขนาดที่เล็กมาก ร่างกายสามารถสังเคราะห์กลีเซอไรด์ขึ้นได้เองจากในตับ

จากการทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และถูกย่อยเป็นกลูโคส แล้วร่างกายนำไปใช้งานได้ไม่หมดจึงถูกนำไปเก็บไว้ในรูปของน้ำตาลปึก หากร่างกายได้รับสารอาหารประเภทกลูโคสมากจนเกินที่จะไปเก็บในรูปแบบของ ไกลโคเจน ได้ และยังคงเหลืออยู่ในกระแสเลือด กรณีนี้ค่อนข้างเป็นอันตรายต่อร่างกาย หากปล่อยไว้เป็นเวลานานเนื่องจากกลูโคส ส่วนเกินนี้ ตับซึ่งมีหน้าที่เก็บของที่เหลือใช้ ก็อาจจะไม่สามารถรับได้หมด จึงต้องทำการเปลี่ยนกลูโคสเหล่านี้ ให้อยู่ในรูปแบบของไตรกลีเซอไรด์ พร้อมๆ กับเปลี่ยนกรดไขมันอิสระ ให้เปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ด้วยเช่นกัน และจึงทำการส่งผ่านทาง ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำอย่าง VLDL จากตับในรูปของไตรกลีเซอไรด์ เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเตรียมรอให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมัน ( Adipose Tissue ) นำไปใช้ประโยชน์ต่อไปซึ่งสัดส่วนของ VLDL และไตรกลีเซอไรด์ จะมีระดับที่สัมพันธ์กันและเป็นค่าคงที่เสมอ

ไตรกลีเซอไรด์ พันธะไตรกลีเซอไรด์
ไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากกลีเซอรอล รวมกับกรดไขมัน 3 โมเลกุล

การตรวจไตรกลีเซอไรด์

การตรวจปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นชนิดไขมันที่คล้ายกับคอเลสเตอรอล แต่จะมีการให้พลังงานหรือมีแครอรี่ ที่ไม่พบในคอเลสเตอรอลได้รับมาจากการทานอาหารเข้าไปในแต่ละมื้อ โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และอาหารประเภทไขมัน

ระดับไตรกลีเซอไรด์ในผู้ใหญ่ปกติไม่ควรเกินเท่าใด

สำหรับในร่างกายคนทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ จะพบว่ามีค่า VLDL ( VLDL คือ ค่าไตรกลีเซอไรด์ หารด้วย 5 ) อยู่ระหว่าง 7 – 32 mg / dL และ ไตรกลีเซอไรด์อยู่ระหว่าง 40 – 160 mg / dLดังนั้น ค่าของไตรกลีเซอไรด์จะมีสัดส่วนเป็น 5เท่าของ VLDL โดยน้ำหนัก หรือ VLDL คิดเป็น 20% ของไตรกลีเซอไรด์

ค่าปกติของ ไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride )

ค่า TG ปกติ ( งดอาหาร ก่อนเจาะเลือดนาน 12 ชม. )
ค่าน้อยกว่า 150 mg/dL ปกติ
ค่าช่วง 150 – 199 mg/dL เกือบสูง
ค่าช่วง 200 – 499 mg/dL สูง
มากกว่า 500 mg/dL สูงมาก

 

ดังนั้น ไตรกลีเซอไรด์ จะเกิดขึ้นได้จาก ปริมาณอาหารที่กินเข้าไปเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ รวมกับ ไขมันที่ได้จากการทานอาหาร และ ปริมาณของไขมันที่เกิดจากส่วนเกินของกลูโคส หรืออาหารประเภทแป้ง
ไตรกลีเซอไรด์ ที่ผ่านเข้าไปยังกระแสเลือดแล้ว จะมีหน้าที่แจกจ่าย กรดไขมัน ” Fatty Acids ” ให้กับกล้ามเนื้อและเซลล์ไขมัน ( Adipose Cells ) ซึ่งช่วยให้ร่างกายมีปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายลดต่ำลงตามไปด้วย และในส่วนที่ใช้ไม่หมดที่เหลืออยู่ในกระแสเลือดนั้น จะถูกแยกสลายด้วยเอนไซม์ Lipoprotein Lipase ทำให้เกิดการแตกตัวของ ไตรกลีเซอไรด์ และ VLVD เป็น 2 ส่วนสำคัญคือ

