การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไต
ผู้บริจาคที่มีกรุ๊ปเลือดเดียวกันกับผู้ป่วย หากผลแสดงออกมาว่าเข้ากันได้ ก็สามารถบริจาคไตให้กันได้

เปลี่ยนไต

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย  หรือ ไตทำงานได้น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะต้องได้รับการ เปลี่ยนไตจำนวน 1 ข้าง เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้มีไตใหม่มาคอยทำหน้าที่ทดแทนไตเดิม  ซึ่งไตเดิมไม่สามารถทำหน้าที่ได้แล้วทั้งสองข้าง  เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยเปลี่ยนไต จะมีไตเดิมจำนวน 1 ข้าง และไตใหม่จำนวน 1 ข้าง หากไตใหม่สามารถทำ งานได้ดี เป็นปกติ และไม่มีปฏิกิริยาเหมือนจะต่อต้าน  ผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้องทำการฟอกเลือด หรือ ล้างไตอีกต่อไปการรับบริจาคไต สามารถรับบริจาคได้จากกลุ่มคนเหล่านี้

    [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ผู้ที่เปลี่ยนไตจะได้รับบริจาคจาก 2 กลุ่ม

1. ผู้บริจาคไตที่เพิ่งเสียชีวิต ผู้บริจาคอวัยะที่เพิ่งจะเสียชีวิต

บางแห่งอาจจะต้องรอให้ผู้บริจาคอวัยวะหัวใจหยุดเต้นเสียก่อน  แต่บางที่อาจจะพึ่งการตรวจคลื่นสมองเป็นหลัก  หากสมองตายแล้ว ผู้บริจาคอวัยวะจะสามารถบริจาคอวัยวะได้ทันทีในขณะนั้น ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องรอให้หัวใจหยุดเต้นก็สามารถทำได้  ซึ่งแพทย์จะจัดเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดไต ทันทีที่ผู้บริจาคได้เสียชีวิตลง

2. รับบริจาคจากญาติที่มีชีวิตอยู่

รับบริจาคจากญาติที่มีชีวิตอยู่หรือ บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดไม่ว่าจะเป็น พ่อ – แม่ หรือ ญาติพี่น้อง  ลุง ป้า น้าอา หรือแม้กระทั่งหลาน หากเป็นกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเดียวกัน ย่อมสามารถบริจาคไตให้แก่กันได้

ผู้บริจาคที่มีกรุ๊ปเลือดเดียวกันกับผู้ป่วย หากผลแสดงออกมาว่าเข้ากันได้ ก็สามารถบริจาคไตให้กันได้

เราสามารถบริจาคไตที่ไหนได้บ้าง สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคไต  สามารถแสดงความจำนงได้ที่ศูนย์บริจาคไต  ซึ่งถือได้ว่าเป็นหน่วยงานของสภากาชาดไทย  หรือแม้กระทั่งโรงพยาบาลประจำจังหวัด  หรือ โรงพยาบาลที่มีคณะแพทยศาสตร์   หลังจากที่ผู้บริจาคได้ทำเรื่องเพื่อขอบริจาคไตแล้ว  ควรแจ้งให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดทราบด้วย  ซึ่งญาติและผู้ใกล้ชิด จะคอยทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจ และเซ็นชื่อยินยอม เพื่อให้แพทย์ได้ผ่าตัดเอาไตของผู้บริจาคไปให้กับผู้รับบริจาค

หากต้องการบริจาคไตให้ญาติ ต้องตรวจอะไรบ้าง?

ผู้บริจาคไต จะต้องได้รับการตรวจร่างกาย เพื่อที่จะสามารถยืนยันได้อย่างแน่ชัด ว่าผู้บริจาคมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ และมีสภาพจิตใจที่เป็นปกติ  ซึ่งผู้บริจาคจะต้องผ่านการตรวจคัดกรอง ดังนี้  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

1. วัดความดันเลือดและชีพจร  ซึ่งผู้บริจาคจะต้องไม่เป็นความดันโลหิตสูง

2. ต้องตรวจเลือดดูการทำงานของไต  ซึ่งไตต้องปกติและต้องไม่เป็นเบาหวาน

3. ต้องทำการตรวจปัสสาวะ ซึ่งต้องปกติเท่านั้น

4. ตรวจอัลตราซาวน์  ต้องพบว่าไม่มีโรคร้ายแรง

5. ต้องตรวจคลื่นหัวใจอย่างละเอียด

6. ต้องถูกประเมินทางจิตเวช

หลังจากที่ได้มีการบริจาคไตให้กับญาติ  ผู้บริจาคควรดูแลตนเองอย่างไร ?

