ร้อนในเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง
ร้อนใน ( Aphthous ulcers ) หรือ โรคแผลในปาก ( Mouth ulcers ) เกิดจากการกัดหรือได้รับบาดเจ็บในช่องปากทำให้เกิดเป็นแผลขนาดเล็กลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรีไม่ลึก

ร้อนใน

ร้อนใน ( Aphthous ulcers ) หรือ โรคแผลในปาก ( Mouth ulcers ) คือ เกิดจากการกัดหรือได้รับบาดเจ็บในช่องปากทำให้เกิดเป็นแผลขนาดเล็กลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรีไม่ลึก ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้ม เหงือก โคนลิ้น ใต้ลิ้น ด้านในริมฝากปาก สังเกตได้จะมีแผลรู้สึกเจ็บปวดจากการอักเสบทำให้แผลร้อนในเกิดการบวมแดงและมีสีเหลืองบริเวณปากแผลร้อนใน แต่ร้อนในไม่ใช่โรคติดต่อมักจะหายไปเองภายใน 1 ถึง 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยอาจมีอาการของแผลร้อนในที่รุนแรง ดังนี้
1. เกิดความผิดปกติหรือความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
2. เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน
3. การขาดวิตามินหรือแร่ธาตุ
4. การติดเชื้อไวรัส

สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในปากหรือร้อนใน

ร้อนในบริเวณปากมักไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ตามแผลในปากส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น

  • การกัดกระพุ้งแก้ม กัดปาก กัดลิ้นตัวเอง
  • เหล็กดัดฟันเกี่ยวปาก หรือเหล็กดัดฟันเกี่ยวกระพุ้งแก้มทั้ง 2 ข้าง
  • ฟันปลอมหลวม อาจเกิดการเสียดสีทำให้เกิดแผลในปากและเหงือกได้
  • เกิดบาดแผลขณะรับประทานอาหาร เช่น อาหารแข็ง อาหารเผ็ด อาหารร้อน เป็นต้น
  • การแพ้อาหารหรือโรคภูมิแพ้
  • การแปรงสีฟันหรือยาสีฟันที่ทำให้ระคายเคืองในช่องปาก
  • เครียด (เครียดสะสม)
  • รู้สึกเหนื่อย
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือพักผ่อนน้อย
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ในระหว่างตั้งครรภ์
  • โรคลำไส้อักเสบ (IBD)
  • ขาดวิตามินบี12 (vitamin b12)
  • ขาดธาตุเหล็ก (iron)
  • การหยุดสูบบุหรี่
  • คนอาจเกิดแผลในปากเมื่อเลิกสูบบุหรี่เป็นครั้งแรก
  • ดื่มน้ำน้อย

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

  • แผลเปื่อยในปากขนาดใหญ่ผิดปกติ
  • แผลที่เกิดซ้ำโดยที่แผลใหม่จะเกิดขึ้นก่อนที่แผลเก่าจะหายหรือมีการระบาดบ่อย
  • แผลร้อนในที่เป็นนานเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป
  • แผลในปากที่ขยายเข้าไปในริมฝีปาก (ขอบสีแดง)
  • รู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นกว่าปกติ
  • กินหรือดื่มน้ำลำบากมาก
  • มีไข้สูง
  • ท้องเสียทุกครั้งที่เป็นร้อนใน

ภาวะแทรกซ้อนของอาการร้อนใน

  • เกิดความเจ็บและลำบากในการพูด แปรงฟัน หรือรับประทานอาหาร
  • เกิดความอ่อนเพลีย
  • เป็นไข้
  • เกิดการอักเสบของผิวหนังบริเวณข้างเคียง

วิธีการรักษาและป้องกันร้อนในแผลในปาก

แผลในปากส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา การรักษามีหลายวิธีสามารถลดความเจ็บปวดและช่วยให้แผลในปากหายเร็วขึ้น ดังนี้

  • ป่วนปากด้วยน้ำเกลืออย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน
  • ยาทาแก้ร้อนใน ไตรโนโลนชนิดป้ายปาก (TRINOLONE ORAL PASTE)
  • กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารประเภท กรดโฟลิก วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และสังกะสี
  • หลีกเลี่ยงอาหาร ผลไม้ที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อแผลในช่องปาก เช่น สับปะรด ส้ม อาหารรสเผ็ด
  • เปลี่ยนแปลงสีฟันใหม่ที่ขนนุ่มขึ้น
  • หลีกเลี่ยงน้ำยาบ่วนปากในขณะที่มีแผลในปาก
  • ควรรักษาสุขอนามัยในช่องปากให้ดี โดยการแปรงฟันหลังอาหารและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
  • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ อย่างน้อย 5 – 8 แก้วต่อวัน

เคล็ดลับการป้องกันและรักษาแผลร้อนในทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง เพียงแค่หลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้เกิดความระคายเคืองในปาก เช่น ถั่วทอด มันฝรั่งทอด อาหารรสจัด อาหารเค็มจัดและผลไม้ที่มีกรดมาก ควรดูแลสุขภาพและอนามัยของช่องปากให้ดี เช่น แปรงฟันหลังมื้ออาหารเป็นประจำ ใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง จะช่วยให้ช่องปากสะอาดไม่มีเศษอาหารตกค้างอยู่ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลร้อนในได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม