คอแลน
คอแลน เป็นผลไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เนื่องจากคนไม่ค่อยปลูก เพราะไม่นิยมรับประทาน อาจเป็นเพราะมีรสเปรี้ยวต่อมาได้มีการพัฒนาสายพันธ์ุให้มีรสหวานขึ้นและลูกใหญ่กว่าพันธุ์เดิม
ชื่อสามัญ Korlan ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของ Nephelium hypoleucum Kurz ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น บักแงว คอลัง ลิ้นจี่ป่า มะแงว กะเบน หมากแวว หมากแงว หมักงาน สังเครียดขอน มะแงะ หมักแงว อยู่ในวงศ์เดียวกับลำไย ลิ้นจี่ มามอนซีโย เงาะ เป็นผลไม้เมืองร้อน คล้ายลิ้นจี่ แต่เนื้อจะคล้ายเงาะ มีรสเปรี้ยว รับประทานเมล็ดไม่ได้เพราะเมล็ดมีพิษ
ลักษณะบักแงว
- ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกเรียบเป็นสีน้ำตาลคล้ำ เรือนยอดเป็นพุ่ม
- ใบ เนื้อหนา มีสีเขียว ใบออกเป็นช่อเรียงสลับ มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแกม หรือรูปไข่กลับถึงรูปรี ติดตรงข้ามประมาณ 1-3 คู่ โคนใบมนและเบี้ยว ส่วนขอบใบจะเรียบ ที่หลังใบเกลี้ยงและเป็นมัน ท้องใบสีจาง
- ดอก มีขนาดที่เล็ก ออกดอกเป็นช่อที่ตามปลายกิ่ง ดอกมีสีขาวอมเขียว ที่ช่อดอกจะมีขนสีเทา ส่วนโคนกลีบรองดอกติดกัน ปลายจะแยกเป็น 5 แฉก มีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน รังไข่มีลักษณะกลมและมีขน ไม่มีกลีบดอก
- ผล มีลักษณะรีถึงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 2.5-3 เซนติเมตร ผิวขรุขระ จะเป็นปมเล็ก ๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีแดงเข้ม ในผลมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด จะมีเนื้อเยื่อใส ๆ กับน้ำหุ้มเมล็ด
สรรพคุณของบักแงว
- สามารถใช้เป็นยาระบายได้
- สามารถช่วยลดความเครียดได้
- สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
- ทำให้ชุ่มคอ
- ช่วยป้องกันเชื้อหวัดและไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้
- สามารถช่วยการย่อยอาหารได้
- สามารถช่วยเสริมสร้างสมาธิได้
- สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อต้านอนุมูลอิสระ และเพิ่มพลังงานได้
ประโยชน์ของบักแงว
- ไม้มีเนื้อเหนียว แข็ง ละเอียด สามารถนำไปใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตรได้
- ผลที่แก่สามารถรับประทานได้
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งที่มา
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์เล่ม 1, เว็บไซต์องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, www.cookingmail.com
อ้างอิงรูปจาก
kaset.today