เมื่อผู้บริจาคได้รับการผ่าตัดไตออกไปแล้ว  ผู้บริจาคจะเหลือไตเพียงแค่ข้างเดียวเท่านั้น  เพราะฉะนั้น ผู้บริจาคควรระมัดระวัง และควรดูแลตนเอง โดยจะต้องนอนพักฟื้น 2 – 4 สัปดาห์ จึงจะสามารถเริ่มต้นทำงานเบา ๆ ได้  และช่วงในระยะพักฟื้น ควรหมั่นลุกขึ้นเดินบ่อยครั้ง เพื่อบริหารร่างกายแบบค่อยเป็นค่อยไป  อีกทั้งในช่วงระยะแรก ไม่ควรให้ แผลเปียกน้ำเป็นอันขาด เพื่อป้องกันอาการติดเชื้อ และ ผู้บริจาคจะต้องไม่ยกของหนัก นอกจากนี้  ผู้บริจาคควรดูแลสุขภาพให้เต็มที่ เพื่อที่จะสามารถกลับมามีสุขภาพเป็นปกติ และ แข็งแรงเหมือนเดิม

หากต้องการบริจาคไตให้กับสภากาชาดไทย ต้องทำอย่างไร ?

1. ผู้บริจาคจะต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ หรือ ควรมากกว่า 18 ปี และไม่ควรอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์

2. ผู้บริจาคจะต้องไม่เป็นความดันโลหิตสูง  และ ไม่เป็นโรคเบาหวาน

3. เมื่อตรวจสภาพร่างกายแล้ว ต้องพบว่าไตของผู้บริจาคสามารถทำงานได้เป็นปกติ  พร้อมทั้งไม่มีประวัติว่าเป็นโรคเรื้อรัง  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

4. ไม่มีภาวะโรคอ้วน

5. ผ่านการประเมินทางจิตเวช

คุณสมบัติของผู้รับบริจาคไต

1. เป็นผู้ป่วยที่กำลังรักษาตนเองด้วยการล้างไตทางช่องท้อง หรือ ต้องทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

2. อายุของผู้ป่วยจะต้องไม่เกิน 60 ปี  หากเป็นผู้ป่วยเด็กจะต้องไม่เกิน 5 ปี

3. ผู้ปวยไม่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง

4. ผู้ป่วยไม่เป็นโรคตับเรื้อรัง

5. ผู้ป่วยไม่เป็นโรคมะเร็ง

6. ผู้ป่วยที่ไม่มีความเสี่ยงว่าจะต้องเข้ารับการผ่าตัด

7. ผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคทางจิตเวช

8. ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง

9. ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือ ยังแก้ไขไม่ได้

ผลสำเร็จของการปลูกถ่ายเปลี่ยนไต  ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ 

  • ผู้ป่วยอายุมากกว่า 55 ปี
  • เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 7 ปี
  • โรคของผู้ป่วยที่มีผลเสี่ยงต่อเส้นเลือดโดยตรง
  • การเกิดภาวะติดเชื้อ
  • ชนิดของไต ว่าได้รับมาจากผู้เสียชีวิต หรือ ผู้บริจาคที่มีชีวิตอยู่ หรือ จากใคร  นับได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

การเตรียมตัวในช่วงเวลาที่ต้องรอเปลี่ยนไต

ที่ผ่านมา ผู้ป่วยจำนวน 100 คน  จะมีแค่ 1.4 คนเท่านั้น ที่สามารถรับไตใหม่ได้   ในช่วงเวลาที่รอเปลี่ยนไต  ผู้ป่วยอาจจะใช้เวลารอเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น  แต่บางรายอาจจะต้องรอเป็นปีกันเลยทีเดียว  ซึ่งระหว่างที่ผู้ป่วยรอการเปลี่ยนไต  จะต้องมีการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ  สิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติ มีดังต่อไปนี้

1. ควรตรวจสอบว่าแพทย์ผู้รักษา ได้มีการส่งข้อมูลผู้รอรับทั้งหมด เพื่อมาลงทะเบียนไว้กับศูนย์บริจาคอวัยะแล้วในช่วงนั้น

2. หลังจากที่ได้มีการลงทะเบียนเพื่อขอรอรับการบริจาคไต  ผู้ป่วยจะต้องตรวจเลือดทุก 2 เดือน  พร้อมทั้งตรวจสภาพร่างกายทุก 2 – 3 เดือน

3. ผู้ป่วยที่ต้องการเปลี่ยนไต และผู้ป่วยสูงอายุ  หรือ ผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรัง จะต้องถูกตรวจเพื่อดูเส้นเลือดที่จะนำไตใหม่ไปปลูกถ่าย  ว่าเส้นเลือดมีความแข็งแรง และมีความแคลเซียมเกาะอยู่หรือไม่

4. ผู้ป่วยจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อเข้ารับการติดต่อผู้ประสานงานการเปลี่ยนไตได้ตลอด

5. ผู้ป่วยจะต้องเข้าพบแพทย์ตามกำหนด

6. ควรส่งเลือดทุกเดือน เพื่อตรวจหาโอกาสในการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ

7. ผู้ป่วยจะต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงในช่วงระหว่างนี้

8. ผู้ป่วยควรมีทุนทรัพย์ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนไต และ หลังจากที่ได้รับการเปลี่ยนไตแล้ว

กระบวนการผ่าตัดไตจากผู้เสียชีวิต

การผ่าตัดเอาไตออกจากมาจากร่างกายของผู้เสียชีวิต  แพทย์จะต้องได้รับอนุญาตจากญาติของผู้เสียชีวิตก่อน  ซึ่งแพทย์จะต้องติดต่อเพื่อขออนุญาต ก่อนที่หัวใจของผู้ป่วยจะหยุดเต้นลง  เพื่อที่แพทย์จะได้มีระยะเวลาในการจัดเตรียม เพื่อทำการผ่าตัดไตได้ทันท่วงที  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ส่วนทีมแพทย์เปลี่ยนไต  จะพยายามทำให้ผู้บริจาคไตส่วนใหญ่ มีความดันโลหิตเป็นปกติ และผู้บริจาคจะต้องปัสสาวะออกมาได้มาก  โดยแพทย์จะกระตุ้นการเกิดปัสสาวะ ด้วยการให้น้ำเหลือและแมนนิตอลทางเส้นเลือดของผู้บริจาคไต

เมื่อการผ่าตัดเกิดขึ้น และมีการนำไตทั้งสองข้างออกจากร่างกายของผู้บริจาคแล้ว  ไตจะได้รับการเก็บรักษาอย่างดี  โดยไตจะถูกแช่ในน้ำยาถนอมอวัยวะเท่านั้น และยังคงมีน้ำแข็งที่ปราศาจากเชื้อโรคเข้ามาช่วยเสริมและเพิ่มเติมอุณหภูมิ  โดยไตที่ถูกผ่าตัดออกมาแล้ว จะสามารถเก็บได้นานถึง 48 ชั่วโมงด้วยกัน

ทางด้านศูนย์รับบริจาคอวัยวะ จะต้องทำการตรวจชนิดเนื้อเยื่อของผู้บริจาคไตก่อน พร้อมทั้งทดสอบความเข้ากันได้ของเม็ดเลือดขาว  แล้วนำไปเปรียบเทียบกับผู้รับบริจาค ว่าสามารถเข้ากันได้หรือไม่  ซึ่งในกรณีการผ่าตัดไตจากผู้เสียชีวิตแล้ว จะสามารถแบ่งไตให้กับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายได้มากถึง 2 คนด้วยกัน นั่นเอง

การผ่าตัดไตจากผู้บริจาคที่ยังคงมีชีวิต

การผ่าตัดไตจากผู้บริจาคที่ยังคงมีชีวิตอยู่นั้น จะต้องมีการตรวจสภาพไตโดยการฉีดสี  เพื่อที่แพทย์จะสามารถดูความผิดปกติของเส้นเลือดที่อาจจะเกิดขึ้นได้  ซึ่งผู้บริจาคบางราย จะมีเส้นเลือดแดงของไตข้างละ 2 เส้นด้วยกัน  ส่งผลทำให้การผ่าตัดเปลี่ยนไตเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น  และด้วยเหตุนี้แพทย์จึงต้องรู้รายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้ของผู้บริจาคไตเสียก่อน ซึ่งในกรณีของการผ่าตัดไตเก่าออกจากตัวผู้รับบริจาคนั้น  แพทย์ไม่จำเป็นจะต้องทำการผ่าตัด พร้อมกับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนไต  ซึ่งแพทย์สามารถผ่าตัดได้ก่อนหรือหลังจากนี้

การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนไต

1. ควรงดน้ำและอาหารประมาณ 6 ชั่วโมง

2. ควรงดยาและอาหารเสริม ที่ส่งผลทำให้เลือดหยุดยาก

3. ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องได้รับการดมยาสลบ

4. ไตจากผู้บริจาค จะถูกส่งต่อให้กับผู้รับบริจาค โดยแพทย์จะทำการต่อไตเข้ากับเส้นเลือด พร้อมทั้งทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วย บริเวณหน้าท้องน้อยเท่านั้น  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

การดูแลผู้ป่วยในระยะแรก หลังจากที่ได้รับการเปลี่ยนไต

1. หลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องอยู่ในห้องปลอดเชื้อประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ด้วยกัน  ในช่วงเวลานี้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง เหมือนกับการได้เข้ารับการผ่าตัดทั่วไปได้

2. เจ้าหน้าที่จะแจกเอกสาร เพื่อให้ผู้ป่วยศึกษาเกี่ยวกับกรณีการดูแลตนเอง  เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค โดยต้องใช้ยาตามแพทย์สั่ง

3. ในกรณีที่พบว่าไตใหม่ ยังไม่สามารถทำงานได้ทัน ผู้ป่วยอาจจะต้องรอเป็นระยะเวลา 10 – 14 วัน เพื่อให้ไตฟื้นตัว  แต่ในช่วงระหว่างนี้ ผู้ป่วยอาจจะต้องทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมร่วมด้วย

4. ผู้ป่วยอาจจะได้รับยา หลังจากการที่มีการผ่าตัดเพื่อปลูกไต ซึ่งมียาอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน

การดูแลผู้ป่วยในระยะต่อมา หลังจากที่เปลี่ยนไตแล้ว

1. จะต้องระวังการติดเชื้อ  เพราะจะส่งผลต่อผู้ป่วยโดยตรง

2. ในช่วงนี้ผู้ป่วยอาจจะต้องระวังการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากภูมิต้านทานในร่างกายของผู้ป่วยลดลงมาก

3. การมีเพศสัมพันธ์  ในช่วงนี้ผู้ป่วยสามารถมีลูกได้ตามปกติ แต่ผู้ป่วยเพศหญิง อาจจะประสบปัญหาการตั้งครรภ์ในระหว่างนี้

4. การทำงานของผู้ป่วย  ผู้ป่วยจะสามารถเริ่มต้นทำงานเบา ๆ  ซึ่งจะต้องไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือ เกิดอุบัติเหตุ หลังจากที่ผู้ป่วยได้ทำการเปลี่ยนไตมาแล้วเป็นระยะเวลา 1 เดือน

5. การออกกำลังกาย   ผู้ป่วยควรเริ่มต้นจากการบริหารร่างกายแบบเบา ๆ ค่อย ๆ เพิ่มกายบริหารไปทีละขั้นตอน

6. เส้นเลือดที่ใช้ฟอกไต   ถึงแม้จะได้รับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนไตสำเร็จแล้วก็ตาม แต่ผู้ป่วยจะยังคงมีเส้นเลือด เพื่อใช้ในการฟอกไตอยู่  ซึ่งแพทย์จะเก็บไว้เผื่อผู้ป่วยต้องกลับไปฟอกเลือดอีกครั้ง  ซึ่งผู้ป่วยยังคงต้องดูแลเส้นเลือดที่ใช้ฟอกไตตามเดิมไปก่อน  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

หลังจากผู้ป่วยได้ผ่าตัดเปลี่ยนไตแล้ว ต้องตรวจอะไรอีกบ้าง ?