1. Intermediate Density Lipoprotein ( IDL ) คือ ไลโปโปรตีน และไขมันในเลือดที่แตกตัวจาก VLDL จัดเป็นไขมันชนิดที่ไม่ดี
2. Apoprotein Cs ซึ่งจะผันแปรต่อไปเป็น HDL ซึ่งเป็นไขมันที่ดี จะช่วยกำจัดไขมันแอลดีแอลออกจากผนังหลอดเลือด

ไตรกลีเซอไรด์ แตกต่างจากคอเลสเตอรอล คือ ไตรกลีเซอไรด์ จะเป็นไขมันที่แท้จริงที่มีการให้พลังงาน หรือ มีแคลอรี่ ประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม แต่ คอเลสเตอรอล จะเป็นสารขี้ผึ้งที่คล้ายไขมัน จะไม่มีการให้พลังงานแต่อย่างใด หรือมีค่าพลังงานเท่ากับ 0 แคลอรี่

การตรวจหาค่าของไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย

การตรวจหาค่าของ ไตรกลีเซอไรด์ ใช้สำหรับการตรวจวิเคราะห์ เพื่อต้องการเช็คระดับไขมันในเส้นเลือดของบุคคลนั้นๆ ซึ่ง หากในร่างกายมีค่าของ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ได้เช่นเดียวกับการมีระดับคลอเลสเตอรอลที่สูงด้วยเช่นกัน

ค่าปกติของ ไตรกลีเซอไรด์ สามารถแบ่งได้ดังนี้

ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์
40 – 160 mg/dL

 

ค่าไตรกลีเซอไรด์ในผู้ชาย 40 – 160 mg / dL
ค่าไตรกลีเซอไรด์ในผู้หญิง 35 – 135 mg / dL

 

สำหรับผู้ที่มีค่าของไตรกลีเซอไรด์จากการตรวจและพบว่า มีปริมาณที่สูงกว่า 400mg / dLขึ้นไปแสดงว่าร่างกายเกินความผิดปกติเกิดขึ้น มี ไตรกลีเซอไรด์ ในปริมาณที่สูงมาก ควรต้องรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

ค่า ไตรกลีเซอไรด์ ผิดปกติ

การมีค่า Triglyceride ที่ผิดปกติ แบ่งได้ 2 กรณี ดังนี้

ค่าไตรกลีเซอไรด์ น้อยกว่าปกติ

1. ค่าไตรกลีเซอไรด์ ที่วัดได้น้อยกว่าค่ามาตรฐานปกติอาจแสดงผลว่า

อาจเกิดสภาวะการดูดซึมสารอาหารทำงานผิดปกติ ( Malabsorption Syndrome ) ส่งผลให้การดูดซึมไขมันจากอาหาร โดยลำไส้ได้ทำได้น้อยกว่าปกติ จึงส่งผลทำให้ค่าไตรกลีเซอไรด์ลดต่ำลงผิดปกติตามไปด้วย
อาจเกิดจาก การทานอาหารที่มีปริมาณของไขมันต่ำเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ
อาจเกิดสภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ ทำให้เกิดการแยกสลาย ( Matabolism ) ของ VLDL มากกว่าปกติ ทำให้เหลือ VLDL น้อยกว่าปกติ เนื่องจาก VLDL มีหน้าที่หลักในการนำไตรกลีเซอไรด์ เข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้น เมื่อ VLDL มีปริมาณที่ต่ำ จากการถูกแตกสลาย จึงส่งผลให้ไตรกลีเซอไรด์มีระดับลดต่ำลงตามไปด้วย

 

ค่าไตรกลีเซอไรด์ สูงกว่าปกติ เกิดจากสาเหตุใด

2. ค่าไตรกลีเซอไรด์ ที่วัดได้มากกว่าค่ามาตรฐานปกติอาจแสดงผลว่า

อาจเกิดสภาวะท่อน้ำดีอุดตัน ( Biliary Obstruction )
อาจเกิดโรคเบาหวาน
อาจเกิดโรคเกี่ยวกับไต
อาจเกิดโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ( Endocrine Disorders )
อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดนั้น จะมีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบหลัก
อาจเกิดจากการกินอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ขนม แป้ง น้ำตาล มากเกินไปกว่าที่ร่างกายต้องการ

 

