พลองกินลูก
พันธุ์ไม้ดอกม่วงสรรพคุณแก้พิษไข้เป็นเลิศ ผลอ่อนเป็นสีชมพูอมม่วงแต่ถ้าสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงดำ รสหวาน

พลองกินลูก

พลองกินลูก เป็นพรรณไม้ทรงพุ่มพบได้ในป่าดิบชื้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อนทั่วไป จะเจริญเติบโตได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ชอบแสงแดดแบบรำไร มักพบได้ในป่าดิบแล้ง ป่าคืนสภาพ และตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีดอกสีม่วงสวยงามสะดุดตา โดยจะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ คือ Memecylon ovatum Sm. จัดอยู่ในวงศ์โคลงเคลง (MELASTOMATACEAE) นอกจากนี้ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พลองกินลูก พลองใหญ่ พลองใบใหญ่ (ประจวบคีรีขันธ์), พลอง (นครราชสีมา) เป็นต้น

ลักษณะของต้นพลอง

  • ต้น เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่มีการผลัดใบ ต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 5-7 เมตร หรืออาจจะสูงได้ประมาณ 6-15 เมตร ลำต้นตั้งตรง ตัวเรือนยอดเป็นพุ่มกลมแตกกิ่งก้านค่อนข้างต่ำ ตรงเปลือกต้นด้านนอกเป็นสีน้ำตาลแตกเป็นสะเก็ดบาง ๆ หรือเป็นร่องตื้น ๆ เปลือกบาง ส่วนเปลือกด้านในมีสีเหลืองอ่อน สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันที่บริเวณปลายกิ่ง ใบมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่มน ใบมีความกว้างประมาณ 2.5-6.5 เซนติเมตรและมีความยาวประมาณ 5-12.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรืออาจจะมน ส่วนตรงขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนาคล้ายกับแผ่นหนัง ใบมีสีเขียวเข้มและมีความมัน ไม่มีขนทั้งสองด้าน ส่วนท้องใบเป็นสีอ่อน[1],[2],[3]
  • ดอก จะออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกซ้อนกัน โดยจะออกตามกิ่ง ตามง่ามใบ หรือตามข้อต้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ประมาณ 0.3 เซนติเมตร ดอกตูมจะเป็นสีชมพู แต่เมื่อบานแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงน้ำเงินแทน มีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบ และจะบานเกือบพร้อมกันทั้งต้น
  • ผล มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมรี (คล้ายกับผลหว้า) มีขนาดประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีชมพูอมม่วงแต่ถ้าสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงดำหรือเป็นสีน้ำเงินเกือบดำ มีเนื้อที่บาง จะมีการออกผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม[1],[2],[3]

สรรพคุณของพลอง

1. ใบ สามารถใช้เป็นยาแก้ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ไม่ทำให้เกิดเป็นแผลเป็น และช่วยดับพิษปวดแสบปวดร้อน (ใบ)[1]
2. เนื้อไม้และราก สามารถนำมาใช้ฝนหรือต้มดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้พิษ ไข้หัด (เนื้อไม้, ราก)[1]
2.1 เนื้อไม้และราก สามารถนำมาใช้ฝนหรือต้มดื่มเป็นยาถอนพิษผิดสำแดง ดับพิษร้อน และดับพิษภายในต่าง ๆ (เนื้อไม้, ราก)[1]

ประโยชน์ของพลอง

1. เนื้อที่หุ้มเมล็ดของผลสุก จะมีรสหวานสามารถใช้รับประทานได้[2]
2. เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ทำเป็นด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้[3]

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “พลอง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 114.
2. หนังสือพืชกินได้ในป่าสะแกราช เล่ม 1. “พลอง กิน ลูก”. (สมัย เสวครบุรี, ทักษิณ อาชวาคม). หน้า 215-216.
3. หนังสือไม้ดอกไม้ประดับ.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.earth.com/plant-encyclopedia/angiosperms/melastomataceae/memecylon-umbellatum/ca/
2https://medicinallive.com/product/buy-korakaha-nirasa-kayavu-kasavu-anjani-kayam-khaya-kaya-manjiyalli-memecylon-umbellatum-plant-live-online-shopping/