กัญชากับยาแพทย์แผนไทย
กัญชากับยาแพทย์แผนไทยพบในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตำราวิชาการแพทย์แผนไทยที่เก่าแก่และใช้กันมาอย่างยาวนานตั้งแต่รัชสมัยพระนารายณ์มหาราช

กัญชากับยาแพทย์แผนไทย

กัญชากับยาแพทย์แผนไทย พบในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตำราวิชาการแพทย์แผนไทยที่เก่าแก่และใช้กันมาอย่างยาวนานตั้งแต่รัชสมัยพระนารายณ์มหาราช และตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ อยู่ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุตำรายา พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของกัญชงและกัญชา

กัญชงและกัญชาเป็นพืชตระกูลเดียวทั้งคู่มีสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ในระบบ endocannabinoid ซึ่งมีอยู่แล้วในระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลายของต้นกัญชา สาร cannabinoids เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด คือ THC เป็นสารที่นิยมมาจากกัญชา ใช้เพื่อจำแนกพันธุ์กัญชาที่มีสาร THC มากกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่ากัญชาบางชนิดมีค่าเฉลี่ยของ +THC 5-30%
สามารถบรรจุได้ถึง 30% + THC

ความแตกต่างระหว่างสารเคมี 2 ชนิดในกัญชา

เมื่อ Tetrahydrocannabinol (THC) ทำปฏิกิริยากับระบบ endocannabinoid สามารถกระตุ้นปฏิกิริยาเชิงบวกมากมายโดยการกระตุ้นสมองให้หลั่งสารโดปามีน ที่สร้างความรู้สึกพึงพอใจมีความสุขและความอิ่มเอมใจ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บรรเทาความตึงเครียดและสามารถลดอาการเจ็บปวด และในกัญชายังพบสารแคนนาบินอยด์ Cannabidiol (CBD) ช่วยปรับสมดุลผลกระทบเชิงลบของ Tetrahydrocannabinol สารแคนนาบินอยด์ ช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและการสูญเสียความทรงจำที่ผู้ใช้บางคนประสบ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการลดความเจ็บปวด ลดการอักเสบ
และรักษาภาวะสุขภาพ เช่น โรคลมบ้าหมู

ข้อบ่งใช้ของกัญชาในตำรับยาแพทย์แผนไทย

มี 14 ตำรับยา ตามตำราไทย พบ 2 เล่มคือ
1. พบในตำราพระโอสถพระนารายณ์ 3 ตำรับ คือ ยาทิพกาศ ซึ่งมีส่วนประกอบของกัญชาถึง 16 ส่วน และ ตำรับยาศุขไสยาสน์ มีกัญชเป็นส่วนประกอบหลัก 12 ส่วน
2. พบในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ 11 ตำรับ มาจากคำภีร์ต่างๆ เช่น พระคัมภัร์ปฐมจินดา พระคัมภีร์สรรพคุณ ( แลมหาพิกัด )

ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ 11 ตำรับ

แยกใช้ตามคุณสมบัติทางยา ดังนี้

ยาแก้โรคทางเดินอาหาร
– ชื่อยาไฟอาวุธ
– ยาแก้ริดสีดวงมหากาฬ
– ยาแก้ลงแก้บิดให้มวนท้อง

ยาแก้ระบบทางเดินอาหาร
– ยาแก้ไกษยเหล็ก
– ยาแก้ไกษยล่อน 5 ประการ
– ยาแก้ลมไกษยเสียด

ยาแก้ระบบทางเดินหายใจ
– ยาพรหมพักตร์

ยาแก้ลม
– ยาแก้ลมอุทธังคมาวาต

ยารักษาระบบสืบพันธุ์
– แก้ยาโรคสำหรับผู้ชาย

ยาบำรุงร่างกาย
– ยาอัมฤกตย์โอสถ
– ยาแก้ไข้ไอผอมเหลือง

ตำราพระโอสถนารายณ์

แบ่งออกเป็น 2 ตำรับยาหลักคือ

1.ตำรับยาทิพกาศ

ส่วนประกอบและวิธีปรุงยา
1.ยาดำ 1 ส่วน
2.เทียนดำ 1 ส่วน
3.ลูกจันทร์ 1 ส่วน
4.ดอกจันทร์ 1 ส่วน
5.กระวาน 1 ส่วน
6.พิมเสน 1 ส่วน
7.ฝิ่น 8 ส่วน
8.ใบกัญชา 16 ส่วน
9.เหล้า สำหรับคลุกเคล้าตัวยา
นำส่วนประกอบทั้งหมดมาบดรวมกันแล้วปั้นเป็นแท่ง
ใช้เหล้าเป็นส่วนประกอบเพื่อลดกลิ่นยา ใช้ได้ทั้งโรคร้อนและเย็น

ข้อบ่งใช้
ใช้สำหรับรักษาอาการตกเลือด แก้ลงแดง เป็นยาขับลม
ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดทรมาน และช่วยให้นอนหลับ

เป็นขนานยาที่ 43 ที่บันทึกไว้ในตำราพระโอสถพระนารายณ์

ยาศุขไสยาสน์

ส่วนประกอบปละวิธีปรุงยา
1.การบูร 1 ส่วน
2.ใบสะเดา 2 ส่วน
3.สหัสคุณเทศ 3 ส่วน
4.สมุลแว้ง 4 ส่วน
5.เทียนดำ 5 ส่วน
6.โฏศกระดูก 6 ส่วน
7.ลูกจันทร์ 7 ส่วน
8.ดอกบุญนาค 8 ส่วน
9.พริกไทย 9 ส่วน
10.ขิงแห้ง 10 ส่วน
11.ดีปลี 11 ส่วน
12.ใบกัญชา 12 ส่วน

วิธีปรุงยา
น้ำส่วนผสมทั้งหมดบดละเอียดจนเป็นผงแล้วผสมน้ำผึ้ง
ก่อนนำไปใช้งาน

ข้อบ่งใช้
ใช้เป็นยาแก้ปวด ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาบำรุงกำลัง และช่วยให้นอนหลับ

เป็นยาขนานที่ 44 ที่บันทึกไว้ในตำราพระโอสถพระนารายณ์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
1.วีรยา ถาอุปชิต และ นุศราพร เกษสมบูรณ์. การใช้กัญชาทางการแพทย์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2560; 13 (Supplement) 1-14.