โทษของไตรกลีเซอไรด์สูง

สำหรับผู้ที่มีค่า ไตรกลีเซอไรด์ สูงติดต่อกันเป็นเวลานานหลายวัน อาจเรียกได้ว่ามีภาวะของโรคไตรกลีเซอไรด์ สูง ( Hypertriglyceridemia ) ซึ่งผู้ป่วยโรคไตรกลีเซอไรด์นี้มักจะมีอาการทางลูกนัยน์ตา เช่น จะมีผื่นสีเหลืองเกิดขึ้นที่หนังเปลือกตา ( Eruptive Xanthomas ) หรืออาจจะมี รอบขอบตาดำจะมีแถบสีเทาออกขาวโดยอยู่รอบขอบตาผู้ป่วยที่มีอาการนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ และต้องรู้จักควบคุมปริมาณและประเภทอาหารที่กินให้เหมาะสม รวมทั้งต้องคอยหมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสมด้วย

การควบคุมปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

1. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะระดับไตรกลีเซอไรด์จะสูงขึ้นตามน้ำหนักตัวไปด้วย โดยสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ด้วยการควบคุมอาหารและเน้นการกินอาหารที่ให้พลังงานน้อยเป็นหลัก
2. การควบคุมอาหาร ด้วยหลักการเดียวกับการควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอล ซึ่งจะได้ผลดีกว่าและรวดเร็วกว่ามาก
3. เลิกดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เพราะเหล้าและบุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นสูง โดยเหล้าจะกระตุ้นให้มีการสร้าง VLDL มากขึ้น ส่วนบุหรี่จะไปลด HDK ได้ถึงร้อยละ 15
4. ควรจำกัดไขมันที่บริโภคให้เหลือร้อยละ 5-10 ของพลังงานทั้งหมดและใช้น้ำมันที่มีห่วงโซ่คาร์บอนขนาดกลาง ( Medium Chain Triglyceride, MCT Oil ) เช่น น้ำมันมะกอก ในการปรุงอาหารแทนน้ำมันทั่วไป เพราะเป็นกรดไขมันที่อยู่ในสภาพที่ดูดซึมได้ง่าย และดีต่อสุขภาพมากกว่า
5. ลดและทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน ขนมหวาน เพราะอาหารเหล่านี้จะสะสมเกิดเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้และยังเป็นสาเหตุของเบาหวานอีกด้วย

ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อันตรายอย่างไร

  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด
  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ
  • ทำให้เส้นเลือดแดงแข็งตัว
  • ส่งผลทำให้ความดันเลือดสูง
  • ส่งผลทำให้ขนาดของเส้นเลือดตีบลง
  • ส่งผลทำให้เกิดอาการร่วม คือ ปวดท้อง ตับโต ม้ามโต
  • ส่งผลทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ

สามารถสรุปได้ว่า ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันชนิดที่มีทั้งประโยชน์และโทษกับร่างกาย ซึ่งหากตัวเราเองบริโภคอาหารในแต่ละมื้อด้วยปริมาณที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะปริมาณของไขมันในร่างกายสูงได้ เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายชนิดต่างๆต่อร่างกาย ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องนี้ ควรทานอาหารให้พอดีและเหมาะสมในแต่ละมื้อ และรู้จักหลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูงเอาไว้ด้วยก็จะดีที่สุด เพื่อให้ได้ค่าปกติ ในทางกลับกันเมื่อค่าไตรกลีเซอไรด์ต่ำจะแสดงถึงการขาดสารอาหารบางประเภท

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างค่าปกติ

เอกสารอ้างอิง

Davidson, Michael H. (28 January 2008). “Pharmacological Therapy for Cardiovascular Disease”. In Davidson, Michael H.; Toth, Peter P.; Maki, Kevin C. Therapeutic Lipidology. Contemporary Cardiology. Cannon, Christopher P.; Armani, Annemarie M. Totowa, New Jersey: Humana Press, Inc. pp. 141–142. 

Balch, Phyllis A. (2006). “Carnitine”. Prescription for nutritional healing (4th ed.). New York: Avery. p. 54.
GILL, Jason; Sara HERD; Natassa TSETSONIS; Adrianne HARDMAN (Feb 2002). “Are the reductions in triacylglycerol and insulin levels after exercise related?”. Clinical Science. 102 (2): 223–231. Retrieved 2 March 2013.