วิธีการบำบัดทดแทนไต (Kidney Replacement Therapy)
การบําบัดทดแทนไตคือการรักษาที่ทําหน้าที่ขจัดของเสียและนํ้าแทนไตที่ไม่ทํางาน ด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตทางช่องท้อง

การบำบัดทดแทนไต

การบำบัดทดแทนไต คือวิธีการรักษาอย่างหนึ่งที่ใช้ทดแทนหน้าที่ของไตในการฟอกเลือดและกรองเลือด ใช้ทำหน้าที่แทนไตเมื่อไตทำงานไม่ได้หรือทำงานได้ไม่เพียงพอ เรียกว่าไตวาย ทั้งไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง การบำบัดทดแทนไตมีหลายวิธี ได้แก่ การแยกสารผ่านเยื่อ การบำบัดทดแทนไตสามารถทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้ [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

1. การบำบัดทดแทนไตแบบการฟอกเลือด

โดยใช้เครื่องไตเทียม หรือ ฮีโมไดอาไลซิส   สามารถทำได้ที่โรงพยาบาล โดยจะต้องทำสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้งด้วยกัน

2. การบำบัดทดแทนไตแบบการล้างไต

โดยใช้น้ำยาทางช่องท้อง หรือ ซีเอพีดี  สามารถทำเองได้ที่บ้าน และต้องทำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม ปกติแล้วแพทย์จะอธิบายข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสำคัญให้กับผู้ป่วยและญาติได้ทราบ

ไม่ว่าจะเป็นข้อดีหรือแม้กระทั่งข้อเสีย รวมไปถึงการให้คำแนะนำพร้อมทั้งวิธีทำที่เหมาะสม  แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม แพทย์จะพิจารณาตามสภาวะร่างกาย การใช้ชีวิต และภาวะของโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ในกรณีที่ต้องทำการตัดสินใจ ว่าผู้ป่วยจะเลือกฟอกเลือดและทำการล้างไตโดยใช้วิธีใด  ผู้ป่วยสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนกระทั่ง ญาติ  สามารถร่วมตัดสินใจด้วยได้  เนื่องจากผู้ป่วยบางกลุ่มอาจจะทำการตัดสินใจได้ยาก เพราะมีปัญหาทางด้านการเงิน หรือ การใช้สิทธิ์ในแต่ละครั้งผ่านการรักษาโดยตรง

สำหรับผู้ป่วยใหม่ที่ยังคงใช้สิทธิ์รักษา 30 บาท สามารถรักษาได้ทุกโรคนั้น  ผู้ป่วยจะสามารถเบิกได้เฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยต้องทำการล้างไตทางช่องท้อง  ถ้าเป็นวิธีการฟอกเลือด ผู้ป่วยจะต้องจ่ายเงินเอง  แต่ข้อสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ  ผู้ป่วยและญาติจะต้องมีความเข้าใจ  การล้างไตจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และต้องทำอย่างถูกต้องเท่านั้น พร้อมทั้งจะต้องสังเกตอาการผิดปกติอยู่ตลอดเวลาร่วมด้วย

หากต้องเปลี่ยนจากการล้างไตทางหน้าท้อง ไปเป็นการฟอกเลือดในกรณีที่ผู้ป่วยพบว่า ตนเองจะต้องทำการเปลี่ยน จากการล้างไตทางด้านหน้าท้อง ไปเป็นการฟอกเลือดแทนนั้น  ผู้ป่วยจะต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อบ่งชี้ ผ่านการให้ฟอกเลือดแบบชั่วคราว หรือ ถาวร ดังนี้

ข้อบ่งชี้  ให้ทำการฟอกเลือดแบบชั่วคราว

  •  อาจจะมีอาการอักเสบของช่องท้อง ที่ได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น  ซึ่งกรณีนี้อาจจะเกิดจากเชื้อรา หรือ มีอาการติดเชื้อโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย
  •  ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดอวัยวะในช่องท้อง หรืออาจจะมีไส้เลื่อนที่ยังไม่ได้ทำการแก้ไข
  •  ผู้ป่วยมีช่องทางติดต่อระหว่างอวัยวะภายนอก หรือ ผู้ป่วยมีลักษณะอ้วนมาก  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ข้อบ่งชี้ ให้ฟอกเลือดแบบถาวร

  •  เกิดเหตุการณ์น้ำยารั่วออกจากช่องท้องอย่างเป็นประจำ
  •  เยื่อบุทางช่องท้อง ดูเหมือนจะเป็นพังผืดจนไม่สามารถวางสายได้ หรือ รอยของโรค จะส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อมากกว่าปกติทั่วไป
  •  ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง  จนไม่สามารถล้างหน้าผ่านทางหน้าท้องได้

การบำบัดไตทดแทนแบบการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม

สำหรับการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม หรือ ฮีโมไดอาไลซิส นั้น  จะต้องทำภายในโรงพยาบาล หรือ ศูนย์หน่วยไตเทียมเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีเครื่องฟอกเลือดโดยประมาณ 460 เครื่อง โดยกระจัดกระจายตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน  รวมไปถึงมูลนิธีต่าง ๆ ร่วมด้วย   หลังจากที่ผู้ป่วยได้ทำการฟอกเลือดแล้ว ผู้ป่วยจะมีลักษณะดีขึ้น สดชื่นขึ้น  พร้อมทั้งมีความสมดุลของน้ำและเกลือแร่เป็นอย่างดี  อีกทั้งยังคงช่วยลดระดับความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย

วิธีการฟอกเลือด

สำหรับวิธีการฟอกเลือดนั้น  จะเป็นการนำเลือดจากหลอดเลือดดำของผู้ป่วยโดยตรง โดยเฉพาะในบริเวณที่เตรียมหลอดเลือดเอาไว้แล้ว  ซึ่งจะมีการผ่านเข้ามาภายในตัวกรองของเสียของเครื่องไตเทียม  เพื่อให้เครื่องไตเทียมได้ทำการกรองของเสียเสียก่อน สำหรับเลือดที่ถูกกรองแล้วนั้น จะไหลกลับเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดดำอีกครั้ง โดยเฉพาะในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่ได้เตรียมหลอดเลือดเอาไว้แล้ว เช่นกัน  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ขั้นตอนการฟอกเลือด

1. ผู้ป่วยจะถูกทำความสะอาดบริเวณแขน และ บริเวณที่จะวางอุปกรณ์ ที่จะมีการฟอกเลือดโดยตรง เพื่อให้ปราศจากเชื้อโรค

2. เจ้าหน้าที่ทำการแทงเข็มจำนวน 2 เข็ม  ซึ่งเข็มแรกจะแทงเข้าไปในหลอดเลือดดำที่ถูกเตรียมเอาไว้  ส่วนเข็มที่สองจะถูกแทงเข้าไปยังหลอดเลือดเส้นเดียวกัน แต่จะอยู่ทางด้านเหนือของทิศทางเลือดำไหล  เพื่อเป็นช่องทางในการนำเลือดที่ดี ที่ได้รับการฟอกแล้ว กลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง

3. เมื่อผู้ป่วยฟอกเลือดเสร็จแล้ว  พยาบาลจะดึงเข็มออกทันที  และใช้ผ้ากอสปราศจากเชื้อ ทำการกดหลอดเลือดไว้ แล้วใช้พลาสเตอร์ปิดเอาไว้ให้แน่น  ส่งผลทำให้เลือดหยุดไหลได้เอง  โดยการฟอกเลือดจะทำสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง  ใช้เวลาครั้งละ 4 – 5 ชั่วโมง

ข้อดีของการฟอกเลือด

  • ผู้ป่วยไม่ต้องทำการฟอกเลือดเอง  เป็นผลดีสำหรับผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  • ไม่จำเป็นจะต้องเจาะและทำการฝังท่อที่หน้าท้อง  และไม่ต้องมีท่อหรือสายพลาสติกคาไว้ที่หน้าท้อง
  • ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าการล้างไตด้วยวิธีการอื่น ๆ
  • ผู้ป่วยจะเจ็บปวดน้อย  เนื่องจากหลอดเลือดไม่มีเส้นประสาท ให้ต้องรู้สึกเจ็บปวด

ข้อเสียของการฟอกเลือด

  • ผู้ป่วยต้องทำการผ่าตัด เพื่อที่จะต่อเส้นเลือดแดง เชื่อมเข้ากับเส้นเลือดดำ และอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้
  • ผู้ป่วยต้องเดินทางมาโรงพยาบาลบ่อยครั้ง
  • ผู้ป่วยต้องจำกัดอาหาร โปรตีน น้ำ และอื่น ๆ อย่างเคร่งครัด  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

กระบวนการผ่าตัด เพื่อเตรียมหลอดเลือดที่ใช้ในการฟอกเลือด

1. แบบชั่วคราว

ในกรณีนี้จะใช้หลอดเลือดดำใหญ่ที่มีอยู่ตรงบริเวณคอ  หรือ อาจจะใช้หลอดเลือดตรงบริเวณขาหนีบ  ซึ่งจะต้องใช้สายต่อเข้ากับหลอดเลือด ซึ่งแบบชั่วคราวจะสามารถใช้ฟอกเลือดได้ 2 – 6 สัปดาห์ด้วยกัน  กรณีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่ทราบว่าเป็นโรคไตวายระยะรุนแรง และอันตรายจนต้องทำการล้างไตทันที  ซึ่งแพทย์จะทำการแทงท่อที่หลอดเลือดตรงบริเวณช่วงคอไปก่อน ทำในรูปแบบชั่วคราว และค่อยทำการผ่าตัดเพื่อเตรียมหลอดเลือดบริเวณช่วงแขน เพื่อใช้งานจริงอีกครั้ง

2. แบบถาวร

ในรูปแบบถาวรนี้ จะเป็นการใช้หลอดเลือดที่มีความนุ่ม และมีความยืดหยุ่น  ซึ่งจะเห็นชีพจรเต้นแรง สามารถมองเห็นได้ชัดบริเวณจากท่อนล่าง  หากไม่มีปัญหาการตีบของหลอดเลือด หรือ เกิดอุดตัน หรือแม้กระทั่งติดเชื้อ ก็นับได้ว่าไม่มีปัญหาอะไรให้ต้องกังวลใจ [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

