ชะเอมไทย
เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง เปลือกสีน้ำตาลเนื้อไม้สีเหลือง ดอกขาวมีขนาดเล็ก กลิ่นหอม ผลเป็นฝักแบนสีเหลือง พอแกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ชะเอมไทย

ถิ่นกำเนิดหรือพื้นที่พบเห็นเติบโตในพื้นที่ป่าโปร่งและป่าดงดิบเขา[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia myriophylla Benth. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)[3] ชื่ออื่น ๆ กอกกั๋น (เฉพาะถิ่น), ส้มป่อยหวาน (ในภาคเหนือ), ชะเอมป่า (ในภาคกลาง), เพาะซูโฟ (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน), อ้อยช้าง (จังหวัดสงขลาและจังหวัดนราธิวาส), ตาลอ้อย (จังหวัดตราด), อ้อยสามสวน (จังหวัดอุบลราชธานี), เซเบี๊ยดกาชา ย่านงาย (จังหวัดตรัง) เป็นต้น[1],[3],[4]

ลักษณะของชะเอม

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง
    – เปลือกเป็นสีน้ำตาล ผิวเปลือกมีลักษณะเป็นรอยขรุขระ ตามลำต้น กิ่งก้าน และเถา จะมีหนามขนาดเล็กขึ้นอยู่เป็นประปราย
    – เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน สามารถนำมารับประทานได้ซึ่งจะให้รสหวาน
  • ใบ
    – ใบย่อยมีรูปร่างเป็นรูปขอบขนาน โดยใบจะมีขนาดเล็กมาก เป็นใบละเอียดที่มีลักษณะเป็นฝอย ก้านใบตรงโคนจะป่องออก ก้านใบจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ก้านใบหลักและก้านใบร่วม
    – มีใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น โดยใบจะออกเรียงสลับกัน และใบย่อยจะออกใบในลักษณะที่เรียงตรงข้ามกัน [1]
    – ใบมีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร ก้านใบหลักมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร และก้านใบร่วมมีความยาวประมาณ 17 เซนติเมตร
  • ดอก
    – กลีบดอกสีขาวมีขนาดเล็ก โดยดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีลักษณะเป็นพู่ ดอกมีก้านช่อดอกยาว และดอกมีเกสรเพศผู้เป็นจำนวนมาก เกสรมีลักษณะเป็นก้านยาวมีสีขาว
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ โดยจะออกช่อดอกที่บริเวณปลายกิ่ง[1]
    – มีกลิ่นหอมเป็นกลิ่นเฉพาะตัว
  • ผล
    – ผลเป็นฝัก ฝักมีสีเหลือง เมื่อฝักมีอายุมากขึ้นจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล รูปร่างของฝักแบน ตรงปลายแหลม ฝักมีรอยนูนจากเมล็ดภายในอย่างเห็นได้ชัด ขนาดของฝักมีความยาวประมาณ 12 เซนติเมตรและมีความกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร และก้านฝักมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร[1]
  • เมล็ด
    – ภายใน 1 ฝัก จะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 5-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะที่ค่อนข้างไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป เมล็ดมีสีดำ บางสายพันธุ์จะมีสีน้ำตาลไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม

สรรพคุณของต้นชะเอม

  • ลำต้นมีสรรพคุณบำรุงผิว โดยจะทำให้ผิวหนังเกิดความชุ่มชื้น (ต้น)[1]
  • ตำรายารักษาโรคตับ ระบุให้ใช้เครือตากวง เครือหมาว้อ เครือไส้ไก่ และลำต้นชะเอม มาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่ม
  • เป็นยารักษาโรคตับ (ต้น)[1]
  • ลำต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับตาได้ (ต้น)[1]
  • ลำต้นมีสรรพคุณในการช่วยขับลม (ต้น)[1]
  • เนื้อไม้มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงพละกำลัง (เนื้อไม้)[1],[4]
  • เนื้อไม้มีสรรพคุณบำรุงธาตุ (เนื้อไม้)[1],[3],[4]
  • เนื้อไม้นำมารับประทาน มีสรรพคุณเป็นยาในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับลำคอได้ (เนื้อไม้)[1],[3],[4]
  • เนื้อไม้มีสรรพคุณในการช่วยขับลม (เนื้อไม้)[1],[4]
  • เนื้อไม้มีสรรพคุณในการรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน (เนื้อไม้)[1],[4]
  • ลำต้นและเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาอาการเจ็บคอ (ต้น, เนื้อไม้)[1]
  • ใบมีสรรพคุณในการช่วยขับโลหิตระดูของสตรี (ใบ)[1],[4]
  • รากมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ราก)[1]
  • รากมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล
  • รากมีสรรพคุณในการรักษาอาการโลหิตเสียในช่วงท้อง
  • รากมีสรรพคุณช่วยในการบำรุงหัวใจ
  • ดอกนำมารับประทาน มีสรรพคุณในการช่วยย่อยอาหาร (ดอก)[1],[4]
  • ดอกมีสรรพคุณในการขับเสมหะ (ดอก)[1]
  • ดอกมีสรรพคุณในการรักษาโรคดี
  • ดอกมีสรรพคุณในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับโลหิตได้ (ดอก)[1],[4]
  • ในตำราแก้อาการไอ ระบุว่าให้นำรากชะเอมไทยมาใช้ในปริมาณ (วัดจากความยาวราก) ประมาณ 2-4 นิ้ว นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่ม 2 เวลา เช้าและเย็น หากอาการยังไม่ดีขึ้น ควรรับประทานต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาประมาณ 2-4 วัน แล้วอาการจะเริ่มดีขึ้น (ถ้าไม่มีราก สามารถใช้เปลือกต้นนำมาต้มดื่มแทนได้) (เปลือกต้น, ราก)[1],[3]
  • เนื้อไม้ ผล และราก มีสรรพคุณในการแก้อาการน้ำลายเหนียว และช่วยขับเสมหะ[1],[3],[4]
  • เนื้อไม้และรากมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการกระหายน้ำลงได้ (ราก[1], เนื้อไม้[3])
  • เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญ ในตำรับยาพิกัดทศกุลาผล โดยตำรับยานี้จะมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง รักษาอาการลมอัมพฤกษ์และอัมพาต ช่วยรักษาไข้ ช่วยขับลมในลำไส้ บำรุงปอด ขจัดเสมหะ แก้รัตตะปิตตะโรค[2]
  • มีสรรพคุณเป็นยาที่ช่วยทำให้ชุ่มคอ[1],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชะเอมไทย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [26 พ.ย. 2013].
2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชะเอมไทย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [26 พ.ย. 2013].
3. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ชะเอมไทย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [26 พ.ย. 2013].
4. สมุนไพรดอตคอม. “ชะเอมไทย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com. [26 พ.ย. 2013].
5. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com
2.https://efloraofindia.com