ต้นสารภีดอกใหญ่
ดอกขาว กลิ่นหอม เป็นไม้ประจำถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อไม้แข็ง ใช้ทำสีย้อมผ้า ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ผลมีรสหวาน

ต้นสารภีดอกใหญ่

ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Mammea harmandii ( Pierre ) Kosterm ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น สารภี ประดงช้าง สารภีดง

ลักษณะทั่วไปของต้นสารภีดอกใหญ่

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 8 – 15 เมตร และอาจจะสูงได้ประมาณ 10 – 25 เมตร ที่เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล เปลือกตะแกเป็นสะเก็ด ส่วนที่กิ่งอ่อนจะเป็นสันสี่เหลี่ยม [1],[2],[3] ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่ง จะชอบดินร่วนซุย และแดดจัด จะเติบโตได้ดี่ในที่ค่อนข้างชื้น [3] มีเขตการกระจายพันธุ์ คือ ป่าดิบแล้ง ทุ่งหญ้า ป่าดิบเขา ทางภาคตะวันออกกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระดับความสูงตั้งแต่น้ำทะเลปานกลางถึง 1,500 เมตร พบในต่างประเทศได้ที่ประเทศกัมพูชา เวียดนาม ลาว [2]
  • ใบ เป็นใบเดียว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ใบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน รูปใบหอกกลับ รูปใบหอกกลับแคบ รูปไข่กลีบแกม ที่ปลายใบจะเรียวแหลมหรือมน ส่วนที่โคนใบเป็นรูปสอบเรียว , รูปกึ่งหัวใจ ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 6 – 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 – 24 เซนติเมตร เนื้อใบจะหนา เหนียวเป็นมัน ใบแก่มีสีเขียวเข้ม เส้นใบจะไม่เห็นชัด ก้านใบยาวได้ 2.5 เซนติเมตร [1],[2],[3]
  • ดอก ออกดอกเป็นกระจุกที่ตามลำต้น กิ่งก้าน ง่ามใบ กลีบดอกมีสีขาวถึงสีเหลืองนวล ดอกมีกลิ่นหอม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม [1],[2],[3]
  • ผล เป็นผลสด ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมรี กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน [1],[2],[3]

สรรพคุณของต้นสารภี

  • น้ำที่จากการผล สามารถใช้เป็นยากินก่อนคลอดเพื่อบำรุงครรภ์ของสตรีได้ [2]
  • ตำรับยาพื้นบ้านล้านนา ใช้เปลือกเข้ายาสมุนไพรจำพวกประดง 9 ชนิด มาต้มกับน้ำแล้วดื่ม ใช้เป็นยารักษาโรคประดง แก้ร้อนในกระหายน้ำ[1]

ประโยชน์ของต้นสารภี

  • เนื้อไม้มีสีแดง และแข็งแรง นำมาใช้ทำด้ามเครื่องมือ เครื่องใช้ [2]
  • ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • สามารถนำผลมารับประทานได้ [3]

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สารภีดอกใหญ่”. หน้า 147.
สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “สารภีดอกใหญ่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/pattani_botany/. [09 ต.ค. 2014].
พืชกินได้ในป่าสะแกราช, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “สารภีดอกใหญ่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tistr.or.th. [09 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://inaturalist.nz/taxa/156793-Mammea