วิธีการเตรียมตัวเพื่อผ่าตัดหลอดเลือด

1. ผู้ป่วยจะต้องงดยาต้านเกร็ดเลือด หรือ ยาละลายลิ่มเลือด เป็นระยะเวลา 7 – 10 วัน

2. จะต้องงดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

3. งดการเจาะเลือด ฉีดยา หรือวัดความดัน แขนข้างที่เลือกเอาไว้ว่าจะทำการผ่าตัด

4. ห้ามลบรอยปากกาที่เขียนไว้บนแขนเด็ดขาด

5. ควรออกกำลังกายเบา ๆ ด้วยการบีบลูกบอล วันละหลายร้อยหน

เมื่อผู้ป่วยได้ผ่าตัดเสร็จแล้ว ผู้ป่วยจะมองเห็นแผลเป็นนูน ๆ ขึ้นมาเล็กน้อย  ในกรณีนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจาก หลอดเลือดจะพองตัวขึ้น จนกระทั่งกลายเป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่และยาว  แต่จะไม่พบว่ามีท่อใด ๆ ยื่นออกมา  ส่วนการตรวจสอบว่าหลอดเลือดที่ได้ผ่าตัด มีลักษณะเชื่อมต่อกันดีหรือไม่ สามารถใช้ได้ดีหรือไม่นั้น  เราสามารถดูได้จากสภาพหลอดเลือด  ซึ่งหลอดเลือดจะต้องมีลักษณะพองตัว  สามารถเห็นได้ชัดเจน และมีเลือดไหลแรง สามารถใช้นิ้วคลำดูได้

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจะเกิดขึ้นได้ หลังจากการผ่าตัดหลอดเลือด

1. หลอดเลือดที่เชื่อมติดกัน อาจจะเกิดเลือดคั่ง โดยเฉพาะบริเวณที่ทำการผ่าตัด จนกระทั่งส่งผลทำให้แขนมีลักษณะบวมขึ้น หลอดเลือดโปร่งพองแบบผิดปกติ ส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงมือไม่พอ แต่กรณีนี้เกิดขึ้นไม่บ่อย หากพบความผิดปกติควรพบแพทย์

2. ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จากการแพ้ยาสลบ หรือ ยาชา

3. หากพบว่าแขนบวม แขนแดง แขนร้อน มีอาการปวด และไม่ไข้ ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจจะติดเชื้อ [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

วิธีดูแลหลอดเลือดที่ใช้สำหรับการฟอกเลือด

1. ควรรักษาทำความสะอาด โดยเฉพาะบริเวณผ้าก็อซที่ถูกปิดเอาไว้  ไม่ควรให้โดนน้ำหรือเกิดสิ่งสกปรกในบริเวณนั้น

2. ไม่ควรแกะ เกา เพราะจะส่งผลทำให้เกิดอาการติดเชื้อได้

3. หากเปียกน้ำ ควรรีบไปพบแพทย์ หรือไปคลินิกใกล้บ้านคุณ เพื่อที่จะทำแผลใหม่อีกครั้ง

4. ควรระมัดระวัง อย่าให้เส้นเลือดกระทบกระเทือนเป็นอันขาด

5. ไม่ควรใส่เสื้อชนิดสวมหัว  ควรสวมใส่เสื้อผ่าตลอด หรือ ติดกระดุมด้านหน้าได้

6. หากเจ็บป่วย ควรรีบพบแพทย์

กรณีที่ต่อหลอดเลือดแล้วพบว่าไม่สามารถใช้ได้

ผู้ป่วยบางราย อาจจะต้องพบเจอกับปัญหาที่ดูเหมือนว่าจะหนักหน่วง เนื่องจากเส้นเลือดที่ผ่าตัดแล้วทำการต่อเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่สามารถใช้ได้ในภายหลัง  ศัลยแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจจะทำการแก้ไขให้ ดังต่อไปนี้

1. ทำการสอดบอลลูน เพื่อที่จะขยายจุดตีบ

2. หากไม่สามารถซ่อมหรือแก้ไขได้  ต้องทำการผ่าตัดเตรียมหลอดเลือดใหม่อีกครั้ง

3. อาจจะใช้หลอดเลือดเทียม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดเล็กมาก

ข้อควรปฏิบัติ ก่อนทำการบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือด

1. ควรงดยาลดความดันเลือด ก่อนเข้ารับการฟอกเลือดประมาณ 4-6 ชั่วโมง

2. หากเสียเลือดมาก จะต้องแจ้งแพทย์ก่อนทำการฟอกเลือดทุกครั้ง

3. จะต้องเข้ารับการฟอกเลือดให้ตรงกับเวลานัดทุกครั้ง  ควรชั่งน้ำหนัก และทำความสะอาดแขนทุกครั้ง

4. ควรรับประทานอาหารให้เรียบร้อยเสียก่อน

5. หากพบว่ามีอาการผิดปกติ ควรแจ้งให้แพทย์ พยาบาลทราบ  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูง และต้องเข้ารับการฟอกเลือด

1. ควรวัดความดันเลือด ทั้งก่อนและหลังเข้ารับการฟอกเลือด

2. แพทย์อาจจะให้ยาลดความดัน ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการฟอกเลือด

3. หากความดันเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะในชั่วโมงท้าย ๆ  ผู้ป่วยจะต้องแจ้งแพทย์เสมอ

หากความดันเลือดต่ำ ในขณะที่ฟอกเลือด

ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังทำการฟอกเลือดอยู่นั้น  หรือ อาจจะเป็นชั่วโมงท้าย ๆ ของการฟอกเลือดโดยตรง  ผู้ป่วยอาจจะพบว่าตนเองมีความดันเลือดลดลงมาก แถมหัวใจยังคงเต้นเร็วขึ้น  หากมีอาการผิดปกติอย่างเช่น คลื่นไส้ แน่นท้อง กระวนกระวาย หรือหน้ามืด  ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

การดูแลตนเอง หลังจากเข้ารับการฟอกเลือดแล้ว

1. ระมัดระวัง อย่าให้แขนข้างที่ฟอกเลือดกระทบกระเทือน หรือ โดนอะไรมากระแทกแรง ๆ

2. หากยังต้องปิดพลาสเตอร์เอาไว้  ระวังอย่าให้เปียกน้ำ

3. หากถูกกระแทกและมีรอยฟกช้ำ ควรประคบเย็นประมาณ 15 นาทีเพื่อบรรเทาอาการ

4. หากถูกของมีคมบาด ส่งผลทำให้เลือดไหล ให้ใช้ผ้าสะอาดกดนาน ๆ เพื่อให้เลือดหยุดไหลก่อน

5. หากมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ควรพักผ่อน และพบแพทย์

6. ไม่ควรใช้แขนยกของหนัก หรือ ออกกำลังกาย จนกว่าจะครบ 24 ชั่วโมง  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

การล้างไตผ่านช่องท้อง

การล้างไตผ่านช่องท้องนั้น  มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง หากบ้านของผู้ป่วยอยู่ห่างไกลจากศูนย์ไตเทียมมาก ส่งผลทำให้ไม่สะดวกต่อการเดินทาง  การล้างไตผ่านช่องท้อง อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยในกรณีนี้โดยตรง  รวมไปถึงผู้ป่วยที่ยังคงมีสุขภาพแข็งแรง และมีญาติคอยช่วยเหลือ ทำหน้าที่ในการปลี่ยนน้ำยาให้ได้ทุกรอบร่วมด้วย

การล้างไตผ่านทางช่องท้อง มีวิธี ดังนี้

1.ซีเอพีดี  ต้องใช้ระยะเวลา 6 ชั่วโมง 

2.ไอพีดี 

สำหรับในรูปแบบ ซีเอพีดี ถือได้ว่าเป็นวิธีที่ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ได้มีการกำหนดให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะรุนแรง  และยังคงเป็นผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์บัตรทอง ได้เข้ารับการให้บริการซึ่งสามารถเบิกได้  ซึ่งถ้าหากใครต้องการทำการฟอกเลือดก็สามารถทำได้ แต่ไม่สามารถเบิกได้เช่นกัน   ส่วนผู้ป่วยที่มีบัตรประกันตน สามารถเบิกได้ทั้งในกรณีทำการฟอกเลือด หรือ การทำซีเอพีดี

การผ่าตัดก่อนทำซีเอพีดี

ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับการล้างไตทางช่องท้อง หรือ ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้ทำซีเอพีดี  ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือ ทำการเจาะหน้าท้องส่วนล่างเสียก่อน เพื่อที่จะทำการวางท่อซิลิโคนที่มีขนาดเล็ก สอดใส่เข้าไปในช่องท้อง  โดยจะมีปลายท่ออีกด้านหนึ่ง ที่โผล่ออกมาจากผนังหน้าท้อง ซึ่งจะอยู่ต่ำกว่าสะดือ นับได้ว่าเป็นสายที่สามารถใช้ได้อย่างถาวร เชื่อมต่อกันกับสายนำน้ำยาที่ติดอยู่กับถุงน้ำยาพีดี  ในกรณีที่สายยางเป็นรูปแบบซิลิโคน ฝังอยู่ภายในช่องท้องของผู้ป่วย และมีน้ำยาอยู่ในช่องท้อง ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด

ตำแหน่งที่ดีของการฝังท่อล้างไตทางช่องท้อง

ตำแหน่งที่ดีของการฝังท่อล้างไตทางช่องท้อง ได้แก่

  • อยู่เหนือ หรือ ล่างจากแนวรัดเข็มขัดประมาณ 2 เซนติเมตร  เพื่อที่จะป้องกันสำหรับผู้ที่ใช้เข็มขัด ในกรณีนี้จะไม่เกิดการกดทับแต่อย่างใด
  • คนอ้วนที่มีรอยย่นของผนังหน้าท้อง  ตำแหน่งที่ดีมีความเหมาะสมมักจะอยู่เหนือสะดือ
  • ตำแหน่งปากแปลช่องทางออกของสายล้างไตนั้น  มักจะชี้ลงด้านล่าง เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของเหงื่อไคล ทำให้เกิดอาการติดเชื้อได้น้อยกว่า
  • ควรที่อยู่ทางด้านขวามือของผู้ป่วยเป็นหลัก เพราะจะส่งผลทำให้ปลายสายที่อยู่ในช่องท้อง ได้อยู่ทางด้านซ้าย ตามทิศทางการบีบคลายตัวของลำไส้ใหญ่ ส่งผลทำให้ปลายสายจะไม่ลอยขึ้นมา  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