  • ตรวจการทำงานของไต
  • ตรวจเช็คสุขภาพประจำปี
  • ตรวจหาเชื้อมะเร็ง
  • ฉีดวัคซีนต่าง ๆ
  • ตรวจสภาวะการตีบตันตามรอยต่อของหลอดเลือดแดงของไตใหม่ กับ หลอดเลือดแดงภายในร่างกาย
  • การควบคุมความดันโลหิต

ผู้ป่วยที่เปลี่ยนไต จะมีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน ?

  • ปกติแล้ว ไตใหม่ร้อยละ 50 จะสามารถทำงานได้เป็นปกติ นานกว่า 10 ปี  ยิ่งถ้าหากเป็นไตที่เข้ากับเนื้อเยื่อของผู้รับและผู้ให้ ไตก็จะมีสภาพอยู่ได้นานมากกว่า 10 ปีแน่นอน
  • สำหรับไตใหม่ที่เนื้อเยื่อเข้ากับร่างกายได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก  อายุไตใหม่มักจะสั้นลง ต่ำกว่า 10 ปี
  • กลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงในการผ่าตัด  อัตราการอดของไต 2 ปี จะน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

หลังจากเข้ารับการเปลี่ยนไต สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้นั้น  อาจจะมีระดับความรุนแรงถึงขั้นทำให้ไตใหม่มีลักษณะเสื่อมลงได้ หรือ ไตใหม่ไม่ทำงาน  สาเหตุส่วนใหญ่มักจะมาจากการที่ผู้ป่วยไม่รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ  หรือไม่ก็ลืมทานยา หรือ มีการทานยามากจนเกินไป  หรืออาจจะเกิดจากการที่โรคไตเดิมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่มีอาการกำเริบ และส่งผลทำให้ไตใหม่ไม่ทำงาน ก็สามารถเป็นไปได้เช่นกัน

วิธีการป้องกันแก้ไข

นอกจากนี้การเลือกใช้ยากดภูมิต้านทาน อาจจะส่งผลทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้นได้  ซึ่งแพทย์มักจะให้คำแนะนำ และ บอกวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น  ไม่ว่าจะเป็น

  • ความดันเลือดสูง อันเนื่องมาจากยา หรือผู้ป่วยมีประวัติเป็นความดันเลือดสูงอยู่แล้ว
  • เป็นโรคเบาหวาน จากยา หรือ เป็นโรคเบาหวานมาก่อนหน้านี้แล้ว
  • ไขมันในเลือดสูงจากการใช้ยา
  • มีภาวะกระดูกพรุน โดยเฉพาะในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
  • เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากการใช้ยาเพร็ดนิโซโลน  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ภาวะสลัดไตแบบเฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง

ภาวะสลัดไต นั้น ถือได้ว่าเป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ไม่สามารถรับไตใหม่ได้ โดยร่างกายมีการสร้างเคมีขึ้นมา เพื่อที่จะย่อยสลายไตใหม่  ส่วนเม็ดเลือดขาวชนิด ที – ลิมโฟไซต์ อาจจะทำให้เกิดอาการอักเสบ และ ทำลายเนื้อเยื่อของไตได้เช่นกัน  ซึ่งในกรณีนี้สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันถึงขั้นรุนแรง และแบบค่อยเป็นค่อยไปก็มี  ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. การสลัดไตอย่างเฉียบพลัน   สามารถเกิดขึ้นได้ประมาณ 20 – 40 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปีแรก  แต่ก็ยังคงขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ผู้ป่วยใช้กดภูมิต้านทานด้วย  ซึ่งถือได้ว่ามีผู้ป่วยน้อยราย ที่ต้องใช้ยาราคาแพง เพื่อที่จะคอยควบคุมการสลัดไต

2. การสลัดไตอย่างเรื้อรัง   ในกรณีนี้ยังไม่สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาด  แต่ยังมีโอกาสในการลดความเสี่ยงนี้ได้อยู่  โดยจะต้องทำการควบคุมโรคที่อาจจะเกิดร่วมด้วย และ ผู้ป่วยจำต้องทานยากดภูมิต้านทานอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น  ซึ่งจะช่วยทำให้ไตมีอายุที่ยาวนานได้มากยิ่งขึ้น

