แสงแดดช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจได้อย่างไร?
รังสีที่มีคุณสมบัติดี มีผลต่อการรักษาโรคและบำรุงสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ คือ รังสีอินฟาเรด รังสีแสงสีเขียวจากดวงอาทิตย์

แสงแดดช่วยรักษาโรค

มีคำถามที่หลายๆคนหาคำตอบเกี่ยวกับ แสงแดดช่วยรักษาโรค ได้จริงหรือไม? หากถามว่าอวัยวะใดที่มีความสำคัญที่สุดในร่างกาย  เชื่อได้เลยว่าหลายคำตอบที่ได้รับก็คงหนีไม่พ้นไปจาก หัวใจ แต่หากถามให้ลึกลงไปอีกว่า หัวใจมีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร หากไม่ใช่หมอหรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ก็คงมีน้อยคนนัก ที่จะตอบคำถามนี้ได้อย่างละเอียดและสมบรูณ์  ในปัจจุบันมีโรคภัยไข้เจ็บมากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ หัวใจ  เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจวาย  ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ในทางการแพทย์ การรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจเป็นประเภทโรคที่รักษาได้ยากชนิดหนึ่ง และต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับหัวใจในการรักษาเท่านั้น ซึ่งวิธีในการรักษาก็มีมากมายหลายวิธี ตามความเจริญของการแพทย์ในยุคสมัยนี้ และนอกจากวิธีการรักษาทางการแพทย์แล้ว ยังมีการค้นพบข้อมูลที่สำคัญว่า มีวิธีสุดแสนธรรมดาที่สามารถช่วยบำรุงและรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจได้ก็คือ การใช้แสงแดดรักษา  หลายคนก็คงสงสัยว่าทำไมแสงแดดจึงรักษาโรคหัวใจได้จะอธิบายดังต่อไปนี้

หัวใจคืออะไรและสำคัญต่อมนุษย์อย่างไร

หัวใจ คือก้อนเนื้อที่อยู่ภายในร่างกายมนุษย์ มีขนาดประมาณเท่ากำมือของแต่ละคน ตั้งอยู่ใต้กระดูกบริเวณกึ่งกลางอก เบี่ยงไปข้างซ้ายเล็กน้อย มีหน้าที่หลักคือ คอยทำการสูบฉีดเลือด นำออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ทุกส่วนของร่างกาย โดยภายในหัวใจจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน หรือ 4 ห้อง ประกอบด้วย

  • ห้องบนข้างขวา มีหน้าที่ รับเลือดเสีย หรือเลือดดำจากทุกส่วนของร่างกาย เพื่อส่งต่อให้หัวใจห้องล่างขวา
  • ห้องล่างข้างขวา มีหน้าที่ รับเลือดมาจากห้องบนขวา แล้วส่งเลือดไปฟอกที่ปอด
  • ห้องบนข้างซ้าย มีหน้าที่ รับเลือดดีหรือเลือดแดงที่ฟอกจากปอดแล้ว เพื่อนำไปส่งต่อให้ล่างซ้าย
  • ห้องล่างข้างซ้าย มีหน้าที่ รับเลือดดีจากห้องบนซ้าย แล้วส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย

ในแต่ละห้องของหัวใจ จะมีลิ้นหัวใจ คอยกั้นระหว่างห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ ทำให้เลือดเดินทางเดียวได้ตามกลไกของร่างกาย ปกติแล้วอัตราการเต้นของหัวใจคนเราจะอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที และมีจังหวะการเต้นที่สม่ำเสมอ ในการทำงานหรือการเต้นของหัวใจนี้ หัวใจจะมีการสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นมา เพื่อกระตุ้นให้หัวใจมีการบีบตัว ซึ่งจะต้องเป็นการบีบตัวจากบนไปล่างอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้หัวใจห้องข้างบนและข้างล่างเต้นในจังหวะที่สัมพันธ์กัน ในการเต้นหรือการบีบตัวของหัวใจแต่ละครั้ง หัวใจจะมีการสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นมา ด้วยเซลล์ชนิดที่พิเศษที่ชื่อว่า เอสเอ โนด ( SA Node )  เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจเกิดการบีบตัวอย่างสม่ำเสมอ โดยอาศัยออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญในกระบวนการนี้ หากเกิดความผิดปกติเกิดขึ้น เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าในหัวใจ หรือที่มักเรียกกันว่า ภาวะไฟฟ้ารัดวงจรในหัวใจ จะส่งผลให้หัวใจมีความผิดปกติ และเต้นผิดจังหวะ

โรคเกี่ยวกับหัวใจที่พบได้บ่อยๆ

โรคหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่เกิดกับหัวใจ มีอยู่มากกมายหลายชนิด ซึ่งในแต่ละชนิดก็มีระดับความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันออกไป โดยชนิดที่พบได้บ่อยๆ มีดังต่อไปนี้
1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คือ ภาวะที่หลอดเลือดแดงที่มีหน้าที่ส่งเลือดไปให้หัวใจ เกิดการตีบตันขึ้น ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง เกิดอาการเจ็บที่หัวใจอย่างรุนแรง หรือหัวใจวาย เพราะเกิดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ กับประสิทธิภาพของหลอดเลือดที่แคบลง มีสาเหตุหลักมาจาก การเกิดภาวะสะสมไขมันในผนังหลอดเลือด จนทำให้ไปขัดขวางการไหลของเลือด

2. หัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดขึ้นจากการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ ด้วยลิ่มเลือด จึงไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดเดินทางได้ไม่สะดวก เกิดการขาดออกซิเจนขึ้นในหัวใจ หากเป็นนานๆบ่อยๆ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจในส่วนนั้นก็จะถูกทำลายไป เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะตาย อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย

3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปทั่วทุกส่วนของร่างกายได้อย่างพอเพียง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลายๆอย่าง เช่นหัวใจอ่อนแอ กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย ความสามารถสูบฉีดโลหิตน้อยลงเอง ผลที่ตามมาคือมีเลือดคั่งอยู่ในห้องหัวใจ หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลาก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

4. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmia ) หรือไฟฟ้าช็อตที่หัวใจ  หมายถึง ภาวะที่หัวใจมีความผิดปกติเกิดขึ้นจนส่งผลให้ อัตราจังหวะการเต้นของหัวใจผิดเพี้ยนไปจากเดิม โดยอาจเต้นเร็วไป หรือช้าไปก็ได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก กระแสไฟฟ้าในหัวใจมีระดับที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์เอส เอ โนด  มีการเสื่อมสภาพ ส่งผลกระทบให้ผู้ที่มีภาวะนี้จะรู้สึก เหนื่องง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน หากเป็นมากอาจเป็นลมหมดสติได้ จากการที่สมองได้รับเลือดที่ส่งให้จากหัวใจไม่เพียงพอ ในการรักษาภาวะอาการนี้ แพทย์จะเป็นผู้วิเคราะห์อาการของผู้ป่วย และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด ในบางรายที่มีอาการหนัก หรือ มีอาการหัวใจอ่อนแรงอยู่บ่อยๆ แพทย์จะใช้วิธีการใส่เครื่องช่วยรักษาหัวใจ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะไปช่วยการบีบตัวของหัวใจฝห้ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ระดับกระแสไฟฟ้ากลับมาเป็นปกติ หัวใจก็จะเต้นเป็นจังหวะเหมือนเดิม

วิธีการดูแลรักษาหัวใจให้แข็งแรง

ภาวะโรคภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหัวใจ หากตัวเราเองมีการดูแลรักษาสุขภาพหัวใจให้ดีและแข็งแรงอยู่เสมอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆที่เกี่ยวกับหัวใจได้มาก โดยการดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง มีวิธีการแนะนำดังต่อไปนี้

1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  การออกกำลังกายให้ผิวสัมผัส แสงแดด ยามเช้า/เย็น อย่างเหมาะสมเป็นประจำ และทำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยส่งผลให้หัวใจมีการสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น หัวใจจะมีความแข็งแรงมากขึ้น

2. บริหารสภาวะอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ ในแต่ละวันไม่ควรปล่อยให้ตนเองมีความเครียดสะสม เนื่องจาก ความเครียด และภาวะอารมณ์ที่ไม่ดี ไม่ปกติ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักมากกว่าปกติ  การมีภาวะอารมณ์ที่ดี จึงช่วยส่งผลให้หัวใจมีสุขภาพที่ดี และไม่ต้องทำงานที่หนักจนเกินไป

3. เลือกทานอาหารที่ดี การเลือกทานอาหาร ควรเลือกประเภทอาหารที่ดีและมีประโยชน์กับร่างกาย เช่น เน้นการทานผักและผลไม้สด ทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ และต้องคอยเลี่ยงอาหารที่มากไปด้วยไขมัน เนื่องจากหากได้รับในปริมาณมาก จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และเป็นยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย

4. บำรุงและรักษาหัวใจด้วยพลังกายทิพย์  คือ การใช้พลังรังสีคอสมิก ซึ่งเป็นรังสีจากดวงอาทิตย์ เพื่อนำมาใช้รักษาโรคและอาการเจ็บป่วยต่างๆ  ในร่างกายของมนุษย์เรามีกระดูกสันหลังดามเอาไว้ ทำให้อวัยวะต่างๆอยู่กันเป็นโครงสร้าง และมีความเป็นระเบียบไม่มีการเบียดทับกัน ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในแนวกระดูกสันหลังจะมีจุดที่รับพลังจากแสงอาทิตย์ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อนำมาเป็นพลังแห่งชีวิต ให้ชีวิตดำเนินไปอย่างสมดุล โดยจะเรียดจุดดังกล่าวว่า “ จักระ ” มีทั้งหมด 7 จุด ดังนี้

  • จักระ 1 มูลลัดดาจักระ ( Mooladhara Chakra ) ตั้งอยู่ระหว่างทวารหนักกับอวัยวะเพศของทั้งหญิงและชาย รับพลังคลื่นแสงสีแดง ควบคุมต่อมหมวกไต ขา เท้า กระดูก และลำไส้ใหญ่ ช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องผูก ริดสีดวงทวาร ความอ้วน ปวดหลัง ปวดขา ปวดข้อปวดเข่า โรคนอนไม่หลับ และระบบเกี่ยวกับอวัยวะเพศทั้งหมด
  • จักระ 2 สวัสดิ์ธนาจักระ ( Swadhisthana Chakra ) ตั้งอยู่บนกระดูกสันหลังแต่ต่ำกว่าสะดือประมาณ 2-3 นิ้ว หรือปลายกระดูกสันหลังใต้ก้นกบข้อที่ 1-2 รับคลื่นแสงสีส้ม ควบคุมรังไข่ หรืออัณฑะ มดลูก อวัยวะเพศ ไต กระเพาะปัสสาวะ ระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยป้องกัน อาการทางไต และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยลดความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ และลดอาการปวดหลัง
  • จักระ 3 มณีปุรจักระ ( Manipura Chakra ) อยู่บนกระดูกสันหลังบริเวณเอว ตรงข้ามกับสะดือ รับคลื่นรังสีสีเหลือง ควบคุมต่อมหมวกไต และตับอ่อน การผลิตเม็ดเลือด การทำงานของตับและม้าม การทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน โรคตับ และโรคอ้วน
  • จักระ 4 อนันตาจักระ ( Anahata Chakra ) ตั้งอยู่บนกระดูกสันหลังส่วนทรวงอกข้อที่ 6 ตรงกับบริเวณที่ตั้งของหัวใจ รับคลื่นแสงสีเขียว ควบคุมต่อมไทมัส ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหลังลูกกระเดือก หัวใจ ปอด แขน และมือ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคความดันโลหิต หืดหอบ
  • จักระ 5 วิสุทธิจักระ ( Vishuddhi Chakra ) ตั้งอยู่บนต้นคอบริเวณกระดูกข้อที่ 3 ตรงข้ามกับลูกกระเดือก มีลักษณะเป็นโหนกสูง อยู่บริเวณเหนือไหล่ขึ้นไปเล็กน้อย รับคลื่นแสงสีฟ้า ทำหน้าที่ควบคุมต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์ ตับ คอ ไหล่ มือ หู ควบคุมระบบการหายใจ ช่วยป้องกันโรคต่อมไทรอยด์ การได้ยิน บรรเทาอาการปวดต้นคอ โรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ หืดหอบ ตลอดจนโรคผิวหนัง
  • จักระ 6 อัชณาจักระ ( Ajana  Chakra ) ตั้งอยู่ระหว่างคิ้วเหนือนดั้งจมูกขึ้น เรียกว่า ตาที่สาม รับพลังคลื่นแสงสีน้ำเงิน(สีไพลิน) สัมพันธ์กับต่อมพิทูอิทารี (pituitary gland) ต่อมนี้ทำงานร่วมกับต่อมไพเนียล ที่ควบคุมภายในดวงตา ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตาทุกชนิด
  • จักระ 7 สหัสราจักระ ( Sahassara Chakra ) ตั้งอยู่บริเวณกลางกระหม่อมค่อนไปด้านหลังเล็กน้อย เป็นจุดสูงสุดของร่างกาย จึงได้ชื่อว่า crown รับพลังคลื่นแสงสีม่วง เป็นศูนย์ควบคุมทุกจักระในร่างกาย ควบคุมสมองและระบบประสาททั้งหมด ประสานการทำงานของอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย

แสงแดดช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจได้อย่างไร ?