การฝังท่อล้างไต

การฝังท่อล้างไตมี 2 วิธี ดังนี้

1. การฝังท่อล้างไต โดยไม่ต้องผ่าตัดเพื่อเปิดผนังช่องท้อง 

วิธีนี้ แพทย์ได้ทำการฝังท่อให้กับผู้ป่วย โดยที่ไม่ต้องทำการผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะทำการฉีดยาชาเฉพาะจุด แล้วจึงทำการเจาะเพื่อฝังท่อล้างไต ผ่านทางผนังหน้าท้อง โดยมีการใช้ลวดเพื่อเป็นตัวนำในการช่วยฝังท่อ

2. การฝังท่อ โดยใช้วิธีการผ่าตัด 

แพทย์และผู้เชี่ยวชาญ จะทำการฝังท่อโดยทำการผ่าตัด  ซึ่งผู้ป่วยจะต้องนอนพักรักษาตัวภายในโรงพยาบาล และต้องรอให้แผลสมานตัวดีเสียก่อน  จึงจะทำการล้างไตได้

กระบวนการล้างไตทางช่องท้องในกรณีที่ผู้ป่วยทำด้วยตนเอง

ซีเอพีดี หรือ การล้างไตทางช่องท้อง จำเป็นจะต้องมีการทำต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง และต้องทำทุกวัน ซึ่งผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเอง ภายในห้องที่สะอาด หรือ พื้นที่ที่สะอาดเท่านั้น  ซึ่งห้องจะต้องไม่มีสัตว์เลี้ยงและไม่มีลมพัดผ่าน เพื่อที่ผู้ป่วยจะลดโอกาสในการติดเชื้อได้  อีกทั้งผู้ป่วยจะต้องเรียนรู้วิธีการต่อถุงน้ำยากับสายต่อท่อล้างไต นับได้ว่าเป็นเทคนิคที่ต้องปราศจากเชื้ออย่างแท้จริง เพราะเป็นการปล่อยน้ำยาเก่าภายในช่องท้องออกมา และเติมน้ำยาใหม่เข้าไปทดแทน  ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลาหลายสิบนาทีด้วยกัน  แต่ผู้ป่วยยังคงสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ในช่วงเวลานี้

การเปลี่ยนถ่ายน้ำยาพีดี  มี 3 ขั้นตอน

1. ขั้นตอนถ่ายน้ำยาออกจากช่องท้อง

เป็นขั้นตอนที่ผู้ป่วยจะต้องทำการถ่ายน้ำยาพีดี ที่มีค้างอยู่ในช่องท้อง ซึ่งน้ำยานี้จะมีแต่ของเสีย ผู้ป่วยจะต้องถ่ายน้ำยาออกจากช่องท้อง เพื่อเข้าสู่ถึงระบบปิดที่วางไว้ต่ำกว่าระดับสะดือ โดยน้ำจะไหลจากที่สูงลงไปที่ต่ำกว่านั่นเอง  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

2. ขั้นตอนการเติมน้ำยาใหม่เข้าไปทดแทน 

ขั้นตอนนี้ ผู้ป่วยต้องทำการเติมน้ำยาใหม่ เข้าสู่ช่องท้องแทนที่น้ำยาที่เพิ่งทำการถ่ายออกไปจากช่องท้อง  โดยที่ผู้ป่วยจะต้องแขวนสารละลายที่เป็นถุงขนาดใหญ่ ให้อยู่สูงกว่าระดับไหล่ของผู้ป่วยขึ้นไป  หลังทำการปล่อยน้ำยาให้ไหลเข้าสู่ช่องท้องอย่างช้า ๆ ต้องใช้ระยะเวลา 10 – 15 นาที  น้ำยาที่ใช้จะมีปริมาณ 2 ลิตรด้วยกัน

3. ขั้นตอนการพักท้อง 

ขั้นตอนนี้ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่ต้องปล่อยน้ำยาพีดีใหม่ ให้ค้างไว้ในช่องท้อง เพื่อให้เกิดการฟอกของเสียออกมา ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับอุปกรณ์ไตเทียมเลยทีเดียว  โดยจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 4 – 8 ชั่วโมง  ในส่วนของขั้นตอนนี้ จะไม่มีสายระโยงระบาง ผู้ป่วยจึงสามารถทำกิจกรรมได้อย่างสะดวกสบาย

ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้  ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องทำวนไปเป็น 4 – 5 รอบต่อวัน หรืออาจจะมากกว่านี้  ทุกอย่างขึ้นอยู่กับอาการบวม หรือ ของเสียที่แพทย์ได้ทำการตรวจพบภายในร่างกาย  โดยที่ผู้ป่วยจะต้องทำการล้างไตแบบนี้ทุกวัน เพื่อให้เหมือนกับว่าไตได้ทำงานปกติ และถ้าหากผู้ป่วยต้องทำการล้างไตวันละ 4 รอบ  โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำยาวันละ 4 ครั้ง จะตรงกับช่วงเวลา ดังนี้

1. ช่วงตื่นนอนตอนเช้า

2. ช่วงตอนเที่ยงวัน

3. ช่วงก่อนอาหารเย็น หรือ ช่วงเวลา 18.00 น.

4. ช่วงเวลาก่อนนอน หรือ 22.00 น.

ข้อดีของการล้างไตในรูปแบบ ซีเอพีดี

1. ผู้ป่วยสามารถล้างไตด้วยวิธีนี้ได้เองที่บ้าน ซึ่งผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้องมาโรงพยาบาลบ่อย ๆ

2. นับได้ว่าเป็นวิธีการล้างไตที่บ่อยครั้ง สามารถกำจัดของเสียได้มากกว่าการฟอกเลือด

3. ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดอาหารมาก  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

4. สามารถควบคุมความดันเลือดได้ดีกว่า ส่งผลทำให้มีโอกาสเลือดจางได้น้อยกว่า  เนื่องจากไม่ต้องสูญเสียเลือด

ข้อเสียของการล้างไตในรูปแบบ ซีเอพีดี

1. หากผู้ป่วยไม่ระมัดระวังเรื่องความสะอาด อาจจะเกิดอาการติดเชื้อขึ้นได้

2. หากผู้ป่วยสูญเสียโปรตีนจำนวนมาก ส่งผลทำให้ผู้ป่วยต้องเสียวิตามินบี 1 และ 6  พร้อมทั้งกรดโฟลิค และ วิตามินซี  แต่ในกรณีนี้ยังคงสามารถแก้ไขได้ โดยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารทดแทน

3. ต้องมีการฝังท่อคาเอาไว้ภายในช่องท้องอยู่ตลอดเวลา

4. ผู้ป่วยจะต้องมีถุงติดอยู่กับร่างกายตลอดทั้งวัน ส่งผลทำให้เดินทางไปไหนมาไหนไม่สะดวก

5. อาจพบเจอปัญหาท่อตันขึ้นได้

6. ผู้ป่วยอาจจะมีน้ำหนักและรอบเอวเพิ่มขึ้น

7. ผู้ป่วยต้องมีพื้นที่สำหรับวางเครื่องมือและอุปกรณ์ รวมไปถึงห้องเก็บน้ำยา

8. ผู้ป่วยและญาติ อาจจะเกิดอาการเบื่อหน่าย ต่อการทำ ซีเอพีดี เนื่องจากต้องทำทุกวัน และต้องทำต่อเนื่อง

วิธีดูแลตนเอง หลังจากที่ฝังท่อล้างไต

หลังจากที่ผู้ป่วยได้ฝังท่อล้างไตแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการพักท้องเอาไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ด้วยกัน เพื่อที่จะทำให้บาดแผลผ่าตัดมีลักษณะแห้งดี  และเมื่อแผลหายดีจึงจะเริ่มทำการล้างไตผ่านทางช่องท้องในระยะเวลาต่อมา  ซึ่งพยาบาลจะทำการสอนวิธีการเปลี่ยนถ่ายน้ำยา การสังเกตแผล  นอกจากนี้จะมีพยาบาลออกไปเยี่ยมผู้ป่วยล้างไตที่บ้านเป็นครั้งคราว [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

การปฏิบัติตน หลังฝังท่อล้างไต

1. ผู้ป่วยจะต้องนอนราบและหนุนหมอนบนเตียงประมาณ 12 ชั่วโมง หลังจากการวางสาย

2. ผู้ป่วยจะต้องระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ และต้องทำการยึดสายด้วยเทปไว้ที่ปุ่มกระดูกเชิงกราน เพื่อที่จะป้องกันการบิดหมุนของสาย

3. ผู้ป่วยจะต้องปิดแผลด้วยผ้าก๊อซแห้งหลายชั้นด้วยกัน  หากไม่มีเลือดซึม หรือ ไม่มีอาการผิดปกติ ผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนผ้าก๊อซเป็นเวลา 1 สัปดาห์

4. ผู้ป่วยจะต้องหมั่นตรวจสอบความผิดปกติภายในช่องท้อง และ ช่องทางออกของท่อล้างไต

5. หลังจากที่ผ่านไป 2 สัปดาห์แรก  ผู้ป่วยจะต้องทำแผลบริเวณปากแผล ประมาณวันละ 1 ครั้ง

6. ผู้ป่วยจะต้องจำกัดน้ำดื่ม และทำการควบคุมอาหารตามระยะของโรคอย่างเคร่งครัด

7. เมื่อแผลหายสนิทแล้ว  ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ โดยจะต้องใช้น้ำประปา  แต่จะต้องทำการตรึงสายให้อยู่กับที่ ไม่มีการดึงรั้งสายเอาไว้  เมื่ออาบน้ำเสร็จ ควรใช้ผ้าสะอาดทำการซับน้ำบริเวณช่องทางของสายให้แห้งทันที

อาการของผู้ป่วยที่ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

  • ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง ปวดแผล หรือ กดแล้วเจ็บบริเวณแผล พร้อมทั้งมีไข้
  • ผู้ป่วยมีอาการตัวบวมมาก แขนและขาบวม มีอาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้
  • พบว่ามีเลือดหรือเยื่อวุ้น หรือ น้ำรั่วซึมออกมาจากแผล หรือพบเจอว่าท่อล้างไตเลื่อนออกมาจากที่เดิม
  • พบว่าสายล้างไตมีรอยแตกหรือฉีดขาด

การบำบัดไตทดแทนแบบ โดยการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ

การล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ สามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เอพีดี  หรือ การล้างไตผ่านช่องท้องด้วยเครื่องอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเครื่องอัตโนมัติที่ช่วยล้างไต จะทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำยา 3 ขั้นตอน ได้แก่  ขั้นตอนการถ่ายน้ำยาทิ้ง  , ขั้นตอนการเติมน้ำยาเข้าไปใหม่ , ขั้นตอนการพักน้ำยาให้อยู่ภายในช่องท้อง ส่วนใหญ่แล้ว จะมีการค้างน้ำยาเอาไว้ภายในช่องท้องประมาณ 1 คืน โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องล้างไตเองทุก 4 – 6 ชั่วโมง เนื่องจากเครื่องจะทำการคำนวณปริมาตรของน้ำยา ซึ่งแพทย์จะทำการกำหนดเอาไว้ภายในระบบของเครื่อง  ซึ่งวิธีนี้ควรเตรียมพื้นที่ให้สะอาดเพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อ  และในขณะที่จะทำการปลดสายที่ส่งระหวางเครื่อง กับ ผู้ป่วย จะต้องมีการตรวจสอบข้อต่อและตัวหนีบให้ดีเสียก่อน

ข้อดีของการล้างไตในรูปแบบ เอพีดี

1. การล้างไตในรูปแบบ เอพีดี  ไม่จำเป็นจะต้องเสียเวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาเอง

2. มีความสะดวกสบาย

3. วิธีนี้มีความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยหรือญาติ ที่มีงานหรือภารกิจประจำวันมาก  หรือใช้กับผู้ป่วยสูงอายุ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้

ข้อเสียของการล้างไตในรูปแบบ เอพีดี

  • เครื่องราคาไม่แพง [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]
  • โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อมีอยู่มากน้ำยาล้างไตผ่านทางช่องท้องปกติแล้ว มักจะนิยมใช้น้ำยาที่กลูโคสเป็นส่วนผสมหลัก เนื่องจากมีราคาไม่แพง  ส่วนเปอร์เซ็นต์ของน้ำยาที่มีกลูโคสเป็นส่วนผสมก่อน จะมีรายละเอียดดังนี้

1. น้ำยาพีดี 1.5 เปอร์เซ็นต์ จะมีน้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนผสมตามอัตราส่วนดังกล่าว  ผู้ป่วยมักจะนิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีความเหมาะสมกับทุกเพศ ทุกวัย

2. น้ำยาพีดี 2.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นน้ำยาที่มีน้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนผสมที่มากขึ้นกว่าอันแรก  แถมน้ำยาในรูปแบบที่สองนี้ จะสามารถดึงน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มีผลเสียตามมาด้วยเช่นกัน  โดยเฉพาะจะส่งผลทำให้ผนังหน้าท้องเสื่อมลงได้เร็วยิ่งขึ้น  น้ำยาพีดี 2.5 เปอร์เซ็นต์ จึงถูกนำมาใช้เฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกิน , ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวมากจนเกินเหตุ , ใช้ในกรณีที่น้ำยาที่ออกมาได้น้อย  ซึ่งสามารถนำมาใช้ร่วมกันกับน้ำยาพีดี 1.5 เปอร์เซ็นต์ได้

3. น้ำยาพีดี 4.25 เปอร์เซ็นต์ นับได้ว่าเป็นน้ำยาที่มีส่วนผสมน้ำตาลสูงที่สุด  สามารถดึงน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้เร็ว  แต่จะทำให้ผนังท้องเสื่อมได้เร็วมากที่สุดเช่นกัน  อีกทั้งยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น  จึงควรเลือกใช้เฉพาะในกรณีที่ไตวายรุนแรงมากเท่านั้น

การพิจารณาว่าผู้ป่วยได้ทำการฟอกเลือด หรือ ล้างไตเพียงพอแล้วหรือยัง?

สามารถพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้

1. ตรวจฮีมาโตคริต หรือ ฮีโมโกลบิน  ซึ่งจะต้องตรวจอย่างน้อยทุก 1 เดือน

2. ตรวจอีเลคโตรไลท์ แคลเซียม ปริมาณฟอสเฟต และ อัลบูมิน ภายในเลือด ทุก 3 เดือน

3. ตรวจระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ iPTH และปริมาณเหล็กภายในร่างกาย ทุก 6 เดือน

4. ตรวจไวรัสตับอักเสบบี ทุก 6 เดือน

5. ตรวจภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบซี  ทุก 6 เดือน

6. ตั้งเป้าหมายของระดับไบคาร์บอเนต ก่อนทำการฟอกเลือด [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ปัญหาจากการล้างไตทางช่องท้องที่อาจเกิดขึ้นได้

