สะอึกดอกขาว
สะอึกดอกขาว Ipomoea sagittifolia เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อยได้ถิ่นกำเนิดของสะอึกสายพันธุ์นี้พบได้ในแถบแอฟริกาเขตร้อน เอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนและเติบโตในชีวนิเวศเขตร้อนที่แห้งแล้ง ซึ่งพืชสมุนไพรชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ มีสรรพคุณและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป หรืออาจจะเหมือนกันแต่การนำมาใช้ก็ย่อมจะแตกต่างกันไป ในบทความนี้ทางเราจะขอมานำเสนอข้อมูลของสะอึก พืชสมุนไพรที่คนส่วนใหญ่นั้นอาจจะยังไม่ทราบข้อมูลของมันกันครับ ชื่อสามัญ : Ipomoea sagittifolia ไม่ระบุชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea maxima Don ex Sweet ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์: ไม่ระบุ จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)
หมายเหตุ
ต้นสะอึกสายพันธุ์นี้เป็นคนละสายพันธุ์กับสะอึกเกล็ดหอย (Merremia emarginata (Burm. f.) Hallier f.), เถาสะอึก (Merremia hederacea (Burm. f.) Hallier f.) และโตงวะ (Ipomoea obscura (L.) Ker Gawl.) เพียงแต่บางท้องถิ่นมีชื่อเรียกเฉพาะท้องถิ่นที่เหมือนกันว่า “สะอึก“
ลักษณะของต้นสะอึก
- ต้น
– เป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุก
– เถามีความยาวประมาณ 1-2.5 เมตร
– ลำต้นมีการเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น ๆ หรือเลื้อยนอนทอดไปตามพื้นดิน ตามลำต้นหรือลำเถาจะมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ ขนมีลักษณะค่อนข้างแข็ง และรากมีลักษณะแข็ง
– ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และต้นสะอึกจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย เช่น แถวชายทะเลหรือตามชายหาด[1] - ใบ
– ใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงเวียนสลับกัน
– ใบจะเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ตรงโคนใบเว้า ส่วนขอบใบเรียบไร้ขนและมักจะมีสีม่วงหรือจุดเล็ก ๆ สีม่วง
– แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว[1]
– ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-3 นิ้ว - ดอก
– ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกดอกบริเวณตามง่ามใบ
– ภายในช่อหนึ่งช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 2-3 ดอก หรือบางดอกอาจมีมากกว่านี้
– ลักษณะรูปร่างของดอกจะเป็นรูปแตร มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 นิ้ว ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก
– ดอกมีสีชมพู สีม่วงอ่อน ๆ หรือม่วงเกือบขาว ส่วนตรงกลางดอกจะเป็นสีม่วงเข้ม[1] - ผล
– ผลเป็นรูปทรงวงกลม แบน ผิวผลเกลี้ยงเกลาไม่มีขน และแบ่งออกเป็น 2 ช่อง - เมล็ด
– มีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด ผิวเมล็ดมีขนสั้นสีเทาหรือสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น[1]
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นสะอึก
- ใบของต้นสะอึกนำมาตำผสมกับเมล็ดของต้นเทียนแดง (Nigella sativa Linn.) ใช้ทำเป็นยาสำหรับพอก มีฤทธิ์แก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)[1]
- ยอดอ่อนของต้นสะอึกสามารถนำมารับประทานได้ [2]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สะอึก”. หน้า 767-768.
2. ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “สะอึก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : area-based.lpru.ac.th/veg/. [12 ต.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:269715-1