อาการของผู้ป่วยที่เกิดภาวการณ์สลัดไต

  • มีไข้
  • มีอาการเจ็บปวดบริเวณไตที่ถูกเปลี่ยนมาก่อนหน้านี้
  • น้ำหนักตัวของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น  เนื่องจากปัสสาวะน้อยลง เนื่องจากไตทำงานไม่เป็นปกติ
  • ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย

ยาที่สามารถใช้รักษาภาวะสลัดไต

1. ยาสเตียรอยด์  จะมาในรูปแบบของยาฉีด หรือ ยารับประทาน

2. โอเคที – 3 ซึ่งจะถูกเตรียมมาจากน้ำเหลืองของหนูโดยตรง

3. เอทีจี  ถูกเตรียมมาจากน้ำเหลือของม้าโดยตรง

4. ธัยโมโกลบูลิน  ลดอัตราความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ซ้ำ

5. โฟรกราฟ สามารถรักษาได้ผลประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์

หากต้องการรักษาโรคไตวายที่ต่างจังหวัด และต้องทำการเปลี่ยนไตที่อื่น ต้องทำอย่างไรบ้าง ?

1. ผู้ป่วยต้องมีใบส่งตัวจากอายุรแพทย์โรคไตประจำตัวโดยตรง

2. เข้าพบแพทย์โรคไตที่โรงพยาบาลแห่งใหม่  เพื่อดูว่าจะเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนไตได้หรือไม่

3. เข้ารับการตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์  ตรวจคลื่นหัวใจ ฉีดสีตรวจเส้นเลือด เป็นต้น

4. เจาะเลือดเพื่อตรวจเนื้อเยื่อ  หากต้องการรอไตจากผู้บริจาค ต้องขึ้นทะเบียนรอทันที  แต่ถ้าหากเป็นไตจากญาติหรือบุคคลในครอบครัว สามารถนัดวัดเพื่อทำการเปลี่ยนไตได้เลย [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

กรณีการปลูกถ่ายไตล้มเหลว

เมื่อเกิดกรณีการปลูกถ่ายไตล้มเหลวเกิดขึ้น  ผู้ป่วยอาจจะต้องกลับไปเข้ารับการรักษา ด้วยวิธีการฟอกเลือดผ่านเครื่องไตเทียมอีกครั้ง หรือ ผู้ป่วยจะต้องทำการล้างไตผ่านช่องท้อง ด้วยน้ำยาอย่างถาวรอีกครั้ง   ในกรณีนี้ผู้ป่วยอาจจะหมดสิทธิ์ในการเบิกยาที่ใช้ในการรักษากดภูมิคุ้มกัน  ในส่วนนี้จะรวมไปถึงกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตลงด้วย

หากต้องการยื่นคำขอ เพื่อกลับมาบำบัดทดแทนไต

ต้องมีหลักฐานดังนี้

1. แบบคำขอรับประโยชน์จากการบำบัดทดแทนไต

2. สำเนาเวชระเบียนที่เกี่ยวข้องโดยตรง

3. ใบรับรองแพทย์

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

5. สำเนาสมุดคู่มือ เพื่อแสดงสิทธิการบำบัดทดแทนไต  ซึ่งจะใช้เล่มสุดท้าย เป็นหลัก

จากข้อมูลที่เราได้กล่าวมาในเบื้องต้น นับได้ว่าเป็นข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อทำการเปลี่ยนไต หรือ การเปลี่ยนไตใหม่ให้กับผู้ป่วย   ซึ่งผู้ป่วยที่ต้องทำการปลูกถ่ายไตเพื่อเปลี่ยนไตใหม่นั้น จะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้   ซึ่งความรู้เหล่านี้จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้ป่วยได้โดยตรง รวมไปถึงญาติของผู้ป่วยเอง ที่จำเป็นจะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ร่วมด้วย เพื่อที่จะคอยช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและดูแลผู้ป่วยได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

New Robot Technology Eases Kidney Transplants, CBS News, June 22, 2009 – accessed July 8, 2009.

“Kidney and Pancreas Transplant Center – ABO Incompatibility”. Cedars-Sinai Medical Center. Retrieved 2009-10-12.

Krista L. (2014). “Gestational Hypertension and Preeclampsia in Living Kidney Donors”. New England Journal of Medicine. 2010

“Kidney Transplant”. National Health Service. 29 March 2010. Retrieved 19 November 2011.