กรมอนามัย แนะเด็กเล็กแยกกักตัวอยู่ที่บ้าน ย้ำ พ่อแม่สังเกตอาการดูแลใกล้ชิด

0
3538
กรมอนามัย แนะเด็กเล็กแยกกักตัวอยู่ที่บ้าน ย้ำ พ่อแม่สังเกตอาการดูแลใกล้ชิด
กระทรวงสาธารณสุข แนะนำพ่อแม่ควรดูแลและสังเกตอาการเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 ที่แยกกักตัวที่บ้านให้ดูแลลูก หรือบุตรหลานอย่างใกล้ชิด
กรมอนามัย แนะเด็กเล็กแยกกักตัวอยู่ที่บ้าน ย้ำ พ่อแม่สังเกตอาการดูแลใกล้ชิด
กระทรวงสาธารณสุข แนะนำพ่อแม่ควรดูแลและสังเกตอาการเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 ที่แยกกักตัวที่บ้านให้ดูแลลูก หรือบุตรหลานอย่างใกล้ชิด

เด็กเล็กแยกกักตัวอยู่ที่บ้าน

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะพ่อแม่ควรดูแลและสังเกตอาการเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 ที่แยกกักตัวที่บ้าน Home Isolation (HI) ดูแลลูก หรือบุตรหลานอย่างใกล้ชิด

รู้ได้อย่างไรว่าลูกติดเชื้อโควิด-19

พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องคอยสังเกตอาการโดยรวมของเด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ซึ่งระดับอาการของเด็กแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 อาการในระดับที่สามารถเฝ้าสังเกตที่บ้านต่อไปได้ คือ มีไข้ต่ำ มีน้ำมูก มีอาการไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ถ่ายเหลว ยังคงกินอาหารหรือนมได้ปกติและไม่ซึม
แบบที่ 2 อาการที่ผู้ปกครองควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำเด็กส่งโรงพยาบาลโดยเร็วคือ มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส หายใจหอบเร็วกว่าปกติ ใช้แรงในการหายใจ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94 เปอร์เซ็นต์ ซึมลง ไม่ดูดนม และไม่กินอาหารให้รีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงมีผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 จากคนในครอบครัว ซึ่งอาการติดเชื้อที่พบตั้งแต่ไม่มีอาการ จนถึงมีอาการรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ โดยกลุ่มเสี่ยงที่พบอาการรุนแรงคือเด็กทารกและเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ซึ่งต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อทันที เมื่อตรวจ ATK หรือเมื่อตรวจ RT-PCR ให้ผลพบเชื้อส่วนเด็กที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย สามารถรับการรักษาแบบ Home Isolation (HI)ได้ แต่ต้องมีพ่อแม่ หรือ ผู้ปกครองที่สามารถดูและประเมินอาการให้เด็กได้ตลอดเวลา โดยใช้อุปกรณ์เพื่อติดตามอาการ ได้แก่ ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว อุปกรณ์ที่สามารถถ่ายภาพหรือคลิปวีดีโออาการของเด็กได้ โทรศัพท์เพื่อติดต่อกับสถานพยาบาลหากมีเหตุจำเป็น และยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ เช่นพาราเซตามอล ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก และเกลือแร่

นอกจากนี้ผู้ปกครองต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมืออย่างถูกวิธีหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับเด็กที่ติดเชื้อ ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสในห้องเป็นระยะด้วยแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ หรือน้ำยาทำความสะอาดที่สามารถกำจัดเชื้อโควิด-19

ทั้งนี้ หากเด็กมีภาวะข้อใดข้อหนึ่ง เช่น อาการหายใจหอบ มีการใช้แรงในการหายใจ เช่น หายใจอกบุ๋ม ชายโครงบุ๋ม หรือปีกจมูกบาน ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94 เปอร์เซ็นต์ ริมฝีปาก เล็บ หรือปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ ซึมลง ไม่ดูดนม กินไม่ได้ เพลีย ไม่มีมีแรง หรือมีไข้ตั้งแต่ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไปให้รีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด