ศัลยกรรมปลูกผม มันคืออะไร ปลูกแล้ว มันได้ผลจริงๆหรือ
การทำศัลยกรรมปลูกผม เป็นทางเลือกอีกวิธีของผู้ที่ยังวิตกเรื่องผมร่วง ผมบาง โดยการย้ายเส้นผมสุขภาพดีที่มีรากผมติดอยู่จากที่หนึ่งไปปลูกอยู่ในอีกที่หนึ่งบนศีรษะของตนเอง

ศัลยกรรม ปลูกผม

วันนี้จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ศัลยกรรม ปลูกผม ว่ามันคืออะไร มีขั้นตอนการทำอย่างไร ” ปลูกผม ” แล้วมันจะเหมือนผมจริงหรือไม่ วันนี้มาฟังคำตอบกันเลยดีกว่า..

ความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับ การปลูกผม 

ศัลยกรรม ปลูกผม ถ้าจะพูดแบบภาษาบ้านๆ มันก็คือ การย้ายรากผมจากส่วนที่แข็งแรง เอามาปลูกทดแทนในส่วนที่ไม่มี หรือ ขึ้นน้อย นั่นเอง โดยรากผมที่นำมาปลูกผม ส่วนมากจะนำออกมาจาก บริเวณท้ายทอย ซะส่วนใหญ่ เพราะเนื่องจากบริเวณนี้ รากผมจะมีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก และ มีอายุยืนกว่าผมที่อยู่กลางศีรษะ

ปัจจุบันนี้ เรื่องการศัลยกรรมปลูกผมก็ยังคงมีปัญหาอยู่ เพราะคนส่วนมาก ยังขาดข้อมูล และ ไม่กล้าที่จะเข้ามารับการรักษา เพราะจะกลัวว่า ไหนๆ ก็ลงทุนเจ็บตัวทั้งที เสียเงินค่ารักษาตั้งมากมาย แล้วผมที่ปลูกใหม่ ที่มันงอกออกมา มันจะอยู่แบบถาวร หรือ จะหลุดร่วงอีกหรือไม่..

คำตอบ จากหลักวิชาการ คือ อาจจะได้ผลแบบถาวร หรือไม่ถาวร ก็สามารถเป็นไปได้เช่นเดียวกัน

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ปกติรากผมที่เรานำมาจากท้ายทอย หรือ ส่วนบริจาคจะเป็นผมที่ทนทาน และ ไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า DHT  ( Dihydrotestosterone ) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของผมร่วงศีรษะล้านจากพันธุกรรม

ดังนั้นเมื่อไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าก็จะมีอายุยืนยาวตามปกติของรากผมยังงั้นจนกลายเป็นผมถาวร เพราะปกติรากผมคนเราจะมีวงจรชีวิตที่จะต้องเข้าสู่ระยะพักทุกๆ 6 ถึง 10 ปี และระยะเวลาประมาณ 20 รอบ

นั่นแปลว่ารากที่แข็งแรงตามปกติจะต้องมีอายุประมาณ 120 ถึง 200 ปีทั้งนี้แต่ละรอบวงจรขนาด อาจจะเล็กลงไปบ้างซึ่งจะเห็นว่าผมเส้นเล็กลงบ้างตามวัยที่สูงขึ้นดังนั้นล่ะ ผมจากท้ายทอยที่ย้ายมาปลูกก็จะมีอายุตามนั้นเราอาจจะเรียกว่าเป็นผมถาวรก็ย่อมได้เพราะมันอยู่นานเกินกว่าอายุขัยของคนเราเสียอีก

มีกรณีที่ศัลยกรรมปลูกผมแล้วอยู่ไม่ถาวรหรือร่วงหายไปไหม

ตอบได้ว่ามี…ที่เป็นเช่นนี้เพราะสาเหตุหลักหลักคือ 

วงจรชีวิตของรากผมในคนๆ นั้นมีระยะสั้นซึ่งมักเกิดจากมีความเครียดหรือความกดดันอื่นๆ มากระตุ้นบ่อย เช่น เจ็บไข้ได้ป่วยรุนแรงเป็นประจำ มีภาวะเครียดทางจิตใจมากตลอดเวลาความคิดเหล่านี้จะทำให้วงจรชีวิตลากผมหมุนเร็วขึ้น จากที่เคยมีอายุ 6 ถึง 10 ปีก็ลดลงเป็น 2-3 ปีแต่อย่างไรก็ตามกว่าจะบางหรือล่วงไปก็มักจะเป็นช่วงอายุมากแล้ว