1. การติดเชื้อที่เยื่อบุผิวรอบท่อ หรือ มีอาการลุกลามไปในช่องท้อง

2. สายนำน้ำยาพีดีหลุด หรือ รั่ว  หรือ ตกพื้น

3. น้ำยาพีดีไม่สามารถไหลเข้าช่องท้อง ขณะที่คลายตัวล็อก

4. น้ำยาพีดีไม่ไหลออกจากช่องท้อง ขณะที่มีการคลายตัวล็อก

การบันทึกดุลน้ำยา

ผู้ป่วยที่ต้องล้างไตผ่านทางช่องท้อง จะต้องทำการบันทึกปริมาตรน้ำยาเข้าและออก ลงในสมุดบันทึกดุลน้ำยาอย่างละเอียด และผู้ป่วยจะต้องคำนวณปริมาณของน้ำยาที่ถ่ายออกมา ว่ามีปริมาณมาก (+) หรือมีปริมาณน้อย (-)  ที่ต้องใส่เข้าไปในแต่ละรอบ โดยให้ทำการบันทึก ดังนี้

  • ถ้าพบว่าน้ำยาออกมามากกว่าที่ใส่เข้าไป  ผู้ป่วยจะต้องเขียนเครื่องหมาย +  บริเวณหน้าตัวเลขที่คำนวณได้เท่านั้น  เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ดี
  • ถ้าน้ำยาออกมาน้อยกว่าที่ต้องใส่เข้าไป  ผู้ป่วยจะต้องเขียนเครื่องหมาย
  • บริเวณหน้าตัวเลข ซึ่งในกรณีนี้นับได้ว่าไม่ดี  ควรได้รับการแก้ไข และควรพบแพทย์

การทำดุลน้ำยาและการคำนวณปริมาณน้ำที่ต้องดื่มต่อวันของผู้ป่วยล้างไต

1. หากพบว่าไม่มีปัสสาวะ ผู้ป่วยควรได้รับน้ำต่อวันประมาณ 600 มิลลิลิตร + น้ำยาพีดีที่ถ่ายออกมาทั้งวัน + หรือ –

2. หากพบว่ามีปัสสาวะ ควรได้รับน้ำประมาณ 600 มิลลิลิตร + น้ำยาพีดีที่ถ่ายออกมาทั้งวัน  +  หรือ – นำมาบวกกับปริมาณปัสสาวะรวมต่อวัน

3. หากมีน้ำยาออกมาจากช่องท้องประมาณ 1,000 มิลลิลิตรต่อวันขึ้นไป จะต้องได้รับน้ำประมาณ 600 + 1000 มิลลิลิตรต่อวัน

การเสียชีวิตในผู้ป่วยล้างไต

ผู้ป่วยล้างไตส่วนใหญ่  หากเสียชีวิตก็มักจะไม่ได้มีสาเหตุมาจากการล้างไต แต่ตามสถิติแล้วผู้ป่วยมักจะเสียชีวิต อันเนื่องมาจาก [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

1. 40 – 50 เปอร์เซ็นต์  ผู้ป่วยล้างไตส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือด ซึ่งสองโรคนี้จะสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่ล้างไตทุกกลุ่ม  ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตประมาณ 1 ปี หลังจากที่พบว่ามีอาการของโรคหลอดเลือด และ โรคหัวใจ

2. ผู้ป่วยล้างไต ที่มีภาวะหัวใจวาย  ตั้งแต่ก่อนล้างไต หรือ ในช่วงที่เริ่มต้นล้างไต  จะส่งผลทำให้ต้องเสี่ยงกับการเสียชีวิตมากขึ้น

3. ผู้ป่วยล้างไต เสียชีวิตลงจากสาเหตุอื่น ๆ

การล้างไตและการฟอกเลือดในแต่ละครั้ง ถือได้ว่าเป็นการยื้อชีวิตให้กับผู้ป่วยโดยตรง เปรียบเสมือนเป็นการกระตุ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้  เหมือนกับว่าไตของผู้ป่วยนั้น ยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติเช่นเดิม ส่วนกระบวนการล้างไตหลากหลายวิธี  ถือได้ว่าเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโดยตรง เนื่องจากการล้างไตบางวิธีนั้น อาจจะส่งผลเสียหรือทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบาย หรือ ข้อจำกัดทางด้านสถานะทางการเงินของผู้ป่วยและญาติ ที่มีผลต่อการตัดสินใจในแต่ละครั้ง ว่าจะทำการล้างไตด้วยวิธีไหนเป็นสำคัญนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Weinreich T, De los Ríos T, Gauly A, Passlick-Deetjen J (2006). “Effects of an increase in time vs. frequency on cardiovascular parameters in chronic hemodialysis patients”. Clin. Nephrol. 6 (6): 433–9. PMID 17176915.

Kallenbach J.Z.In: Review of hemodialysis for nurses and dialysis personnel. 7th ed. St. Louis, Missouri : Elsevier Mosby; 2005.

Seppa, Nathan (2 February 2011). “Bioengineering Better Blood Vessels”. Science News. 4 February 2011.

Eknoyan G, Beck GJ, Cheung AK, et al. (2002). “Effect of dialysis dose and membrane flux in maintenance hemodialysis”. N. Engl. J. Med. 347 (25): 2010–9. PMID 12490682. doi:10.1056/NEJMoa021583.