เงาะ
เงาะ เป็นผลไม้เมืองร้อนมีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย และได้แพร่ขยายเข้ามาปลูกในประเทศไทยในภายหลัง ซึ่งจะนิยมปลูกกันในภาคใต้และภาคตะวันออก ส่วนสายพันธุ์ที่นิยมนำมาเพาะปลูกมากที่สุดก็ได้แก่ พันธุ์โรงเรียน (เงาะโรงเรียน) พันธุ์สีทอง พันธุ์สีชมพู เป็นต้น ส่วนสายพันธุ์อื่น ๆ นั้นก็มีปลูกกันบ้างประปราย
ชื่อสามัญ Rambutan ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Nephelium lappaceum L. จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เงาะป่า (นครศรีธรรมราช), พรวน (ปัตตานี), กะเมาะแต มอแต อาเมาะแต (มาเลย์ปัตตานี) เป็นต้น
ประโยชน์ของเงาะ
1. ช่วยในการบำรุงผิวพรรณทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งและสดใส
2. ช่วยรักษาอาการอักเสบในช่องปาก
3. ช่วยแก้อาการท้องร่วงอย่างรุนแรงได้
4. มีส่วนช่วยในการรักษาโรคบิด และท้องร่วงได้อีกด้วย
5. สามารถใช้เป็นยาแก้อักเสบได้
6. มีฤทธิ์ในการช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
7. สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น การนำไปทำเป็นเงาะกระป๋อง กวน เป็นต้น
8. มีสารแทนนิน ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง การย้อมสีผ้า การบำบัดน้ำเสีย นำไปทำเป็นปุ๋ย และผลิตกาวได้ เป็นต้น
9. สารแทนนินสามารถช่วยป้องกันแมลง แถมยังยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ และสามารถนำไปใช้ทำเป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการของเงาะกระป๋องน้ำเชื่อมต่อ 100 กรัม พลังงาน 82 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณสารที่ได้รับ |
คาร์โบไฮเดรต | 20.87 กรัม |
เส้นใย | 0.21 กรัม |
ไขมัน | 0.65 กรัม |
โปรตีน | 2.5 กรัม |
วิตามินบี 1 | 0.013 มิลลิกรัม 1% |
วิตามินบี 2 | 0.022 มิลลิกรัม 2% |
วิตามินบี 3 | 1.352 มิลลิกรัม 9% |
วิตามินบี 6 | 0.02 มิลลิกรัม 2% |
วิตามินบี 9 | 8 ไมโครกรัม 2% |
วิตามินซี | 4.9 มิลลิกรัม 6% |
ธาตุแคลเซียม | 22 มิลลิกรัม 2% |
ธาตุเหล็ก | 0.35 มิลลิกรัม 3% |
ธาตุแมกนีเซียม | 7 มิลลิกรัม 2% |
ธาตุแมงกานีส | 0.343 มิลลิกรัม 16% |
ธาตุฟอสฟอรัส | 9 มิลลิกรัม 1% |
ธาตุโพแทสเซียม | 42 มิลลิกรัม 1% |
ธาตุสังกะสี | 0.08 มิลลิกรัม 1% |
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
โทษของเงาะ
- สารแทนนิน (Tannin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร การรับประทานในปริมาณมากเกินไปนั้น อาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการท้องอืดหรือท้องผูกได้ เพราะฉะนั้นควรรับประทานอย่างพอประมาณ เพื่อที่ร่างกายจะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด
- เมล็ดมีพิษ ! ห้ามรับประทานด็ดขาดเพราะจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และมีไข้ได้ ถึงแม้จะมีการนำไปคั่วจนสุกแล้วก็ตาม ก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กรมวิชาการเกษตร, กรมส่งเสริมการเกษตร
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.bangaloreagrico.in/product/rambutan-bud-grafted-fruit-live-plant-bangalore-agrico/
2.https://healthyfamilyproject.com/produce-tips/rambutan/