การปลูกผมงั้นทำได้อย่างไม่ได้มาตรฐาน

พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากมีสถาบันที่ให้บริการด้านการผ่าตัดปลูกผมมากขึ้น แต่แพทย์ที่ให้บริการไม่ได้มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอการเลือกรากผมที่จะนำมาปลูกผิดพลาดเช่นไปผ่าตัดเลือกรากผมที่มาจากตำแหน่งที่ไม่ใช่ผมถาวรตามมาตรฐานเมื่อเวลาผ่านไปผมเหล่านั้นก็จะรวบไปตามพันธุกรรมที่อ่อนแอทำให้ได้ผลการรักษาไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น

การผ่าตัดย้ายเซลล์รากผมนั้นมีมานานมากกว่า 40 ปีแล้ว คนไข้ที่ได้เคยทำการผ่าตัดในยุคแรกๆเมื่อติดตามการรักษาก็ยังพบว่าผมที่ปลูกนั้นยังแข็งแรงดีมีแต่ผมตามธรรมชาติที่อ่อนแอทางพันธุกรรมเท่านั้นที่ล่วงหายไป

ยกตัวอย่าง

เช่นมีบ้างเหมือนกันที่ ผมปลูกบางลงตามอายุเนื่องจากเซลล์รากผมค่อยๆเสื่อมประสิทธิภาพลงแต่ก็ยังช้ามากเมื่อเทียบกับอัตราการเสื่อมของผมที่ด้านบนศีรษะหมอเองก็มีคนไข้ที่มีประวัติเคย ปลูกผม มาก่อนแล้วต้องการมาปลูกเพิ่มเนื่องจากผมเดิมล่วงไปอีกตามกาลเวลาผ่านไปผมที่ปลูกตรงง่ามยังอยู่แต่ส่วนที่เหลือล่วงหายไปหมด

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับศัลยกรรมปลูกผม

ปลูกผมแบบไม่ผ่าตัดเทคนิคที่ไม่มีจริง

การ ศัลยกรรม ปลูกผม ย้ายรากถือเป็นการผ่าตัดอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นแบบกรีด หรือ การปลูกผมแบบเจาะ FUT หรือ FUE ต่างก็ใช้คำว่า Surgery ซึ่งหมายถึงการผ่าตัดเหมือนกันดังนั้นการโฆษณาชวนเชื่อว่าไม่ใช่การผ่าตัดจึงไม่เป็นความจริง

การเจาะรากผมขึ้นมาใช้ปลูกหรือ FUE  ( follicular unit extraction ) จัดว่ามีการผ่าตัดผ่านชั้นผิวหนังและก่อให้เกิดแผลดังนั้นย่อมเป็นการผ่าตัดและไม่สามารถ ทำให้ลุล่วงได้โดยไม่ใช้ยาชาเพราะจะทำให้เจ็บมาก

การโน้มน้าวว่าการปลูกผม FUE เป็นวิธีที่ดีกว่าเพราะไม่ต้องผ่าตัดถือว่าเป็นการโกหกเลยทีเดียว

ปลูกผมแบบ FUE ดีกว่า FUT แบบเจาะดีกว่าแบบผ่าตัด

ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงเสมอไปเพราะจริงๆ แล้วการทำ FUE หรือการเจาะซึ่งมีพื้นที่แผลเปิดมากกว่าเทคนิค การ ปลูกผม FUT ที่เย็บปิดแผลอย่างเรียบร้อยด้วยซ้ำ โอกาสเกิดสภาวะแทรกซ้อนทั้งการติดเชื้อเสียเลือดผมร่วงเพราะขาดเลือดอาจจะมากกว่าวิธี ปลูกผม FUT ด้วย  รากผมที่ได้จากวิธีผ่าตัดจะมีอายุขัยยืนยาวกว่ารากผมจาก FUE โดยเฉลี่ย

เรื่องนี้ถ้าเป็นแพทย์ที่ผ่าตัดปลูกผมอย่างจริงจังจะสามารถบอกถึงข้อดีข้อเสียได้บางกรณีคนไข้อาจจะเหมาะกับวิธีดั้งเดิมมากกว่าโดยเฉพาะคนที่มีศีรษะล้านเป็นบริเวณกว้างแพทย์ที่มีประสบการณ์การผ่าตัดทั้ง 2 แบบย่อมสามารถให้ข้อมูลเปรียบเทียบที่แท้จริงได้

โดยเฉพาะการที่ไม่มีใจโอนเอียงไปทางเทคนิคด้านใดด้านหนึ่งจึงสามารถคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนไข้เป็นหลักถ้าพื้นฐานไม่ใช่หมอผ่าตัดก็มาจัดหาไม่เป็นและทีมงานไม่สามารถทำเทคนิค ปลูกผม FUT ได้จึงมักสนับสนุนให้เจาะ หรือ แนะนำการ ปลูกผม FUE เท่านั้นทั้งที่คนไข้อาจจะไม่เหมาะสมกับเทคนิคดังกล่าว

ปลูกผมไร้แผลเป็น

การผ่าตัดหมายความว่าต้องเกิดแผลในการ ศัลยกรรม ปลูกผม ดังนั้นต้องมีแผลเป็นแน่นอน เพียงแต่วิธีการซ่อนแผลจะเป็นรูปแบบใดเท่านั้นเช่น แผลขีดที่เย็บได้ดีมีขนาดบางเล็กก็สามารถปิดได้ง่ายด้วยผมที่เหลืออยู่หรือแผลเจาะเป็นจุดจุดกระจายกันอยู่สามารถซ่อน แม้จะตัดทรงผมให้สั้นมาก เช่น สกินเฮด รองทรงทหาร

การผ่าตัดแบบไม่มีแผลมีแต่ในเทพนิยายเท่านั้น สมาคมแพทย์ปลูกผมนานาชาติได้ออกแถลงการณ์ประณามการโฆษณาชวนเชื่อแบบนี้ออกมาเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกแต่ในเมืองไทยยังตกขบวนยังตกเป็นเหยื่อของโฆษณาที่ผิดจริยธรรมอยู่มาก

ปลูกผมโดยเทคนิคเกาหลี

ขอเรียนตามตรงว่าแพทย์เกาหลีต้องเดินทางมาดูงานในประเทศไทยดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งเทคนิคเกาหลีอีกอย่างเส้นผมคนแต่ละเชื้อชาติมีรายละเอียดแตกต่างกัน

เหมือนจมูกตาปาก ผิวหนังคนไทยไม่เหมือนคนเกาหลีเทคนิคที่ใช้ดีกับคนเกาหลีไม่ได้หมายความว่าจะ ดี และไม่ใช่เรื่องจำเป็น 

ปลูกผมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ปัจจุบันมีการใช้คำว่าเชี่ยวชาญทุกแห่งหนและเดินทางไปต่างประเทศดูงาน 3 วันก็กลับมาเป็นผู้เชี่ยวชาญเสียแล้ว

ดังนั้นผู้รับบริการควรตรวจสอบถึงใบอนุญาตหรือประกาศนียบัตรที่ถูกต้องและควรหาโอกาสปรึกษาแพทย์ด้วยตัวเองเพราะจะมาเป็นอันตรายมากหากท่านไม่ได้คุยกับแพทย์ที่จะทำการ ศัลยกรรม ปลูกผม ด้วยตนเองเนื่องจากคลินิกบางแห่งใช้การพูดคุยผ่านพนักงานขาย อย่างเดียวโดยไม่ได้คุยรายละเอียดกับแพทย์

บางแห่งอาจจะใช้พนักงานให้คำปรึกษาเรียกตัวเองว่าเป็นที่ปรึกษาความงาม ซึ่ง คนเหล่านี้อาจจะไม่ได้จบมาทางด้านการแพทย์หรือสาธารณสุขเลยด้วยซ้ำ แต่เป็นผู้ให้ข้อมูล และ เชียร์แขก ดังนั้นบางครั้งก็ต้องพยายามพูดโอ้อวดเกินจริงหรือพูดในสิ่งที่ตัวเองก็ไม่ได้มีความเข้าใจจริงหลักการผู้รับบริการควรต้องใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.