แสงแดด คือ แหล่งพลังงานมหาศาล จากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก ปกติแล้วจะมีแสงเป็นสีขาวที่ตามองเห็นได้ ประกอบไปด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต หรือเรียกสั้นๆว่ารังสียูวี มีอยู่หลากหลายชนิด เช่น UVA, UVB, UVC แต่จะมีเพียงประเภทของ UVA และ UVB เท่านั้นที่ส่องมาถึงพื้นโลกได้ โดยไม่ถูกดูดซึมให้หายไปโดยชั้นบรรยากาศ แต่

รังสีที่มีคุณสมบัติดี มีผลต่อการรักษาโรคและบำรุงสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ คือ รังสีอินฟาเรด รังสีแสงสีเขียว ที่ได้มาฟรีๆ จากแสงของดวงอาทิตย์เช่นกัน

แสงแดดที่ได้รับจะมีประโยชน์ต่อหัวใจและร่างกาย

1. ช่วยลดความเสี่ยงในการโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ เนื่องจากเมื่อร่างกายได้รับปริมาณที่ แสงแดด ที่เหมาะสม จะถูกนำไปสร้างวิตามินดี ให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ตามอวัยวะต่างๆ โดยวิตามินดีจากแสงแดดช่วยลดภาวะการอักเสบในกระแสเลือด ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการสูบฉีดเลือดของหัวใจ วิตามินดีที่ได้จากแสงแดด จะเป็นตัวควบคุมปริมาณแคลเซียมในกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานเป็นปกติ ช่วยเพิ่มประสิทธิในการการสูบฉีดเลือดของหัวใจ หากร่างกายไม่มีการควบคุมปริมาณแคลเซียมในกล้ามเนื้อหัวใจที่ดี จะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจจะไม่ขยายตัวและไม่หดตัวกลับอย่างปกติ ประสิทธิภาพในการสูบฉีดเลือดทำได้แย่ลง

3. ช่วยลดความดันในโลหิต ซึ่งเป็นสาเหตุหลักอีกชนิดหนึ่งในการเกิดโรคหัวใจ แสงแดด ช่วยลดความดันโลหิตสูงโดยตรง และยังช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และการเกิดลิ่มเลือดได้อีกด้วย การได้รับแสงแดดเพียงแค่ 20 นาทีต่อวันก็เพียงพอแล้ว ที่จะช่วยทำให้เส้นเลือดปล่อยสารเคมีตัวสำคัญที่ชื่อว่า ไนตริกออกไซด์ออกมา ทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นโลหิต ซึ่งมีผลให้ความดันเลือดลดต่ำลง

4. ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด การได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ จะช่วยลดระดับของคลอเลสเตอรอลในเลือดให้ต่ำลงได้ โดยสาเหตุหลักในการเกิดโรคหัวใจเกือบทุกชนิด และโรคความดันในโลหิตสูง  มักมาจากการที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี มีระดับของคลอเลสเตอรอลจับตัวกันที่ผนังหลอดเลือดจนหนา เรียกภาวะนี้ว่าพลัค ( Plaque ) ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดในหัวใจทำได้ไม่ดี จนทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ

5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเซลล์ในร่างกาย แสงแดดช่วยให้เฮโมโกลบิน ที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงจับตัวรวมกับออกซิเจนได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้เซลล์ต่างๆในร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น สุขภาพโดยรวมก็จะดีขึ้นรวมถึงสุขภาพของหัวใจด้วย

การป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ

โรคที่เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ มักเกิดจากการพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิดๆ และการกินอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ ซึ่งก็มีวิธีในการป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้ดังต่อไปนี้

  • ทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ โดยเน้นทานผักและผลไม้เป็นหลัก และดื่มน้ำให้มากเพียงพอในแต่ละวัน
  • เลี่ยงอาหารที่มากไปด้วยไขมัน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น เช่น การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน
  • ดูแลสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนัก
  • ออกรับแสงแดดให้ในแต่ละวันให้เพียงพอ ประมาณ 15 – 20 นาที เพื่อให้ได้ประโยชน์จาก แสงแดด ไปบำรุงหัวใจ

หัวใจเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกาย เป็นหนึ่งในอวัยวะที่ไม่เคยหยุดพักเลย ตั้งแต่เป็นตัวอ่อนเกิดขึ้นในครรภ์ มารดา และยังคงทำงานต่อเนื่องจนกว่าเจ้าของร่างกายจะหมดลมหายใจไป  ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักดูแล และคอยบำรุงสุขภาพหัวใจของตัวเราเองให้ดี และแข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งนอกจากการทานอาหารที่ดี การออกกำลังกาย และการพักผ่อนที่เพียงพอแล้ว แสงแดด ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยบำรุงและรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับหัวใจได้ด้วยเช่นกัน เพียงแค่แบ่งเวลาให้ตนเองได้รับแสงแดดวันละ 15 -20 นาที สุขภาพหัวใจรวมทั้งสุขภาพร่างกายอื่นๆ ก็จะได้รับประโยชน์มากมายจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้มาฟรีๆและไม่มีวันหมด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5

MacAdam, David L. (1985). Color Measurement: Theme and Variations (Second Revised ed.). Springer. pp. 33–35. ISBN 0-387-15573-2.

“Graph of variation of seasonal and latitudinal distribution of solar radiation”. Museum.state.il.us. 2007-08-30. Retrieved 2012-02-12.